มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ทันตสาธารณสุข กับ สื่อ


เมื่อวานในประชุมกลุ่มย่อย พวกเรา stakeholders ของ oral health care for frail elders หลายกลุ่มคุยกันว่า demand ของคนไข้ที่ทำฟันขาว หรือ extream makeover มาจากไหน (เราต้องคุยเรื่องนี้เพราะผู้สูงอายุรุ่นใหม่ baby boomers จะไม่เหมือนผู้สูงอายุรุ่นนี้ เราต้องพร้อม)

ตอบว่า demand ก็มาจากสื่อสร้าง ว่าฟันต้องสวยเหมือนนางแบบนายแบบ ดารงดารา  แล้วเราจะแก้อย่างไร แถมศัตรูใหญ่ของโรคในช่องปากและโรคทางระบบตัวดีคือน้ำตาล คือน้ำอัดลม ซึ่งใช้สื่อโฆษณาอย่างได้ผลอย่างแรง แล้วทันตสาธารณสุขจะสู้อย่างไร

ก็คุยกันหลายประเด็น เรื่องการศึกษาเรื่อง public awareness ต่างๆ มัทรอจังหวะบอกไปว่า ก็เรารู้แล้วว่าสื่อใช้ได้ผล เราก็เอาสื่อสู้กลับสิ

มีนักการตลาดที่สมาคมทันตแพทย์(เอกชน)ประจำจังหวัดจ้างมาพูดขึ้นมาว่า ไม่ได้หรอก จะสู้พวกนั้นต้องใช้สื่อแพง pepsi coke ใช้ 45 ล้านเหรียญ จะไปสู้ได้ไง เราเคยทำ campaign 4 ล้าน (เป็น social responsibility) ได้โฆษณาตอนตี 1 - ตี 5 ไม่มีคนดู มัทก็ไม่เถียงกลับ พยักหน้าเข้าใจ แต่ก็รอจังหว่ะใหม่อยู่

แล้วพอพูดกันเรื่องนโยบาย มีคนเสนอว่าต้องใช้กฎบังคับหมอให้มีความรับผิดชอบมากขึ้นไม่ over treatment ในกลุ่มก็เถียงกันว่าแล้วมันจะทำให้เป็นรูปร่างได้อย่างไร ไม่เห็นจะได้ผลยกเว้นว่าให้คนไข้ฟ้องเอง

มัทก็บอกว่าเป็นมัทมัทไม่หวังการควบคุมบังคับจากบนลงล่าง มัทจะไปหา advocate ที่มาจากล่างขึ้นบน อย่างเรื่องสื่อก็มี internet ไม่แพงและมีพลังมากมาย ถึงตอนนี้มัทมีคนช่วยเป็นพยาบาลกับนักสังคมสงเคราะห์ตะโกนออกมาว่า ใช่ๆ youtube ไง แต่คุณนักการตลาดที่มาจากสมาคมทันตแพทย์เอกชนก็พูดขึ้นมาว่า เชื่อมั้ย ว่าไม่ได้ผลง่ายๆหรอก

ตอนนี้เรา 3 คนก็ไม่เถียง ตามใจ เถียงไปก็ยาว ก็รู้อยู่ว่าเข้าต้องพูดแบบนี้เพราะอะไร มันเป็นตำแหน่งของเขา (ไม่ว่าเค้าจะคิดอย่างนั้นจริงๆหรือพูดเพราะเป็น argument ที่เค้าต้องสร้างขึ้นมาเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ)

มัทแอบรู้สึกขัดใจเล็กน้อยแต่ก็คิดว่า ไม่คุ้มที่จะเถียง ยังไงเราได้พูดความคิดเราไปแล้ว เวลาเขียนรายงานสรุปเสียงเราก็อยู่ในรายงาน ไม่กลัว

มาบันทึกกันลืมไว้เฉยๆค่ะ ว่านี่ไง เพราะมีคนคอยกันอยู่แบบนี้ เป็นคนเสียงดังด้วย สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นมันเลยไม่เกิดซักที

แต่มัทโชคดีมากที่อ.ที่ปรึกษาเป็นคนสรุปตอนจบ conference เอง ในที่สุดท่านก็พูดเรื่องสื่อพลเมืองขึ้นมาตอนจบ เย้! มันอยู่ที่ว่าใครมีพื้นที่ในการให้เสียงจริงๆ

อีกประการคือ....คุณพยาบาลคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า ยังไงมันมี tipping point ไม่ต้องหมดหวัง แล้วการเปลี่ยนแปลงมันจะเกิดขึ้นเองจากล่างขึ้นบน เราต้องพยายามต่อไปทีละน้อยละน้อย

หมายเลขบันทึก: 184452เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2008 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

การทำฟันขาว ตอนนี้ ฮิตค่ะ จริงๆแล้ว ได้ผลจริงไหมคะ ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ

สวัสดีครับ อ.มัท

มันคล้าย ๆ กันในหลาย ๆ เวทีนะครับ เสียงใครดังกว่า พื้นที่มากกว่า....

สื่อจากล่างขึ้นบน แน่นอนครับมันยากแน่ ๆ ผมเคยเห็นองค์กรเอกชนหนึ่งได้งบ จาก สสส. ทำเรื่อง"เยาวชนรู้เท่าทันสื่อโทรทัศน์" ประมาณนี้นะครับ ก็พยายามสื่อสารเป็นเครือข่าย ผ่านกิจกรรมกลุ่มในสถานศึกษา หรือหางบจัดประชุม ทำกิจกรรมประสบการณ์นอกห้องเรียนเป็นต้น ก็ต้องยอมรับครับว่ามันก็คงได้ผลน้อย

หรือบางทีอาจจะร้องไปที่ สคบ. ให้ใช้กฎหมายจัดการ ซึ่ง หลายคนก็บอกเป็นเสือกระดาษอีก

มันก็ต้องสู้กับกระแสใหญ่ ๆ นะครับ เห็นด้วยว่ายังไงเสีย ก็ต้องมีความหวัง และยังไงก็ยังพอมีพื้นที่นะครับ

สงสัยเหมือนคุณพี่ศศินันท์เลยค่ะ :)

  • นี่คือ เรื่องที่แคนาดา หรือเมืองไทยคะ
  • เหมือนเมืองไทยเลย
  • ตอนนี้ ของไทยเราก็มีการเรียนรู้ของประชาชนมากขึ้นนะคะ เรื่องของการดูแล ป้องกันโรคในช่องปาก
  • คุณพ่อคุณแม่ที่สนใจมาก มาก บางครั้ง เขาก็โทรฯ มาปรึกษาถึงที่เลย เช่น เรื่องการใช้ฟลูออไรด์ อย่างไรดี
  • ของเรา ถ้าหมอฟัน มีทัศนคติในเรื่องการให้ความรู้ให้มากขึ้น ก็จะดีมากเลยนะคะ เพราะว่า จากที่ตอบคำถามผู้ที่สนใจทาง net มาตลอดนี่ ... แสดงให้เห็นว่า เวลาที่คนไข้ไปรับการรักษากับหมอฟันนี่ ไม่ค่อยมีการอธิบายกันมั่งเลย
  • อย่างน้อยถ้าเริ่มที่เอกชนยังไม่ได้ ภาครัฐ ก็ควรให้ความสำคัญกันมากขึ้นนะ

มัทก็มาเขียนๆไม่ได้เกริ่นเรื่องการประชุมนี้เลย : P

เป็นการประชุมของ stakeholders เรื่อง สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ค่ะ เพราะฉะนั้นบริบทเรื่องการรักษาดูแลจะต่างกัน

เราคุยกันว่า การที่กระแสการทำฟันในตลาดเป็นแบบนี้ เราเริ่มเห็นแล้วว่าผู้สูงอายุรุ่นใหม่ๆที่มีการทำฟันมาเต็มปากจ่ายเงินไปมากมาย สุดท้ายไม่มีแรงแปรงฟันตัวเอง คนดูแลก็ไม่ใส่ใจ ระบบบริการก็ไม่รองรับ โรคทางระบบก็เยอะจะรักษาฟันก็อันตรายไปแล้ว กลายเป็นว่าฟันที่ทำมากลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าเป็นประโยชน์

แล้วจะทำไงดี์

 

เพราะฉะนั้นเรื่องฟอกฟันขาวที่คุณSasinandaและพี่แจ๋ว(jaewjingjing) ถามนั้น ถ้าเป็นบริบทคนไข้วัยอื่นก็ไม่น่าเป็นห่วงค่ะ ยกเว้นว่าจะต้องการแบบขาวเวอร์ๆ

มัทไม่ต่อต้านเรื่องการฟอกฟันให้ขาวขึ้นนะคะ มันก็ได้ผลอยู่ค่ะ ตราบใดที่มันอยู่ในขั้นที่ไม่เวอร์ไป คือให้ขาวขึ้นแต่ไม่ใช่ขาวเหมือนดารานางแบบตามโปสเตอร์หรือในทีวี บางคนอยากให้ขาวแบบจั๊วเลย ธรรมชาติคนเรามันก็ไม่ได้สร้างมาให้ขาวแบบนั้นอยู่แล้ว หรือพวกที่ยอมทำ vaneer แปะให้ขาวสวยทั้งปากนี่มัทก็ว่าเวอร์ไปค่ะ นางแบบดารามักจะทำแบบนี้

แค่ไม่ทำให้มีคราบชากาแฟ บุหรี่ ไวน์ เกาะก็ช่วยได้มากแล้วค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ

  • คุณสุมิตรชัย
  • คุณกวิน
  • พี่หมอนนท์

เวลาพูดเรื่องสื่อล่างขึ้นบน เราคิดว่ามันทำยาก ไม่ได้ผล เพราะเราคิดรูปแบบใหม่ๆไม่ออก เรา (รวมทั้งมัทเอง) มักจะติดอยู่กับรูปแบบเดิมๆ

หารู้ไม่ว่าพวก coorperation เค้าใช้พลังคนข้างล่างจนสำเร็จมาแล้วนักต่อนัก ในช่วงสองสามปีนี้  (เหมือนที่ TIME ให้ YOU เป็นบุคคลดีเด่นของโลก)

เราก็น่าจะทำได้ค่ะ แต่ต้องฉีกรูปแบบเดิมๆออก

ถ้ามีเวลา ดูตัวอย่างได้ที่นี่ค่ะ

  •  สวัสดีครับคุณมัท มาชวนไปฟังเพลง@184493  ครับ :)
  • สอบถามนิดนึงครับชื่อ มัทนา
  • คุณพ่อคุณแม่ตั้งมาจากวรรณคดีเรื่อง มัทนพาธาคำฉันท์ หรือป่าวครับ (มัทนพาธา คือที่มาของดอกกุหลาบ/ตำนานดอกกุหลาบ) พอดีเห็นพ่อแม่หลายคนที่ประทับใจกับ วรรณคดีเรื่อง มัทนพาธาคำฉันท์ แล้วนำคำว่า มัทนา มาตั้งเป็นชื่อลูกๆ
  • ค้นจาก http://rirs3.royin.go.th
  • มัทนะ ๑  [มัดทะนะ] น. การยํ่ายี, การบด, การทําลาย. (ป. มทฺทน; ส. มรฺทน). 
  • มัทนะ  คือคำที่มีความหมายกว้างขึ้น ใช้เรียกกริยาของช้างตกมันที่มักจะทำลายสิ่งที่ขวางหน้า โดย เทียบกับศัพท์
  • มทะ  [มะทะ] น. ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. (ป., ส.).
    มัทนะ ๒  [มัดทะนะ] น. กามเทพ. (ป., ส. มทน).
  • มัทนะ น่าจะแปลว่า ความรัก  ซึ่ง สัมพันธ์กับกามเทพ ผู้มี ศร ที่มีอานุภาพ ทำให้เกิดความมัวเมาลุ่มหลง
  • สรุป
    มัทนะ/มัทนา
    =ความรัก-->คนมีความรักมักจะมีความมัวเมาลุ่มหลง-->ต่อมาคำว่ามัทนะ ถูกใช้เรียกอาการของช้างที่มีความรัก (ช้างตกมันที่ชอบทำลายสิ่งต่างๆที่ ขวางหน้า)

     
     มัทนะ/มัทนา น่าจะเป็น คำเดียวกับคำว่า เมท, เมโท  น. ที่แปลว่า มันข้น. (ป.). ด้วย
  • รวมความ มัทนะ/มัทนา แปลว่า ความรัก เพราะลูกก็คือ สิ่งอันเป็นที่รักของพ่อแม่ นั่นเอง

สวัสดีคะ อ.มัท

มะปรางแวะมาร่วมเขียนบันทึก AAR การใช้งาน GotoKnow.org คะ

หากพอมีเวลา รบกวนร่วม aar สักนิดนะคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท