นอนมากหรือน้อยเกิน อาจเสี่ยงเบาหวาน


...ผลของอะไรที่มากเกินหรือน้อยเกินไปแล้วทำให้เกิดผลเสียนี่ ฝรั่งเรียกว่า ปรากฏการณ์รูปตัวยู (U-shaped) เรื่องนี้คนไทยรู้จักกันดีในแนวคิดของ "ทางสายกลาง" อะไรที่เกินไป(น้อยเกิน หรือมากเกิน)มักจะไม่ดี...

                

เราๆ ท่านๆ คงจะชื่นชอบการนอนไม่มากก็น้อย... ผู้เขียนไม่เคยได้ยินใครบ่นเลยว่า ไม่ชอบนอนอะไรทำนองนี้

  • อาจารย์ ดร.เฮนรี่ คลอร์ แยกกิ แห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาติดตามผู้ชายวัยกลางคนและสูงอายุ ติดตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1,100 คนนาน 15 ปี

 Sleeping In Class

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่นอนมากหรือน้อยเกินอาจเสี่ยงเบาหวาน

  1. คนนอนน้อย:
    ผู้ชายที่นอนน้อยกว่าคืนละ 6 ชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่นอนคืนละ 7-8 ชั่วโมง
  2. คนนอนมาก:
    ผู้ชายที่นอนมากเกินคืนละ 8 ชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่นอนคืนละ 7-8 ชั่วโมง

ผลของอะไรที่มากเกินหรือน้อยเกินไปแล้วทำให้เกิดผลเสียนี่ ฝรั่งเรียกว่า ปรากฏการณ์รูปตัวยู (U-shaped)

  • เรื่องนี้คนไทยรู้จักกันดีในแนวคิดของ “ทางสายกลาง” อะไรที่เกินไป(น้อยเกิน หรือมากเกิน)มักจะไม่ดี

 

คำแนะนำสำหรับท่านที่หลับยากคือ ควรออกกำลังกาย และใช้แรงในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงบุหรี่ กาแฟ ชาก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง

  • นอกจากนั้นควรงดเหล้า(เบียร์ ไวน์...) เนื่องจากทำให้เสี่ยงต่อการกรนมากขึ้น เมื่อกรนแล้วจะทำให้คุณภาพของการนอนหลับลดลง
  • ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพของการหลับ การตื่น และการฝันดีถ้วนหน้าครับ...

    แหล่งข้อมูล:  

หมายเลขบันทึก: 18531เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2006 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียนท่านอาจารย์หมอวัลลภ ครับ

ผมต้องขอขอบคุณมากที่นำเรื่องนี้มาลง ให้ข้อคิดดี ๆ กับผมมาก หลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำให้ผมกลับมาฉุกคิดในเรื่องของทางสายกลางอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่หลงลืม ชอบไปทำอะไรแบบสุด ๆ อยู่เป็นประจำในระยะหลัง ๆ นี้ จนทำให้เสียสุขภาพโดยไม่จำเป็น

อ.วัลลภ เขียนมาได้เหมาะเวลาดีจริงๆ ค่ะ ดูจากเวลาที่ อ.วิบูลย์ เขียนข้อคิดเห็นแล้ว หวังใจได้ว่า อาจารย์จะเข้านอน หลังจากพิมพ์จบคำสุดท้าย

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์วิบูลย์ และอาจารย์มาลินีครับ...
  • เรื่องนอนนี่มีข้อคิดอีกอย่างหนึ่งได้แก่
    นอนหัวค่ำ(ก่อน 4 ทุ่ม)-ตื่นเช้า มีแนวโน้มจะดีกับสุขภาพมากกว่า นอนดึก(หลัง 4 ทุ่ม)-ตื่นสาย
  • ฮอร์โมนสร้างและซ่อมแซมร่างกาย (growth hormone) หลั่งมากประมาณ 0.00-2.00 น.
  • ฮอร์โมนดังกล่าวจะหลั่งได้เต็มที่ถ้าเราหลับสนิทในช่วงเวลาดังกล่าว
  • ขอให้อาจารย์ และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี จะได้มีแรงทำประโยชน์ให้ทุกคน ทุกฝ่ายได้นานๆ

แล้วหากเรา train ให้ Biological clock ของเราเป็นพวกนอนดึกมานานแล้วหละคะอาจารย์ เวลาของ Growth hormone จะปรับเปลี่ยนตาม biological clock ด้วยหรือไม่คะ

ชมรมคนนอนดึกนี่ ผมเข้าใจว่ามีเพียบเลยในรั้วมหาวิทยาลัย ทำไงกันดีพวกเรา
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์จันทวรรณ และอาจารย์วิบูลย์...
  • ข้อสังเกตของอาจารย์จันทวรรณน่าสนใจมากครับ
    คำถามนี้เกินกำลังของผมที่จะตอบได้ในเวลานี้
  • ข้อสังเกตของอาจารย์วิบูลย์เรื่องคนมหาวิทยาลัยนอนดึกนี่ ขอยกเรื่อง "Gold standard" หรือมาตรฐานที่ดีที่สุดมาเปรียบเทียบครับ...
  • ชีวิตคนเราส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาเพื่อใช้ "มาตรฐานทอง" ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการเงินนี่ดีที่สุดควรใช้ทองคำแท้แทนเงิน ระบบการเงินของสหรัฐอเมริกาช่วงแรกก็ใช้ทองคำอ้างอิง นำดอลลาร์ไปแลกทองได้ ต่อมาปริมาณเงินมากขึ้น ทำให้ทองคำไม่พอแลก เท่าที่จำได้...เกิดข้อตกลงใหม่ที่ชื่อ "Bratton wood" เลิกใช้ทอง
  • ถ้าเปรียบเป็นรถ ชีวิตคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เกิดมาเพื่อใช้เบนซ์ ส่วนใหญ่ชีวิตเรามักจะได้สิ่งที่ดีรองลงไป "Second best" ของที่ดีรองลงไป หรือมาตรฐานเหรียญเงิน (silver standard) นี้... ถ้าใช้ด้วยสติปัญญาแล้วมักจะดีราวกับเป็น "น้อง" ของสิ่งที่ดีเลิศ หรือบางครั้งกลับดีกว่าเสียอีก เช่น Toyota Camry กลับมีจำนวนจุดบกพร่องน้อยกว่า Benz ฯลฯ
  • ชีวิตคนเราก็คล้ายกัน... บางทีไม่ได้สิ่งที่ดีเลิศ เราก็ควรใช้สิ่งที่ดีรองลงไปอย่างดี สมมติว่า เป็นไก่แจ้(นอนหัวค่ำ-ตื่นเช้า)ไม่ได้...เราก็เป็นนกฮูก(นอนดึก-ตื่นสาย)ที่ดีได้เช่นกัน
  • เราอาจจะกล่าวอย่างนี้ก็ได้...
    "Whatever will be, be good and be you"
    (ไม่ว่าคุณจะเป็นอะไร
    ขอให้เป็นคนดี และมีความพอดีแบบคุณ) หรือ
    "Bgood BU"
    (ไม่ได้โฆษณาให้มหาวิทยาลัยบูรพา / BU นะครับ...)
ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่ทำงานดึกๆ แต่จะอยู่ราวๆ ไม่เกินตีหนึ่ง แต่ก็จะไม่เป็นประจำ แต่อย่างน้อยทุกวันคือเที่ยงคืน แล้วตื่นประมาณ 6โมงเช้า สงสัยว่าต้องปรับนิสัยการนอนเสียแล้วครับอย่างนี้
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์หนึ่ง และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
  • การนอนหัวค่ำ + ตื่นเช้าหน่อยมักจะดีกับสุขภาพมากกว่าการนอนดึก...
  • ถ้าชอบนอนดึกก็ไม่น่าห่วงอะไรมากมาย เพราะสาระของการนอนอยู่ที่นอนหลับสนิท
  • ขอให้อาจารย์หนึ่ง และท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดี
    จะได้ทำงานดีๆ ให้ประเทศชาติได้มากหน่อย...
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท