แผนการสอน (Lesson Plan)ประวัติศาสตร์กฎหมาย


รายละเอียดการเรียน, เอกสารประกอบ

แผนการสอน (Lesson Plan)

 

ชื่อวิชา           ประวัติศาสตร์กฎหมาย              รหัสวิชา                   230406

กลุ่มที่              1                                              จำนวนหน่วยกิต        3 (3-0)

อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จตุภูมิ ภูมิบุญชู

คำอธิบายรายวิชา

          ที่มาของกฎหมายไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงยุคก่อนการปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูประบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายต่างๆ เช่น ระบบกฎหมายโรมาโน- เยอรมานิค กฎหมายแองโกลแซกซอน กฎหมายสังคมนิยม ฯลฯ ตลอดจนอิทธิพลของกฎหมายดังกล่าวที่มีต่อกฎหมายไทย

 

1. วัตถุประสงค์

         - นิสิตรู้และสามารถอธิบายคุณค่าในการศึกษารายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายได้

       - นิสิตสามารถจำแนกระยะเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยได้

       - นิสิตสามารถอธิบายแนวความคิดธรรมศาสตร์ราชศาสตร์ในกฎหมายไทยโบราณและเปรียบเทียบกับแนวความคิดในกฎหมายไทยในปัจจุบันได้

2. แผนการสอน

 

สัปดาห์ที่ 1-2 :  การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ที่เป็นการศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงความหมายของประวัติศาสตร์ และคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย

เกร็ดประวัติศาสตร์ : ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง

สัปดาห์ที่ 3-5: การจำแนกยุคสมัยในทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย และกระบวนวิธีในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย

Website น่าสนใจเกร็ดประวัติศาสตร์

สุวรรณภูมิ

ทวาราวดี

สัปดาห์ที่ 6-7 :           แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

                        - แนวความคิดว่าด้วย “มานวธรรมศาสตร์ของฮินดู

                   - แนวความคิดทางกฎหมายว่าด้วยธรรมศาสตร ราชศาสตรที่ปรากฏในกฎหมายไทยก่อนปี พ.ศ. 2398

หนังสืออ่านประกอบ

______.,Laws of Manu in the Sacred book of the east

______., กฎหมายลักษณะพยาน. , available from  www.panyathai

พิศาล  บุญผูก., ธรรมศาสตร์มอญเค้ากฎหมายไทย(ตอนที่ ๑ถึง ๔), available from http://www.monstudies.com

สัปดาห์ที่ 8-9 :           แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

                        - การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่แนวความคิดกฎหมายแบบตะวันตก         

สัปดาห์ที่ 10-11 แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

                   - แนวความคิดในกฎหมายไทยปัจจุบัน (นับจาก ปี พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)

                   - การละเลยการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในปัจจุบัน และผลลัพธ์

สัปดาห์ที่ 12-13 : สังเขปการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายโบราณบางลักษณะ                                             (การนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยนิสิต)                 

สัปดาห์ที่ 14-15 : สังเขปการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายโบราณบางลักษณะ               

          (การนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยนิสิต)

         

3.   การดำเนินการจัดการเรียนการสอน

          3.1   บรรยาย                              

3.2   การถาม-ตอบในชั้นเรียน

          3.3    รายงาน / Present หน้าห้องเรียน          

3.4 ดูงานนอกสถานที่

 

4.   การวัดและประเมินผลการเรียน

          4.1   หลักการจัดสรรคะแนน                                 

·       ความมีส่วนร่วมในห้องเรียน

      และการทดสอบย่อยระหว่างเรียน          10    คะแนน

·       รายงานเดี่ยว+  present                               30    คะแนน

·       สอบกลางภาค                                 30    คะแนน

·       สอบปลายภาค                                 30    คะแนน

                   คะแนนรวม                                   100     คะแนน

          4.2   เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล

                   80   คะแนนขึ้นไป                 A        75 – 79   คะแนน       B+

                   70 – 74   คะแนน                 B        65 – 69   คะแนน       C+

                   60 – 64   คะแนน                 C        55 – 59   คะแนน       D+

                   50 – 54   คะแนน                 D        ต่ำกว่า   50   คะแนน   F

 

5.   หนังสือประกอบการเรียน

5.1 แสวง   บุญเฉลิมวิลาศ. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. สำนักพิมพ์วิญญูชน กรุงเทพฯ

5.2 ร.แลงกาต์. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช, กรุงเทพฯ

5.3 จรัญ  โฆษณานันท์. ปรัชญากฎหมายไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร, 2536

5.4 (เอกสารอื่นๆที่อาจารย์มอบหมาย)

 

หมายเหตุ นิสิตสามารถดูแผนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายโดยละเอียด รวมทั้งดูเอกสารเพิ่มเติมที่อาจารย์มอบหมายและแนะนำการเรียนการสอนได้ที่ 

เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์กฎหมาย ๑

เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์กฎหมาย ๒

เอกสารประกอบการเรียน ประวัติศาสตร์กฎหมาย ๓

 เอกสารประกอบคำบรรยาย(มหานิทานสูตรและอัคคัญสูตร) NEW!

เอกสารประกอบคำบรรยาย ประกาศพระราชปรารภและคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ NEW!

เอกสารประกอบการเรียนประวัติศาสตร์กฎหมาย ๔

คะแนนสอบกลางภาคนิสิตภาคพิเศษ 2-2552 New!

 

 

 

 

 

หลักอาศรม 4 ในศาสนาพราหมณ์ ภาพไตรภูมิ
พระไตรปิฎก และกฎหมาย  ไตรภูมิ 
ภพ ภูมิ ในไตรภูมิพระร่วง
อริยบุคคลในภพภูมิ ต่างๆ

                       

 ความเป็นมาของธรรมจักร

                               

 บทวิเคราะห์ อัคคัญญสูตร

ฐานันดรศักดิ์ไทย

ตำนาน พระยาคันคากยกทัพรบพระยาแถน / ตำนานผาแดงนางไอ่

 

 

เรื่องเล่ารามเกียรติ์

 น้ำยาวิชานิติศาสตร์ไทย สมชาย  ปรีชา  ศิลปกุล สำคัญมาก! ไม่อ่านไม่ได้แล้ว

พัฒนาการว่าด้วยการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในประเทศไทยและความเห็นบางประการต่อการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในปัจจุบัน   สำคัญมาก! ไม่อ่านไม่ได้แล้ว

กรุงแตก พงศาวดารฉบับลำบากใจ

บทเรียนของนักกฎหมายจาก เหตุการร์ในประวัติศาสตร์ กรุงแตก !!!!

ตัวอย่างการถกเถียงและวิเคราะห์ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เรื่อง กรุงแตก !!!

สำคัญมาก คำถามแนวข้อสอบปลายภาค

   
หมายเลขบันทึก: 185839เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2008 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (60)

สวัสดีค่ะอาจารย์

วันนี้สอนเรื่องอะไรบ้างคะ

[email protected] นี่ email หนูนะคะมีอะไรติดต่อได้ตลอดค่ะ ปรกติหนูจะเช็คเมลทุกวันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

วันนี้เราเรียนเรื่องต่างๆ ดังนี้ครับ

-หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ครับ และ

-วิพากษวิธีทางประวัติศาสตร์ ครับ

ครั้งหน้าเราจะเรียนเรื่อง

-การจำแนกสาขาในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย และ

-การจำแนกยุคในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

-พัฒนาการของสังคมไทยและการรับเอาแนวความคิดเรื่องพระธรรมศาสตร์

-แนวความคิดเรื่องธรรมศาสตร์ในกฎหมายโบราณของเอเชียครับ

อย่าลืมอ่าน Lecture ของท่านอาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุลนะครับ และตาม Lectureเรื่อง วิพากษวิธีทางประวัติศาสตร์ ที่ผมเพิ่มเติมให้ด้วยครับ

วันนี้ดีใจครับ ครั้งที่แล้วผมสอนเรื่อง ความยอกย้อนของหลักฐานทางประวัติศาสตร์และพูดเรื่องประเด็นปัญหาเรื่องยุคสมัยในการจัดทำศิลาจารึกหลักที่ 1 ครับ

วันนี้มีนิสิตมาแสดงความเห็นด้วย และตั้งข้อสังเกตได้ดีทีเดียว หวังว่าวิชานี้คงให้อะไรกับนิสิตผู้เรียนบ้างนะครับ สำหรับครู ครู OK แล้ว

ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยนะคะ

ส่วนเรื่องวิพากษวิธีทางประวัติศาสตร์หนูจะถามเพื่อนนะคะ

แล้วรายงาน อาจารย์ได้หัวข้อรึยังคะ

ถ้าได้แล้วรบกวนบอกหนูด้วยนะคะ มาบอกในบล็อคนี้ก็ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์คะหนูจะไม่เข้ามาดู 1 อาทิตย์นะคะ เพราะว่าต้องเอาคอมไปซ่อม

มีอะไรฝากเพื่อนหนูไว้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์คะ รายงานหนูเรื่องอะไรคะ

ขอโทษทีหนู ครูมีหัวข้อให้เธอเลือกดังนี้

1.พัฒนาการของหลักสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า (ศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา)

2.พัฒนาการของหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการประชากรในประเทศไทย: หลักกฎหมายสัญชาติ

3.พัฒนาการของการใช้หลักสุจริตในกฎหมายไทย(ศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา)

อย่างไรก็ตามครูต้องบอกให้เธอรู้ก่อนว่าเนื่องจากเธอไปเรียนภาษาอังกฤษที่กรุงเทพ ดังนั้นรายงานของเธอจะต้องเป็นรายงานเดี่ยว หลังจากเธอเลือกหัวข้อได้แล้วให้เธอทำเค้าโครงส่งให้ครูด้วยครับภายในอังคารหน้า 8 กรกฎาคม 51

อ.วิว

หนูเลือกอันที่ 3.พัฒนาการของการใช้หลักสุจริตในกฎหมายไทย ค่ะ

แล้วเค้าโครงหนูจะมาพิมพ์ใส่ไว้ในนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์จะให้หนูส่งให้อาจารย์ทางไหนคะ

หนูอยากส่งให้ทางเมลมากกว่าค่ะ

ขอเมลอาจารย์หน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อีเมล์ของผมคือ [email protected] ครับโทษทีครับผมพึ่งได้เปิดเขียนตอบหลังกลับจากต่างจังหวัดนี้เอง

หนูส่งเค้าโครงไปให้แล้วนะคะ

พอดีว่า internet เพิ่งใช้ได้ค่ะเลยส่งมาดึก

จะให้เพิ่มเติมส่วนไหนอาจารย์ก็บอกหนูด้วยนะคะ

แล้ว midterm สอบเมื่อไรค่ะ เพราะหนูต้องจัดตารางเรียนให้ไม่ตรงกันค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

ถึงสุภาวิดา ครูกำลังกำหนดวันสอบอยู่ตอนนี้กำลังจะถามเพื่อนภาคปกติ เนื่องจากครูถามนิสิตภาคพิเศษแล้วนิสิตภาคพิเศษสามารถเข้าสอบร่วมกับนิสตภาคปกติได้

แรกเดิมทีผมอยากจะสอนในวันศุกร์ที่ 25 แต่กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ถ้าอย่างไรจะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง

เรื่องรายงาน ครูขอแนะนำอย่างนี้ครับ

1.ห้องสมุดนิติศาสตร์ทั้งที่จุฬาและธรรมศาสตร์คนนอกเข้าได้ครับ เว้นช่วงสอบโดยห้องสมุดธรรมศาสตร์ต้องเสียค่าเข้า 20 บาทครับ(อาจจะขึ้นแล้ว) แต่มีเอกสารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กฎหมายเยอะกว่าห้องสมุดจุฬาครับ แต่ที่จุฬามีวิทยานิพนธ์เรื่องหลักสุจริตโดยตรงครับ

2. บทกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ได้มีเฉพาะมาตรา 5 นะครับยังรวมไปถึงมาตรา 421ด้วยครับ

3.เค้าโครงที่ควรปรับ

3.1 ความหมายและเจตนารมณ์ของหลักสุจริต

3.2พัฒนาการของหลักสุจริต

3.3 หลักสุจริตในกฎหมายไทย(ป.พ.พ.)

3.4 ขอบเขต แนวคิดและวิธีการในการใช้หลักสุจริตของผู้พิพากษา

คำว่าขอบเขตน่าจะหมายถึงศาลนำไปใช้ในเรื่องอะไรบ้างด้วยนะครับ

แล้วครูจะรีบแจ้งวันสอบที่ชัดเจนให้เธอทราบอีกครั้ง

อ.จตุภูมิ

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

ถึง สุวิภาดา

พวกเราจะสอบกลางภาคกันวันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม 2551 เวลา 15.00-17.00 น. ให้หนูมาสอบในวันและเวลาดังกล่าวด้วย(ดู Lecture เก่า+Lecture เพื่อนมากๆ)แล้วจะแจ้งห้องให้ทราบอีกครั้งครับ

อ.ครับ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในส่วนของจารึก แบ่ง 6 แบบ คือ

1.

2.

3.ทางศาสนา

4.ทางสัญญา

5.เรื่องราวบุคคล

6.เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปโภค

ข้อ1.และ2. คืออะไรครับ

จดไม่ทันขอบคุณครับ

อ.ครับ

พระสงฆ์องค์แรกที่บวชเข้าพุทธศาสนานี่ คือ พระธัญญาโกธัญญะ ใช่?

พระสงฆ์ที่กล่าวข้างต้น คือ สมมติสงฆ์??

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่าง

คำว่า "พระสงฆ์" โดยแท้จริงหมายถึงผู้บรรลุรรมขั้นต้น คือเป็นพระโสดาบัน หรือบรรลุโสดาปัตติผลคือมีพระนิพานเป็นอารมณ์ และผลของการบรรลุธรรมขั้นต้นคือ ปิดอบายภูมิ หรือไม่มีทางลงไปอยู่ในอบายภูมิที่เป็นภพภูมิหนึ่งในกามภูมิ (ตามจักรวาลวิทยาในแนวพุทธ)ที่เรากราบไหว้ทุกวันนี้คือ "สมมุติสงฆ์" เพราะปุถุชนคนธรรมดานั้นไม่มีญาณแยกได้ว่าใครบรรลุธรรมขั้นไหน ใน"สมมุติสงฆ์"นี้ บางองค์ก็เป็นพระสงฆ์ที่แท้จริง ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ บางองค์ก็เป็นเพียงคนโกนหัวห่มผ้าเหลือง และจากข้อมูลที่ครูพบใน http://www.dhammathai.org/monk/monk01.php

ได้ให้ความกระจ่างว่า ภายหลังพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พระองค์ ได้ตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ปัญจวัคคีย์ ในเวลาจบลงแห่งพระธรรม เทศนา ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่โกณธัญญะ (ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค) ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านที่ได้บรรลุปัตติมรรคเรียกว่าพระโสดาบัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โกณธัญญะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า อัญญา จึงนำหน้าท่านโกณฑัญญะว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

เมื่อท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจง ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ" การอุปสมบทของอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ เรียกการ อุปสมบทแบบนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นองค์แรก

ด้วยเหตุนี้เราจึงถือว่าท่านอัญญาโกณฑัญญะพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

นอกจากนี้

ครู ดูจากในกระทู้ http://www.larntum.in.th/cgi-bin/kratoo.pl/001343.htm พบว่า

โสดาปัตติมรรค=ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาบัน ,ญาณคือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

โสดาปัตติผล= ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน,ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดา

ปัตติมรรค ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน

โสดาบัน = ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน,พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล มี ๓ ประเภทคือ ๑. เอกพีชี เกิดอีก

ครั้งเดียว ๒. โกลังโกละ เกิดอีก ๒-๓ ครั้ง ๓. สัตตักขัตตุปรมะเกิดอีก ๗ ครั้ง เป็นอย่างมาก

ตอบแมน

คำถามที่แมนถามครูนั้นคือ ลักษณะของจารึกที่พบในประเทศไทยครับ มี 6ลักษณะ คือ

1.จารึกที่เป็นประกาศสาธารณะในเรื่องต่างๆ

2.จารึกที่เป็นการประกาศบุญของผู้ที่ได้สร้างปูชนียสถาน

3.จารึกทางศาสนา

4.จารึกที่เป็นการทำสัญญาหรือกระทำสัต์ปฏิญาณต่อกัน เช่นจารึกที่พระธาตุศรีสองรักระหว่างกษัตริย์อยุธยาและกษัตริย์ล้านช้างในอดีต

5.จารึกเรื่องราวของบุคคล

6.จารึกที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องอุปโภค หรือวัสดุนั้นๆ

อ้างอิงจากหนังสือเรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทยครับ เขียนโดย ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ ดร. อาคม พัฒิยะ

ตอบแมน

เพิ่มเติม ถ้าหาหนังสือเล่มที่ว่าไม่ได้เพราะพิมพ์ 25 ปีมาแล่วให้ลองดู เจาะเวลาหาอดีตหลักฐานประวัติศาสตร์ไทย ของ อ.แถสุข นุ่มนนท์ ดูรูปร่างหน้าตาได้ที่

http://www.bookpoint.co.th/bookpoint/main.php?url=product_view&cat_id=222&v1=221&v2=222&v3=&v4=&product_id=266

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยม ครับ กฏหมาย เป็นเรื่องที่หลายคนไม่ยอมเข้าใจ ทำเป็นไม่เข้าใจ ไม่ทราบสอนยากไหมครับ

บางที่ความถูกผิด ต้องพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่าง

ยิ่งเป็นในอดีตยิ่งแล้ว ความรู้สึกนึกคิดแตกต่างกันกับสมัยนี้ เชื่อมโยงกันอย่างไรครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

ส่วนตัวผมเองยังไม่ค่อยได้มีโอกาสแวะเวียนไปอ่านบันทึกของท่านอื่นๆ เลย ทำให้รู้สึกว่าตนเองยังโลกทัศน์แคบอยู่ เลยอยากจะหาเวลาอ่านความเห็นในประเด็นต่างๆ หลายๆ ความเห็นครับเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ตัวเองครับ

ส่วนที่ว่าเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องที่หลายคนไม่ยอมเข้าใจ ทำเป็นไม่เข้าใจ สอนยากไหมนั้นผมไม่แน่ใจว่าจะตอบตรงประเด็นไหมนะครับ ผมว่าโดยจิตวิญญาณของความเป็นครูนั้นครูทุกนก็อยากสอนให้เด็กเข้าใจทุกคนนะครับ แต่เทคนิคแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน

ส่วนกฎหมายเองนั้นก็มีแง่มุมให้คิดครับ และกฎหมายนั้นอิงอยู่กับการใหเหตุผลครับ ซึ่งแท้จริงแล้วการให้เหตุผลบางอย่างสมเหตุสมผลแต่ไม่ถูกต้องชอบธรรมร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ได้ครับ เช่น

1.ช้างเป็นสัตว์

2.ช้างมีสี่ขา

3.เก้าอี้มีสี่ขา

4.ฉะนั้นเก้าอี้เป็นสัตว์

หรือ

1.รัฐบาลเป็นตัวแทนของประชาชน

2.รัฐบาลมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศ

3.ผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเป็นตัวแทนของประชาชน

4.ฉะนั้นผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศ

หรือ

1.รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นเครื่องมือของเผด็จการ

2.รัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ควรมีผลใช้บังคับ

(แต่ถ้าคิดตามหลักการข้างต้นแล้วจะได้ว่า)

3.รัฐบาลมาจากรัฐธรรมนูญ ปี 50

4.ฉะนั้นรัฐบาลก็เป็นเครื่องมือของเผด็จการและไม่ควรมีผลใช้บังคับครับ

ฉะนั้นรัฐบาลควรออกไปครับ (แต่นักการเมืองฝ่ายที่อยากแก้รัฐธรรมนูญมักจะไม่พูดต่อ แล้วมักจะตีรวนไปหาความชอบธรรมด้านอื่นๆ แทน นั่นคงเป็นเหตุผลของแต่ละคนที่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ส่วนบุคคล)

ส่วนคำถามที่ว่าอดีตเชื่อมโยงกับสมัยนี้อย่างไรนั้น ปัจจุบันในทางกฎหมายผมหาความเชื่อมโยงไม่ได้ครับเดิมทีกฎหมายไทยก่อนการปฏิรูประบบกฎหมายเรามีแนวคิดและนิติวิธีของเราเองโดยอิงอยู่กับความเชื่อทางศาสนาและธรรมะ หรือความชอบธรรม และไม่แยกกฎหมายออกจากความเป็นธรรมและยุติธรรม เราคิดว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือให้เกิดความเป็นธรรมครับ แต่ต่อมาหลังการปฏิรูประบบกฎหมายเราลืมรากเหง้าสิ่งดีๆในอดีตครับ เรามีแต่หน้าฉากที่ดูสวยแต่ไม่มีความลึกทางความคิด เราแยกกฎหมายออกจากความเป็นธรรมครับ เราแยกกฎหมายออกจากธรรมะครับ เรามีการสอนกันว่า ความยุติธรรมคือยุติธรรมตามตัวกฎหมายกำหนดครับ ผลคือกฎหมายเป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มที่เครอบครองอำนาจรัฐ โดยไม่สนใจความชอบธรรม ความยุติธรรม ความถูกต้องครับ มีแต่คำว่ายุติธรรมตามกฎหมาย

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดคดีหนึ่งขึ้นคือ

ยายยกทรัพย์ให้หลานเพื่อให้หลานเลี้ยงตัวเองตอนแก่ แต่หลังจากหลานแต่งงานแล้วมีลูกแล้ว หลานก็ตายไปก่อนยาย โดยกฎหมายทรัพย์มรดกเรื่องลำดับชั้นทายาท ทรัพย์มรดก ก็ต้องตกทอดให้ได้กับบุตรของหลานและภรรยาของหลานที่เป็นทายาทชั้นต้นก่อนส่วนยายที่เป็นเจ้าของเดิมนั้นไม่มีสิทธิรับมรดกเพราะเป็นทายาทชั้นรองจากผู้สืบสันดานอีกทีหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้ยายได้มรดกหนึ่งในสามส่วนเพื่อความเป็นธรรมครับ ทั้งๆที่ตัวบทก็ไม่เขียนไว้

จะเห็นว่าถ้ายึดตัวบทอย่างเดียวก็จะมีปัญหานะครับ อาจจะยุติตามกฎหมาย แต่ไม่เป็นธรรมได้ครับ ผมยังไม่ทราบว่าหากข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้จะเกิดอะไรขึ้น... ยายคงไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะกฎหมายเขียนไว้ว่าบุตรของหลานซึ่งเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิดีกว่ายาย ฉะนั้นยายจึงไม่มีสิทธิรับมรดกครับ...

ขอโทษนะครับถ้าผมไปพาดพิงเรื่องหนักๆทางการเมืองเข้า

ขอบคุณอีกครั้งที่แวะมาชมครับ

อาจารย์คะ คะแนนเป็นยังไงบ้างคะ

หนูพอจะรอดไหมคะ ตอนนี้เครียดมากๆค่ะ

เรื่องรายงานหนูไปห้องสมุดที่จุฬามาค่ะ หาที่เป็นวิทยานิพนธ์ไม่เห็นมีเลยค่ะ

ได้แต่ที่เป็นหนังสือมานิดหน่อยอะค่ะ

คะแนนเป็นยังไงบ้างบอกหนูด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ปล.อาจารย์อย่าตรวจโหดมากนะคะ หนูอยากจบจะแย่แล้วค่ะ

ไม่มีคนตกครับ ผ่านทุกคน แต่ได้คะแนนมากน้อยต่างกันออกไป ผมตรวจเสร็จหมดแล้วครับตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา

หนังสือที่จุฬาที่อยากให้ดู

Author สุจิต ปัญญาพฤกษ์, 2514-

Title การใช้สิทธิโดยสุจริต / สุจิต ปัญญาพฤกษ์ = The exercise of rights with good faith / Suchit Punyapurk

Imprint 2541

LOCATION

Law thesis K/TH 275 ส752ก 2541 CHK SHELVES

Law thesis K/TH 275 ส752ก 2541 c.2 CHK SHELVES

Law thesis K/TH 275 ส752ก 2541 c.3 LIB USE ONLY

Law thesis K/TH 275 ส752ก 2541 c.4 LIB USE ONLY

CL thesis วิทยานิพนธ์ LIB USE ONLY

โชคดีครับ

อาจารย์ตอบเมลล์หนูทีค่ะ

ขอบคุณนะคะ

อาจารย์คะ หนูส่งรายงานไปให้แมนแล้วนะคะ คิดว่าวันพฤหัสน่าจะถึงค่ะ

หลังจาก midterm อาจารย์สอนอะไรที่นอกเหนือจากของ อ.ฐาปนัน รึเปล่าคะ

หนูได้รับเมลล์แล้วค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

อ.ครับ

รายงานที่ส่งไปให้ comment ได้เมื่อไหร่ครับ สิ้นสุดส่ง วันพรุ้งนี้ใช่ไหมครับ

แล้วกลุ่มผมจะส่งทันไหม วันนี้วันฟฤหัสแล้วครับ

ขอบคุณครับ

รายงานหนูต้องแก้ไขตรงไหนบ้างคะ

เห็นแมนบอกว่าให้ใส่เชิงอรรถด้วยใช่ไหมคะ

แล้วมีอะไรต้องแก้ไขอีกรึเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะ

ได้รายงานแล้วนะครับ เดี๋ยวผมตอบไปนะครับ

อาจารย์คะ รายงานหนูต้องแก้ะไรบ้างคะ หนูกลัวแก้ไม่ทันค่ะ

หนูส่งงานไปให้แล้วนะคะ

ความเห็นเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่๑

ต้องอธิบายให้นิสิตเข้าใจก่อนนะครับว่าศิลาจารึกไม่ได้มีเพียงหลักเดียวครับ ลองดูที่ http://www4.sac.or.th/jaruk2008/index.php ครับ แต่มีปัญหาเพียงหลักเดียวคือ ศิลาจารึกหลักที่หนึ่งซึ่งก็คือศิลาจารึกหลักที่มีรูปร่างคล้ายหลักกิโลเมตร นั่นแหละครับ ซึ่งปัจจุบันก็ยังอยู่ระหว่างการถกเถียงกันอยู่ และมีข้อสนุบสนุนทั้งสองฝ่าย ในที่นี้ผมขอไม่ตัดสินนะครับว่าใครเป็นผู้ทำขึ้นและทำในสมัยใด แต่ปัญหาที่เกิดถ้าศิลาจารึกถูกทำขึ้นที่หลังจริง คือข้อมูลในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งก็จะกลายเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือไปครับ ว่าที่จริงแล้วพบ จารึกในเขตจังหวัดสุโขทัย92 ชิ้นครับ(ข้อมูลจากโครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)และทำในสมัยต่างๆกัน ในรูปแบบต่างๆกัน ทั้งที่จารึกบนแผ่นหิน และทั้งที่ถูกจารึกในแผ่นโลหะครับ ดังนั้นการที่มีคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องหรือความน่าเชื่อถือของศิลาจารึกเพียงแผ่นเดียวก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลในจารึกอื่นๆจะเชื่อถือไม่ได้ไปด้วย

ศิลาจารึก คือจารึกที่ถูกทำขึ้นบนแผ่นหิน  แต่

จารึก นั้นคือการจารึกตัวอักษรลงบนวัตถุต่างๆ เช่น แผ่นโลหะชนิดต่างๆ ครับ

ลองหาข้อมูลดูครับ เช่น http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/04/K5340413/K5340413.html

หรือดู   จารึกพ่อขุนรามคำแหง : การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ / แต่งโดย พิริยะ ไกรฤกษ์

 

อาจารย์ครับ อาจารย์เอาสไลด์ประวัติศาสตร์กฎหมายอันที่เกี่ยวกับแนวคิดแบบอินเดียและแบบพุทธขึ้นให้หน่อยคับ

จะได้นำมาอ่านประกอบครับ

อินเีดียยังไม่มา ฮือออ หนูจำวันสอบผิดคิดว่าประวัติศาสตร์กฎหมายสอบพฤหัส

อาจารย์เลยได้เห็นหนูเวลานี้ (แต่ไม่ต้องห่วงนะคะ หนูอัดกาแฟเต็มที่ T_T)

มาแล้วนะครับตามคำเรียกร้อง เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ ๓ ออกมาก่อนสอบหนึ่งวันพอดี ออกมาช้าหน่อยนะครับ เหตุผลเพื่อจะได้ดัดหลังเด็กนิสิตที่รักทุกท่านให้หัด Lecture จะได้จับประเด็นเก่งๆ เป็นนักกฎหมายที่มีคุณธรรมพร้อมคุณภาพครับ ๕๕๕๕

ลืมบอกไปครับ สำหรับนิสิตทุกท่าน  ในฐานะอาจารย์ผู้สอนขอให้นิสิตทุกคนโชคดีในการสอบนะครับ สติสมาธิให้บังเกิดขณะทำข้อสอบ  ให้จิตตั้งมั่นอย่าให้ฟุ้งซ่านจนเสียการให้โชคดีทำข้อสอบได้ดีได้เกรดดีๆกันทุกคนครับ

มารับพรก่อนสอบพอดีคะ ฮ่าๆ

หนูจดนะคะอาจารย์ แต่หนูจดที่อาจารย์พูด

จนไม่รู้ว่าหัวข้ออยู่ไหน T_T

จะพยายามมากขึ้นคะ

ผ่านวันสอบไปแล้ว ตกใจข้อ 1.3 มากเลยค่ะ ไม่นึกว่าจะเจอ T^T

โอม...(อาจารย์จงให้คะแนนเยอะๆ)...เพี้ยง!!!

(อิอิ...แอบเล่นของ ^^)

ะกาศงดการเรียนการสอน นิสิตภาคพิเศษ ในช่วงปิดงานกีฬามหาวิทยาลัยและ มีสอนชดเชยในวันเวลาและห้องเรียนดังนี้

ัน

เวลา

ห้อง

หมายเหตุ

๑๒ ธันวาคม ๕๑

๑๗.๐๐-๒๐.๐๐

๔๓๐๘

ชดเชย ๒๗ พฤศจิกายน ๕๑

 ๑๗ ธันวาคม ๕๑

๑๗.๐๐-๒๐.๐๐

๔๓๐๙

ชดเชย ๑๑ ธันวาคม ๕๑

๑๘ ธันวาคม ๕๑

๑๗.๐๐-๒๐.๐๐

๔๓๐๘

เรียนปกติ

๑๙ ธันวาคม ๕๑

๑๗.๐๐-๒๐.๐๐

๔๓๐๘

ชดเชย ๒๕ ธันวาคม ๕๑

๗ มกราคม ๕๒

๑๗.๐๐-๒๐.๐๐

๔๓๐๙

ชดเชย  ๑ มกราคม ๒๕๕๒

๘ มกราคม ๕๒

๑๗.๐๐-๒๐.๐๐

๔๓๐๘

เรียนปกติ

 งดเรียนในวันที่

๒๗ พฤศจิกายน ๕๑, ๑๑ ธันวาคม ๕๑, ๒๕ ธันวาคม ๕๑, ๑ มกราคม ๒๕๕๒

ประกาศมา ณ วันที่ ๖ ธันวามคม ๒๕๕๑

 

ข้อสอบกำลังตรวจครับ ส่วนใหญ่เขียนสั้นเกินไปและ

 ยังขาดเรื่องการจัดเรียงลำดับเรื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นระบบความคิดที่ยังไม่สมบูรณ์ รวมทั้งใช้ตัวอย่างเดียวกับอาจารย์สอนในห้องทำให้เห็นว่า นิสิตยังอ่อนในเรื่องการวิเคราะห์และปรับใช้องค์ความรูที่ศึกษาไปครับ

ครูจะหายตัวไปตรวจข้อสอบสองวันนะครับ ไว้พบกันวันศุกร์ครับ จะพยายาม ประกาศคะแนนให้ได้ครับ.....

    ส่วนนิสิตภาคปกติ เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะพยายามประกาศคะแนนให้ได้นะครับ ไว้พบกันปีหน้าครับ ปิดเรียน อย่าปิดตำรานะครับ เพราะเปิดมาก็จะสอบแล้ว บ๊ายบาย

ประกาศ สำคัญมาก

 เรื่องขอแก้ไขคำสอน 

ตามที่ครูได้บรรยายเรื่องคุณค่าของการบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีให้กับนิสิตภาคพิเศษไปนั้น ภายหลังครูได้ไปค้นเพิ่มและทำการสอบถาม รศ. สมยศ  เชื้อไทย ถึงการบังคับใช้กฎหมายจารีตประเพณีแล้ว ได้พบว่าครูเข้าใจข้อมูลบ่งอย่างคลาดเเคลื่อน เพื่อมิให้เป็นผลร้ายกับนิสิตและให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการนำกฎหมายไปใช้ต่อไปจึงขอแก้ไขคำบรรยาย ซึ่งครูจะได้แจ้งให้ทราบใน Lecture อีกครั้งหนึ่ง เบื้องต้นขอให้นิสิตไปอ่านบล็อกบันทึกการสนทนาทางวิชาการระหว่าง อ.วิว กับ รศ. สมยศ  เชื้อไทย ตาม LINK ที่ปรากฏนี้ด้วยครับ 

http://gotoknow.org/blog/viewbhoom/229278

 

 ปล. หากมีข้อสงสัยให้เขียนมาถามได้ทางบล๊อกนี้

ประกาศ ในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายตั้งแต่วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ให้นิสิตที่มีหนังสือประวัติศาสตร์กฎหมายไทยนำเอาหนังสือของท่านอาจารย์แสวง  บุญเฉลิมวิภาส มาเรียนด้วย และในกรณีที่มีข้อสงสัยให้สอบถามได้ระหว่างเรียน / ผ่านทางBlog นี้

อาจานคะจะclosebookจึงหรอคะ...(ตายแน่)

หนูต้องตายแน่ๆเลยค่ะถ้าopenก็ถ้าจะไม่รอดเหมือนกัน

ยังไงหนูเอาตามเพื่อนละกันค่ะเพื่อนเอาไงหนูเอาด้วย

ควรมิควรแล้วแต่จะกรุณา

ชี้แจงเรื่องข้อสอบปลายภาค (สำคัญมาก)

 

ครูทราบว่านิสิตทุกท่านคงกังวลใจมากเรื่องข้อสอบปลายภาคว่าจะ Open book หรือ Close Book ครับ (ตอนนี้กำลังตัดสินใจอยู่ครับ) สิ่งที่อยากเล่าให้ฟังคือ ไม่ว่าการสอบแบบใดก็ตามครูคาดหวังว่านิสิตจะสามารถถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างถูกต้อง วิเคราะห์ และแสดงความเห็นได้ เพราะพวกเธอเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๔ แล้ว อีกประการหนึ่ง การสอบแม้จะเป็น Open book ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเธอจะสามารถเปิดหาคำตอบได้จากในตำรา หรือ จากคำบรรยาย โดยตรงเพราะ ข้อสอบเน้นการวิเคราะห์บทเรียนและนำมาใช้จริงในสถานการณ์ปัจจุบัน  ส่วนเอกสารนำมาใช้เป็นเครื่องเสริมความแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจะOpen  bookหรือ Close book พวกเธอก็ต้องเตรียมตัวนะ

แต่อย่าเครียดมากนะครับ

ปีใหม่นี้ขอให้สิ่งดีๆทั้งหลายโปรดบังเกิดขึ้นแก่นิสิตที่ขยันขันแข็งทุกท่าน  ให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถณาที่ถูกตามทำนองคลองธรรม ให้สุขสมบูรณ์พร้อมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจครับ

ภูมิใจในตัวลูกศิษย์ทุกท่าน และอยากเห็นทุกท่านประสบความเร็จดังที่ท่านทั้งหลายตั้งใจไว้

 

 อ.วิว

 

 

อาจานคะยังไงก้อเห้นใจเด็กน้อยตาดำๆด้วยนะคะ

อาจารย์ครับ ผมหาความหมายของคำว่า "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" มาให้แล้วครับ คำๆนี้เป็นทั้งคำสมาสและสนธิจากคำ ๕ คำ อันได้แก่ สํ , ปูรณ , อาญา , สิทธิ , ราช ครับ โดยมีความหมายดังนี้

สํ (ป. , ส.) แปลว่า พร้อม, กับ, ดี เป็นคำอุปสรรคในภาษาบาลีสันสกฤต

ปูรณ (ส.) แปลว่า ซ่อมแซมให้กลับคืน

อาญา (ป.:อาณา ; ส. : อาชญา) แปลว่า อำนาจ , โทษ 

สิทฺธิ (ป. , ส.) - อำนาจอันชอบธรรม

ราชย (ส. , ป. : รชฺช)  - ความเป็นพระราชา , ราชสมบัติ (เปลี่ยนรูปมาจากคำว่า ราช (ป. , ส,))

เมื่อนำมาทำการสมาสและสนธิคำเข้าด้วยกัน จึงเขียนในรูปสมการได้ดังนี้ครับ

((สํ+ปูรณ)+อาญา)+สิทธิ+ราชย = สมบูรณาญาสิทธิราชย์

วิธีดูการสมาสสนธิคำ ๕ คำนี้เริ่มจาก

ขั้นที่ ๑ คำว่า "สํ" จะสนธิกับคำว่า "ปูรณ" ได้เป็น "สมฺปูรณ" (เนื่องจากคำว่า สํ เป็นคำมีนฤคหิต เมื่อสนธิกับสระจึงต้องออกเสียง อัม) หรือ "สมบูรณ์" ในภาษาไทย  แปลว่า บริบูรณ์ , ครบถ้วน , ทั้งหมด , เด็ดขาด , สิ้นเชิง

สํ+ปูรณ = สมฺปูรณ

ขั้นที่ ๒ จากนั้นคำว่า "สมบูรณ์" จึงมาสนธิกับคำว่า "อาญา" ตามหลักการสนธิคำแล้ว อะ,อา+อะ,อา เป็น อะ,อา จึงออกมาเป็น "สมฺปูรณาญา" แปลว่า พระราชอำนาจโดยสมบูรณ์

สมฺปูรณ+อาญา = สมฺปูรณาญา

ขั้นที่ ๓ คำว่า "สมฺปูรณาญา" จึงสมาสกับคำว่า "สิทฺธิ" และคำว่า "ราชย์" ออกมาเป็น "สมฺปูรณาญาสิทฺธิราชย์" หรือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในภาษาไทย และมีความหมายว่า "ความเป็นพระราชาอันทรงมีพระราชอำนาจโดยเด็ดขาดทั้งปวง"ครับ

ผมขอจบเพียงแค่นี้นะครับอาจารย์ จขอตัวก่อนละครับ

ขอบคุณมากๆ ครับ ดีจังเลยที่มีลูกศิษย์ดี ครูก็พลอยได้ความรู้ใหม่ๆไปด้วย

นี้เป็นสิ่งยืนยันว่าไม่ใช่เฉพาะอาจารย์เท่านั้นที่ทำงานวิชาการได้ เด็กทุกคนก็ทำงานวิชาการได้ครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ขอแก้ไขข้อผิดพลาดในขั้นที่ ๑ ครับ

ตามความเดิมที่ผมกล่าวว่า คำว่า "สมบูรณ์ (สมฺปูรณ)" นั้นสนธิด้วยวิธีการแบบ "นฤคหิตสนธิ" ("นฤคหิต" เป็นคำเดียวกับคำว่า "นิคหิต" แต่เนื่องจากสระ อะ , อิ , อุ ในภาษาสันสกฤตนั้นสามารถใช้สระ ฤ แทนได้) แต่เนื่องจากนฤคหิตสนธิกับสระจึงใช้เสียง อัม นั้น

ผมพบว่ามีข้อผิดพลาดครับ เนื่องจากหลักการสนธิตามวิธีนฤคหิตสนธินั้น เมื่อสนธิแล้วเป็นจะเปลี่ยนรูปเป็นพยัญชนะท้ายวรรคในแถวที่ ๕ (ดังตารางข้างล่าง) ยกเว้นสนธิกับเศษวรรคกับสระให้แผลงเป็น ง และ ม ตามลำดับ เช่น

สํ+คม (วรรค กะ) = สังคม (ป.)

สํ+จร (วรรค จะ) = สัญจร (ป. ; ส.)

สํ+ฐา+น (วรรค ฏะ) = สัณฐาน (ป. ; ส. สํสฺถาน)

สํ+ธา+อิ (วรรค ตะ) = สนธิ (ป. ; ส.)

สํ+ปตฺติ (วรรค ปะ) = สมบัติ (ป. ; ส. สมฺปตฺติ)

สํ+สรฺค (เศษวรรค) = สังสรรค์ (ส.)

สํ+อช (สระ) = สมัชชา (ป.)

ดังนั้น เมื่อสังเกตคำว่า "ปูรณ" พบว่าอยู่ในวรรค ปะ ซึ่งมีพยัญชนะได้แก่ ป,ผ,พ,ภ,ม จึงต้องแผลงนฤคหิตเป็น ม และออกมาดังสมการ สํ+ปูรณ = สมฺปูรณ ดังนี้ครับ

อาจาย์คะหนูอ่านบทความที่อาจารย์เอามาให้อ่านแล้วนะคะไม่ว่าจะเป็น น้ำยานิติศาสตร์ไทยหรือพัฒนาการฯ เป็นสิ่งที่ดีมากเลยค่ะแล้วหนูก็คิดว่ามันจิงด้วย เศร้าจังประเทศไทย

ดีใจที่เธอได้อ่านมันนะ

บางทีความเศร้าก็เป็นแรงผลักดันให้เราทำอะไรให้ดีขึ้นหลายๆ อย่างนะ  อย่าอยู่กับความเศร้าเลยยังมีงานรอพวกเธออีกเยอะ โดยเฉพาะการสอบเย็นนี้ 555

หวัง

ว่า

เย็นนี้

จะ

มี

บทความดีๆ

ใน

สมุดคำตอบ

ของ

พวกเธอ

มาให้

ครู

อ่าน

ไม่ว่าผลการสอบจะออกมายังไงครูอยากบอกพวกเธอว่า ครูภูมิใจในลูกศิษย์ของครูทุกคน และดีใจที่ได้สอนพวกเธอ

ให้นักกฎหมายรุ่นนี้

ให้ทำหน้าที่ให้ดี ให้คุ้มค่า

ให้เป็นคนสมบูรณ์ในวิญญา

ให้ใช้ค่าเต็มความหมายคำว่า "คน"

บ้านเมืองรอพวกเธออยู่นะ

อาจารย์ครับ ถึงแม้ผมอาจจะสอบตกวิชาของอาจารย์หรือของอาจารย์ท่านอื่นๆอีกก็ตาม แต่มีอยู่วิชาหนึ่งที่ผมจะไม่สอบตกวิชานี้เด็ดขาด วิชานั้นคือ "วิชาความเป็นมนุษย์ผู้มีจริยธรรมและความดี" นี่ไงครับ

อาจารย์คะ หนูพยายามเต็มที่แล้ว แต่ข้อสอบอาจารย์ยากมากเลยค่ะ ยากกว่าข้อสอบโอเพ่นอีก หนูทำไม่ได้เลยค่ะ แต่หนูก็คิดว่าหนูทำดีที่สุดแล้ว ที่เหลือก็แล้วแต่ความปราณีของอาจารย์แหละค่ะ 555555555 (เมื่อเปิดข้อสอบออกดูความหวังในเกรดตัวเดียวของหนูลอยหายไปในพริบตา555+)

สวัสดีคะอาจารย์วิว

หนูเรียนไอทีลอแต่ว่าตัดสินใจไม่เรียนคอมต่อแล้วอะคะ

แต่พอทำเรื่องจบเรียบร้อยแล้วเกรดวิชานิติปรัชญญาดันโดนเอฟ

หนูกลุ้มใจมากคะอาจารย์

ตัวแรกที่โดนแถมยังเป็นตัวที่ทำให้ไม่จบอีก

หนูก็อยากให้คณะเปิดสอนให้เทอมแรกเหมือนกัน

หนูจะไปไม่โต๋เต๋ไป ไปเรียนต่อก็ยังไม่ได้ทำอะไรก็ไม่ได้ถ้าไม่เปิดให้เทอมแรก

หนูเลยมาระบายให้อาจารย์ฟัง เพราะไม่มีที่ปรึกษา

อาจารย์วิวน่าจะเข้าใจเด็กไอทีที่สุดแล้วคะ

ครูเข้าใจอารมณ์นะ

สิ่งแรกเวลาเกิดอะไรขึ้น หรือไม่เกิดอะไรขึ้นที่ครูจะทำเสมอ คือ ทำใจครับ  ทำใจให้มีสติ เหมือนอย่างที่เธอได้เรียนในวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไง บางครั้งสิ่งต่างๆล้วนเกิดขึ้นโยที่เราไม่มีเวลาตั้งรับ สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือ "ตั้งใจให้มีสติ" ครับ แล้วจะได้หาทางแก้ไขต่อไป

ถ้าปัญหาแก้ได้ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวล หรือหากปัญหาแก้ไขไม่ได้ การกังวลก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ทำให้ดีที่สุด นี่แหละเป็นคติที่พุทธศษสนาสอนพวกเรา

บางทีสิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่เข้ามาทดสอบความเข้มแข็งของเธอก็ได้ อย่ากังวล ครูจำได้ว่าลูกศิษย์ครูคนหนึ่ง ไม่จบพร้อมเพื่อนเพราะสอบตกรายวิชาหนึ่ง คือ กฎหมายล้มละลาย เค้าก็ทำใจนานเหมือนกัน  แต่ท้ายที่สุด หลังจากกลับมาเรียนใหม่จนความรู้แน่น สุดยอดแล้ว ก็สอบจบไปได้ ปัจจุบันบรรจุเป็นนิติกรประจำศาลล้มละลายเสียด้วย ฮืมแสดงว่าแน่นจริง

 

ครูอยากแนะนำให้เธอลองตั้งสติ แล้วกลับมาปรับแผนชีวิตใหม่อีกทีอาจจะช่วยให้เธอได้มองอะไรชัดเจนขึ้นนะ ครูจะแนะนำเสมอว่าถ้าเกรดไม่ดี ความรูต้องแน่น ภาษาอังกฤษต้องดี ครูคิดว่าเธออาจจะใช้เวลาช่วงนี้ไปฝึกงานรวมทั้ง เรียนภาษาเพิ่มเติมก็ได้นะ และมันอาจจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเธอก็ได้

 

เดินไปให้ถึงฝันลูก....

 

ครูของพวกเธอ

สวัดดีคับอาจารย์

สบายปะคับ คิดถึงอาจารย์และก็อาจารย์คณะนิติมากๆๆๆๆๆคับ

อยากกลับไปนั่งเรียนกฎหมายเหมือนเดิม ตอนนี้ผมทำงานแล้วนะคับบบ

ยังไงอากาศมอนอมันร้อนมาก ดูแลสุขภาพคับผม

ดนุพล

ครูดีใจที่ได้ข่าวจากเรานะครับแจ้ (ต๊อก)  และยิ่งดีใจอีกที่ทราบว่าเราทำงานแล้ว ตอนนี้ครูมาเรียนภาษาที่ออสเตรเลีย สองเดือนครับจะกลับช่วงเปิดเทอม สบายดีครับขอบใจมาก ได้โอกาสมาเห็นบ้านเมืองและสิ่งใหม่ๆแล้ว อดคิดถึงบ้านเมืองเราไม่ได้ เรายังห่างเค้าอีกหลายขุม ไม่ใช่ว่าบ้านเมืองเค้าดีทุกอย่าง (ที่แย่ๆก็มีมาก)แต่คนส่วนใหญ่มีจิตสำนึกที่ดี รักการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ รู้จักใช้เงิน แล้วรัฐบาลก็สนับสนุนการศึกษาอย่างเต็มที่ ถ้าเป็นไปได้ครูอยากให้ลูกศิษย์ครูมาเรียน มาเรียนรู้ทั้งด้านดีและเสียของเค้า และกลับเอาไปสร้างบ้านเรา

โชคดีนะครับ ฝากความคิดถึงถึงเพื่อนๆทุกคนด้วย

รักและปรารถณาดี

ครูของพวกเธอ

สวัสดีคะอาจารย์

ขอรายงานตัวด้วยคนคะ อาจารย์สบายดีรึป่าวคะ ส่งรูปมาให้ดูบ้างนะคะ

อามคงไม่มีข่าวดีเหมือนๆเพื่อนๆที่บอกว่าได้งานทำกัน

ตอนนี้เพิ่งลงมาจากเชียงใหม่ เป็นช่วงพักกาย พักใจ คือการปฏิบัติธรรมคะ

และรับบุญพิเศษในการสร้างเยาวชนคนดี ให้เกิดขึ้นในสังคมคะ

คงมีแต่บุญมาฝากอาจารย์นะคะ สาธุ

ขอบใจมากๆ ครับที่คิดถึงครู ครูกลับมาถึงพิษณุโลกแล้วครับ ต้องขอโทษด้วยครับที่ตอบช้าไปหน่อย

ทุกคนมีจังหวะชีวิตของเราเองครับไม่ต้องกังวลเรื่องงาน

การปฏิบัติธรรมก็เป็นการทำงานอย่างหนึ่งครับ ถือเป็นข่าวดีครับ

อนุโมธนาบุญด้วยครับ

รักและปรารถณาดี

อาจารย์วิวคะ หนูจะมาประชาสัมพันร้านอาหารคะ

ตอนนี้หนูเปิดร้านไอศกรีมที่หลังมอ เป็นร้านอาหารตามสั่ง ไอติม น้ำปั่น

ชื่อร้านโมนาจ๋าค่ะ อยู่ตรงข้ามร้านข้าวทองหล่อ ใกล้ๆร้านอิ่มอุ่นคะ

อยากให้อาจารย์มาช่วยมาอุดหนุ่นทีร้านด้วยนะคะ หนูลงทุนในส่วนของไอศกรีม เช่าที่ร้านพี่เค้าทำคะ เป็นร้านกระจก น่ารักๆ เหมาะมากกับคู่แต่งงานใหม่อย่างอาจารย์วิวกะอาจารย์อุ๋ม

อาจารย์ช่วยประชาสัมพันร้านให้หนูด้วยนะคะ

อยากให้อาจารย์วิวกะอาจารย์อุ๋มและคณาจารย์ที่คณะทุกท่านช่วยมาอุดหนุนด้วยคะ

ปล. ขอแสดงความยินดีด้วยนะค่ะ ที่อาจารย์วิวที่รักของเด็ก IT.Law ได้สละโสดแล้ว ของให้ชีวิตคู่ของอาจารย์อยู่กันอย่างมีความสุข หวานน่ารักๆแบบนี้ตลอดไป สาธุๆๆๆๆ

มีน้องเมื่อไหร่บอกหนูด้วยนะคะ สิไปผูกแขนให้ อิอิ หนูก็เป็นคนบ้านเดียวกันกับอาจารย์วิวนั่นแหละ

หนูจบจากสตรีราชินูทิศ ที่อุดรค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท