การลดต้นทุนของเกษตรกรต้นแบบ เงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี


การลดต้นทุนของเกษตรกรต้นแบบ เงาะโรงเรียน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จากการที่ สนง.เกษตรจังหวัด ได้เชิญเกษตรกรที่มีความรู้ความเชียวชาญ ชำนาญ ในการปลูกพืช ที่เป็นพืชยุทธศาสตร์จังหวัด จำนวน 3 พืช ได้แก่ เงาะโรงเรียน ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ซึ่งใช้เวลา 1 วัน เต็มๆ ในการถอดรหัสบทเรียนของแต่ละคน ที่มีประสบการณ์ ทำการเกษตร มากว่า 20 – 30 ปี แล้วนำมาหาข้อสรุป ช่วยกันดู เติมเต็ม เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ ที่ดี ในการผลิตพืชทั้ง 3 ชนิด ของจังหวัด 

สำหรับแนวทางการผลิตเงาะโรงเรียนที่ทำให้ต้นทุนต่ำที่สุดนั้น ได้หลักการปฏิบัติมาจากเกษตรกรต้นแบบ เงาะโรงเรียน ที่มีรายนามท้ายบันทึกนี้ สรุปว่า

หลักคิด :

·       ต้นทุนการผลิตสูง  ทำให้ผลตอบแทนต่ำ

·       ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ  ทดแทนปุ๋ยเคมีได้ ปรับเปลี่ยนการใช้ปุ๋ยจากการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว  มาเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ย อินทรีย์ในอัตราที่เหมาะสม  ลดต้นทุนการผลิตแต่ยังคงคุณภาพเหมือนเดิม

หลักการปฏิบัติ

·       หลังการเก็บเกี่ยว  ทำความสะอาดสวน  ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง  ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น (เคมี + อินทรีย์)  อัตรา 1-3  กก. / ต้น  และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

·       การเตรียมการออกดอก ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24  + ปุ๋ยอินทรีย์  1-3 ก.ก. / ต้น

กระตุ้นการออกดอก  ลดการให้น้ำเพื่อเพิ่มความเครียด  เมื่อเข้าระยะแทง  ช่อดอก  ให้น้ำเต็มที่ทุกวัน  ประมาณ 30  นาที  จากหัวพ่นฝอย  ระยะตาดอกถึงดอกบาน  ให้น้ำปกติ  ให้มีความชื้นในสวน  จนถึงระยะดอกสะเดา เร่ง การให้น้ำต่อ

·       ระยะติดผล

o      ผลเท่าเม็ดพริกไทย  ควบคุมน้ำระดับปานกลาง  สม่ำเสมอ

o      ผลเท่าหัวแม่มือ ใส่ปุ๋ยสูตร     3 - 13 - 21, 1-3 กก./ต้น

o      ระยะเข้าเนื้อ  - เข้าเมล็ด  เร่งการให้น้ำเพื่อเพิ่มน้ำหนัก  ใส่ปุ๋ยเร่งสีผิวและเร่งความหวาน สูตร  0  - 0 - 60 ,    0 - 0 - 50 ,   1-3 ก.ก. /ต้น

·       การเก็บเกี่ยว  เก็บเกี่ยวเมื่อเงาะมีขน  3  สี

ปัจจัยเสี่ยง / สิ่งที่ต้องระวัง (คอขวด)

·       ภัยธรรมชาติ  ถ้าหากฝนตกช่วงแทงช่อดอก  ทำให้ตาดอกเปลี่ยนเป็นตายอดและช่วง ดอกบานจะผสมไม่ติด

·       ระยะแตกใบอ่อน-ยอดอ่อน ระวังแมลงศัตรูพืช  หมอนคืบกินใบ  ราแป้ง

·       ระยะดอกบาน  ระวังเพลี้ยไฟ และราแป้ง  ทำลายช่อดอก

·       ระยะผลแก่ระวังผีเสื้อมวนหวาน

เคล็ดลับ

·       ระยะออกดอกและติดผล  ต้องจัดการน้ำให้ถูกต้องตามหลักปฎิบัติ

·       การป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ตามระยะพัฒนาการของพืช  โดยใช้สารเคมีให้น้อยที่สุด  และใช้ชีวภัณฑ์แทน  เช่น สะเดา  น้ำส้มควันไม้  แสงไฟล่อแมลง

·       การจัดการให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอ  โดยมีต้นตัวผู้ในสวน  1 : 10  หรือมีกิ่งตัวผู้ในต้น, การชักนำให้ออกดอกพร้อมกัน  โดยการจัดการน้ำและตัดแต่งกิ่ง การไว้ผลในปริมาณที่พอเหมาะเพื่อคุณภาพของผลผลิต

·       การจัดการปุ๋ย การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในอัตราส่วนที่เหมาะสม  และใช้สูตรปุ๋ยที่ถูกต้องกับช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืช

·       การเก็บเกี่ยว  การใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่น  เพื่อให้ขนสวยไม่มีแมลงรบกวน , ให้น้ำก่อนและระหว่างเก็บเกี่ยว  ตัดช่อผลให้สั้น  เพื่อรักษาสภาพผลเงาะให้สดอยู่ได้นาน

 

ลองดูตัวอย่าง ต้นทุนการผลิตเงาะโรงเรียน (ปี 2550) ของเกษตรกรต้นแบบ ที่ได้ถอดรายละเอียด มานำเสนอดังนี้ครับ

คุณสุวัฒน์  ดาวเรือง  อ.เวียงสระ  เงาะจำนวน 4  ไร่  อายุ  15  ปี   ค่าปุ๋ยเคมี  2 กระสอบ  (8-24-24 , 0-0-60)  ปุ๋ยอินทรีย์  40  กระสอบ  ค่าแรงตัดแต่งกิ่ง  ทำเอง ค่าจ้างตัดหญ้า  3  ครั้ง ๆ ละ 1,200  บาท ค่าสารเคมีกำจัดเชื้อรา  2  ครั้ง ๆ ละ 120  บาท  + ค่าแรง  400 บาท ค่าจ้างเก็บเกี่ยว  5,000  ก.ก.ๆ   ละ 2 บาท  ต้นทุนการผลิต  18,740 บาท : 4,685  บาท/ ไร่ : 3.75  บาท /ก.ก.

 

คุณวิโรจน์  ชูทุ่งยอ  อ.บ้านนาเดิม  เงาะจำนวน 11  ไร่  อายุ  28 ปี  ปุ๋ยเคมี(15-15-15)  2  กระสอบ (8-24-24)  3  กระสอบ  ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับฮอร์โมนไข่(เปิดตาดอก)  300 บาท  ค่าจ้างตัดแต่งกิ่ง  กำจัดวัชพืช  2,000  บาท  ค่าซ่อมแซมท่อน้ำ ค่าน้ำมัน ค่าแรง 2,050  บาท  ค่าสารเคมี + ค่าแรง  3,600  บาท   ค่าไฟฟ้า + มอเตอร์ 1,400  บาท   ค่าจ้างเก็บเกี่ยว 34,000  บาท   ต้นทุนการผลิต  47,370  บาท : 4,306  บาท /ไร่ : 2.70  บาท/ก.ก.

 

คุณวิสิทธ์  ไทยเสน  อ.บ้านนาสาร  เงาะจำนวน 10 ไร่  อายุ  13   ปี  ค่าวัสดุอุปกรณ์ตัดแต่งกิ่ง 1,500  บาท ค่าปุ๋ย (15-15-15)  10  กระสอบ  ปุ๋ยอินทรีย์  40  กระสอบ  ค่าไฟฟ้า + มอเตอร์ 3,750  บาท  ค่าสารเคมี + ค่าแรง  3  ครั้ง 12,840  บาท   ค่าจ้างเก็บเกี่ยว  1.50  บาท/กก. 40,500  บาท   ค่าน้ำมันตัดหญ้า + ขนส่ง  6,000  บาท 

ต้นทุนการผลิต  74,890 บาท : 7,489  บาท /ไร่ : 2.77  บาท /ก.ก.

 

            ข้อมูลนี้เป็นตัวแทนส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน อาจจะดูว่า ต้นทุนการผลิตต่ำ กว่าต้นทุนการผลิตเงาะ ที่จัดทำโดยภาครัฐ  ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 8 – 9 บาท/ ก.ก.  เพราะยังไม่ได้รวมเอาค่าใช้จ่ายอีกบางส่วน ที่เกษตรกรไม่ได้นำมาคิด คำนวณ เช่น ค่าแรงงาน ค่าเสื่อมฯ ค่าเสียโอกาส ค่าตอบแทน และ เป็นข้อมูลของปี 2550 ถ้าเป็นข้อมูล ปี 2551 คงจะเพิ่มขึ้นอีก  จากราคาน้ำมัน ค่าปุ๋ย ที่ปรับสูงขึ้น อย่างมาก  ข้อมูลชุดนี้ จะได้นำไปเผยแพร่ ให้เกษตรกรที่ผลิตเงาะ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้ประโยชน์ต่อไป ครับ

                                        ชัยพร  นุภักดิ์

 

รายนาม เกษตรกรต้นแบบ การผลิตเงาะโรงเรียนของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

อ.บ้านนาสาร   คุณนายวิชัย   กุลศิริ  โทร. 077-345061 คุณวิสิทธิ์  ไทยเสน   โทร. 081-7475173 คุณปัญจพร ศรเพ็ชร โทร. 077-344089, 087-3860954
อ.เวียงสระ คุณพล  อุ่นแท่น  โทร. 089-2887573 คุณวิรัช  กุลน้อย   โทร. 077-363216, 086-2814214 คุณสุวัฒน์  ดาวเรือง  โทร. 077-302581,084-1864524
อ.บ้านนาเดิม คุณประเสริฐ สุทธิรักษ์  โทร. 077-359574 คุณสวาท คงทอง   โทร. 077-252043 คุณวิโรจน์  ชูทุ่งยอ  โทร. 077-252049

ผู้ร่วมเสวนาถอดบทเรียน  :

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากสำนักงานเกษตรจังหวัด คุณโชคชัย  บุญยัง คุณชัยพร  นุภักดิ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากสำนักงานเกษตรอำเภอ คุณปรียา  ทองมาก  คุณทวีวัฒน์  เกียรติเมธา  และคุณอรุณพงศ์  ศรีรัตนาภรณ์ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 185922เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีค่ะ แอบมาเก็บข้อมูลดีๆ อีกแล้ว
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ ปลาเค็ม

  • ช่วงนี้ ผมไม่ค่อยได้เข้ามา ลป.บ่อยนัก ภาระ มาก
  • ขอบคุณที่มาเยือนครับ

ขอบคุณ คุณพี่ หนุ่มร้อยเกาะ ที่นำพวกเราไปขึ้นเขียงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ก่อนหน้านี้พวกเราไม่รู้จักโกทูโน  ถ้าไม่ใช่ภาคบังคับละก็มิได้นำพา  มิฉะนั้นแล้วแหล่งข้อมูลดี  ๆ  หาง่าย  ๆ  ก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด  เพราะสาขาที่พวกเรากำลังศึกษาล้วนเกี่ยวข้องกับวิถีชุมชน   อดีตก็วิ่งอยู่ในชุมชนนั่นแหละ  แต่ปัจจุบันมันตรงกันข้ามไปแล้ว  มึนงงหลงทางอยู่ไม่น้อย  แต่ตอนนี้จะไม่ของงนาน  เพราะพบหนทางสว่าง  ลป.รร.  ได้ที่  คุณพี่  หนุ่มร้อยเกาะ  มีมากมาย  ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

  • มีข้อมูลเปรียบเทียบ รายใหญ่ต้นทุนจะน้อยกว่า
  • ถ้ารวมกลุ่มและลงแขก น่าจะช่วยลดต้นทุนได้อีกทาง
  • ขอบคุณข้อมูลดีๆ
  • คู่มือการปลูกพืชพูดถึงหลักการณ์
  • แต่หลักปฏิบัติต้องปรับเปลี่ยน
  • ได้นักวิชาการเป็นพี่เลี้ยง
  • เกษตรกรที่ทำจริงเป็นต้ยแบบ
  • จนได้แบบอย่างจากการปฏิบัติจริง
  • สุดยอดครับ

สวัสดีครับคุณพี่ เกษตรยะลา

  • ที่ยะลา ไม่ทราบว่า ต้นทุน มาก - น้อย แค่ไหนไหน ครับ
  • สำหรับการลงแขก หาดูยากแล้วครับ แต่ถ้า หวนคืนมาได้ จะดีมากเลย ครับ

สวัสดีครับคุณ เกษตร(อยู่)จังหวัด

  • กำลังวางแผน ขยายผลไปสู่ เกษตรกร ข้างเคียง / เครือข่าย อยู่ครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • ข้อมูลของเกษตรกรที่ลดต้นทุนแล้ว อยู่ที่ 2.70 - 3.75 บาท/กก.  แล้วข้อมูลของเกษตรกรทั่วไปในจ.สุราษฎร์ อยู่ที่เท่าไหร่ ตัวเลขห่างกันมากน้อยแค่ไหนคะ

สวัสดีครับคุณมุ่ยฮวง

  • สำหรับตัวเลข ต้นทุนการผลิต ที่ได้เก็บในพื้นที่ มีความหลากหลาย ตั้งแต่ กก.ละ 4 - 8 บาท
  • ขึ้นอยู่กับ สถานการณ์ตลาด  สถานการณ์ธรรมชาติ  สภาพพื้นที่  ตัวเกษตรกร  ราคาปัจจัยการผลิต ฯลฯ  ครับ
  • สวัสดีค่ะพี่
  • สบายดีนะค่ะ
  • แวะมาเก็บข้อมูล
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

สวัสดีครับคุณอ้อยควั้น (Sirintip)

  • ฝากความคิดถึงพี่ยาว ด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท