แก้ไขปัญหาสารเคมีที่น่านเมืองต้นน้ำ


จากที่สัปดาห์ก่อน ประสานงานกว่า ๑๐ ทิศ คุณรรินธร เพ็ชรเจริญ คุณสถาพร สมศักดิ์ คุณสำเร็จ เสนาขันธ์พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองช่าง อบจ.น่าน เพื่อให้การจัดการประชุมเสวนา ๓ มิถุนายน ๒๕๕๑ มีความสมบูรณ์ ก่อนหน้าประสานงานสื่อมวลชน ส.ปชจ.น่านและ สวท.น่านได้ขึ้นข่าว ปชส.ทางกว้างให้ ถือได้ว่า เป็นความร่วมมือเป็นการเริ่มต้นที่ดี

อบจ.น่าน จัดเวทีเสวนา "สารเคมีบนพื้นที่ต้นน้ำน่าน วงจรความยากจน บนความย่ำแย่ของสุขภาวะชุมชน" 

องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย สถาบันอิสรา ประชาคมน่าน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง-โครงการหลวง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จัดเวทีเสวนา "สารเคมีบนพื้นที่ต้นน้ำน่าน วงจรความยากจน บนความย่ำแย่ของสุขภาวะชุมชน" ขึ้น ในวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2551 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน

นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน แจ้งว่า ด้วยปัจจุบันปัญหาวงจรชีวิตเกษตรกรกับปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแลงศัตรูพืช และยาฆ่าหญ้า ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกันอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ และในพื้นที่จังหวัดน่านประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ประกอบกับความต้องผลผลิตมาก เพื่อลดภาระหนี้สิน โดยไม่สนใจสุขภาพร่างกายจากปัญหาการสะสมของสารพิษจากการทำการเกษตรเอง และผู้บริโภคก็ต้องรับสารพิษดังกล่าว และทำให้ดินเสื่อมสภาพและผลผลิตมีคุณภาพด้อยลง ทำให้เกษตรกรมีปัญหาหนี้สิน และสุขภาพที่เสื่อมโทรม
จากสภาพปัญหาดังกล่าว องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน ร่วมกับสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย สถาบันอิสรา ประชาคมน่าน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง-โครงการหลวง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้ให้ความสำคัญผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนชาวจังหวัดน่าน จึงกำหนดจัดเวทีเสวนา “สารเคมีบนพื้นที่ต้นน้ำน่าน วงจรความยากจน บนความย่ำแย่ของสุขภาวะชุมชน” ขึ้น ในวันอังคารที่ 3 มิถุนายน 2551 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน

 
http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=080531162248
 
ที่น่านสนใจหลังจากได้ประสานไปยังสำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน ได้นำหนังสือที่ประสานแจ้งผ่านเว็ปไซด์สำนักงานให้ผู้บริหารอำเภอต่าง ๆ  http://www.nan-nfe.net/download/05_seminar.pdf
ได้รับทราบการเชิญนับว่าเป็นความสะดวกรวดเร็วและในการจัดกิจกรรมผู้บริหาร กศน.มาพร้อมเพรียงขอแสดงความชื่นชม

คำสำคัญ (Tags): #ร่วมมือ
หมายเลขบันทึก: 186050เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2008 06:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีตอนเช้าคะ...เป็นกำลังใจให้กับชาวน่านทุกท่านคะ

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

ภายหลังจากการจัดการประชุม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ในที่ประชุมได้มีข้อเสนอให้มีกลุ่มผู้ใจต่อผลกระทบของสารเคมีและการใช้ของเกษตรกร เพื่อจะได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่แนวทางวิธีการรวบรวมแก้ไขปัญหา การลด ละ เลิก สารเคมีในจังหวัดน่าน จากการพูดคุยคณะทำงานที่สนใจประเด็นปัญหาสารเคมีในจังหวัดน่านทำให้ทราบแผนงาน/กิจกรรมของผู้สนใจ ที่จะทำอยู่แล้ว ดังนี้

1.ทางสาธารณสุขจังหวัดน่าน โดยคุณอุดมรักษ์ กันใจมา มีโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง การกินอาหารปลอดภัย โดยศึกษาตามกลุ่มชนเผ่า 6 ชนเผ่า ในจังหวัดน่านได้แก่ เผ่าลั๊วะ ,เผ่าขมุ,เผ่ามูเซอ,เผ่าม้ง.เผ่าเมี่ยน,เผ่าตองเหลือง ศึกษาในขอบเขตวิจัยถึงวิธีการผลิตอาหารบริโภคอย่างไร ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการศึกษาวิจัย ในวันที่ 11 มิถุนายน 2551 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดน่าน คุณอุดมรักษ์ กันใจมา ได้นำเสนอข้อมูลและงานวิจัยได้เริ่มศึกษาสำรวจความต้องการพืชผักที่จะใช้ในโรงเรียน โรงพยาบาลและค่ายทหาร ในจังหวัดน่าน ในเบื้องต้นได้ศึกษา อ.เมืองและ อ.ภูเพียง เพื่อจะนำไปสู่การส่งเสรอมและการตัดสินใจในการผลิตผักปลอดสารพิษของเกษตรกร

2.ทางโครงการขยายผลโครงการหลวง โดยนายรุ่งเรือง ดีปินตา ได้เสนอหารืองานรณรงค์สารเคมีระดับจังหวัด จะจัดที่ไหนที่ประชุมคณะทำงานเห็นว่าจะจัดที่สันติสุขจะเป็นผลดีเพราะเป็นการรณรงค์ระดับพื้นที่ให้เกิดความตระหนักเป็นรูปธรรมได้ทันที่และให้หน่วยงานต่างได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการและรณรงค์ในช่วงระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2551 (ซึ่งคณะทำงานจะหารือกันต่อในช่วงประชุมวันที่ 11 มิถุนายน 2551)

3.ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน โดยหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน นายช่างสำเร็จ เสนขัน ของช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน แจ้งต่อคณะทีมงานว่ายินดีเป็นศูนย์ประสานงานในเบื้องต้น ในการพบปะหารือในเรื่องดังกล่าว จากการพูดคุยของทีมคณะทำงานในเบื้องต้นจะใช้งานที่กล่าวมาเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานในช่วงเริ่มแรกนี้ซึ่งทีมงานจะได้มีการประชุมในรอบแรกในวันที่ 11 มิถุนายน 2551 ภายหลังจากการนำเสนองานวิจัยต่อทางผู้ว่าราชการจะมีเวทีหารือต่อไป โดยขอให้ทางทีมงานได้เตรียมข้อมูลการทำงานของสารเคมีของหน่วยงานของตนเองมาเสนอเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเชื่อมโยงและหนุนเสริมกันในวันดังกล่าวด้วย

..........................................

สรุป พฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ ของผู้ร่วมประชุมตอบแบบสอบถามมา จำนวน 36 ราย

สรุป - ผู้ที่รับประทานผัก ผลไม้ ครั้งสุดท้าย เมื่อเช้าของวันที่ 3 มิถุนายน 2551 มีจำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 55.56 ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด - ผู้ที่รับประทานผัก ผลไม้ ครั้งสุดท้าย เมื่อวาน มีจำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.89ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด - ผู้ที่รับประทานผัก ผลไม้ ครั้งสุดท้าย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.55 ของผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

สรุป - ผักและผลไม้ที่รับประทานส่วนใหญ่ได้มาจาก การปลูกไว้กินเอง จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 ของผู้ตอบแบบสอบถาม - ผักและผลไม้ที่รับประทานส่วนใหญ่ได้มาจาก การซื้อมาจากตลาดสด จำนวน 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.78 ของผู้ตอบแบบสอบถาม - ผักและผลไม้ที่รับประทานส่วนใหญ่ได้มาจาก การปลูกไว้กินเองและซื้อมาจากตลาดสด จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.89 ของผู้ตอบแบบสอบถาม

สรุป - ผู้เข้าร่วมประชุมมีความมั่นใจว่าผัก ผลไม้ที่บริโภคมีความปลอดสารพิษ จำนวน 12 รายคิดเป็นร้อยละ 33.33 ของผู้ตอบแบบสอบถาม - ผู้เข้าร่วมประชุมไม่มีความมั่นใจว่าผัก ผลไม้ที่บริโภคมีความปลอดสารพิษ จำนวน 24 รายคิดเป็นร้อยละ 66.67 ของผู้ตอบแบบสอบถาม

สรุป - ผู้เข้าร่วมประชุมที่ทราบว่ามีผู้ผลิตในชุมชนจังหวัดน่าน ที่ผลิตผักปลอดสารพิษ จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.67 ของผู้ตอบแบบสอบถาม - ผู้เข้าร่วมประชุมที่ไม่ทราบว่ามีผู้ผลิตในชุมชนจังหวัดน่าน ที่ผลิตผักปลอดสารพิษ จำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของผู้ตอบแบบสอบถาม

สรุป - ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่จะซื้อผัก ผลไม้มาบริโภค จำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 50.56 ของผู้ตอบแบบสอบถาม -ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่จะไม่ซื้อผัก ผลไม้มาบริโภค จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.44 ของผู้ตอบแบบสอบถาม

ความเห็นเพิ่มเติมของผู้เข้าร่วมประชุม

1. อยากให้มีการประชุมหรือเวทีเสวนาอย่างนี้ไปทุกๆอำเภอ แล้วเรียนเชิญเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ตำบล มานั่งฟัง แล้วส่งนักวิจัยลงพื้นดูว่าประชาชนที่มาร่วมเสวนาในครั้งนี้ เขามีการปรับเปลี่ยนเลิกใช้สารเคมีมากน้อยสักเท่าไหร่

2. ขอให้มีการวัดสารพิษเจือปนที่น้ำประปา และบริษัทที่ผลิตน้ำดื่ม เนื่องจากทุกวันนี้จะนำน้ำจากแม่น้ำน่านมาผลิตน้ำดื่ม เห็นควรให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตรวจผัดสารเคมีในน้ำดื่ม

3. ถ้าหากจะให้ประชาชนมีความปลอดภัย ทางรัฐบาลควรลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ ลดการโฆษณาชวนเชื่อทางสื่อต่างๆ เพราะประชาชนรับรู้และกำหนดมาตรการที่เด็ดขาดในการจำหน่าย

4. ควรจะเพิ่มเติมในเรื่องการประชาสัมพันธ์ในพิษภัยของสารพิษและสารเคมีต่างให้มากขึ้นบางครั้งเกษตรไม่ตระหนักในเรื่องนี้พอ และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

5. ควรจะเชิญผู้ประกอบการร้านค้าที่ขายเคมีการเกษตรเข้าร่วมประชุมเสวนาด้วยจะดี

6. ต้องให้ทางหน่วยงานได้เข้าใกล้ประชาชนเร็วที่สุด ชาวบ้านเขาไม่ทันเกมที่จะรู้ก่อนเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง

7. อยากให้ทุกครอบครัวมาปลูกผักสวนครัวภายในบริเวณพื้นที่ว่างภายในบ้านเพื่อลดรายจ่ายในการซื้อผักจากตลาดและปลอดสารพิษได้ด้วย และเปลี่ยนแนวคิดทุนนิยมไปสู่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

8. หน่วยงานท้องถิ่นควรจะส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม โดยหลีกเลี่ยงอาชีพที่ใช้สารเคมี สนับสนุนกิจกรรมเกษตรอินทรีย์

9. ควรจะมีการประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตและจำหน่ายสินค้าปลอดภัย

10. การตรวจสารพิษตกค้างผู้ใช้สารเคมีฆ่าหญ้า ยังยุ่งยากไม่สามารถตรวจได้นอกจากห้องปฏิบัติการทดลอง

11. การรณรงค์หรือการเสวนาต่างๆ จำไม่สำเร็จผลเป็นรูปธรรม หากไม่ลงมือปฏิบัติกันอย่างจริงจัง

ผู้สรุปการประชุม นายสถาพร สมศักดิ์ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๑

เกิดปัญหา ป่าตายเคลื่อนที่ อ่างห้วยขอนแก่น ที่ คลองเปรมประชา และเกิดน้ำป่าพาโคลนไหวสร้างความเสียหายที่ ต.อวน เป็นข้อมูลที่เขียนไว้ นำมาประมวลในการดำเนินการ ที่สำคัญ ประชาคม ม.3 ต.ผาสิงห์ฯ ประกาศห้ามใช้ยาฆ่าหญ้า ฯลฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท