โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลป้องกันโรคอ้วนลงพุง


โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome)

ศุกร์ - เสาร์ที่แล้ว ทีมงานสอ. เชียงพิณ ได้นำพากลุ่มประชาชนเป้าหมาย การดูแลป้องกันโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) ไปเข้าค่ายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ อินเตอร์รีสอร์ท อ. หนองแสง กิจกรรม 2 วัน 1 คืน ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลอุดรธานี นำโดยอาจารย์หมอ KP สุดหล่อ และคุณพี่พยาบาลตุ๊กติ๊กสุดสวย

จั่วหัวข้อไว้ตั้งแต่เช้า ยังไม่มีโอกาส..(เวลา) เขียนต่อ ...วันนี้หมดเวลาแล้ว ฝากข้อมูล โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) ไว้ศึกษาก่อนนะคะ..สวัสดีค่ะ

 

Metabolic Syndrome (โรคอ้วนลงพุง)

 ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์

หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม

กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี

 จุดประสงค์ของบทความ

1.     เพื่อรวบรวมเกณฑ์การวินิจฉัย metabolic syndrome

2.     เพื่อรวบรวมหลักฐานการรักษาภาวะ metabolic syndrome 

บทคัดย่อ

Metabolic syndrome คือกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าวได้แก่ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ตลอดจนปัจจัยที่เป็น prothrombotic และ proinflammatory ผู้ที่เป็น metabolic syndrome จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุของ metabolic syndrome ในปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากโรคอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลิน การรักษา metabolic syndrome มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอันดับแรก การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน การใช้ยาในผู้ป่วย metabolic syndrome ขึ้นอยู่กับว่าความผิดปกติดังกล่าวถึงระดับที่ต้องใช้ยาหรือไม่ตาม guideline ต่างๆที่มีอยู่เช่นยาลดระดับไขมันในเลือด ยาลดความดันโลหิต ยาลดระดับน้ำตาล ตลอดจนการใช้ aspirin แม้ว่าในปัจจุบันจะมีข้อมูลว่าการใช้ยาลดภาวะดื้อต่ออินสุลินเช่น metformin และ thiazolidinedione จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ในผู้ป่วยที่เป็น metabolic syndrome แต่ผลในระยะยาวต่อการลดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นยังไม่ทราบ

คำจำกัดความและเกณฑ์การวินิจฉัยของ metabolic syndrome

                Metabolic syndrome คือกลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบร่วมกันได้บ่อย ความผิดปกติดังกล่าวได้แก่ความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ตลอดจนปัจจัยที่เป็น prothrombotic และ proinflammatory1 metabolic syndromeนี้มีชื่อเรียกพ้องกันหลายชื่อด้วยกันเช่น insulin resistance syndrome2, deadly quartet3, syndrome X4, Reaven syndrome เป็นต้น

                ปัจจุบันมีเกณฑ์ในการวินิจฉัย metabolic syndrome อยู่หลายเกณฑ์ด้วยกันเช่น WHO 19995, European Group for the Study of Insulin Resistance (EGIR)19996, NCEP ATPIII 20017 และ American College of Endocrinology (ACE) 20028 เป็นต้น อย่างไรก็ตามเกณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ NCEP ATPIII เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ได้มีเกณฑ์ในการวินิจฉัย metabolic syndrome เพิ่มขึ้นใหม่อีก 2 เกณฑ์คือเกณฑ์ของ International Diabetes Federation (IDF) 9 และ เกณฑ์ของ American Heart Association (AHA) ร่วมกับ National Heart Lung and Blood Institutes (NHLBI) 10 ของประเทศสหรัฐอเมริกา

                เกณฑ์ของ NCEP ATPIII ในการวินิจฉัย metabolic syndrome จะต้องมีความผิดปกติอย่างน้อย 3 ข้อใน 5 ข้อต่อไปนี้ ได้แก่

1.       อ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวมากกว่าหรือเท่ากับ 102 ซม. หรือ 40 นิ้วในผู้ชาย หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ 88 ซม.หรือ 35 นิ้วในผู้หญิง)

2.       ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล.

3.       ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 40 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 50 มก./ดล.ในผู้หญิง

4.       ความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่

5.       ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร > 110 มก./ดล.

เกณฑ์ของ WHO 1999 ในการวินิจฉัย metabolic syndrome ต้องประกอบด้วยภาวะดื้อ

ต่ออินสุลิน (วินิจฉัยได้โดยมีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร > 110 มก./ดล. หรือ น้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำตาลกลูโคส > 140 มก./ดล. หรือ วัดระดับดื้อต่ออินสุลินได้มากกว่าร้อยละ 75 ของประชากรทั่วไป) ร่วมกับความผิดปกติอย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้

1.       อ้วน (BMI > 30 kg/m2 หรือ อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงเอวต่อสะโพก, W/H ratio, > 0.9 ในผู้ชาย หรือ > 0.85 ในผู้หญิง)

2.       ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล. หรือ ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 35 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 39 มก./ดล.ในผู้หญิง

3.       ความดันโลหิต > 140/90 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่

4.       ระดับอัลบูมินในปัสสาวะ > 20 ไมโครกรัม/นาที หรืออัตราส่วนของอัลบูมิน/ครีตินิน > 30 มก./กรัม

คำจำกัดความของโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกินในคนเอเชียพบว่าต่างจากในคนซีกโลกตะวันตกเนื่องจากดัชนีมวลกาย (BMI) ในการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเริ่มตั้งแต่ 23 กก./2 และจะเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อค่ามากกว่า 25 กก/มม2,11-14 ซึ่งคำจำกัดความของน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในคนเอเชียจะใช้เกณฑ์ > 23 และ 25 กก./2 ตามลำดับ และเส้นรอบวงเอวที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจะถือเกณฑ์ > 90 ซม.หรือ 36นิ้วในผู้ชาย และ > 80 ซม.หรือ 32 นิ้วในผู้หญิง15 ดังนั้นค่า BMI และเส้นรอบวงเอวในการวินิจฉัย metabolic syndrome ในคนเอเชียจึงควรใช้ค่า 25 กก./มม2 และ 90 ซม.ในผู้ชายหรือ 80 ซม.ในผู้หญิง16

สหพันธ์เบาหวานโลก (International Diabetes Federation) 9 ได้ให้เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะ metabolic syndrome ดังนี้คือผู้ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มโรคดังกล่าวจะต้องมีภาวะอ้วนลงพุงทุกรายร่วมกับความผิดปกติทางเมตะบอลิสมอีกอย่างน้อยสองข้อในสี่ข้อ คำจำกัดความของอ้วนลงพุงให้ใช้เส้นรอบเอวที่เป็นเกณฑ์ในแต่ละเชื้อชาติและประเทศเป็นหลัก ในคนไทยจะใช้เกณฑ์ของประชากรที่ศึกษาในประเทศทางเอเชียคือเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 ซม.ขึ้นไปในผู้ชาย และตั้งแต่ 80 ซม.ขึ้นไปในผู้หญิง ความผิดปกติทางเมตะบอลิสมสี่ประการดังกล่าวประกอบด้วยระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด > 150 มก./ดล. ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล < 40 มก./ดล.ในผู้ชาย หรือ < 50 มก./ดล.ในผู้หญิงความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตอยู่ ระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร > 100 มก./ดล. การที่มีการปรับเกณฑ์ของน้ำตาลในเลือดลดลงเนื่องจากเกณฑ์ใหม่ในการวินิจฉัยภาวะ impaired fasting glucose หรือ prediabetes ถือระดับน้ำตาลขณะอดอาหาร > 100 มก.ดล.17

เกณฑ์ใหม่ของ American Heart Association (AHA) ร่วมกับ National Heart Lung and Blood Institutes (NHLBI) ของประเทศสหรัฐอเมริกา10 คล้ายคลึงกับเกณฑ์ของ IDF แตกต่างตรงที่ผู้ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น metabolic syndrome ไม่จำเป็นต้องมีอ้วนลงพุงทุกราย แต่ต้องมีความผิดปกติอย่างน้อยสามข้อขึ้นไปในห้าข้อที่เป็นเกณฑ์ของ IDF (คล้ายคลึงกับเกณฑ์ NCEP ATPIII เดิมเพียงแต่เปลี่ยนค่าเส้นรอบเอวตามเชื้อชาติและระดับน้ำตาลในเลือด)

อย่างไรก็ตาม American Diabetes Association และ European Association of Study of Diabetes 18 ได้ให้ความเห็นว่าการวินิจฉัยภาวะ metabolic syndrome อาจจะไม่เหมาะสมนักเนื่องจากสาเหตุของกลุ่มโรคนี้ยังไม่ทราบชัดเจนและการรักษาในขณะนี้แนะนำให้มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขในแต่ละปัจจัยเสี่ยงมากกว่า

ระบาดวิทยาของ metabolic syndrome

                ความชุกของ metabolic syndrome ขึ้นอยู่กับอายุ เชื้อชาติและเพศ อายุมากขึ้นจะมีความชุกเพิ่มขึ้น การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าความชุกของโรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 25 ของประชากรทั้งประเทศ19 เชื้อชาติ Mexican-American จะมีความชุกมากกว่า African-American ในคน Caucasians ด้วยกันเองชาวอเมริกันจะพบว่าความชุกของภาวะนี้มากกว่าชาวยุโรป เนื่องจากโรคอ้วนพบในชาวอเมริกันมากกว่าชาวยุโรป ข้อมูลของประเทศสิงคโปร์พบ metabolic syndrome โดยเกณฑ์ของ NCEP ATPIII ร้อยละ 12.2 ของประชากรอายุระหว่าง 18-69 ปี แต่ถ้าใช้เกณฑ์เส้นรอบเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII (> 90 ซม.หรือ 36นิ้วในผู้ชาย และ > 80 ซม.หรือ 32 นิ้วในผู้หญิง) ความชุกจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 17.9 คนสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียจะมีความชุกสูงกว่าคนเชื้อสายมาเลย์และเชื้อสายจีนตามลำดับ12

ข้อมูลความชุกของกลุ่มโรคนี้ในประเทศไทยจากการศึกษา Interasia 20 โดยศึกษาในประชากรไทยทั่วประเทศที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 5,091 ราย พบความชุกร้อยละ 21.9 โดยใช้เกณฑ์ของ NCEP ATPIII แต่ถ้าใช้เกณฑ์เส้นรอบเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII ความชุกจะเพิ่มเป็นร้อยละ 29.3 เพศหญิงจะพบมากกว่าเพศชายโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ความผิดปกติในแต่ละข้อของ metabolic syndrome พบว่าที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือ ภาวะที่ระดับ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำ ซึ่งพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในขณะที่ความชุกของเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ของ NCEP พบเพียงร้อยละ 14.2 และเพิ่มเป็นร้อยละ 35.8 ถ้าใช้เกณฑ์ของเส้นรอบเอวในคนเอเชีย

 การศึกษาในผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานที่อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไปจำนวน 1623 คนทั่วประเทศ อายุเฉลี่ย 43 ปี พบภาวะนี้ร้อยละ 24.121 (เพศชาย 22.2 และเพศหญิง 24.7)ถ้าใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ NCEP ATPIII และร้อยละ 33.3 (เพศชาย 36.0 และเพศหญิง 32.6)ถ้าใช้เกณฑ์ของเส้นรอบเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII การศึกษาดังกล่าวยังพบความชุกของ metabolic syndrome ในโรคและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงดังนี้ โรคอ้วน (BMI > 30 kg/m2) ร้อยละ 38.2 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 34.2 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 200 มก./ดล. หรือ เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มก./ดล.) ร้อยละ29.4 ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรมีน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม ร้อยละ 17.9 ผู้ที่มีประวัติครอบครัวสายตรงเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 14.1

การศึกษาที่เป็นการศึกษาในกลุ่มประชากรพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในกรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ.253822 อายุระหว่าง 35-54 ปีจำนวน 3499 รายพบความชุกของ metabolic syndrome ร้อยละ 16.4 (เพศชาย 18.2 และเพศหญิง 9.4) ถ้าใช้เกณฑ์การวินิจฉัยของ NCEP ATPIII และร้อยละ 21.5 (เพศชาย 23.6 และเพศหญิง 13.7) ถ้าใช้เกณฑ์ของเส้นรอบวงเอวของคนเอเชียใน NCEP ATPIII

การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของประเทศไทยจำนวน 2252 ราย พบภาวะ metabolic syndrome โดยเกณฑ์การวินิจฉัยของ NCEP ATPIII ร้อยละ 5923

                ปัจจุบันยังมีความผิดปกติอื่นๆอีกที่พบร่วมกับภาวะ metabolic syndrome ได้แก่ภาวะ proinflammatory state คือพบว่ามีระดับ CRP ในเลือดสูง24 และ prothrombotic state คือพบว่าระดับ plasminogen activator inhibitor (PAI-1) และ fibrinogen สูง25 ซึ่งทั้งสองภาวะดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเช่นกัน26 นอกจากนี้ภาวะ metabolic syndrome ยังพบร่วมกับภาวะ fatty liver และ nonalcoholic steatohepatitis (NASH) เชื่อว่าความอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลินเป็นสาเหตุของการสะสมไขมันในเนื้อตับและกรดไขมันที่สะสมภายในตับร่วมกับภาวะ oxidative stress จะก่อให้เกิดการอักเสบของตับตามมา27

 สาเหตุของ metabolic syndrome

                สาเหตุหลักของภาวะ metabolic syndrome มีอยู่ 2 ประการใหญ่ๆคือ ความอ้วน และภาวะดื้อต่ออินสุลิน1 โรคอ้วนโดยเฉพาะอ้วนบริเวณพุงเป็นเหตุให้เกิดความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงรวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ การที่มีเซลล์ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนต่างๆจากเซลล์ไขมันออกมาสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้นเช่น nonesterified fatty acids (NEFA), cytokines และ PAI-1 เป็นผลให้เกิดความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ในคนอ้วนจะพบว่ามีระดับฮอร์โมน adiponectin ในกระแสเลือดลดลง ฮอร์โมน adiponecitin เป็นฮอร์โมนที่พบในเซลล์ไขมันเท่านั้น ระดับ adiponectin ในเลือดที่ต่ำจะสัมพันธ์กับภาวะดื้อต่ออินสุลิน และเป็นตัวทำนายการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ภาวะดื้อต่ออินสุลินเกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมและสาเหตุภาย-นอก เช่นความอ้วน อายุที่มากขึ้นและยาบางชนิด คนที่อ้วนลงพุงจะมีภาวะดื้อต่ออินสุลินมากกว่าคนที่อ้วนบริเวณสะโพก เนื่องจากไขมันบริเวณพุงจะสลายตัวเป็น NEFA ได้มากกว่าไขมันบริเวณสะโพก28 NEFA ที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดจะยับยั้งเมตะบอลิสมของกลูโคสที่กล้ามเนื้อได้29 และ NEFA ที่ออกมาจากไขมันบริเวณพุงจะเข้าสู่ตับโดยตรงได้มากกว่าไขมันบริเวณสะโพก  

การรักษา Metabolic syndrome

            การรักษา metabolic syndrome ประกอบด้วยการแก้ไขปัจจัยที่เป็นสาเหตุได้แก่โรคอ้วนและภาวะดื้อต่ออินสุลิน นอกจากนี้การรักษาแต่ละปัจจัยเสี่ยงเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต (lifestyle modification) จึงเป็นการรักษาหลักอันดับแรกที่ต้องปฏิบัติ30

       หลักการรักษาโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินทำได้โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังโดยให้ลดพลังงานจากอาหารที่รับประทานและเพิ่มการออกกำลังกาย31 การลดอาหารเพื่อการลดน้ำหนักที่ได้ผลมากที่สุดในระยะยาวคือการลดพลังงานจากอาหารที่ควรได้รับประมาณวันละ 500-1,000 แคลอรี่ 31 เป้าหมายที่เหมาะสมในการลดน้ำหนักคือการลดน้ำหนักให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 5-10 ในช่วง 6-12 เดือน การลดน้ำหนักในระยะยาวที่จะได้ผลดีนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการออกกำลังกายร่วมด้วย การลดน้ำหนักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้น้ำหนักลดลงอย่างน้อยร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวเริ่มต้น พบว่าทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง และระดับเอช-ดี-แอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น31 การศึกษาในผู้ป่วย metabolic syndrome ที่มีเบาหวานแฝงพบว่าการลดน้ำหนักโดยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 3 ปีสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ 32

            การออกกำลังกายนอกจากจะมีผลดีต่อการลดน้ำหนักตัวแล้วยังพบว่าทำให้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้นด้วย การออกกำลังกายควรจะทำทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาทีด้วยความแรงของการออกกำลังกายที่เหมาะสม (moderate intensity) นอกจากนี้การออกกำลังกายในระยะเวลาสั้นๆครั้งละ10-15 นาทีเช่นการเดินเร็วๆ การทำงานบ้าน แต่ทำบ่อยๆวันละหลายครั้งก็พบว่ามีประโยชน์เช่นกัน33

            การรักษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ การรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การรักษาความดันโลหิตสูงและการรักษาน้ำตาลในเลือดสูง30

            การรักษาไขมันในเลือดผิดปกติในผู้ป่วย metabolic syndrome ตามแนวทางปฎิบัติของ NCEP ATPIII แนะนำให้ยึดตามความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ 34 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก (very high risk) ได้แก่ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้วและผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง (high risk) ได้แก่ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยสองข้อ (ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ 1. ผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีหรือผู้หญิงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป 2. มีประวัติญาติสายตรงป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายก่อนอายุ 55 ปีในผู้ชายหรือก่อนอายุ 65 ปีในผู้หญิง 3. สูบบุหรี่ 4. เป็นโรคความดันโลหิตสูง 5. ระดับเอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอลในเลือดต่ำกว่า 40 มก./ดล.) ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงน้อย (low risk) ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงน้อยกว่าสองข้อ ไขมันที่ต้องพิจารณาตัวแรกคือ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลหรือไขมันตัวร้าย โดยเกณฑ์ที่เหมาะสมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมากคือน้อยกว่า 100 มก./ดล. (ในผู้ป่วยบางรายเช่นผู้ป่วย acute coronary syndrome เกณฑ์ที่เหมาะสมอาจจะต้องน้อยกว่า 70 มก./ดล.) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ความเสี่ยงสูงเป้าหมายของแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลควรมีระดับน้อยกว่า 130 มก./ดล. ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยเป้าหมายของแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลควรมีระดับน้อยกว่า 160 มก./ดล. การรักษาประกอบด้วยการควบคุมและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ยาที่ควรใช้เป็นอันดับแรกในการลดแอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลคือยาในกลุ่ม statin หลังจากที่แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลได้ตามเป้าหมายแล้วให้พิจารณาที่ระดับไตรกลีเซอไรด์ ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 400 มก./ดล.หลังจากที่ควบคุมอาหารและออกกำลังกายแล้วควรพิจารณาให้ยาในกลุ่ม fibrates เพื่อป้องกันการเกิดโรคตับอ่อนอักเสบจากการที่ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมาก ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ระหว่าง 200-400 มก./ดล.ให้พิจารณาค่า non-HDLโคเลสเตอรอลเป็นเกณฑ์ (ค่า non-HDLโคเลสเตอรอล คำนวณได้จากระดับโคเลสเตอรอลรวมลบด้วยเอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล) เป้าหมายของ non-HDLโคเลสเตอรอลในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด กลุ่มความเสี่ยงสูงและกลุ่มความเสี่ยงน้อยเท่ากับ 130, 160 และ 190 มก./ดล. ตามลำดับ ยาที่ใช้ลดระดับ non-HDLโคเลสเตอรอล ให้ได้ตามเป้าหมายอาจจะใช้ยาในกลุ่ม statins หรือกลุ่ม fibrates ก็ได้ ในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาในกลุ่ม statins และ fibrates ร่วมกันเพื่อที่ทำให้ระดับแอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลและ non-HDLโคเลสเตอรอลตามเป้าหมาย การรักษาภาวะเอช-ดี-แอลโคเลสเตอรอลต่ำ (น้อยกว่า 40 มก./ดล.) มุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายเป็นหลัก ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอาจจะพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม fibrates เพื่อเพิ่มระดับเอช-ดี-แอลโคเลสเตอรอลได้

            การลดความดันโลหิตในผู้ป่วย metabolic syndrome เป้าหมายของความดันโลหิตในผู้ป่วย metabolic syndrome คือน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเป้าหมายของความดันโลหิตควรน้อยกว่า 130/80 มม.ปรอท การลดน้ำหนักโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้แก่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นการรักษาอันดับแรกที่ต้องทำในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่เป็น metabolic syndrome30 การลดน้ำหนักลงร้อยละ 10 ของน้ำหนักเดิมหรือลดน้ำหนักลงประมาณ 10 กิโลกรัม สามารถลดความดันโลหิตซิสโตลิกได้ประมาณ 7 มม.ปรอท และความดันไดแอสโตลิกได้ประมาณ 3 มม.ปรอท35 ในกรณีที่ความดันโลหิตยังลดลงมาไม่ได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องการหลังจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแล้วก็ควรจะพิจารณาใช้ยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย36 หลักในการเลือกใช้ยาลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่เป็น metabolic syndrome มีวัตถุประสงค์ในการลดการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดจากความดันโลหิตสูง ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบยาลดความดันโลหิตชนิดต่างๆในผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะ แม้ว่ายาลดความดันโลหิตในกลุ่ม alpha-1- blocker จะเป็นยาที่มีผลดีในแง่การลดภาวะดื้อต่ออินสุลินมากกว่ายาลดความดันโลหิตตัวอื่น37 แต่จากการศึกษา ALLHAT พบว่าการใช้ยาในกลุ่ม alpha-1- blocker เป็นยาตัวแรกในการลดความดันโลหิตจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวมากกว่ายาขับปัสสาวะ38 ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาตัวแรกในการลดความดันโลหิต ในทางทฤษฎียากลุ่มที่น่าจะมีผลดีที่สุดในการรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย metabolic syndrome คือ ACE-Inhibitors และ angiotensin receptor blockers เนื่องจากยาดังกล่าวมีผลลดการกระตุ้นของระบบเรนินและแองจิโอเทนซิน และทำให้ลด proteinuria นอกจากนี้

หมายเลขบันทึก: 185471เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2008 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

องค์การอนามัยโลกให้คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก(31 พฤษภาคม) ว่า เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจต้านภัยบุหรี่

สวัสดีค่ะ

  • ถ้าป้าแดงทำโครงการบ้าง ทีมอุดรจะมาช่วยมั้ยนะ

สวัสดีค่ะท่านผอ. ประจักษ์

  • ณ ปัจจุบัน โรงเรียนให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น
  • ขอชื่นชม ยินดี กับเด็กนักเรียน และเยาวชนรุ่นใหม่...
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณป้าแดง

  • ติดต่ออาจารย์หมอ KP และทีมงาน น่าจะ OK ค่ะ
  • และโครงการก็น่าจะเริ่มต้นที่เจ้าหน้าที่เราก่อน..จะดีมาก
  • ที่อุดร..เริ่มก้าวไปหลายก้าวแล้วค่ะ
  • กลุ่มเป้าหมายแรก ๆ ก็เป็น จนท. ผู้ป่วยเบาหวาน และกลุ่มอ้วนลงพุง
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • สนใจเรื่องอ้วนลงพุงเหมือนกัน
  • วันนี้เลยได้ความรู้ไปเต็มอิ่มเลย
  • ขอบคุณนะคะ

อ่านแล้วกลัวเป็นเหมือนกัน เย็นนี้ไปวิ่งสัก 500 รอบ(รอบต้นมะขาม อิอิๆ)

สวัสดีค่ะคุณAngelNURSE

  • อ้วนลงพุง กำลังเป็นหัวข้ออิเทรนสำหรับคนสา' สุขทีดียวค่ะ
  • ตามโครงการคนไทยไร้พุง
  • ซึ่งเราเองก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะคะ
  • กำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ ...อิ อิ
  • ดีใจ ที่มีคนอ่านแล้วได้ประโยชน์มากมาย
  • ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

  • ระวังจะได้เป่าน้ำ ก่อนจะครบ 500 รอบนะคะ ...555
  • จะร้องหายาดมไม่ทันเน้อ !!!~
  • เป็นห่วง....อิ อิ

 

  • มาทักทาย
  • บอกว่า ห้ารอบรอบต้นมะขามไม่ใช่สนาม
  • อิอิๆๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

  • สบายดีมั๊ย
  • ก็รอบต้นมะขามแหละ เกรงจะเวียนหัวเป็นลมเป็นแล้งไปซะก่อน 5 5 5
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

 

ขอบคุณสำหรับบทความนะคะเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ ธารน้ำ

  • ดีใจจังค่ะที่ได้รับประโยชน์
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมบันทึกเก่า ๆ นะคะ
  • สุขสันต์วันมาฆบูชา ค่ะ...^_^



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท