… (เล่าเรื่องด้วยภาพ) Children & Learning … ตามหลักการพื้นฐานของอนุสัญญาสิทธิเด็ก .. United Nations Convention on the Rights of the Child ….


... การศึกษาที่ดีจึงต้องคำนึงถึงหลักสิทธิเด็ก (Child Right Principles) เป็นสำคัญ ...

…. เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า ... การศึกษาจึงเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด ... ในการพัฒนา การเรียนรู้ การต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้ ... ผู้ใหญ่แผ้วถางทาง ผู้น้อยเดินตาม ... ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นฉันใด ต้นแบบที่ดีจึงไม่ควรละเลยเรื่องที่ยิ่งใหญ่ฉันนั้น ...  

(Pix: Curious to Learn – หนูอยากไปโรงเรียนค่ะ, VangVieng, Lao )

... การลงทุนในเรื่องการศึกษา จึงเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าที่สุด (แต่อย่าคิดในเชิงธุรกิจนะคะ เพราะ ROI – Return on Investment จะผกผันกัน 5 5) ... ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และรัฐควรตระหนักรู้ ด้วยใส่ใจ จริงใจ และจริงจัง ...   

 

... ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม หรือประเทศใดๆ ก็ตามที่เน้นให้เรื่องการศึกษา (การเรียนรู้ ทั้งในและนอกระบบ – Normal & Non Formal Education) ... เป็นเป้าหมาย นโยบาย กลยุทธ์ อันดับต้นๆ แล้ว ... มั่นใจได้ว่าการส่งเสริม พัฒนาด้านอื่นๆ ก็จะง่ายดาย เป็นเงาตามตัว ...

(pix: Non Formal Education: Learning at Temple, Cambodia)

 

 

การศึกษาที่ดีจึงต้องคำนึงถึงหลักสิทธิเด็ก (Child Right Principles)แม้ที่ผ่านมาไทยเราจะเน้น พัฒนา ระบบการศึกษาที่ดูดี ในแผ่นกระดาษ ชื่อหรูในเชิงภาพลักษณ์ แต่หากลงในการปฏิบัติเล่า? .. เราเข้าใจดีแค่ไหน และอย่างไร?เป้าหมายและผลประโยชน์ตกที่ใคร? ลองคิดดูดีๆ คิดแบบท่านคึกฤทธิ์ (คิดลึก) นะคะ J

 

แม้เราจะบอกว่า เรามีการจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง Child Center … สร้างสถานศึกษาที่มีบรรยากาศเอื้อในการเรียนรู้ - Child Friendly Schoolเป็นต้น .. แต่เมื่อมองย้อนไปแล้ว ... เด็กนักเรียนของเราเป็นหัวใจสำคัญจริงๆ ไหม? … สภาพแวดล้อมในสถานศึกษาเป็นมิตรหรือไม่? -

(pix: Classroom Atmosphere in Sukhuma, Champasak, Lao P.D.R)

 

…. อนุสัญญาสิทธิเด็กมีเจตนารมณ์ และแนวคิดพืนฐานหลักคือ 1. เน้นผลประโยชน์สูงสุดอยู่ที่เด็ก (Best Interests of the Child) ค่ะ ... อะไร สิ่งใด การใดก็ตามที่กระทำแล้ว ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญที่สุดข้อนี้เป็นลำดับแรกในการพิจารณา ค่ะ ...

 

ประการที่ 2. คือ การไม่ถูกกีดกัน (Non-Discrimination) ไม่ถูกแบ่งแยกทั้ง เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา และการเมือง ...  พันธสัญญาข้อนี้ รวมถึงเด็กด้อยโอกาส, เด็กพิเศษ, ชนกลุ่มน้อย, กลุ่มชาติพันธ์ ต่างๆ ควรได้รับการศึกษา และบริการขั้นพื้นฐานเสมอ และเท่าเทียมกัน ...  

(pix: Children in Maesot, Tak – หนูอยากอ่านหนังสือค่ะ ผมอยากไปเจอเพื่อนๆ ครับ)

 

ประการที่ 3. การมีชีวิตรอดและการพัฒนา (Survival & Development) – เป็นการประกันการอยู่รอดของเด็ก รวมถึง การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างเต็มศักยภาพ ...

 

....  เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของประเด็นนี้อยู่ที่ การเตรียมความพร้อมให้เด็กได้รับการเลี้ยงดู ด้วยจิตใจ ด้วยความรัก และมิตรภาพ เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความคิด ความรู้ และคุณภาพ รวมถึงการส่งเสริม ความสามารถทางกายภาพและจิตใจ ...

(pix: Kindergarten Children: ผม/หนูรอห้องเรียนใหม่ยังไม่แล้วเสร็จค่ะ/ครับ – JigthangNgo School, Lao P.D.R -)

... ประการที่ 4 เป็น การมีส่วนร่วม (Participation) เปิดโอกาสให้เด็กทุกคน ได้มีส่วนร่วมในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม ตลอดจนระดับประเทศ ... ซึ่งประเด็นนี้ยังครอบคลุมไปถึง สิทธิและเสรีภาพต่างๆ ที่รัฐต้องสร้างหลักประกัน ให้อิสระอย่างเหมาะสมและสมดุล ดังนี้

(pix: Extra Curriculum: Hand in Hand,Lao P.D.R)

 

.... เสรีภาพในการรับฟัง (Freedom to be Heard – Article 12, 12.1) สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ในทุกๆเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตของเด็ก

 

... เสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) – Article 13 อย่างถูกต้องในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนา ความกล้า คิด และทำ อย่างเหมาะสม

(pix: Sport Day, Srisaket, Thailand – ผมเตรียมตัวลงแข่งฟุตบอลนัดกระชับมิตรคร้าบบผ้มม)

 

 

... เสรีภาพในความคิด ความเชื่อ และศาสนา (Freedom of Thought, Conscience and Religion) – Article 14 … เด็กมีอิสระในการคิด ตัดสินใจ และเลือก ที่จะเป็นตัวของตัวเอง ...

 

.... เสรีภาพในการสมาคม (Freedom of Association) – Article 15 … การเข้าร่วมกลุ่มเป็นสมาชิก ชมรม สโมสร องค์กรใดๆ เพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างอิสระ ..

(pix: National Culture Day in Lao – งานวันวัฒนธรรม และเอกลักษณ์แห่งชาติ เมืองสุขุมา แขวงจำปาสัก ประเทศลาว)

 

... เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Freedom to Access Information) – Article 17 .. ทั้งนี้ทั้งนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง และรัฐควรสอดส่อง ดูแล และปกป้องสื่อต่างๆ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เหมาะสมสำหรับวัยของเด็กด้วยเช่นกัน ...

(pix: Children in Maesot, Tak – หนูอยากอ่านหนังสือค่ะ ผมอยากไปเจอเพื่อนๆ ครับ)

 

... เมื่อหลักการสิทธิเด็ก ทั้ง 4 ประการ ได้เติมเต็ม จนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ดังนั้นการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในส่วนของสถานศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่จะพัฒนาเด็กให้เติบโตด้วย ความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรี (Dignity) มีอิสรภาพ (Freedom) บนพื้นฐานความเสมอภาค (Equality) ซึ่งเต็มไปด้วยภราดรภาพ (Fraternity) เพื่อสร้างให้เกิดสันติภาพ (Peaceful) ได้ในที่สุด ...

(pix: Vulnerable Children in Maesot, Tak – ผม/หนู จะมีโอกาสได้เรียนหนังสือไหมครับ/ค่ะ)    

 

…. ข้างต้นคือทฤษฎีนะคะ ต่อไปเมื่อทุกท่านทราบหลักพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับ สิทธิเด็กแล้วดังนั้นขอเชิญชวนทุกท่านคิด แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ มีอิสระในการช่วยสร้างสรรค์ พัฒนา รูปแบบการเรียนรู้ การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปขอบพระคุณค่ะ ...

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 184133เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2008 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

รัฐต้องให้ความสำคัญการศึกษาอันดับ 1

อะไรอะไรที่ชื่นใจจริงๆน้องปูเรา.......................................รวมตะกอน

เลิกงานวันนี้ นับว่าเป็นจังหวะที่ดีที่ได้เข้ามาอ่าน " การศึกษา เป็นกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน " ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ควร อนุรักษ์..และขยายพันธุ์ บำรุงรักษาไว้ คือ ต้นแบบ " ต้นแบบที่ดี แขนง กิ่งก้าน สาขาและลูกผลที่เกิดจะงดงาม " ....ขอบคุณเหลือเกินที่เขียนมาให้อ่าน ทำให้นึกถึงใครบางคน ที่มีอุดมการณ์ มุ่งมั่น ที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้คุณค่าแห่งตน ให้คนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีความเสมอภาคและภราดรภาพ เขาเป็นต้นแบบที่งดงาม หากมีโอกาสแผ่กิ่งก้านสาขา ลูกผลที่ตามมาคงมีคุณค่าในตนและมีคุณค่าต่อสังคม...นัก

   ขอบคุณจริงๆ

ประเทศไทยร่วมเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ

"มนุษย์ชาติมีพันธะ ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่เด็ก"  ^_^

  • สวัสดีค่ะ คุณ poo 
  • "มนุษย์ชาติมีพันธะ ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่เด็ก" นี่เป็นสโลแกนของมูลนิธิหนึ่งที่ใบไม้เป็นอาสาสมัครช่วยงานมา...นับไปนับมาจะยี่สิบปีแล้วค่ะ

  • คุณปูทำงานเต็มเวลา เพื่อช่วยเหลือเด็กในชนบท แต่ใบไม้เป็นอาสาสมัครทำงานกับเด็กในเมืองค่ะ ^_^

 

สวัสดีครับน้อง poo

สิทธิเด็กเป็นเรื่องที่ผมให้ความสนใจมานานมาก นอกเหนือไปจากสิทธิมนุษยชน

แต่ที่คอยติติงสังคมอยู่ตลอดเวลาก็คืออย่าลืมแนะนำเด็กด้วยว่านอกจากหนูจะมีสิทธิเด็กแล้ว หนูยังต้องมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติด้วย อยากคิดแต่เรื่องสิทธิอย่างเดียว เดี๋ยวสังคมก็จะเกิดปัญหา ขอยกตัวอย่างง่ายๆ นักเรียนเรียกร้องไว้ผมยาวในโรงเรียน อ้างว่าเป็นสิทธิของเด็ก ทำไมครูต้องมายุ่งกับหัวหนูด้วย เอ๊า พอโรงเรียนยอมแต่ต้องห้ามซอยผมนะ เด็กก็จะซอย อย่างไรเขาก็คือเด็ก ลองไปดูเด็กที่ไว้ผมผิดระเบียบดูสิผลการเรียนจะหาดีๆจะมีสักกี่เปอร์เซนต์ และเด็กที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยของโรงเรียนก็มีแนวโน้มที่จะฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคม อยู่ที่ว่าเราจะประคับประคองเขาอย่างไรให้เขาเป็นเด็กที่มีคุณภาพของสังคม

แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็พูดเสมอเช่นกันว่า เด็กก็คือเด็ก เราต้องเคารพความคิดเห็นของเขา เคารพสิทธิของเขา พ่อแม่ผู้ปกครองและครูหรือบุคคลใดๆก็ตามไม่มีสิทธิใช้ความรุนแรงกับเด็ก

ผมเป็นที่ปรึกษาให้ NGO ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก คอยดูแลคุ้มครองสิทธิให้เขาเป็นประจำครับตั้งแต่ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ตด้วยซ้ำไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีน้องๆโทร.เข้ามาปรึกษาประจำครับ

คิดว่าจะเขียนสั้นๆว่าซะยาวเลย อิอิ

P

อะไรที่ชื่นใจจริงๆน้องปูเรา

·       แค่ประโยคเดียวหรือคะ ป๋าดลที่นี่รัก .. ซึ้งตายเลย

·       อยากทราบความคิดป๋ามากกว่า คำว่าชื่นใจ ค่ะ

·       ... ปูว่า ปูลงภาพมากไปจนตายลาย นะคะเนี่ย

·       แต่ไม่อยากเปลี่ยนแล้วค่ะ เพราะไม่ค่อยสันทัด

·       เวลาเปลี่ยน ปรับนิด มันก็จะกระทบไปหมดเป็นลูกโซ๋

·       .... กะว่าจะเขียนเนื้อหาหนักๆ กว่านี้แต่กลัวน่าเบื่อค่ะ

·       ตอนยังไม่ได้ลงภาพ ก็ตั้ง 2 หน้า เอสี่แล้ว อาจเพราะอักษรตัวใหญ่

·       .... ขณะนี้การศึกษาบ้านเรา เป็นธุรกิจไปหมดแล้วนะคะป๋า

·       ขนาดที่นี่เมืองเล็กๆ ปัญหาวัยรุ่น วุ่นรัก จนการเรียนเสีย

·       การใช้ชีวิตอยู่ก่อนแต่ง ก่อปัญหาต่างๆ .. จนบางครั้งคิดว่า

·       ... ฤาการศึกษาไม่ได้ช่วยอะไรได้เลยหรือคะป๋า .. คำถามซื่อบื้อไหมคะ

·       เพราะบางครั้งการศึกษา ก็ไม่ได้วัดระดับความคิด จิตสำนึกของคน

·       ... แล้วอะไรเล่าคะ .. ที่จะสามารถปรับ เปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมบ้าๆ

·       ให้หายไปจากสังคมไทยเรา ... หากไม่ใช่การศึกษา การเรียนรู้ แล้ว

·       อะไรเล่าค่ะ ป๋า ... ป๋าคิดว่า ส่วนใดคือกลไกสำคัญสุดค่ะ ?

·      

·       ทานข้าวให้อร่อยนะคะ .. ที่เจียงฮาย ฝนตกไหม ...  

2. สิทธิรักษ์
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 18:13
666943 [ลบ]

โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเมวดี ประเทศพม่า ตรงข้ามกับ อ.แม่สอด จ.ตาก

รูปนี้ไม่เกี่ยวกับการศึกษา แต่แถมให้ เห็นว่าชอบ อิอิอิ

รูป ฟ้าหลังฝนตก วัน ที่ 11 พ.ค. 51  ลงพื้นที่บ้านวังผา อ.แม่ระมาด จ.ตาก

P

1. นายประจักษ์
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 18:03
666928 [ลบ]

สวัสดีค่ะ ครูประจักษ์

·      ชื่นชม โรงเรียนครูนะคะ ถือเป็นโรงเรียนต้นแบบ เพื่อขยายผลและเป็นตัวอย่าง ให้แก่โรงเรียน ในละแวกใกล้เคียงนะคะ

·     

·      ใช่ค่ะ รัฐ ควรให้ความสำคัญ เป็นอันดับแรก ... ต้องด้วยความจริงใจ  จริงจัง จริงๆนะคะ ไม่ใช่ แค่ประชาสัมพันธ์ อย่างเดียว ...

·      ..

·      สถานศึกษาในระดับประถม มัธยม ยังไม่ค่อยมีปัญหามากนักนะคะ แต่ระดับอุดมศึกษา ค่อนข้างอิสระ

·     

·      ดีหน่อยที่ยังมีการศึกษานอกโรงเรียนด้วย ..  เพราะการศึกษา รวมทั้งในระบบ และนอกระบบ .. บางสถาบันศูนย์นอกระบบ ก็ช่วยเติมเต็ม และให้ความรู้สำหรับคนที่ไม่มีเวลา แต่ตั้งใจหาความรู้จริงๆ

·      ...

·      ขอเรียนถามครู เกี่ยวกับการศึกษาตามอัธยาศัย นะคะ ไม่ทราบไปถึงไหนแล้ว .. ขอบพระคุณค่ะ

 

สวัสดีค่ะ  หนู poo

  • พี่ครูปู ยังเชื่ออย่างสุดใจว่า การศึกษาคือความหวังค่ะ
  • พี่ถึงเห็นว่ามันยิ่งใหญ่  ที่จะกำชะตาชีวิตใครต่อใคร รวมทั้งประเทศชาติไว้ในมือ  ด้วยการเลือกประกอบวิชาชีพนี้ค่ะ
  • แต่จากสิ่งที่น้องได้กล่าวมา ซึ่งชี้ชัดให้เห็นว่า ทุกองคาพยพของสังคม ต้องเข้าใจตรงกัน ปฎิบัติอย่างสอดคล้องกัน จึงจะทำให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างแท้จริง และมีประสิทธิภาพ
  • แต่ความขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจ ไม่จริงใจ  ไม่ตระหนัก หรือไม่ซื่อกับการเอาจริงเอาเรื่องการศึกษา พี่ก็ปลงมั่ว ๆ เอาว่า คนเหล่านี้ คือผลพวงความบิดเบี้ยวของการให้การศึกษาในสมัยเค้าแล้วกัน
  • พี่คงต้องประกอบวิชาชีพนี้ไป หวังไปเรื่อย ๆ ค่ะ เพราะ...

                  กล้วยไม้ ออกดอกช้า     ฉันท์ใด  

                  การศึกษา เป็นไป          ฉันท์นั้น

                  แต่ออกดอก คราใด       งามเด่น     

                  งานสั่งสอน ปลูกปั้น       เสร็จแล้ว  แสนงาน

 

 

P

3. อรทัย
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 18:22
666952 [ลบ]

หวัดดีค่ะ พี่อรทัย

·       บายดีนะคะพี่ ... งานการพรือมั่งค่ะ ดีใจนะคะ ที่ได้พบกันคนบ้านเดียวกัน ...

·       ปูจำได้แล้ว ช่วงปูเข้ามาแรกๆ เราก็เจอกัน แต่ต่างคนมีภารกิจ เลยห่างๆ ไป

·       ...

·       ค่ะพี่อรทัย ... ป๋าปูชอบพูดเสมอมา ... ต่อให้ลำบากแค่ไหน เรื่องส่งลูกเรียนหนังสือ ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ...

·       ... ดูป๋า ภูมิใจมากๆ เลยนะคะ พอปลูกทุเรียน 4 ต้น ได้ผลแล้ว ...

·       มีครู ดีๆ มากมายเลยค่ะ พี่อรทัย ..

·       ครูที่มีจุดยืน มีอุดมการณ์ ปิดทองหลังพระ .. ครูที่เกิดมาเป็นครูจริงๆ  ..

·       … Born to be Teacher … Both of Mind and Soul   

·       ป๋าปู ก็คนหนึ่งค่ะ .... ปูมองภาพป่า พอฟัง เพลง พ่อพิมพ์ของชาติ แล้วใช่เลย

·       ...

·       ปูว่า ศักดิ์ศรี และความภูมิใจของคนเรา ก็อยู่ที่ ผลงานที่ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังนี่ล่ะ

·       ครูหลายคน ที่ปูเจอที่ลาว ที่กัมพูชา และ ที่ทางภาคอิสาน นี่ก็เยอะค่ะ

·       ...

·       อยุธยา ไม่สิ้นคนดีฉันใด ... บ้านเราตอนนี้ ก็คงไม่สิ้นคนดี เช่นกันนะคะ

·       หลักการข้างต้น ก็อาจแค่ทฤษฎี หรอกค่ะ ... แต่การปฏิบัติ ต้องรอระยะยาว

·       ..

·       วันหลังมาใหม่นะคะ ปูจะติดตามชุมชนทับปุดเช่นกัน ... ขอบคุณค่ะ

 

P

4. ใบไม้ย้อนแสง
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 18:57
667000 [ลบ]

·         สวัสดีค่ะ คุณใบไม้

              "มนุษย์ชาติมีพันธะ ต้องให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่เด็ก"  ^_^

 

·         It has been said that by adopting this approach (4 Principles of UNCRC) the convention has become more than a list of obligations, and instead acquires a soul.

·         ..

·         การนำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และหลักการทั้ง 4 ประเด็นหลักข้างต้นมาปรับใช้ ไม่เพียงแต่จะได้มาซึ่ง พันธสัญญา ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึง จิตวิญญาณ อีกด้วย ...

·         ..

·         ปูชอบประโยคนี้มากเลยล่ะคะ ... แต่ก็ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า จริงๆ แล้ว จิตวิญญาณ ที่ว่า คืออะไร ... เป็นการตีความตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งยากนะคะ

·         ...

·         ในความเห็นส่วนตัว ปูคิดเพียงแค่ว่า ... เมื่อพูดถึง พันธะ สัญญา ... เราๆ ท่านๆ จะไม่กล้า จะไปพัวพัน เกี่ยวข้องด้วยเลยกระนั้น ... แต่

·         หากเป็นพันธะ ที่เต็มไปด้วยสิ่งดีๆ เพื่อการสร้างสรรค์ ... มิตรภาพ แล้วนั้น

·         พันธะ คงจะเป็นสิ่งหอมหวน ชวนใจ .. ให้ใครๆ ต่างใหลหลงได้ ..

·         ...

·         คุณใบไม้ อ่านข้อความข้างต้น แล้วคิดเห็นอย่างไรค่ะ ..ในฐานะคนเคยทำงาน ด้านนี้เช่นกัน ... ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีอีกครั้งค่ะคุณปู
  • ใบไม้ไม่ได้ตีความจากพันธะสัญญาอะไรหรอกค่ะ แต่ได้เผชิญกับประสบการณ์ตรง คนในมูลนิธิที่ใบไม้เป็นอาสาสมัครนั้น เขาทำงานด้วยจิตวิญญาณค่ะ ทำเพื่อให้สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็กจริง ๆ
  • ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ทัศนคติที่เห็นว่าเด็กจะเรียนรู้ในครอบครัวได้ดีกว่าสถานสงเคราะห์ เขาเห็นว่าสถานสงเคราะห์น่าจะเป็นทางเลือกท้าย ๆ สำหรับเด็ก เขาก็หาครอบครัวให้เด็กไปอยู่ชั่วคราว เพื่อให้เวลาพ่อแม่ตัวจริงเตรียมอะไรต่ออะไรให้พร้อม ก่อนรับเด็กกลับ หรือถ้าต้องหาครอบครัวบุญธรรมให้เด็ก ก็จะมีเกณฑ์มากมายที่ครอบครัวต้องผ่านเงื่อนไข และไม่ใช่ให้มาชี้ตัวเด็กที่ถูกใจไปเลี้ยง
  • หลักการในเรื่องนี้คือ "เลือกครอบครัวให้เด็ก ไม่ใช่เลือกเด็กให้ครอบครัว"
  • นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียว มีโครงการอีกมากเลยทีเดียว และทุกโครงยึดหลักการที่ว่า "หาสิ่งที่ดีที่สุด (ในข้อจำกัด)ให้กับเด็ก"
  • และที่สำคัญ ต้องใช้หลักการในการทำงาน ไม่ใช่ความรู้สึก เพราะว่าคนง่ายที่จะรู้สึกมากมายอยู่แล้ว ต้องยึดหลักการให้ชัดเจนค่ะ สมมติว่าพ่อแม่เด็กพูดจาไม่น่าฟัง ทำตัวไม่ดี เราไม่ชอบ ก็เลยไม่ช่วย แบบนี้ไม่ได้ค่ะ ถ้าเด็กอยู่ในภาวะเสี่ยง ต้องการความช่วยเหลือ เราก็ต้องช่วยค่ะ แม้ว่าผู้ปกครองเด็กก้าวร้าว ไม่ให้ความร่วมมือ แต่เหตุผลสำคัญคือ เด็กอยู่กับเขาค่ะ ต้องช่วยเด็ก..
  • รายละเอียดในการทำงานมีมากจริง ๆ ค่ะ อย่างเช่น แม้แต่ค่ายเด็กที่ใบไม้ไปช่วย พี่ ๆ ทุกคนต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะว่าเด็กเฝ้าดูเราตลอดเวลา ห้ามทำในสิ่งที่ห้ามเด็กทำเด็ดขาด และมีการดูแลเรื่องพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด ไม่ใช่แค่ทำให้จบค่าย เสร็จกิจกรรม เราเน้นเรื่องกระบวรการมาก ยกตัวอย่างอีก เช่น ไม่เน้นให้เด็กทำผลงานสวยหรู แต่เน้นให้ทำงานร่วมกับเพื่อนคนอื่น ไม่ใช่แค่ทำงานเสร็จทันเวลา มีผลงานสวย แต่เพื่อน ๆ ไม่ได้มีส่วนร่วม
  • โอ..เรื่องมันยาวมาก ๆ ค่ะ เมื่อก่อนเวลาคนถามว่ามูลนิธินี้ทำอะไร ใบไม้จะตอบว่า อยากรู้จริงหรือเปล่า เพราะว่าต้องใช้เวลาอธิบายสักครึ่งชั่วโมง โครงการมีตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ไปจนถึงให้ทุนการศึกษา เรียกว่าตั้งแต่เกิดจนเรียนจบภาคบังคับเลยทีเดียว แล้วยังมี...ฯลฯ อธิบายไม่ไหวค่ะ
  • ทำงานตามหลักสังคมสงเคราะห์ค่ะ "Help them to help themselves" ทำงานเพื่อให้เขาพึ่งตัวเองได้ในท้ายที่สุดค่ะ
  • สรุปว่า ทำงานด้วยจิตวิญญาณ คิดเสมอว่า  จะให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่เด็ก นั่นแหละค่ะ ^_^

….  เรียน ท่านอัยการค่ะ

P

·       เรื่องสิทธิเด็กอยู่ในส่วนหนึ่งของ อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน ใช่ไหมค่ะ ..

·       .. ขอบคุณค่ะ จริงสิค่ะ .. มีสิทธิ ต้องมีหน้าที่ ควบคู่ ให้ถ่วงดุลกัน

·       คงจะจริงแน่แท้เชียวนะคะ .. เด็กที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบวินัยของโรงเรียนก็มีแนวโน้มที่จะฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคม

·       ท่านอัยการพูดถึงประเด็นนี้ ทำให้ปูคิดถึง เรื่องที่เมื่อก่อนก็สงสัยว่า จะให้เรียนคณิตศาสตร์ชั้นสูง อย่างตรีโกณมิติ เมตริก อะไรทำไม .. ในเมื่อเวลาใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ก็แค่ + - * / พื้นฐานเท่านั้นเอง ...

·       แต่เป็นการฝึกฝน .. การฝึกความอดทน (สำหรับคนที่ไม่เก่งด้านนี้) .. เอ เกี่ยวกันไหมค่ะเนี่ย .. ปูเริ่มชักแม่น้ำทั้ง 5 อีกแล้วค่ะ ..

·       หรือ สิทธิ และ หน้าที่ ก็คงเหมือนที่ต้องมีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ... ควรสอบทานกัน เผื่อหลุด ?

พ่อแม่ผู้ปกครองและครูหรือบุคคลใดๆก็ตามไม่มีสิทธิใช้ความรุนแรงกับเด็ก

·       เรื่องนี้ ไม่น่าเชื่อนะคะ ว่าจะอยู่ในอนุสัญญาด้วยเช่นกัน ... Right , not to be hit .. เดี๋ยวนี้มีไม่ค่อยเยอะนะคะ ... นอกจากประเด็นความรุนแรงด้านอื่น

·       ... ที่เมืองไทยดีหน่อยค่ะ .. สิทธิเด็กยังถือว่าเป็นที่รู้จักบ้าง

·       ท่านอัยการเคยประสบกรณี กฎหมายของเด็กไร้สัญชาติ หรือเด็กด้อยโอกาสบ้างไหมคะ .. แล้วขั้นตอนการพิจารณา จะยากกว่าปกติหรือเปล่าคะ

·       ...

·       ราตรีสวัสดิ์อีกแล้ว  นอนหลับฝันดีนะคะ ... ขอบคุณค่ะ

 

 

6. อัยการชาวเกาะ
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 19:45
667079 [ลบ]

สวัสดีครับน้อง poo

มาแย้ววว....

เรื่องอย่างนี้ "มันจริงๆ" พี่เคยทำงานกับ Save the Children(USA) ที่นครสวรรค์ 4-5 ปี หลักการนี้ก็นำมาใช้ตั้งแต่พี่อยู่นั้นแล้ว เราก็ถกกันมาก  เอาความเห็นส่วนตัวต่อหลักการนะครับ (ขอโทษนะน้องนะถ้าความเห็นพี่อาจจะขวางไม่เข้าหูเข้าตาใครบ้าง)

  • พี่รู้สึกขัดๆกับการนำเข้าหลักการนี้ (แม้จะเป็นสากลก็ตามเหอะ) ถามว่ามันไม่ดีหรือไง  ตอบว่า มิใช่ประเด็น ประเด็นที่ขัดๆคือ บ้านเราไม่เคยสร้างอะไรที่มาจากตัวเองเลย ฝรั่งมังค่าพูดอะไรก็เอามาหมด แล้วก็เอามายัดใส่นโยบายของการพัฒนาบ้านเราหมด สิ่งนี้ก็เหมือนกัน  คิดเองไม่เป็นหรือไง

  • ประเด็นหลักคือ ต้องการหยิบเรื่อง Rights of the  Child มาดำเนินการในเมืองไทย ก็ควรจะสร้างรายละเอียดของเรื่องนี้บนพื้นฐานของสังคมไทย คนไทยต้องส้รางมันขึ้นมาเอง  มิใช่นำเข้ามาจากฝรั่ง ซึ่งสภาพการพัฒนาสังคมต่างกันลิบลับ

  • เด็กที่กล่าวถึงนี้คือเป้าหมายของหลักการนี้ เด็กมันอยู่โดดหรือเปล่า ไม่ใช่ เด็กอยู่กับครอบครัว ครอบครัวของเราแต่ละภาคก็แตกต่างกัน ครอบครัวในเมืองกับชนบทก็ต่างกัน  วัฒนธรรม ประเพณี ก็แตกต่างกัน แล้วจะเอาหลัก CR (Child Rights) ที่มิได้เกิดมาบนฐานของวัฒนธรรมไทยไปครอบให้กับเขานั้น มันก็ไม่ถูกต้องในตัวมันเองแล้ว

  • หลักการทั้งสี่หลักนั้น ฟังดูดี แต่คิดบ้างไหมว่า ข้อไหน มีหรือไม่มีในเมืองไทย  ภาคไหนมี ภาคไหนไม่มี มีมากมีน้อย ข้อนี้ภาคเหนือมี ข้อนี้ภาคใต้ไม่มี ฯลฯ แค่นี้ก็หลากหลายมหาศาลแล้ว  เหตุอยู่ที่ไหน แก้อย่างไร มันอยู่ที่เด็ก หรือครอบครัว หรือโรงเรียน หรือสังคม หรือรัฐบาล หรือ ระบบธุระกิจ

  • มันตลก นะน้องนะ เจ้าหน้าที่ของ Save เข้าไปในหมู่บ้านแล้วก็คุยกับครอบครัวชุมชนว่า ต้องให้ประโยชน์สูงสุดกับเด็ก ต้องไม่กีดกัน ไม่แบ่งแยก ต้องฯ  ต้องฯ... ชาวบ้านก็งงๆ ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ แต่ในวิถีปฏิบัติประจำวันเรามีวัฒนธรรมผู้ใหญ่กับเด็ก มีวัฒนธรรมเด็กต่อผู้ใหญ่ เรามีวัฒนธรรมระหว่างกัน  แม้ว่าจะดัดแปลงสาระข้างต้นให้เป็นภาษาถิ่นก็ตามเถอะ

  • เอ้าสมมุติว่าหลักการนั้นโอเคนะ แล้วเราทำ CR analysis หรือเปล่า ออกมาอย่างไร ใครต้องไปแก้ส่วนไหน แค่ไหนอย่างไร ทั้งหมดบูรณาการกันอย่างไร รัฐให้ความสำคัญเรื่องนี้แค่ไหน หน่วยงานรัฐให้ความสนใจและจริงจังแบบ จิตวิญญาณ แค่ไหน ???
  • ฯลฯ

พี่เชื่อว่ามีคำอธิบายมากมาย ต่อประเด็นที่พี่ยกมานี้นะครับ หากถกกันคงใช้เวลากันหน่อย

·         It has been said that by adopting this approach (4 Principles of UNCRC) the convention has become more than a list of obligations, and instead acquires a soul.

·         การนำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และหลักการทั้ง 4 ประเด็นหลักข้างต้นมาปรับใช้ ไม่เพียงแต่จะได้มาซึ่ง พันธสัญญา ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึง จิตวิญญาณ อีกด้วย ...

พี่มีความเห็นว่า การทำหลักการให้เกิดผลในทางปฏิบัติจริงๆนั้นต้องใช้จิตสำนึก มันต้องเป็นวิถีชีวิตที่มีอยู่ในการปฏิบัติประจำวัน 

ทั้งหมดนี้อาจมีหลายส่วนที่พี่ยังไม่เข้าใจก็ได้นะ น้อง สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ครับ

พี่แหย่ไว้แค่นี้ก่อน หากมี reflection เดี๋ยวพี่เข้ามาครับนะน้องนะ

P

11. ครูปู
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 20:35
667157 [ลบ]

สวัสดีค่ะ พี่ครูปู

·         งั้นปูก็เชื่อ ไม่เปลี่ยนใจนะคะว่า การศึกษาคือแสงแห่งความหวังทั้งมวล

·         ครูพี่ปู ก็ born to be teacher forever ด้วยค่ะ ...

·         ... คงต้องใช้เวลาอย่างพี่ว่า นั่นแหละนะคะ ...

กล้วยไม้ ออกดอกช้า     ฉันท์ใด  

                  การศึกษา เป็นไป          ฉันท์นั้น

                  แต่ออกดอก คราใด       งามเด่น     

                  งานสั่งสอน ปลูกปั้น       เสร็จแล้ว  แสนงาน

·         กลอนบทนี้ อ่านแล้วคิดถึงป๋าปูค่ะ .. ขอบคุณนะคะพี่ที่มารื้อฟื้นทรงจำ

·         จริงๆ ปูก็ลืมไปแล้ว .. เวลาไปหาป๋าที่รร. ก็จะเห็นติดหราอยู่ข้างฝาห้อง

·           แต่ปูสงสัยจริง พี่ครูปูทราบไหมคะว่าทำไม ผู้แต่งกลอนนี้เขาเลือกที่จะกล่าวถึง ... กล้วยไม้ ออกดอกช้า ฉันใด .. แทนที่จะเป็นดอกไม้อื่นได้ไหมคะ ?

·         จริงๆ เราก็ควรมองว่า การศึกษาของไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมากกว่าเก่า

·         แต่ ปูสะดุดตรงที่ ... ในขณะสถานศึกษามากมาย ทั้งรัฐ เอกชน

·         รร. สอนพิเศษ โน่นนี่ ... สารพัด แขนงวิชาความรู้ แต่ทำไม ... ปํญหาก็

·         ยิ่งสุมรุม ทบเท่าทวี ... ก็ได้แต่ปลงๆ แบบที่ครูพี่ว่า สิ่งธรรมดา มีการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างเสียอย่าง ...

·         หากสมมติ นักเรียนแต่ละคนได้ตรวจสอบ ทบทวนตัวเอง ว่า ในแต่ละวัย

·         แต่ละช่วง ของการศึกษาที่เราได้เลื่อนชั้น ได้พัฒนา สูงขึ้น ๆ ..

·         เราพัฒนาไปจริงๆ มากน้อยแค่ไหน อย่างไร มิใช่แค่สอบผ่าน ได้เกรด ก็แค่นั้น

·         ...  หากปูกล่าวเช่นนี้ นอกจากความรู้แล้ว คุณธรรมก็เป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญเช่นกัน ...

  • และ ทุกองคาพยพของสังคม ต้องเข้าใจตรงกัน ปฎิบัติอย่างสอดคล้องกัน จึงจะทำให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างแท้จริง และมีประสิทธิภาพ

·          

·         ....  ยิ่งคิด ก็ยิ่งงงตัวเองแล้วล่ะคะ กลับมาจุดเดิมเรื่อง จิตสำนึก ความดีอีก

·         สรุปแล้ว ปูก็ยังไม่เข้าใจมันจริงๆ แค่สงสัยและเห็นใจ พ่อ/แม่พิมพ์ดีๆ ที่ปิดทองหลังพระ   ต้องใช้ความพยายาม อดทนมากๆ ในการฝ่ากระแส ...

·         พวกเขายังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ โดยมิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย

·         ... ด้วยจิตวิญญาณ ด้วยความรัก ความเคารพ และศรัทธาในวิชาชีพครูนี้ ...

·         พูดถึงประเด็นนี้ ปูก็มีข้อสงสัยอยู่ในใจมานานแล้วค่ะ ... แต่ไว้ก่อนนะคะ ..

·         ... แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ... ก็เป็นความเห็นส่วนตัวของคนนอกวงการ ... แค่เพียง

·         ปรารถนาดี .. ด้วยความสงสัย อยากเห็นวงการศึกษาเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนสังคมตลอดไปค่ะ

·         ...  ปูยังเชื่อมั่น ศรัทธา ในครู ในการศึกษา .. เสมอและตลอดไป

·         เป็นกำลังใจให้ครูพี่ปู ... ครูคนดี ....  อีกคนนะคะ ...  ทานข้าวเช้าให้อร่อยนะคะ

·         ... ขอบพระคุณที่เข้ามาเติมเต็ม และ เปิดมุมมองใหม่ๆ ค่ะ

 

สวัสดีทุกท่าน วันเสาร์สบายๆ ค่ะ

เช้าสดใส วันเสาร์นี้ ตามไปดู Home School ที่เชียงใหม่ > ปัญหาและอุปสรรคของครูสอนคนที่บ้านเรียนก้านตอง  ของครูพี่อ้วน บ้างดีกว่าค่ะ

http://gotoknow.org/blog/auon/184203

 หนึ่งในกิจกรรม การเรียนรู้ของเด็กๆ 

มารายงานตัวก่อนน้องปู บ้านเราไม่ได้สนใจอนุสัญญาสิทธิเด็กเท่าไร พูดกันให้ตายรัฐบาลก็ไม่สนใจ ถ้ามีโอกาสจะชวนมาที่หมู่บ้านเด็กกาญจนบุรีครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

 

ทุกท่านได้ข่าวนี้กันแล้ว    ต้องช่วยกันนะค่ะ  ...

.... ต้องช่วยกัน ก่อนที่ มรดก อันล้ำค่า ผืนนาไทย

กำลังจะถูกต่างชาติ ครอบครอง ... เรามิควรยอม ..

http://gotoknow.org/blog/kati1789/184107

... หากผืนนาไทย ต้อง ตกไปอยู่ในมือ คนที่มองแต่เรื่องเงิน

ก็เท่ากับว่า เราเสีย ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจของคนจะเหลือหรือค่ะ

….

ได้แต่ภาวนาว่า พลังมวลชน จะ รวมกันอีกครั้ง เพื่อ ข้าวไทย

.. พลังความดีของประชาชน จะช่วยให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ด้วยดี ...

...

  การศึกษา ทัศนคติ จิตสำนึก  ....  ประสบการณ์ การเรียนรู้ มุมมอง

... คุณธรรม ในใจ  ...  เรามิควรนิ่งเฉย ต่อสู้เพื่อความถุกต้องในสังคมค่ะ

...

 

.... ขออนุญาตตอบท่านพี่ขาใหญ่ ก่อนนะคะ พี่ท่านลูกช้าง

ของพี่ท่านลูกช้าง น้องต้องทำการบ้านหนักหน่อยค่ะ  ...

สวัสดีค่ะ ท่านพี่ขาใหญ่ @667914

P * สิทธิเด็กเป็นเรื่องละเอียดอ่อนค่ะ ..แม้จะดูหลักการไปบ้าง แต่

* เราพิจารณาด้วยใจเป็นกลางแล้ว ... เอาเป็นว่า ทุกสิ่งที่เรากระทำ

* ควรคำนึงถึงผลกระทบ และผลประโยชน์ของเด็ก เป็นสำคัญ  ...

* ปูมองว่า ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นในครอบครัวแล้วกัน ค่ะท่านพี่

* หากพ่อแม่ ตัดสินใจแทนทุกเรื่อง โดยที่ไม่ได้ลูกได้เข้ามีส่วนร่วมบ้าง

* เด็กจะรู้สึกอย่างไร ... ยิ่งหากเป็นเรื่องที่กระทบ เกี่ยวข้องกับเขาโดยตรง

* เช่น การเลือกสาขาวิชาเรียน ...  การเลือกสีเสื้อผ้า หรือแม้เรื่องเล็กๆ ต่างๆ เป็นต้น

* ปูมองว่า เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจ และมั่นใจ self esteem สำคัญนะคะ

* ....

* ก็ต้องใช้เวลาเนอะท่านพี่เนอะ ... Who will Know? … Only Time!

* ชอบเพลงนี้มากเลยค่ะ ... ทั้งการเล่นคำ ความหมาย ท่วงทำนอง . ...

* ....

* ยินดีที่ท่านพี่สอบผ่านนะคะ แล้ว ท่านพี่จะไปอเมริกาเมื่อไหร่หรือคะ ...

*  .... ใช่ หมู่บ้านเด็กกาญจน์ เด็กรักป่า หรือเปล่าคะ ? …

* ท่านพี่หายไปหลายวันเลย ... เงียบมาก ...  

* มีความสุขกับบ้านสวนกะท้อนค่ะ  ... เข้าไปดูแล้ว ขอบคุณค่ะ

·       สวัสดีค่ะ คุณใบไม้ย้อนแสง

·      

P

·       ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาเติมเต็ม ลงลึกกันในรายละเอียดอีกครั้ง

·        

·       เอ ไม่แน่ใจว่ามูลนิธิที่คุณใบไม้ เคยทำงานอยู่แถวสวนหลวง หรือเปล่าคะ .. แค่เดาๆ ดูค่ะ ... แต่น่ายกย่องนะคะ และการทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือ หลักการสิทธิเด็ก ข้อ 1. เน้นที่ผลประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก ...

·       สำหรับหลักการที่คุณใบไม้กล่าวในเรื่อง"เลือกครอบครัวให้เด็ก ไม่ใช่เลือกเด็กให้ครอบครัว"  ก็ตรงกับ ข้อ 1 และ ข้อ 3 เรื่องการอยู่รอดและการพัฒนา

·       ... ถือเป็นนิมิตหมายใหม่ที่ดี่นะคะ .. เคยไปดูงานที่มูลนิธิหนึ่ง เขาจะให้ชาวต่างชาติ มาคัดเลือกเด็ก ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนไหวมาก ..

·       ...

·       ... อ่านแล้วถือว่างานของคุณใบไม้ ต้องใช้ ทักษะ ความละเอียดอ่อน และความอดทน หลายๆ อย่างมากๆ เลยนะคะ .. ซึ่งปูก็ยังไม่ถึงขั้นนั้นหรอกค่ะ

·       ... เอ อยากรู้ซะแล้วสิคะ ว่ามูลนิธิชื่ออะไร เพราะ มีขอบเขตงานกว้างถึงเพียงนี้

·       .. เท่าที่ทราบว่า ส่วนใหญ่ องค์กร จะ เน้นความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใดไป

·       เช่น งานด้านการศึกษา ,  งานสาธารณสุข ,  งานสาธารณูปโภคพื้นฐาน , งานกลุ่มส่งเสริมรายได้ .. หรือ งานบรรเทาทุกข์  เหตุฉุกเฉิน  รวมทั้ง งานป้องกัน และเตรียมความพร้อม

·       แต่เป้าหมายโดยรวมของทุกมูลนิธิ องค์กร ก็คงมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ

·       อย่างที่คุณใบไม้กล่าว  "Help them to help themselves" ทำงานเพื่อให้เขาพึ่งตัวเองได้ในท้ายที่สุด เน้น Sustainable Development นะคะ

·       เพราะส่วนใหญ่ ที่ปูผ่านงานประเภทนี้ ก็จะไม่ได้ช่วยตลอดไป แต่เราจะช่วยในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเห็นว่าเขาสามารถ เรียนรู้และพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

·       เราก็ต้องถอยออกมา เพื่อขยายผล และต่อยอด ไปยังพื้นที่ด้อยอื่นๆ อีก

·       ...

·       สิ่งหนึ่งที่ปูมองและพบว่า ทางหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือบ้านเรา ควรจะมีการรวมตัว และแลกเปลี่ยน พบปะ กันเพื่อได้ติดตาม และช่วยเหลือ โดยไม่มีการทับซ้อน .. ในเรื่องของพื้นที่ กิจกรรม เพื่อให้ผลประโยชน์ ได้กระจาย ทั่วถึง ไปยัง กลุ่มบุคคลที่ต้องการจริง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

·       ...

·       เพราะไม่งั้นแล้ว จะดูเหมือนว่า ต่างคนต่างทำงาน ต่างนำงบมาบริหาร โดยไม่ได้ดูว่า ในส่วนไหนขาด เกิน หรืออย่างไร ..

·       ... ในส่วนองค์การปูเอง ก็จะประสานงานกับหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนผ่านองค์กรอื่น ในส่วนที่เขาชำนาญ ก็แบ่ง ๆ กระจาย งบกันไป เพื่อให้ครอบคลุมที่สุดค่ะ

 

14. ใบไม้ย้อนแสง
เมื่อ ศ. 23 พฤษภาคม 2551 @ 22:58
667346 [ลบ]

 

P

  • สวัสดีหัวค่ำ ค่ะพี่ท่านลูกช้างบางทราย
  • ...
  • ความเห็นท่านพี่ไม่แรงหรอกค่ะ  .. ยังเบาด้วยซ้ำไป อิ อิ ... ดีค่ะ ตรงๆ ปูช้อบ ชอบ ... เปิดเผย ไม่หมกเม็ด .. ไม่ขี้เก๊ก ... (ปูจะพาออกนอกเรื่องอีกแล้ว)
  • .. จริงๆ แล้วปูว่า ของเราก็มีนะคะ แต่เราไม่ได้เขียน หรือทำอะไรเป็นลายลักษณ์ แต่ฝรั่งเค้าจะ เน้นเรื่องเอกสารมากค่ะ ..  ดูง่ายๆ อย่างพวก สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ต่าง ๆ  ...  ก็ที่เราทราบดี มีปัญหาหลายๆ กรณีนะคะ
  • เรื่องสิทธิเด็ก ก็ของ save the children ต้นแบบค่ะ .. แล้วองค์กรต่างๆ ที่มาทำงานเกี่ยวข้องด้านเด็ก .. ก็เลยนำหลักการนี้มาด้วย
  • ... ทำให้ปูคิดไปถึงช่วง 1999 ประมาณนี้ที่ กรณี ISO 9001, 9002 และ 9004 ,, (มีอีกไหมค่ะ พี่ท่าน .. น้องคุ้นเคยแค่นี้ล่ะคะ) ทันสมัยระเบิด ไปที่ไหนๆ ก็พูดถึง QM< QC , TQM เป็นต้น   ... จริงๆ ก็คือ คุณ 5 ส บ้านเรา แต่เป็นขั้นสูง เท่านั้นเองปูว่านะคะ ...
  •  ที่บริษัท ตอนนั้น ปูก็ต้องไปอบรมด้วยค่ะ .... แล้วมีการสอบด้วยนะคะ ... ทั้งปฏิบัติ และปากเปล่า 5 5 ... ทุกคนก็จะต้องท่องกฎ และข้อกำหนดของหลัก ISO  ... ซึ่งเป็นมาตรฐานการปฎิบัติ แบบเดียวกันทั้งองค์กร ประมาณนี้ล่ะคะ
  • ปูก็จำไม่ได้แล้ว ...  สรุปว่า ISO, TQM, 5   อะไร มันเป็นลักษณะเดียวกันไหมค่ะพี่ท่าน ... ?
  • ที่ยกเรื่องนี้ เพราะมันแว้บขึ้นมาค่ะว่า มันคล้ายๆ หลักการ , แนวทางที่เป็นสากล กระมังคะ  พอบ้านเราไปเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศและลงนามด้วยแล้ว
  • ก็จำเป็นต้อง ยึด กฎ หลัก เพื่อให้มีกรอบ ในการวางแผน เชิงปฏิบัติต่อไป
  • ... นี่ปูเดาเอานะคะ  แหม น้องปูก็เพิ่งได้คิด ตอนพี่ท่านมาเติมเต็มนี่ล่ะคะ
  • เพราะ ตอนอบรม น้องก็ตามกระแสเค้าไปเหมือนกัน ไม่ได้คิดอะไรเล้ย ..
  • ...
  • ประเด็นหลักคือ ต้องการหยิบเรื่อง Rights of the  Child มาดำเนินการในเมืองไทย ก็ควรจะสร้างรายละเอียดของเรื่องนี้บนพื้นฐานของสังคมไทย คนไทยต้องส้รางมันขึ้นมาเอง  มิใช่นำเข้ามาจากฝรั่ง ซึ่งสภาพการพัฒนาสังคมต่างกันลิบลับ
  • ... ปูเห็นด้วยกับพี่ท่านอย่างยิ่งนะคะ .. ก็อย่างที่เรียนว่า เวลาเราไปอบรม ก็คือ อบรมทฤษฎีจริงๆ .. หลายๆ ท่าน เค้าก็จะแย้งในใจว่า เอ แล้วจะใช้ได้หรือในเชิงการนำไปปรับใช้ จริงๆ  หรือ?... 
  • แต่เมื่อ กลุ่มคนทำงานภาคสนาม ...  ที่ต้องลงคลุกคลีกับชาวบ้าน เด็กๆ จริงๆ ก็ต้องวางแผนกิจกรรม ในเชิงลึก และมีรายละเอียดของกรอบการทำงานในแต่ละส่วนอีกครั้งหนึ่ง ค่ะ ... (อันนี้น้องเขียนตามที่มีประสบการณ์นะคะ หากผิดพลาดอะไร หรือมีอะไรเสริม รบกวนพี่ท่านบรรเลงตามสบายนะคะ บ่ต้องเกรงใจ)
  • ...
  •  เด็กที่กล่าวถึงนี้คือเป้าหมายของหลักการนี้ เด็กมันอยู่โดดหรือเปล่า ไม่ใช่ เด็กอยู่กับครอบครัว ครอบครัวของเราแต่ละภาคก็แตกต่างกัน ครอบครัวในเมืองกับชนบทก็ต่างกัน  วัฒนธรรม ประเพณี ก็แตกต่างกัน แล้วจะเอาหลัก CR (Child Rights) ที่มิได้เกิดมาบนฐานของวัฒนธรรมไทยไปครอบให้กับเขานั้น มันก็ไม่ถูกต้องในตัวมันเองแล้ว
  • ขอบพระคุณพี่ท่านที่ยกประเด็นนี้ค่ะ เพราะคิดถึงในลาว .. เราจะเจอเด็กพิเศษ  เด็กกำพร้า และ ก็เด็กกำพลอย ... เราก็จะมาวิเคราะห์อีกครั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือค่ะ ... แต่ทั้งหมดนี้ก็อยู่บนพื้นฐานของหลักการ เพียงแค่ปรับรายละเอียดปลีกย่อย อย่างที่เรียนข้างต้นค่ะ
  • ...
  • กิจกรรมที่เคยทำ มีกลุ่มเด็กอุปการะ  และตอนนี้กำลังจะปรับเปลี่ยนเป็น child ambassador … ชื่อหรูมากเลยใช่ไหมคะ ... แต่เป้าหมายก็ไม่ต่างกันค่ะ ...

พี่ท่านค่ะ ด้วยความเคารพ วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะคะ น้องยังดูความเห็นพี่ท่าน ไม่ครบทุกประเด็นเลยค่ะ ..

 

... แล้วพี่ท่านล่ะคะ เจอประสบการณ์ การนำ หลักการนี้ไปใช้ เป็นไงบ้างค่ะ ... เล่าให้น้องอ่าน เป็นวิทยาทานหน่อย ..

 

... ที่เหลือ เดี๋ยวน้องจะค่อยๆ มาเรียนถามพี่ท่านใหม่ๆ นะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

.

ผมติดค้างน้องปูเรื่องนี้ครับ

ความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังไม่ใช่เป็นเรื่องผิด

มารตรฐานปฏิบัติการ ยังต้องดูให้รอบคอบ

สังคมเมืองไทย เป็นสังคม กึ่งเปิด กึ่งปิด

วัฒนธรรมชนชาติมีเยอะ ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมน้ำเน่าคงอยู่ ทุนนิยมเข้าสรวม วัฒนธรรมตะวันตกเข้าแทรก

ผมอาจจะคิดมากไป

แต่ผลที่ตามมาเป็นเช่นนั้น

ในรั้วโรงเรียน คุณครูแสนลำบากในการเคี่ยวเข็ญ  ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น

แต่นอกรั้ว ยังมีขยะที่ต้องกำจัดอีกมาก ครูจะตามไปเช็ดถูไหวเหรอ  จะทำยังไง มันลามเข้ามาถึงโรงเรียนด้วย

แก้ปัญหาเมืองไทย สังคมไทย ยังต้องสร้างมาตรฐานหนึ่งขึ้นมา แล้วยังต้องแยกส่วนท้องถิ่นด้วย

เราจะเอาครูเป็นหลัก หรือจะครอบครัวเป็นหลัก หรือ ชุมชนเป็นหลัก หรือเอายอดการปกครองเป็นหลัก  ล้วนเรายังต้องแลกเปลี่ยนกันไป

ผมขอคาราวะเหล่าคุณครูที่ลำบากแสนเข็ญ ทุ่มเทกำลังกายใจ เพื่อที่จะได้เห็นสิ่งที่ดีขึ้น ดีกว่านี้

ผมเป็นกำลังใจให้  ตลอด มิเลือน มิเลือน 

P

สวัสดีค่ะ พี่ท่านลูกช้างบางทราย

     ...  มาอีกแล้ว ... น้องมาต่ออีกหลายประเด็นที่ค้างไว้ค่ะ ... คิดทั้งคืนเลยนะคะนี่ มีอะไรขัดหู ขัดตา ...  เต็มที่เลยค่ะ พี่ท่าน ..

  • หลักการทั้งสี่หลักนั้น ฟังดูดี แต่คิดบ้างไหมว่า ข้อไหน มีหรือไม่มีในเมืองไทย  ภาคไหนมี ภาคไหนไม่มี มีมากมีน้อย ข้อนี้ภาคเหนือมี ข้อนี้ภาคใต้ไม่มี ฯลฯ แค่นี้ก็หลากหลายมหาศาลแล้ว  เหตุอยู่ที่ไหน แก้อย่างไร มันอยู่ที่เด็ก หรือครอบครัว หรือโรงเรียน หรือสังคม หรือรัฐบาล หรือ ระบบธุระกิจ
  • ค่ะ หลักการไหนๆ ก็ดูดีทั้งน้านเลยเนอะพี่ท่านเนอะ ดูอย่างนโยบายพรรค แต่ละพรรคสิ .. มันก็นั่นละคะ ... สุดท้ายก็ต้องมาดูที่เหตุ ปัจจัย เหตุอยู่ที่ไหน แก้อย่างไร มันอยู่ที่เด็ก หรือครอบครัว หรือโรงเรียน หรือสังคม หรือรัฐบาล หรือ ระบบธุรกิจ
  • คือทุกภาคส่วนล้วนต้องประสานงานกัน และหาวิธีการ เพื่อสร้างกิจกรรม ให้ตอบสนอง ความต้องการ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยอาศัยการปรึกษาหารือ หาบทสรุป จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จนเป็นที่น่าพอใจ และตรงกับเป้าหมายโดยรวมเป็นสำคัญค่ะ
  • ...  มันตลก นะน้องนะ เจ้าหน้าที่ของ Save เข้าไปในหมู่บ้านแล้วก็คุยกับครอบครัวชุมชนว่า ต้องให้ประโยชน์สูงสุดกับเด็ก ต้องไม่กีดกัน ไม่แบ่งแยก ต้องฯ  ต้องฯ... ชาวบ้านก็งงๆ ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ แต่ในวิถีปฏิบัติประจำวันเรามีวัฒนธรรมผู้ใหญ่กับเด็ก มีวัฒนธรรมเด็กต่อผู้ใหญ่ เรามีวัฒนธรรมระหว่างกัน  แม้ว่าจะดัดแปลงสาระข้างต้นให้เป็นภาษาถิ่นก็ตามเถอะ
  •  รบกวนพี่ท่านช่วยขยายความ อีกหน่อยได้ไหมคะว่า ทำไมชาวบ้านไม่เข้าใจ ทั้งๆ ที่อธิบายเป็นภาษาถิ่น แล้ว .. เพราะที่น้องประสบ ส่วนใหญ่ คือในตอนแรกๆ การอธิบายหลักการจะ แน่นอนค่ะว่าต้องงง ๆ แต่เมื่อขยายความ ออกไป พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ก็พอได้นะคะ ... เพียงแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มาจาก ปัจจัยอื่นๆ มากกว่านะคะ .. เช่น ระบบผลประโยชน์ หรือ ส่วนทับซ้อน หรือเกิดจาก ผู้นำ ผู้ประสานงาน ที่ไม่เป็นกลาง แบบเลือกปฏิบัติ กับลูกบ้าน อย่างไม่เท่าเทียมกัน เป็นต้นค่ะ ...

.. ฝนตกพรำๆ คิดถึงป่านะคะ แต่น้องก็ไม่ชอบน้องทาก เลยไม่ชอบเดินป่าหน้าฝน ...

... ยังมีต่อนะคะ ... ไปพักกินไอติมก่อนดีกว่าค่ะ  ... ไอติมใส่ไข่ต๊อกพ่อครูบา อร่อยเหาะ อย่าบอกใครค่ะ พี่ท่าน ...

 

สวัสดีค่ะ น้องปูขา

*** แวะมาเยี่ยมค่ะ

*** แวะมาเยี่ยมน้องปู แต่ก็คิดถึงทุกๆ ท่านที่โพสต์อยู่ข้างบนนั่นค่ะ

*** เด็กน่ารัก น่าชังดีนะคะ

P

สวัสดีค่ะ พี่เขยเมืองตรัง ...

 ...  ว่าทำไม พี่ท่านพอจะพูดภาษาต้ายได้   .. ว้า พี่ท่านคงยุ่งเรื่องงานวิจัย ความชื้นสัมพัทธ์ มากๆ เลยสินะคะ .. แต่ไม่เป็นไร ค่ะ  ความชื้นสัมพัทธ์ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษา เรียนรู้นะคะ  มาต่อประเด็นที่ค้าง กันนะคะ ...

  • ก่อนอื่นมาทานไอศกรีม ด้วยกันก่อนดีกว่านะคะ  คงต้องคุยกันยาว ยาว เลยค่ะ  .. เมื่อกี๊ ปูทราบล่วงหน้า ว่าจะมีแขก ปูเลยสั่งไอติม ไว้เผื่อ  ...  และไปจิ๊กไข่ต๊อก พ่อครูมา .. สูตรนี้พี่ท่านเคยลองหรือยังคะ .. อร่อยเหาะ นี่คะ  ...

 

  • เอ้าสมมุติว่าหลักการนั้นโอเคนะ แล้วเราทำ CR analysis หรือเปล่า ออกมาอย่างไร ใครต้องไปแก้ส่วนไหน แค่ไหนอย่างไร ทั้งหมดบูรณาการกันอย่างไร รัฐให้ความสำคัญเรื่องนี้แค่ไหน หน่วยงานรัฐให้ความสนใจและจริงจังแบบ จิตวิญญาณ แค่ไหน ???
  • ฯลฯ
  • ประเด็นหลักของการนำไปปฏิบัติ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จริงๆค่ะ พี่ท่าน .. เพราะเวลาลงไปทำงานจริงๆ เราต้องการความช่วยเหลือ ประสานงานที่ดี กับ หมู่บ้าน ผู้นำ อาสาสมัคร ด้านต่างๆ
  • ถ้าหากหัวไม่เดิน ไม่ใสสะอาดซะแล้ว .. หางก็คงกวัดแกว่ง ตุหรัดตุเหร่ หาทิศทางไม่เจอ .. น้องจึงเชื่อในเรื่อง ผู้นำ ผู้ประสานงาน ที่ดีระหว่าง ฝ่ายนโยบาย และ ฝ่ายปฏิบัติการค่ะ ..
  • พี่ท่านค่ะ เรื่องของ จิตวิญญาณ น้องก็ไม่ค่อยแน่ใจนะคะ ว่ามันจะเป็นจิตวิญญาณในแง่ไหน ... แต่ความเข้าใจเบื้องต้น อาจจะเป็นในเรื่อง จิตใจ จริงใจ มีจุดยืน มีคุณธรรม ความถูกต้อง ไม่มีอคติ .. หรือเปล่าคะ
  • หรือ ให้ความสำคัญ จึงขั้น หายใจเข้าออก เป็นเรื่องนี้ เรื่องนั้น และ มุ่ง เจาะในประเด็นลึกๆ ให้ซึมซับ ไปทั่วทุกขุมขน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน ..
  • แต่ดู ก็ยังเป็นเชิงนามธรรม อยู่ .. พี่ท่านช่วยให้แบ่งปัน ขยายผล เรื่องนี้หน่อยค่ะ
  • ..
  • ตอนนี้อากาศดีมากอีกแล้วค่ะ ... ไม่ค่อยแน่นอน ในวันเดียวกัน เดี๋ยวแดดออก เดี๋ยวฝนตก .. แล้วแต่น้องฟ้าเธอค่ะ .. ปรับอารมณ์ตามเธอให้ทันก็ไม่มีปัญหา J  แล้วน้องฟ้าฝั่งโน้นล่ะคะพี่ท่าน  เป็นไงบ้างเอ่ย

 ... ยังไม่จบนะคะ  นับได้ว่าเป็นการตอบบันทีกยาวที่สุดในประวัติศาสตร์บล็อกของปูเลยค่ะ  ... ขอบคุณพี่ท่านค่ะ

แวะมาดูเรื่อง ร็อค ๆ

แบบ บิ๊ก แอ๊ด คนไม่เอาถ่าน

เรื่องสิทธิเด็ก คล้าย ๆ สิทธิผู้ป่วยที่ผมคุ้น ๆ ปัญหาคงพอทราบ ๆ ดีนะครับ ขนาดตัวสิทธิผู้ป่วยที่ควรได้เยียวยารักษา มันยังต้องประกาศให้หมอพยาบาลต้องรับรู้ต้องทำตาม ทั้งที่อยู่ในจรรยาวิชาชีพ

บางทีการถ่วงดุลของสังคมมีปัญหาแล้ว เรื่องเด็กก็เช่นกัน ผมว่า แม้แต่พ่อแม่เด็กก็เจอปัญหานี้

เรื่องสิทธิและหน้าที่จึงน่าคิดมาก ๆ ตามที่อัยการท่านมอง แต่ผมว่าสังคมทั้งหมดเรามีปัญหาจริง ๆ ( หลายคนคิดและพูดไปแล้ว )

จากที่รู้ที่เห็น โลกเรากำลังมีผู้คนส่วนหนึ่งถูกทอดทิ้ง และถูกผลักให้อยู่กับวงจรของปัญหา สิ่งที่ได้กลับมาคือ มูลนิธิของคนรวยที่พยายามสร้างมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

เรากำลังจะจัดการปัญหาที่ใหญ่ ๆ มากขึ้น ๆ เพราะระบบของเราเป็นแบบเอาตัวรอด ไม่ได้อุ้มชูสังคมใหญ่

คำถามก็คือ ผู้คน หรือระบบในประเทศในโลกกันแน่ที่ก่อปัญหา จำนวน หรือจิตใจที่แข่งขันรุนแรง หรือการแย่งชิงของ คนไม่กี่คน บรรษัทไม่กี่แห่งกันแน่ ที่ทำเราป่วน และกำลังผลักสังคมบางส่วนเข้าสู่ความยากไร้ ปิดกั้น

นี่อาจเป็นวาทะของนักปฏิวัติที่เสียสติก็ได้ครับ อย่าได้ใส่ใจ

ห้าห้าห้า....ขอบคุณครับคุณปู

สวัสดีค่ะคุณปู

  • ถ้าสนใจงานของมูลนิธิที่ใบไม้เป็นอาสาสมัคร ก็คลิกไปดูได้ที่นี่ ค่ะ มีรายละเอียดของมูลนิธิให้อ่านค่ะ
  • ใบไม้อาจจะอธิบายได้ไม่ดีนัก เพราะว่าไม่ใช่คนทำงานเต็มเวลา เพียงแต่ชื่นชมงานของที่นี่ตั้งแต่ได้ไปฝึกงานสมัยเรียน จึงเป็นอาสาสมัครมาตั้งแต่นั้น  เวลาเห็นคนตั้งใจทำงานเพื่อเด็กแล้วชื่นใจค่ะ
  • ส่วนเรื่องการรวมตัวกันขององค์กรที่ทำงานช่วยเหลือเด็กก็มีคุณะทำงานด้านเด็กนะคะ ซึ่งจะเป็นแกนหลักจัดงานเวทีสิทธิเด็กทุกปีค่ะ แต่ใบไม้ไม่ทราบว่าตอนนี้มีองค์กรที่เข้าร่วมกี่องค์กรแล้ว
  • ส่วนเรื่องปัญหาพื้นที่ในการทำงานทับซ้อนกัน ก็ได้ยินมาบ้างเหมือนกันค่ะ คิดว่าเรื่องนี้แก้ไขไม่ง่ายนัก ต้องอาศัยความเข้าใจ การประสานความร่วมมือกัน แนวทางการทำงานก็มีความต่างกันในรายละเอียด และในความเป็นมนุษย์ปุถุชนก็จะมีอัตตา อยู่ในมุมมองว่าของตัวเองดี คงต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาค่ะ เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องผลงานของแต่ละองค์กรด้วย ซึ่งเขาต้องนำเสนอต่อแหล่งทุนของเขา
  • ส่วนเรื่องการประสานความร่วมมือในการทำงาน เท่าที่เห็นก็มีการส่งต่อผู้รับบริการไปยังหน่วยงานที่เหมาะสม มีทั้งหน่วยงานอื่นส่งมา และทางองค์กรส่งไปหาหน่วยงานอื่น
  • อืม..ระยะหลังมีการจัดอบรมเกี่ยวกับเรื่อง กฎหมาย ป.วิอาญาเด็ก (ไม่ทราบว่าชื่อเต็มคืออะไร) นะคะ เพื่อให้เหล่านักสังคมสงเคราะห์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้กฎหมายคุ้มครองเด็กซึ่งเพิ่งมีได้ไม่นานนัก กฎหมายนี้สามารถช่วยให้ทำงานคุ้มครองเด็กได้ง่ายขึ้น ก็เป็นเรื่องสิทธิเด็กที่เป็นกฎหมายของไทย ใบไม้ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมค่ะ ไม่ทราบว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร เพียงแต่เคยได้ยินคนทำงานเล่าให้ฟังบ้างค่ะ ถ้าสนใจก็ลองศึกษาดูนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ทำงานที่มีประโยชน์ต่อไปนะคะ ^_^

 

P

สายัณห์ตะวันตกดินไปแล้วค่ะพี่ท่าน

... พี่ท่านทานข้าวหรือยังเอ่ยคะ ...  งั้นนั่งพักเหนื่อยสักครู่นะคะ .. .เดี๋ยวน้องไปเก็บมะละกอหลังบ้านก่อน ... กำลังงามเชียวค่ะ ..  ต่อจากประเด็นนี้นะคะ

พี่เชื่อว่ามีคำอธิบายมากมาย ต่อประเด็นที่พี่ยกมานี้นะครับ หากถกกันคงใช้เวลากันหน่อย

·         It has been said that by adopting this approach (4 Principles of UNCRC) the convention has become more than a list of obligations, and instead acquires a soul.

·         การนำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และหลักการทั้ง 4 ประเด็นหลักข้างต้นมาปรับใช้ ไม่เพียงแต่จะได้มาซึ่ง พันธสัญญา ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึง จิตวิญญาณ อีกด้วย ...

พี่มีความเห็นว่า การทำหลักการให้เกิดผลในทางปฏิบัติจริงๆนั้นต้องใช้จิตสำนึก มันต้องเป็นวิถีชีวิตที่มีอยู่ในการปฏิบัติประจำวัน 

  ถ้ากระนั้นมาถึงบรรทัดนี้ น้องพอจะมองๆ เห็นลางเห็นเค้า ด้านจิตวิญญาณแล้วค่ะ .. จิตสำนึก ที่พี่ท่านพูดถึง ... หากได้นำมาปรับ มาปลูกฝัง ใส่ใจ ให้กลายเป็นหนึ่งในวิถีประชา ธรรมเนียมปฏิบัติ และค่านิยม เชิงลึก ที่จะกระทำกันเป็นนิสัย ใช่หรือไม่คะ

... หากเราพูดถึงในเรื่อง ความสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น น้องเชื่อมั่นใน ความคิดดี ความใสซื่อ ความจริงใจของผู้คน ที่เป็นจุดแข็ง จุดเด่นที่จะช่วยให้นโยบายของรัฐ ได้ลงสู่พื้นที่นั้นๆ เต็มที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รัฐ หรือองค์กรใดๆ ต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจ ใช้เวลาพิสูจน์ เสียสละเวลา หรือทรัพกำลังที่มี คลุกคลีกับชุมชน จริงๆ

... พี่ท่านกล่าวถึง ชีวิตประจำวัน .. การทำสิ่งต่างๆ ให้เป็นเรื่องง่าย ให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเค้า .. อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ใช่ไหมคะ .. ถ้างั่นน้องก็คิดไปถึง ความสัมพันธ์ของจนท. กับปชช. ที่ต้องคลุกคลีตีโมง เข้าถึงใจ ในวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่

... น้องคิดว่า ที่ผ่านๆ มาปัญหาต่าง ๆ ล้วนเกิดขึ้น จากความไม่เข้าใจ ความลังเลใจ ความไม่มีเสถียรภาพของสถาบัน ... ความหละหลวมในเชิงการติดตาม การตรวจสอบ ตลอดจน ... การไม่มีจุดยืน คำนึงถึงผลเฉพาะกลุ่ม เฉพาะด้าน ไม่มีการมองความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงและกระทบกันเป็นลูกโซ่  ...

… …  พักยกก่อนนะคะ พี่ท่าน .. ทานของว่างก่อนค่ะ .. เปรี้ยวปากแล้วล่ะ แค่ได้กลิ่น ... บ่ใส่ปลาร้านะคะ ... กินส้มตำกันก่อนนะคะ .. ก่อนเข้าเรื่องเบาๆ กันค่ะ

...  น้องยังเคย สงสัย เคยคิดถามกับพี่หัวหน้าที่ทำงานนะคะ  ...  เราเคยพูดถึง เน้นความเป็นไทย ใช้ของไทย .. แต่บรรดาท่านผู้นำ ผู้มีอำนาจ มีอิทธิพล ในระดับต่างๆ กลับไปเห่อ ของหรูหรา ติดยี่ห้อ เล่นกีฬาที่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดื่มไวน์นอก เป็นต้น

... ถ้าทุกๆ เช้า ตื่นมาแล้ว มีแต่ข่าวดีๆ เรื่องงามๆ กำลังใจ สิ่งสร้างสรรค์ ความดี ในครอบครัว .. ในที่ทำงาน ในชุมชน ในสังคมแล้ว .. จะเป็นไปไม่ได้เลยหรือคะ 

... เรายอมรับว่า ไม่ราบรื่น มีปัญหา แต่หากเรามองปัญหานั้นให้เป็นโอกาส โอกาสสำหรับ ทุกๆคน ที่จะได้เปิดใจ พูดคุยกัน .. สานสายสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ลดช่องว่าง กันและกัน  

... พี่ท่านคิดว่า ในชีวิตของคนๆ หนึ่งจะต้องการอะไรไปมากมายค่ะ นอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ก็มีหลักการอีก ตามทฤษฎีมาสโลว์ ..  ความสุขในชีวิต ..

... เพราะจริงๆ แล้วชีวิต มันไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมคะ  ... หากเราใส่ใจ ความเป็นมนุษย์ ของกันและกันมากขึ้น ... เราใส่ใจในความรู้สึก ในจิตใจ กันมากขึ้น ...

... พี่ท่านคิดว่า เป้าหมายของประเทศ สังคม ชุมชน ครอบครัว จะต่างกับเป้าหมาย ปัจเจกชน มากหรือไม่ อย่างไรคะ .. สิทธิที่เรามี หน้าที่ที่เราต้องกระทำ และความรับผิดชอบ ที่พึงแบกรับ ... จะสร้างให้เกิดขึ้น อย่างอัตโนมัต และสอดคล้องกับวิถีประจำวัน อย่างไรได้บ้างคะ ..

... อ้ะ น้องก็ถามวกไปวนมา พี่ท่านอีกจนได้นะคะ ...  น้องยังเชื่อมั่น ในเรื่องความคิด และทัศนคติเหนือสิ่งอื่นใดค่ะ เพราะหากเราจะกระทำการใดๆ ไม่ว่าเรื่องใดๆ แล้ว ...

... สิ่งที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน เป็นแรงผลัก เป็นแนวทาง เพื่อให้เป้าหมาย และวัตถุปรสงค์ นั้นๆ สำเร็จตามตั้งใจ ... ล้วนต้องออกมาจากใจด้านบวก ศรัทธา เชื่อมั่น ว่าเป็นไปได้

... ความมั่นใจในกันและกัน จะนำไปสู่ ความนับถือตนเองในแต่ละภาคส่วน เกิดความภาคภูมิใจในส่วนรวม ... อุปสรรคหรือปัญหาที่เข้ามา ก็จะเป็นเรื่องเล็กๆ น้องมั่นใจค่ะ

 

 

 

... เสียดายจริงๆ ค่ะพี่ท่าน จะจบประเด็นทังหมดแล้ว .. จะรอพี่ท่านมาเติมเต็มบันทึกนะคะ  ... ก่อนพี่ท่านจะกลับไปบ้าน  .. น้องมีอะไรเล็กๆ น้อยๆ  กำนัล แด่พี่ท่านด้วยล่ะคะ

... แต่อย่างเพิ่งเปิดนะคะ .. ต้องรอให้ถึงบ้านพี่ท่านก่อน ... แล้วพี่ท่านมาเฉลยหน่อยว่าเป็นอะไร ...  ...  อิ อิ  มีความสุขในการทำงานนะคะ 

... สรุปแล้ว ก็จบลงตรงทฤษฎีที่เป็นนามธรรมอีกจนได้  เฮอๆ ...  น้องก็ได้แต่เพ้อ ได้แต่ฝัน ไปนะคะ ..  (พ่อครูบา บอกแล้วอย่ามัวแต่ฝันนะปู ยังอดไม่ได้ที่จะเพ้ออีก ฮึ)  ... ก็น้องเจอแต่ผู้คนดีๆ สิ่งดีๆ สถานที่ดีๆ นี่คะ .. น้องอาจจะมองได้แค่นี้ ยังไม่กว้างพอ .. ก็ขอให้พี่ท่านเสริม ชี้แนะ ด้วย ขอบพระคุณค่ะ 

 

P

26. Bright Lily
เมื่อ อา. 25 พฤษภาคม 2551 @ 16:26
669818 [ลบ]

สวัสดีค่ะคุณพี่

·         ที่ภูเก็ต เป็นไงบ้างค่ะ ..

·         ได้ข่าวว่า จะมีโครงการอภิมหาหมื่นล้านอีกแล้วนะคะ

·         ..

·         IT Innovation    IBM , Microsoft บุกตลาด

·         ..

·         ธุรกิจอสังหา คงบูม กระจายนะคะ  

·         เวลาก็ผ่านไปเร็วนะคะ ใกล้

·         High Season อีกแล้ว .. งานพี่เป็นไงบ้างคะ

·        

·         อ้าว ไหง ไปคิดถึงหนุ่มๆ ข้างบนล่ะคะเนี่ย

·         อย่างนี้ ปูก็หัวล้านแย่เลยนะคะสิคะ

·         ...

·         เด็กๆ ที่ค่ายน่ารักทุกคนค่ะ

·         ชอบคนไหนเป็นพิเศษคะ

·         ...

·         มีความสุขนะคะ แล้วอย่าลืมมาเล่าเรื่องราวค่ะ

P

จ้ะเอ๋ยามเช้าค่ะป๋าดล คนดีที่นี่รัก

... ป๋ารับอะไรดีคะ โอวัลตินชาระมิงค์ แล้วกันนะคะไม่ต้องใส่เกลือปูเค็มอยู่แล้ว อิ อิ ... หรือป๋าติดกาแฟคะ ... ปูไม่ได้เลยค่ะกับกาแฟ ดื่มปุ๊บใจก็เต้น ตุ๊บตั๊บๆ ปั๊บ ยิ่งกว่าเห็นหนุ่มหล่ออีกนะคะ ..

... อิ อิ (ป๋าดองบันทึกไว้นาน จนเปรี้ยวได้ที่เลยค่ะ  ... ขอบอกก่อนว่ามีคิดดอกเบี้ย ทบต้นทบดอก อัตรา npl +10 ด้วยเลย นะคะ .. เป็นไงคะโอชา รสชาติหวานมัน กลมกล่อม ด้วยครีมไม่มีคอเรสโตรอล ...  

... ดีใจค่ะที่ป๋ายังไม่ลืมหนี้ที่ค้างไว้ ... เฮอๆ ... หากนานกว่านี้ ปูตามหนีบ ตามทวง 3 เวลาหลังอาหารแน่เลย J

มาตรฐานปฏิบัติการ ยังต้องดูให้รอบคอบ - - คร้าบบผม .. อย่างที่ทราบๆ กันนะคะว่า หลักทฤษฎีกับภาคปฏิบัติต่างกันมากเลย ... ทุกสิ่งล้วนมีทั้งจุดแข็ง จุดอ่อน ขอเพียงเราต้องพยายามมองหาจุดแข็ง แล้วเสริมเพิ่มเติมในด้านนั้น และเช่นกัน สำหรับจุดอ่อน เราก็ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือพัฒนา ให้สอดคล้องกับลักษณะในการนำไปใช้จริง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

... ค่ะ หลักการก็คือหลักการ เพื่อไว้เป็นกรอบ ในการวางแนวกิจกรรมเพื่อลงลึกในรายละเอียดอีกครั้งใช่ไหมคะป๋า .. และนอกจากเราจะมีหลักการเพื่อปฏิบัติ เราก็ต้องคิดหา มาตรฐานการในติดตาม ตรวจสอบ ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่สามารถวัดผลได้ง่าย .. ชัดเจน ในเชิงปริมาณ และลงรายละเอียดในเชิงคุณภาพ อีกครั้งนึง

สังคมเมืองไทย เป็นสังคม กึ่งเปิด กึ่งปิด

... ป๋ากล่าวเช่นนี้ แสดงว่าสังคมไทยเราต้องการวิตามินซีด่วนนะคะ ... เพราะเป็นสังคมลักปิด ลักเปิด ?  แล้ววิตามินซีที่ว่า มีอะไรบ้างเอ่ยคะบ้างที่สังคมไทย ต้องการด่วนในตอนนี้  ที่ผ่านมาสังคมเราได้รับวิตามินซี (ที่ไม่ดี) มากเกินระดับไป

เช่น ถ้าเป็นเมื่อย้อนหลังไปประมาณ ปูยังวัยรุ่นอยู่ เขาก็จะฮิต 4Cs นี้มากเลยนะคะ ... babyboomer ตามหลักเศรษฐกิจ ต้องสรรหา (ป๋าก็คงระลึก เห็นเค้าลางๆ นะคะ ) 

1. C= Condominium + วัยรุ่น หนุ่มสาวยุคใหม่ ต้องการอิสระ เลยออกมาอยู่ส่วนตัว สบายๆ ไม่ต้องอยู่ในสายตาผู้ใหญ่ ... แล้วเป็นไงคะ ตอนนี้? .. ผลพวงจากอาคารลอยฟ้า ประหยัดพื้นที่ ... แต่ไม่มีคุณภาพ

2. C= Car    ต้องรีบหารถ หารามาครอบครอง มาซิ่งอวดสาวกัน .. เรียกได้ว่าเป็นสมบัติประดับกายชายชาตรี กันเลยทีเดียว ... ทั้งๆ ที่ไม่พร้อมด้วยวุฒิภาวะ และความรับผิดชอบพอ ...

3. C= Credit Card สถาบันการเงินทุกระบบ ต่างพยายามปล่อยให้สินเชื่อกัน แทบจะเรียกได้ว่า ประเคน ถึงที่ บางธนาคารถึงกับ ลด แลก แจก แถม .. โดยไม่ได้ตรวจสอบสถานภาพและความพร้อม ตลอดจนไม่คำนึงถึงผลระยะยาว ซึ่ง ตอนนี้เรื้อรัง รักษายากแล้ว  ....

4. C ตัวสุดท้าย สุภาพบุรุษทั้งหลายแหล่ ต้องคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี .. ปริมาณการใช้ที่เพิ่มขึ้น .... แม้จะบ่งบอกว่าเป็นการป้องกันด้านสุขภาพ และผลกระทบที่จะตามมาในระยะสั้น แต่นั่นหมายความว่า .... แซ๊ดด ... บรี๊ออ อ (เจอกบว. เซ็นเซอร์ค่ะ ลงลึกบ่ได้ 5 5 ... ) ...  เอาเป็นว่า หากคนเราส่วนใหญ่ มีพฤติกรรม รักเดียวใจเดียว กันทั้งหมดทั้งเพ แล้ว ...  C ตัวสุดท้าย ก็แทบไม่ต้องใช้กัน ...

…. มองด้าน C ที่เป็นรูปธรรมแล้ว แล้ว มามอง C ด้านนามธรรมกันต่อดีกว่าค่ะ C ตัวนี้ ใครๆ เป็นที่รู้จักกันดี ที่เรียกได้ว่า มีกันมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา (ป๋า พอจะทราบไหมคะ ว่ามันผ่านมากี่ปีได้ ก็ยุคปู้นโน่นล่ะคะ)  ...  C = corruptionในหลายๆ รูปแบบ นับไม่ถ้วน ขึ้นเร็วยิ่งกว่าดอกเห็ด จนปัจจุบันก็ยังมีอยู่  ...

... เออ ปูพาป๋ามาเรื่องนี้ได้ไงกันหนอ .. ทำใจหน่อยนะคะ แบบหากเป็นไกด์ ก็ได้พาหลงทาง หรือมัวแต่เพลิดเพลินกับธรรมชาติข้างทาง กันยาวนาน .. ยังไงแล้ว เรื่องมั้นยังยาวนะคะป๋า เหมือนที่ชีวิตคือการเดินทาง มิใช่จุดหมายปลายทาง (Life is Journey, Not Destination) .. เนาะป๋าเนาะ ..

+ ....  ทั้งนี้ทั้งนั้นปูอยากขอเสนอ C ที่ดี ที่เราควรมีกันในยุคสมัย และเพื่อไว้คอยถ่วงดุล C ข้างต้น มิให้กำเริบ และเรื้อรัง จนฉุดไม่อยู่  ... C ตัวนี้ คือ C= Conservative or Conservation ก็ว่ากันไป ได้เหมือนกัน

เป็น C น้ำดีที่ปูภาคภูมิใจมากเลยล่ะคะ ป๋า ไม่ว่าเราจะนำมันมาผูกโยงใช้กับเรื่องใด ๆ ในระดับที่เหมาะสม ... ก็จะสามารถเป็น C ที่ใช้ถ่วงดุล ควบคุม C ตัวอื่นๆ มิให้มีมากเกินไป

... สำหรับ C น้ำดี ..  ปูนึกออกได้แค่นี้ล่ะคะ แต่คิดว่าน่าจะมีอีกหลายๆ สิ่งที่เป็นสิ่งดีๆ ของสังคมไทย .. ที่เราควรส่งเสริม สนับสนุน

...  เช้านี้แค่นี้ก่อนนะคะป๋า มาออกประเด็นนี้ได้ไงบ่รู้ ... แต่ก็ยังพอปะติปะต่อ เกี่ยวข้องกันเนอะป๋าคะ ? ยังมีประเด็นอื่นต่อค่ะ  ... ดีใจที่สุดได้บ่นให้ท่าน สว. ฟังบ้าง เป็นการแก้แค้น อิ อิ ... ป๋าดื่มน้ำร้อน อุ่นๆ นะคะ จะได้หายแค้น หุ หุ  J  

P

2.    สวัสดีค่ะคุณใบไม้ย้อนแสง

  • แสดงว่าที่กทม. มีการรวมตัวขององค์กรต่างๆ มากกว่าต่างจังหวัดค่ะ
  • เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องผลงานของแต่ละองค์กรด้วย ซึ่งเขาต้องนำเสนอต่อแหล่งทุนของเขา
  • คงอย่างที่คุณใบไม้บอกนะคะ .. เมื่อก่อนก็จะมีลักษณะอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต่างๆ .. แต่ละองค์กรก็คงอยากจะมีผลงาน และต้องเร่งสร้าง เลยอาจจะไม่ได้คิดถึงการประสานงาน และศึกษาข้อมูลร่วมกันก่อน .. แต่อย่างไร ตอนนี้รู้สึกดีขึ้นเยอะ คือใช้งบได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
  • ... ส่วนเรื่องการประสานความร่วมมือในการทำงาน เท่าที่เห็นก็มีการส่งต่อผู้รับบริการไปยังหน่วยงานที่เหมาะสม มีทั้งหน่วยงานอื่นส่งมา และทางองค์กรส่งไปหาหน่วยงานอื่น
  • .. ประเด็นนี้เห็นได้ชัดเลยค่ะ เพราะแต่ละหน่วยงาน จะมีผู้เชี่ยวชาญ แต่ละด้านต่างกันไป  .. การใช้ทรัพยากรภายนอก อย่าง outsource ก็มีประโยชน์ หรือจะเป็นการขอความร่วมมือกัน ... เป็นผู้สนับสนุนร่วมกัน เป็นต้น
  • ... ในส่วนการส่งต่อผู้รับบริการ เคยประสบโดยตรง ช่วงทำงานสึนามิ ด้านสุขภาพจิตค่ะ ... มีการ refer คนไข้ส่งต่อไปโรงพยาบาล ที่อาสา .. รู้สึกประทับใจมากๆ ค่ะ
  • อืม..ระยะหลังมีการจัดอบรมเกี่ยวกับเรื่อง กฎหมาย ป.วิอาญาเด็ก (ไม่ทราบว่าชื่อเต็มคืออะไร) นะคะ เพื่อให้เหล่านักสังคมสงเคราะห์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้กฎหมายคุ้มครองเด็ก
  • ... ใช่ กฎหมาย ประมวลวิธีพิจารณาความ อาญาเด็ก หรือเปล่าไม่แน่ใจนะคะ .. จะเรียนถามท่านอัยการชาวเกาะ ขอบคุณค่ะ ... ปูว่าเป็นความมหัศจรรย์ ขององค์ความรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเปิดโอกาส ให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม๋ ๆ และพบปะ ผู้คนใหม่ๆ ในเวลาเดียวกันค่ะ ...
  • ... แม้ว่าจริงๆ แล้วเรื่องกฎหมายช่างแสนยาก แสนเย็นยังกะเข็นครกขึ้นภูเขา เลยกระนั้นก็ตาม (อิ อิ ยืมสำนวนพี่ท่านลูกช้างมา ผ่อนคลายค่ะ) ... แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าท้าทาย ยังไงในเชิงปฏิบัติ เราก็ต้องมาเรียนรู้ใหม่ จากการทำงานอีกครั้งนั่นเองค่ะ 
  • เรื่องสิทธิเด็ก ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องนามธรรมนะคะ .. น้อยองค์กรที่จะสนใจจริงจัง เพราะยากยิ่งต่อการวัด ประเมินผล .. เราจะใช้มาตรฐาน หลักเกณฑ์ใดมาวัดได้เล่า .. เป็นการทำงานเชิงคุณภาพ ไม่ใช่สถิติ ซึ่งอ้างอิงได้ง่าย และมีผลงานชัดเจนกว่าค่ะ 
  • ช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่แต่ละมูลนิธิ ก็จะต้องใช้กลยุทธ์ให้ความช่วยเหลือในเชิงปริมาณก่อนอยู่ดีค่ะ .. ยิ่งในพื้นที่ที่เสี่ยงมากๆ ก็ต้องให้วิถีความเป็นอยู่ของเขา ดีขึ้นก่อน .. หากเข้าไปครั้งแรกแล้วพูดถึงสิทธิ เลยก็ไม่ได้
  • ... ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูเป้าหมาย จุดยืนของแต่ละองค์การแหละคะ ว่าต้องการให้เป็นไปในด้านใด .. กรอบที่วางไว้เป็นอย่างไร .. ก็คงคล้ายๆ กับเป้าหมายในชีวิต ของแต่ละคนกระมังคะ (เอ กลับมาปัจเจกชนอีกแล้วปู)
  • ... ขอบคุณนะคะ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ... เป็นกำลังใจให้ ... เช่นกันค่ะ ...
  •  

 


สวัสดีครับน้องสาวปู

พี่เอาประสบการณ์เก่าของพี่มาอธิบายนะครับ บางเรื่องอาจจะล้าหลังไปแล้วก็ได้

พี่อาจจะใช้การอธิบายรวมๆไปนะครับ เพื่อมิให้การแสดงความเห็นนี้มันยาวเกินเหตุ และการอภิปรายเรื่องลึกๆอย่างนี้ การใช้เพียงอักษรภาษาสื่อนั้นไม่เพียงพอ ต้องนั่งลงคุยกันครับ จับเข่าด้วยก็ได้ อิอิ..

  • พี่รู้สึกขัดๆกับการนำเข้าหลักการนี้ (แม้จะเป็นสากลก็ตามเหอะ) ถามว่ามันไม่ดีหรือไง  ตอบว่า มิใช่ประเด็น ประเด็นที่ขัดๆคือ บ้านเราไม่เคยสร้างอะไรที่มาจากตัวเองเลย ฝรั่งมังค่าพูดอะไรก็เอามาหมด แล้วก็เอามายัดใส่นโยบายของการพัฒนาบ้านเราหมด สิ่งนี้ก็เหมือนกัน  คิดเองไม่เป็นหรือไง

  • ประเด็นหลักคือ ต้องการหยิบเรื่อง Rights of the  Child มาดำเนินการในเมืองไทย ก็ควรจะสร้างรายละเอียดของเรื่องนี้บนพื้นฐานของสังคมไทย คนไทยต้องส้รางมันขึ้นมาเอง  มิใช่นำเข้ามาจากฝรั่ง ซึ่งสภาพการพัฒนาสังคมต่างกันลิบลับ

  • เด็กที่กล่าวถึงนี้คือเป้าหมายของหลักการนี้ เด็กมันอยู่โดดหรือเปล่า ไม่ใช่ เด็กอยู่กับครอบครัว ครอบครัวของเราแต่ละภาคก็แตกต่างกัน ครอบครัวในเมืองกับชนบทก็ต่างกัน  วัฒนธรรม ประเพณี ก็แตกต่างกัน แล้วจะเอาหลัก CR (Child Rights) ที่มิได้เกิดมาบนฐานของวัฒนธรรมไทยไปครอบให้กับเขานั้น มันก็ไม่ถูกต้องในตัวมันเองแล้ว

  • หลักการทั้งสี่หลักนั้น ฟังดูดี แต่คิดบ้างไหมว่า ข้อไหน มีหรือไม่มีในเมืองไทย  ภาคไหนมี ภาคไหนไม่มี มีมากมีน้อย ข้อนี้ภาคเหนือมี ข้อนี้ภาคใต้ไม่มี ฯลฯ แค่นี้ก็หลากหลายมหาศาลแล้ว  เหตุอยู่ที่ไหน แก้อย่างไร มันอยู่ที่เด็ก หรือครอบครัว หรือโรงเรียน หรือสังคม หรือรัฐบาล หรือ ระบบธุระกิจ

ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นที่ใช้มุมมองจากหมู่บ้าน มองย้อนขึ้นไปถึงอำภอ จังหวัด ประเทศ ทุกภาคส่วนมีเจตนาดีที่จะช่วยสร้าง พัฒฯหมู่บ้านให้เป็นอย่างที่หน่วยงานนั้นอยากให้เป็น ตามแผนชาติ นโยบายรัฐบาล โดยมีหน่วยงานต่างๆเป็นตัวขับเคลื่อนไป ดีครับ หลักการดี เจตนาดี ท่าทางดี ฟอร์มดี

ตอนที่พี่ไปทำงานกับ Save ใหม่ๆที่นครสวรรค์นั้น(พี่ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงแม้ว่าตำแน่งจะเป็น program manager) ก็ตื่นเต้นหลักการดีดีอย่างนี้นะครับ คืดไปว่า โอย..นี่เขาคิดไปไกลกันถึงระดับนี้แล้วหรือ น่าสนใจ  แต่เมื่อลงมือทำจริงๆเราพบว่า มันฝืนๆ ขัดๆ ไม่เป็นเนื้อเดียวกับวิถีของชาวบ้านชายขอบป่าห้วยขาแข้งที่เป็นพื้นที่เป้าหมายนะครับ

ยกกรณีข้อที่ 1เน้นผลประโยชน์สูงสุดอยู่ที่เด็ก (Best Interests of the Child)  หากจะลองทบทวนดูว่ากิจกรรมด้านนี้มีอะไรบ้างนั้น เท่าที่นึกออกนะ เช่น ตามหลักโภชนาการ ลูกควรจะต้องดื่มนมแม่เท่านั้นเท่านี้แกรมต่อวัน เจ้าหน้าที่ก็เอาหลักการนี้ไปประชุม อธิบาย แนะนำแก่คุณแม่ทั้งหลายตามชนบท แต่เงื่อนไขแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน แถบนั้นเป็นคนยากจน ครอบครัวต้องใช้แรงงาน ดังนั้นพ่อบ้านก็ต้องออกไปรับจ้างทั้งวัน และมีหลายครอบครัวที่แม่บ้านก็ต้องออกไปรับจ้างหักข้าวโพด ถางป่า เก็บกู้มันสำปะหลัง สารพัดที่จะมีงานทำ

อ้าว..งั้นการให้นมลูกก็ไม่ครบตามหลักการที่ดีน่ะซี เจ้าหน้าที่ก็พยายาม แก้ปัญหาต่างๆ เช่น ต้องสร้างอาคารรับเลี้ยงเด็กเล็กในกรณีแบบนี้และพยายามให้แม่กลับมาให้นมลูกตามเวลา เอ มันยุ่งไปใหญ่ ชนบทไม่สะดวกสบายเท่าในเมือง กว่าจะไปจะมา คนจ้างแรงงานก็ไม่ค่อยเข้าใจ เอาแต่ผลประโยชน์ที่เขาจัดจ้างมา ถ้าไม่ให้เวลากับเขาเต็มที่ก็เลิกจ้าง ก็แย่อีก ในที่สุด บางครอบครัวด็เอาเด็กออกจากโรงเลี้ยงเด้กเล็ก ไปกางกระต๊อบริมป่าใกล้ๆแม่นั่น ให้พี่มานั่งดูน้อง แม่ก็ไปทำงาน ได้เวลาก็มาให้นมลูก โอยทุลักทุเล หนักเข้าไปก็เอานมผงชงให้ลูกกินไปหมดเรื่องหมดราว ก็ไปกันใหญ่..ในเรื่องการขาดสารอาหารบางตัว ขาดภูมิคุ้มกัน

ในสังคมเดิมเรามีเรื่องราวเหล่านี้อย่างไรบ้างล่ะ มีการฝากเลี้ยงลูกกัน เด็กบางคนไปดูดนมแม่บุญธรรม สมัยใหม่บีบนมแม่ใส่ขวดไว้แล้วเอามาให้ลูกเมื่อถึงเวลา  เรื่องราวเหล่านี้ชุมชนต้องนั่งลงและปรึกษาหารือหาทางออกร่วมกัน หมู่บ้านนี้มีทางออกอย่างไรบ้าง หมู่บ้านโน้นมีทางออกอย่างไรบ้าง

นี่แค่เรื่องสิทธิเด็กข้อ 1 ข้อเดียวนะ แค่เรื่องให้นมลูกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเด็ก วุ่นกันไปทั้งหมู่บ้านเลย อิอิ..

องคืกรพัฒนาเอกชนเท่านั้นที่ทำได้ลงลึกถึงแก่นแท้มากกว่า  แต่ราชการยากมากๆ ยากมากๆ ดีที่สุดคือหมู่บ้านที่ใกล้อนามัยยังมีอนามันตำบลช่วยอยู่ ที่ห่างไกลออกไป หมดสิทธิ

พี่กำลังจะบอกว่า หลักการดี  แต่ทางปฏิบัติต้องพยายามอิงเงื่อนไขของชุมชน หมู่บ้านให้มากที่สุด และโอกาศที่หย่วยนงานที่รับผิดชอบจะทำได้ เชิงดัดแปลงหลักการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขชุมชนนั้นน่ะระบบราชการมีข้อจำกัดมากมายทีเดียว แม้เจ้าหน้าที่เข้าใจ เห็นช่องทาง แต่ข้อจำกัดทำได้ยาก นอกจากไปสร้างชุมชนให้ตื่นขึ้นมาเข้าใจและรับหลักการนี้เข้าไปพิจารณาปรับใช้ตามเงื่อนไขของเขาเอง  ชุมชนแบบนี้มีกี่แห่งในบ้านเรา

ไม่สิ้นหวังหรอกน้องปูครับ  พี่ก็ทำไปนี่ไงเล่า

  • มันตลก นะน้องนะ เจ้าหน้าที่ของ Save เข้าไปในหมู่บ้านแล้วก็คุยกับครอบครัวชุมชนว่า ต้องให้ประโยชน์สูงสุดกับเด็ก ต้องไม่กีดกัน ไม่แบ่งแยก ต้องฯ  ต้องฯ... ชาวบ้านก็งงๆ ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ แต่ในวิถีปฏิบัติประจำวันเรามีวัฒนธรรมผู้ใหญ่กับเด็ก มีวัฒนธรรมเด็กต่อผู้ใหญ่ เรามีวัฒนธรรมระหว่างกัน  แม้ว่าจะดัดแปลงสาระข้างต้นให้เป็นภาษาถิ่นก็ตามเถอะ

เจ้าหน้าที่ หน่วยงานแม้ว่าจะเป็น save เองก็ตาม ทักษะในการดัดแปลงหลักการให้ง่ายๆแก่ชาวบ้านเข้าใจนั้นไม่ใช่ใครก็ทำได้ และ 10 เรื่องที่เราพูด ชาวบ้านจะเข้าใจและเข้ามาร่วมมือทำกันจริงๆนั้นมีสักกี่เรื่อง  คนทำงานกับชุมชนนั้นต้องสร้างทักษะการทำงานกับชาวบ้านมากจริงๆ มิใช่เรื่องเข้าใจหลักการแล้วไปพูดๆแล้วชาวบ้านจะเดินตามตูดต้อยๆๆ อันนี้น้องปูเข้าใจดีนะครับ แต่เจ้าหน้าที่หลายๆคนขององค์กรพัฒนาเอกชน ก็ทำตัวไม่ต่างจากราชการ ประชุม อธิบาย แบบ Formal meeting เพียงแต่ใช้สถานที่ในชุมชนเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงก็ไม่เกิดขึ้น การพัฒนาก็ไม่เกิดขึ้น แม้เจ้าหน้าที่จะเป็นคนอีสาน พื้นที่ทำงานเป็นอีสาน แต่เรื่องหลายๆเรื่องเป็นความรู้ทางวิชาการ ที่ชาวบ้านไม่คุ้นชินศัทพ์แสงต่างๆ 

แต่มันก็ไม่ใช่เลวร้ายไปทั้งหมดหรอก เพียงพี่มุ่งผลสำเร็จที่คาดหวังมากกว่าที่มันเป็นอยู่เท่านั้นครับ

  • เอ้าสมมุติว่าหลักการนั้นโอเคนะ แล้วเราทำ CR analysis หรือเปล่า ออกมาอย่างไร ใครต้องไปแก้ส่วนไหน แค่ไหนอย่างไร ทั้งหมดบูรณาการกันอย่างไร รัฐให้ความสำคัญเรื่องนี้แค่ไหน หน่วยงานรัฐให้ความสนใจและจริงจังแบบ จิตวิญญาณ แค่ไหน ???
  • ฯลฯ

ประสบการณ์ของพี่นั้นบอกว่า หน่วยงานมักมีเรื่องอะไรก็เข้าไปทีหนึ่ง แล้วก็ออกมาข้างนอก เมื่อมีเรื่องใหม่เข้ามาก็เข้าไปอีก เจ้าหน้าที่ควรจะทำงานหนักดังต่อไปนี้

  1. เจ้าหน้าที่เองต้องประชุมกันเองก่อนเอาเรื่อง CR ทั้งหมดมา ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
  2. หาศัพท์แสงที่เป็น ไทยๆ ท้องถิ่น พื้นบ้าน แม้ว่าบางตัวอาจจะมีความหมายไม่ตรงเป๊ะทีเดียวก็ตาม แล้วฝึกฝนการใช้ศัพท์แสงท้องถิ่นให้มากที่สุด  สังคมชนบทเราไม่มีคำว่าสิทธิเด็ก มีแต่ว่า พ่อแม่จะทำอะไรให้ลูกดีที่สุด  แต่ในเมืองอาจจะได้
  3. ทำการวิเคราะห์หมู่บ้านในเรื่อง CR เสียทีเดียวเป็นเบื้องต้นก่อนเลย มีหลักการกี่ข้อในเรื่อง CR ก็ประชุมแบบมีส่วนร่วม หรือจะทำ PAR ก็ได้ เราก็จะทราบสาระทั้งหมดว่า หมู่บ้านนี้มีเรื่อง CR อะไรบ้างที่ควรทำกิจกรรม มาน้อย ก่อนหลังอย่างไร ใครบ้างเป็น target group จำนวนเท่าไหร่ บ้านอยู่ตรงไหน หากทำ Family or Household profile ได้ก็ยิ่งดี แต่ละประเด็นของ CR หมู่บ้านนี้มีปัญหาไหม ...แล้วเขามีทางออกแบบพื้นบ้านอย่างไรบ้างในทุกประเด็น ฯลฯ

        การวิเคราะห์ CR นี้พี่ให้น้ำหนักมากที่สุด เพื่อเราในฐานะเป็นคนภายนอกจะเข้าใจภาพรวมของชุมชนดีมากขึ้น  จะเข้าใจสภาพประเด็น CR ทุกประเด็น และภายหลังก็จะ Update ข้อมูลเหล่านี้ไปทุกๆระยะของการเปลี่ยนแปลง เช่นทุกฤดูการผลิต หรือทุกปีก็แล้วแต่  การทำ CR analysis จึงมีความจำเป็นในขั้น pre-execution

      4. เราก็จะได้ชุดความรู้และสภาพปัญหาของชุมชนนั้นๆ แล้วก็เอาไปทำแผนงานและกิจกรรมต่อไป โดยอาศัยโครงสร้างของชุมชนที่มีอยู่เป็นฐานการทำงานร่วม

      5. ในขั้นตอนปฏิบัติก็ต้องอิงโครงสร้างชุมชนเป็นหลักเช่นเดียวกัน

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ น้องปูครับ

ก่อนไปเอาดอกไม้ไปอีกดอกนะ

อิอิ............บรรยายถึงพริกถึงขิง

ดีมากครับ  แนวปฏิบัติการยังต้องผ่านประสบการณ์อีกมาก

สังคม กึ่ง เปิดปิด นั้น เป็นพฤตินัยทางสังคม (ในสภาพรูปธรรม)

แต่พฤตินัยทางปฏิบัติโดยการขับดันของระบอบทุน ได้เปิดประเทศโดยเสรี  ทำให้วัฒนธรรมต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่วิพากษ์

สิ่งกระทบเหล่านี้ล้วนก่อเกิดทรรศนะแวดล้อมที่เป็นพิษต่อสังคมทั้งสิ้น

ทฤษฎีที่น้องปูยกขึ้นอ้างอิงนั้น  ไม่ใช่ไม่ดี  บางส่วนดีมาก แต่ว่าเราต้องประสานกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในบ้านเรา  ที่ท่าน บางทรายได้ให้ความเห็นมานั้นผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

เฉพาะถิ่น เฉพาะที่ เฉพาะชุมชน แนวทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย  ปัญหาก็หลากหลาย ประจวบการเข้าถึงของข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงทางวัฒธรรมยังก่อตัวเปลี่ยนแปลงไปด้วยตลอดเวลา  พวกเรายังต้องประสานกันไป

ความมุ่งมั่นตั้งใจของน้องปู เป็นฐานที่แน่นสามารถรองรับปัญหาต่างๆที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ในขณะนี้

ผมให้กำลังใจครับ  แสดงออกและสร้างสรรค์ต่อไปครับ  เป็นกำลังใจให้ครับ

 

มาเห็นท่าน  บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)  ให้ความเห็นที่ดีมากๆ  น้อง ปู  ศึกษาแล้วประสานกับความเป็นจริงในแต่ละสถานที่แต่ละท้องถิ่นครับ

ให้กำลังใจครับ   

ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่ถาวร  ธรรมชาติสายธารแห่งชีวิต เป็นสิ่งที่เราต้องร่วมกันศึกษาแลกเปลี่ยนกันต่อไป  

มันละเอียดอ่อนเกินกว่าบรรยายในที่นี้ได้  และมันสวยงามเกินกว่าเราประเมินได้....................................สู้ สู้

ทานข้าวกลางวันอร่อยไหมค่ะ ป๋าดล

ป๋าขา ปูขออนุญาต ลงความเห็นที่ปูอุตส่าห์อดตาหลับขับตานอนเขียน จนถึง ช่วงเวลาเดียวกับที่ซินเดอเรลล่า จะต้องเข้านอน นั่นเลยล่ะ .. ป๋าทานข้าวแล้วยังเอ่ย

ปูทานเผื่อแล้วด้วย ... แกงจืดเต้าหู้ เห็ด กับหมูสับ และไข่เจียว กินไข่ต๊อกของพ่อครูบาและชีวิตประจำวัน จนหน้าจะเป็นไข่แล้ว ...

วัฒนธรรมชนชาติมีเยอะ ในขณะเดียวกันวัฒนธรรมน้ำเน่าคงอยู่ ทุนนิยมเข้าสวม วัฒนธรรมตะวันตกเข้าแทรก

ตัวปัญหาพวกนี้ล่ะคะจะเป็นตัวกัดกร่อนระบบสังคม ค่านิยม วิถีปฏิบัติ เมื่อก่อนเคยได้ยิน คำว่า วิถีประชา ขนบธรรมเนียม ต่างๆ

... ซึ่งหากไม่จริงจังที่จะแก้ไข .. ไม่รณรงค์ ไม่ส่งเสริม ไม่ให้ความรู้ อย่างต่อเนื่อง .. ก็คง เอวัง ค่ะ ... จริงๆ เป็นไปได้ไหมคะป๋า .. หากทางรัฐโหมสื่ออย่างหนัก ทุกช่องทาง ทุกสถานที่ ทุกหัวระแหง แล้วก็เจ้าหน้าที่รัฐ

... ตลอดจนบริษัท ธรรมมาภิบาลต่างๆ ที่ประกาศตน ว่ามี โครงการ CSR – รับผิดชอบต่อสังคมเอย .. ได้มารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียงตามนัดหมาย (เพราะไม่ใช่วันมาฆบูชา)

... กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อส่วนรวม .. เอาจริงเอาจัง .. จริงใจ และจริงจัง .. เอาแบบเปิดอกกันเลย .. (เอหรือปูจะคิดแบบอุดมคติ เพ้อฝันมากไป)..  ต้องการให้ออกมาแนวใด ..

...  รัฐเปิด เอกชนสนับสนุน องค์กรอิสระตอบรับ ประชาชนลุย ... แล้วจะมีอุปสรรคตรงไหน อีกคะป๋า ... อย่าอ้างเรื่องไม่มีเวลาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนะ .. เพราะนี่คืองานหนึ่ง และเป็นงานที่ยิ่งใหญ๋ด้วย

... ถามว่าแล้วเอกชน จะได้อะไร .. ก็เป็นการปชส. ไปในตัวไงคะ .. เป็น win win solution ด้านการปชส. เชิงการตลาดที่ยอดเยี่ยมที่สุดด้วย ... ดีกว่าไปลงปชส. ที่ไม่สร้างสรรค์ อย่างอื่น

... ถ้าทุกภาคส่วนมัวแต่มองแบบ งานใครงานเผือก ต่างคนต่างทำไป .. รับประกันเลยค่ะว่า ... ป๋าเป็นหนุ่มสองพันปีแล้ว .. ปัญหาเรื่องนี้ก็ยังไม่คืบหน้าไปไหน ก็วนเวียนอย่างเดิมๆ ชัวร์ป๊าบค่ะ .. 

ป๋าบ่ได้คิดมากหรอกค่ะ .. แค่คิดแบบท่านคึกฤทธิ์ (ลองผวนนะคะ) เท่านั้นเอง 5 5

... ในรั้วโรงเรียน คุณครูแสนลำบากในการเคี่ยวเข็ญ  ความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ... แต่นอกรั้ว ยังมีขยะที่ต้องกำจัดอีกมาก ครูจะตามไปเช็ดถูไหวเหรอ  จะทำยังไง มันลามเข้ามาถึงโรงเรียนด้วย

…. จะให้ครูไปตามเช็ดอึนอกโรงเรียน ปูคนนึงล่ะที่ไม่เล่นด้วย .. เราก็จ้างคนทำความสะอาดสิคะ .. อิ อิ ... เหมือนที่รัฐให้อบต. มาดูแลทุกภาคส่วนในท้องถิ่น รวมถึงการศึกษา .. คนละหน้าที่ คนละความเชี่ยวชาญ คนละสถานการณ์ ..

... ผลประโยชน์ทับซ้อนจะยิ่งทับทวีคูณ .. ทำไมบ. ส่วนใหญ่จึงต้องมีนักการเงิน กับนักบัญชี ล่ะคะป๋า ... ทำไมกิจการโรงแรมต้องมีแยก ฝ่ายการตลาด กับงานf&b และแยก kitchen ออกไปอีกชั้นนึง ...

...  แก้ปัญหาเมืองไทย สังคมไทย ยังต้องสร้างมาตรฐานหนึ่งขึ้นมา แล้วยังต้องแยกส่วนท้องถิ่นด้วย

.... กราบขอบพระคุณป๋ามากนะคะ ที่ช่วยแยกแยะแต่ละประเด็นให้ลึกลงไปอีก เพราะปูก็นึกไม่ถึงเช่นกันค่ะ ...

... ท้องถิ่น เป็นความสำคัญในเชิงปฏิบัตินะคะ .. เราต้องให้เขาเหล่านั้นได้เข้ามามีส่วนร่วม .. ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่  เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะได้ใจ ได้งาน ... มีประสิทธิภาพ

... การเปิดโอกาสให้ปราชญ์ท้องถิ่น หรือผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านในพื้นที่ ได้เข้ามามีบทบาท ล้วนช่วยสร้างเครือข่าย พันธมิตรที่ได้ประสิทธิผลสุด นะคะป๋า

... ที่สำคัญกว่านั้นคือ บุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มคนที่ปชช. ให้ความนับถือ ดังนั้นผู้นำโดยธรรมชาติจะเกิดขึ้น .. เวลาขอความร่วมมือต่างๆ จะง่ายดาย .. และเมื่อมองลึกไปอีก

... เราจะพบว่า การรักท้องถิ่น ความหวงแหนในเอกลักษณ์ และความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในชุมชน .. จะเป็นแรงผลักดันหลัก ที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจนยั่งยืนได้ในที่สุดค่ะ

เราจะเอาครูเป็นหลัก หรือจะครอบครัวเป็นหลัก หรือ ชุมชนเป็นหลัก หรือเอายอดการปกครองเป็นหลัก  ล้วนเรายังต้องแลกเปลี่ยนกันไป

กรณีนี้ปูไม่ค่อยเข้าใจค่ะ .. ป๋าหมายถึงเวลาแก้ปํญหา การวางแผน ในกระบวนการ หรือ มองปัญหาแล้วแยกแยะว่า น่าจะเกิดจากส่วนไหน แล้วให้ส่วนนั้นเป็นหลักในการดูแล .. หรืออย่างไรคะ  ... รบกวนป๋ากรุณาช่วยชี้แนะ ขยายความอีกครั้งนะคะ ..

ผมขอคาราวะเหล่าคุณครูที่ลำบากแสนเข็ญ ทุ่มเทกำลังกายใจ เพื่อที่จะได้เห็นสิ่งที่ดีขึ้น ดีกว่านี้ ... ผมเป็นกำลังใจให้  ตลอด มิเลือน มิเลือน  - 

  ป๋าหยอดท้ายได้เหมือนท่านสว. เลยนะคะ  .. เตรียมฝึกไว้หรือคะ .. เบอร์อะไร เดี๋ยวปูปชส. ให้เต็มที่เลยค่ะ ... ด้วยเต็มใจอย่างสุดซึ้ง ..

...  ป๋าขา ปูง่วงแล้วค่ะ .. เขียนตั้งแต่เช้าจนดึกเลยนะคะเนี่ย (อิ อิ)

... ดีใจเป็นที่ยิ่ง สำหรับทุกแง่คิด และมุมมองจากป๋าค่ะ ..  กราบราตรีสวัสดิ์งามๆ แล้วปูจะฝันถึงนะคะ .. แต่ป๋าอย่าฝันถึงปูล่ะ เดี๋ยวจะฝันร้าย เฮอๆ ...

... ป๋าคะ หากความเห็นปูตรงไหน ดูแล้วแปร่งๆ แล้วป๋ามีความเห็นต่าง ก็เต็มที่นะคะ ... สำหรับปูแล้ว กรุณาพูดตรงๆ เลยค่ะ ปูรับได้ เพราะอย่างที่บอกป๋าไปแล้ว .. เมื่อเห็นความไม่ถูกต้อง ป๋าต้องช่วยแก้ไขและท้วงได้ทันทีนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ ..

...

เอาดอกไม้มาเป็นกำลังใจให้พี่ปูสู้เพื่อเด็กต่อไปค่ะ

              

 

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทาย
  • และอ่านบันทึกครับ
  • ขอบคุณครับ

P

ถึง ครูน้องมิม

...  เป็นกำลังใจให้กันและกันค่ะ  ...

... เพื่อสร้างสรรค์สังคมอุดมการณ์  ...

... ชื่นชม ศรัทธา วิชาชีพครูค่ะ  ...

....  สวัสดีค่ะ คุณครูโย่ง  ...

 

P

 

* ในความเป็นครู  ครูภูมิใจมากที่สุดในเรื่องใดคะ  *

 

          ครู  ครูคือใคร  ในวันนี้

        ... ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล

        ... ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน  ....

 

เป็นกำลังใจให้ครูเช่นกันค่ะ  *

* ขอบคุณค่ะ *

 

40. ครูโย่ง
เมื่อ จ. 26 พฤษภาคม 2551 @ 17:56
671378 [ลบ]

Hi

I'm interested in your picture and idea of CRC, I really like it and I want to know you more. I work with Save the children in Laos PDR, I'm a peer educator of peer educatio project.

it's difficult to work with minority children in rural area and I aways have a problems on local language, so, I try to fine out the better way to pass massage about CRC to the children in community, if you have any idea or any toolkits please advice me.

Thanks

hi khun tingnoi,

hope you are doing well there.

I have already sent you via email.

thanks & enjoy working there.

Poo

เป็นกำลังใจให้เต็มกระบุงเลยจ้ะ..น้องปูคนเก่ง..

การช่วยเหลือเด็กก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการช่วยเหลือมนุษยชาติค่ะ..

คิดถึงนะจ๊ะ..ดูแลสุขภาพด้วยนะจ๊ะ..^ ^

สวัสดีค่ะพี่ครูแอ๊ว คนงาม

เป็นกำลังใจให้ครูพี่สาว เช่นกันค่ะ

เดือนนี้ น้องปู มีนักเรียน ป.6 กับ ป. 1 เรียนพร้อมกันค่ะ

ซึ้งใจครูพี่ๆ เลยนะคะ พอได้มาสอนเอง เลยรู้ว่ายากจัง

แต่มีความสุข กับยิ้มใสๆ และเด็กน้อยเสมอค่ะ ชอบจัง

ให้ครูพี่แอ๊ว มีความสุขทุกวี่วันค่ะ

ขออนุญาตใช้ภาพถ่ายเพื่อสอนนักศึกษาครูนะครับ

บันทึกนี้ถึงจะนาน แต่การศึกษาก็ยังไม่เคยดีขึ้น !!!

ด้วยความยินดีค่ะอ. เสือ

Ico48

บันทึกนี้ ๓ ปีแล้ว ภาพนั้นจับได้ด้านหลัง นครวัต นครธม

เด็กๆ กลุ่มนี้ก็จะมาเรียนกันทุกวัน เห็นแล้วประทับใจค่ะ  

..

ส่วนเรื่องการศึกษาบ้านเรา ก็คงจะดีขึ้นมาบ้างนิดนึงกระมังค่ะ อย่างน้อยที่สุด ก็ยังมีคุณครูดีๆ และลูกศิษย์ก้นหม้อของคุณครูดีๆ เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ๆ

 

 

จากทำงานกับ เด็กดอย เด็กชาวเล เด็กชายขอบ เด็กชาวเขา จน เด็กเมือง เด็กต่างด้าว เด็กต่างชาติ

ยังคงมีความสุข กับรอยยิ้ม ที่ใส แววตาบริสุทธิ์ใจ ไม่ต้องตีความหลายนัยยะ ซึ่งต่างจาก ผู้ใหญ่ๆ ใหญ่ๆ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท