ร้านอินเทอร์เนตคาเฟ่กับการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม


ปรับเพื่อให้เกิดความเข้าใจของคนในสังคม...ระหว่างรุ่นสู่รุ่น

ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่กับการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 

        เป็นที่ยอมรับว่าปัจจุบัน ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ได้เข้ามาเป็นศูนย์กลางการใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชนมาก เด็กมีโอกาสได้เรียนรู้แนวคิด ค่านิยม พฤติกรรมต่างๆในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่จากเพื่อนและผู้ใหญ่ในร้าน เช่น เด็กบางคนอ่านภาษาอังกฤษในเกมไม่ได้ แต่สามารถเล่นเกมได้อย่างเก่งกาจ และพิมพ์ดีดเร็ว นอกจากนั้นในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่เด็กยังเรียนรู้สิ่งต่างๆได้จากอินเทอร์เน็ต  อันมีโอกาสที่จะเข้าถึงสื่อที่สร้างสรรค์หรือไม่ก็ได้ หากในร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่มีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น  การพูดคำหยาบ มีการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  หรือ การเข้าถึงสื่อลามก เด็กก็สามารถเรียนรู้พฤติกรรมนั้นได้เช่นกัน อย่างเช่นที่จะเห็นได้จากข่าว เช่น อินเทอร์เนตเปลี่ยนพฤติกรรม พ่อแม่เสียบทบาทฮีโร่ของลูก[1]

       ปัญหาวัฒนธรรมของสังคมไทยอีกประการหนึ่งซึ่งสำคัญมาก คือคนรุ่นเก่ามีโอกาสได้เข้าถึงสื่อสมัยใหม่ได้น้อย และ ขาดการเข้าใจกันระหว่างของคนรุ่นเก่าและวัยรุ่น ลูกมีความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีมากกว่า ทำให้การเชื่อฟังในเรื่องต่างๆ ลดลง แต่เมื่อหันไปมองสังคมของลูกพบว่าผู้ที่ลูกให้ความเชื่อถือคือผู้ที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ซอฟแวร์ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนรุ่นเดียวกันก็ได้ไม่จำเป็นต้องสูงวัยกว่า  บทบาทของผู้ใหญ่ในการอบรมสั่งสอน และถ่ายทอดวิถีชีวิต ภูมิปัญญากลายเป็นเรื่องไม่ทันสมัย ถูกลดทอนลงไปเด็กจึงขาดแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต

       ปัจจุบันพ่อแม่ไทยไม่เข้าร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ แต่ให้เงินลูกไปเข้าเพียงลำพังด้วยแนวคิดว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น พื้นที่ของ เด็ก จึงไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม จึงเกิดความแปลกแยก (The Other) หากมีการจัดพื้นที่ให้คนในสังคมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้าง พื้นที่ร่วม จะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนจากรุ่นสู่รุ่นได้

       ดังนั้นเมื่อพิจารณาพื้นที่เข้าถึงสื่อสมัยใหม่ในปัจจุบัน ผู้วิจัยมองเห็นโอกาสว่า ร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ จะเป็นพื้นที่เรียนรู้ได้ทั้งแง่วิชาการและวัฒนธรรม เป็นพื้นที่สาธารณะที่มีจำนวนมากทั่วประเทศ และ การกระจายตัวไปอยู่ทุกพื้นที่ เข้าถึงเด็กได้โดยง่าย และเป็นแหล่งที่เด็ก ใช้บริการกันประจำอยู่แล้ว การจัดการที่ดีเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้ทางวัฒนธรรมจะส่งผลดีต่อวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในเชิงสร้างสรรค์ โดยการพัฒนาดังกล่าวจำเป็นต้องได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน



[1] http://www.focuspaktai.com/index.php?file=news&obj=news.view(id=2504)&PHPSESSID=7c3bf8ea8aac45e0aec99f559a2ea75a

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ร้านเนต#อ.แหวว
หมายเลขบันทึก: 186872เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2008 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ต้องเข้มงวดมากๆเลย สำหรับเด็กๆครับ

เป็นกำลังใจให้อี๋ค่ะ สู้ๆ นะคะ

เอาใจช่วยนะเพื่อน

สู้ๆๆ สู้ตาย

  • ตามมาขอบคุณ
  • งานน่าสนใจมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท