เลี้ยงลูกให้เก่งและดีด้วย E.Q.


เก่ง ดี และมีความสุข

 

เลี้ยงลูกให้เก่งและดีด้วย E.Q.

 

.. กมล แสงทองศรีกมล

กุมารแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ร..กรุงเทพ

 

การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดี คือเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุขนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลักคือ

1.สมองและระบบประสาท ที่ดี ได้รับสารอาหารเพียงพอ และได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม เพื่อเด็กจะได้เติบโตขึ้นมา มี I.Q.ที่ดี

2. การอบรม เลี้ยงดูที่ดี ช่วยสนับสนุนให้เด็กมี E.Q.ดี

3. การเรียนรู้อย่างมีความสุขซึ่งจะ ช่วยเสริมสร้างทั้ง I.Q. และE.Q.

คำว่า I.Q. ( Intelligence Quotient )นั้นเราคงคุ้นเคย เพราะได้ยินกันบ่อยๆ ซึ่งก็หมายถึง การวัดระดับสติปัญญา คนที่ I.Q. สูง ( เช่น มากกว่า110 ) ก็จัดว่า เป็นคนเฉลียวฉลาด สติปัญญาดี ถ้าต่ำกว่า70 ก็ อาจมี ความบกพร่องทางสติปัญญา ส่วนคำว่า E.Q. ( Emotional Quotient ) เราเริ่มได้ยินคนพูดถึงกันมากขึ้นในระยะหลังๆ ท่านผู้อ่านอาจได้ยินคำแปลเป็นไทยของ E.Q. ( Emotional Quotient ) ได้หลายคำ เช่น เชาวน์อารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์ สติปัญญาทางอารมณ์ บางคนเรียกว่า ความสามารถทางอารมณ์ เราลองมาศึกษา ทำความเข้าใจกับ E.Q.กันนะครับ

 

ที่มาของ E.Q.

ที่มาของ E.Q. นั้น น่าสนใจมากครับ เพราะมาจากการสังเกตุและศึกษาวิจัย โดยเริ่มในปี คศ. 1983 Howard Gardner ได้เสนอแนวคิดเรื่อง E.Q. และต่อมาได้มีการศึกษาย้อนหลังของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงานศึกษาจากนักศึกษาช่วงทศวรรษ 1940 จำนวน 95 คน เขาติดตามถึงวัยกลางคนพบว่านักศึกษาที่จบการศึกษาและได้คะแนนสูงมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จทั้งด้านการงานและชีวิตครอบครัว ซึ่งน่าแปลกใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในปี คศ.1995 Goleman ได้ศึกษาเด็กในรัฐ Massachusetts จำนวน450คน โดยติดตามถึงวัยกลางคน พบว่า I.Q. มีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสำเร็จในงานที่ทำ

 

ความสำเร็จของคนเรากับ E.Q.

พอจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของความสำเร็จในด้านต่างๆกับ I.Q.และE.Q. ของคนเรา ได้ดังนี้คือ

- ความสำเร็จในด้านการเรียนขึ้นกับ I.Q.

เพราะคนที่ I.Q.สูง สติปัญญาดี ความจำดี ก็มักเรียนเก่ง ทำคะแนนได้สูงกว่าเพื่อนๆ

- ส่วนความสำเร็จในการทำงานขึ้นกับทั้ง I.Q. และ E.Q.

คือต้องใช้ทั้งสองอย่างประกอบกัน

- ความสำเร็จในการรับเลือกตั้งขึ้นกับ E.Q.

นักการเมืองหลายคน อาจ ไม่ใช่คนเฉลียวฉลาดที่สุด แต่พูดเก่ง มี ศิลปะในการใช้คำพูด มีความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ก็มักประสบ ความสำเร็จในการเลือกตั้ง

- ความสำเร็จในการปกครองคนอื่นขึ้นกับ E.Q.

ผู้นำหรือผู้บริหารที่ดีย่อมต้อง รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง และเข้าใจความรู้สึกของลูกน้อง ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของ E.Q.

- ความสำเร็จในชีวิตคู่ก็ขึ้นกับ E.Q. เช่นเดียวกันครับ

เพราะมีตัวอย่างคดีฆาตกรรมตามหน้าหนังสือพิมพ์ให้เราเห็นเป็นระยะๆว่า แม้คนที่I.Q.น่าจะสูง เช่นจบดอกเตอร์ หรือเป็นแพทย์ก็มีปัญหาคู่ครองจนต้องฆ่ากันตายเช่นกัน ดังนั้น I.Q. จึงไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในชีวิตคู่

 

5 องค์ประกอบของ E.Q.

เราลองมาทำความเข้าใจองค์ประกอบ ทั้ง 5 ของE.Q. กันนะครับ

1.รู้และ เข้าใจอารมณ์ของตนเอง (Self awareness, knowing one's emotion)

หมายถึงการรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองเช่นรู้ว่าขณะนี้ตนเองกำลังโกรธ สูญเสีย การควบคุมตนเอง สามารถประเมินตนเองได ้รู้จุดเด่น จุดด้อย มีความมั่นใจในตัวเอง และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง (self esteem) ซึ่งมีความสำคัญมากครับ

 

2.สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ (Managing emotion or self regulation)

เมื่อรู้อารมณ์ของตนเองแล้วก็สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ด้วย (self control) หรือถ้าจะมีอารมณ์ก็แสดงออกอย่างเหมาะสม เช่นในเด็กที่ถูกขัดใจ อาจมีอารมณ์โกรธได้ แต่ควรแสดงออกทางคำพูด ไม่ใช้พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง เช่นตี ทุบคนอื่น หรือขว้างของ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย

- ความมีระเบียบวินัย (discipline)

ย้ำว่าีระเบียบวินัยก็เป็นส่วนสำคัญของ E.Q.ด้วยครับ

- เป็นคนที่น่าไว้ใจได้ (trustworthiness)

เช่นเมื่อได้รับมอบหมายงานอะไรมา ก็มีความรับผิดชอบ ตั้งใจทำงานออกมาให้ดีที่สุด หัวหน้าที่สั่งงานออกไปก็จะมั่นใจ ให้ทำงาน คือเป็นคนที่น่าไว้ใจได้ว่ามีความรับผิดชอบนั่นเอง

- มีคุณธรรม (conscientiousness)

ถ้าเป็นคนฉลาด I.Q.สูง แต่ไม่มีคุณธรรม เมื่อโตขึ้นแล้วก็ทุจริต คอร์รัปชั่น หาประโยชน์ใส่ตัว ก็เป็นผลเสียต่อสังคม ดังนั้นเป็นคนเก่งแล้วก็ต้องเป็นคนดี มีคุณธรรมด้วย

- ความสามารถในการปรับตัว (adaptability)

เราจะเห็นว่าเด็กบางคนทนกับความอึดอัดใจไม่ได้ ไม่ค่อยมีความอดทน มีแนวโน้มรอให้สภาพแวดล้อมปรับเข้าหาตน ไม่พยายามแก้ปัญหาหรือปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อม ดังนั้นความสามารถในการปรับตัวก็ เป็นสิ่งดีๆ ที่ควรให้เกิดมีขึ้นในลูกหลานของเรา

-มีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ (Innovation)

ซึ่งข้อนี้เป็นส่วนสำคัญของความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศด้วยครับ ประเทศไหนที่ประชากรมีความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ผลิต คิดค้น วิจัยสิ่งใหม่ๆ ได้ ก็จะแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ดี

จะเห็นว่าองค์ประกอบของE.Q. กว้างมาก แต่ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งดีๆ มีคุณค่าที่เราอยากให้เกิดมีกับลูกหลานเราทั้งสิ้น

 

3. มีความเข้าใจผู้อื่น (Recognizing emotions in others)

- มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (empathy)

ตรงนี้สำคัญครับ ถ้าหัวหน้างานหรือผู้จัดการไม่มีความเห็นอกเห็นใจพนักงาน สักแต่ใช้ๆ สั่งๆ ลูกน้อง กำลังนั่งทุกข์ใจ เครียดอยู่ อาจมีปัญหาครอบครัว ก็ไม่เคยรู้ ไม่เคยสนใจ ไม่เคยคิดจะไต่ถาม

่็แบบนี้ก็จะไม่มีทางเป็นผู้นำที่ดีได้

- มีจิตใจใฝ่บริการ (service orientation)

เป็นลักษณะดีๆที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องให้บริการผู้อื่น

- แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสม

นั่นหมายถึงการไม่แสดงอารมณ์อย่างรุนแรง ไร้เหตุผล แต่ก็ไม่ใช่เก็บความรู้สึก เก็บอารมณ์ จนไม่กล้าแสดงออกเลย

 

4. สามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation one's self)

- แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (achievement motivation)

พบว่ามี เด็กบางคนทำดี โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน แต่ทำดี เพราะพยายามที่จะไปสู่มาตรฐานความเป็นเลิศ (standard of excellence) ตัวอย่างเช่นเด็กบางคนตั้งใจเรียนหนังสือให้เก่ง เพราะอยากเป็นนัก วิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลก ดังนั้นถ้าผลสอบออกมาดี เด็กก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำชม และของรางวัลจากพ่อแม่หรือคุณครู มากนัก เพราะทำดี ตั้งใจเรียนเพื่อมาตรฐานความเป็นเลิศที่ตนเองตั้งไว้ เด็กกลุ่มนี้พบว่ามักจะมาจากครอบครัวที่พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูมาดี เช่นให้ความรัก ความอบอุ่น และสอนให้ลูกรู้กฏเกณฑ์ ระเบียบวินัย ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตามวัย

- แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ (affiliation motive)

แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์หมายถึงสามารถนำความรู้สึกมาสร้างพลังให้กำลังใจตนเองได้ ล้มแล้วลุก ไม่ท้อ พยายามต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

- มองโลกแง่ดี

มีความสุขกับชีวิต เวลาเรียนเป็นเรียน เวลาเล่นก็ ควรรู้จักเล่น รู้จักพักเมื่อถึงเวลาพัก เด็กบางคนเรียนเก่ง แต่เคร่งเครียดตลอดเวลา ขี้กังวล ไม่มี ความสุขในชีวิต ถึงเรียนเก่ง ก็ไม่มีความหมาย

- มีความคิดริเริ่ม

ข้อนี้มีความสำคัญมากครับ ต่อการพัฒนาของ เด็ก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากระบบการศึกษาที่สอนให้เด็กคิดเป็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรด้วย

- จงรักภักดีต่อต่อองค์กร (loyalty)

 

5.ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ (Handling relationship)

คือเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีนั่นเอง คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับว่ามนุษยสัมพันธมีความ์สำคัญอย่างไรต่อความสำเร็จ บางคนเรียนหนังสือเก่ง ฉลาด แต่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่เป็น ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ ไม่ประสานประโยชน์กับผู้ร่วมงาน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์นี้็ได้แก่

- ทักษะทางสังคม (social skills)

- การสื่อสารที่ดี (communication skills)

คือสามารถสื่อสารด้วยคำพูด และท่าทางอย่างเหมาะสม เข้าใจง่าย

- สามารถบริหารความขัดแย้งได้ดี (conflict management)

ซึ่งข้อนี้ก็เป็นคุณสมบัติของผู้บริหารจัดการที่สำคัญเช่นกันครับ เช่นถ้าลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานขัดแย้งกันก็สามารถไกล่เกลี่ย ลดความขัดแย้ง ทำให้งานสามารถเดินต่อไปได้ ถ้าเป็นเด็กเวลาทำรายงานหรืองานกลุ่มก็จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของเพื่อนๆ ได้ดี

 

พูดคุยถึงองค์ประกอบของE.Q. และข้อดีของการเลี้ยงลูกให้มี E.Q. มาก็มากแล้ว แต่ข้อสำคัญคือ แล้วเราจะเลี้ยงลูกให้มี E.Q. ดีได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญมาก แต่่เนื้อที่สำหรับบทความเดือนนี้คงไม่พอแล้ว ครั้งหน้าเราคงจะได้มาพูดคุยกันต่อถึงวิธีการที่จะเลี้ยงลูกให้มี E.Q. ดี

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิทยา#เด็ก
หมายเลขบันทึก: 183852เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2008 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท