ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

รู้จักและรู้รักองค์กร : กว่าจะมาเป็นวลัยลักษณ์


ทำให้เราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย "รู้จักและรู้รักองค์กร" มากยิ่งขึ้นและรู้สึกรักและภาคภูมิใจกับการที่ได้มาทำงานที่วลัยลักษณ์

วันนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรม "รู้รักสถาบัน" หนึ่งในกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2551 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่รุ่นพี่ได้ตั้งใจจัดเตรียมกิจกรรมต้อนรับนักศึกษารุ่นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นประดู่ช่อที่ 11 สำหรับกิจกรมต้อนรับนักศึกษาใหม่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2551

กิจกรรมรู้รักสถาบันที่นักศึกษานำโดยองค์การบริหารองค์การนักศึกษาจัดขึ้นในวันนี้ จัดได้อย่างน่าประทับใจมาก เรียกเสียงหัวเราะ ความประทับใจ ภูมิใจการได้อยู่และมาศึกษา ณ วลัยลักษณ์ กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 16.00-19.00 น. กิจกรรมมีดังนี้

- ภาพยนตร์สั้น 4 ตอน ที่นักศึกษาได้ถ่ายทำเอง จากสถานที่จริง ที่พี่ๆ พยายามสื่อให้น้องๆ เห็นถึงการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยที่น้องจะได้เจอมีอะไรบ้าง

- การเสวนา "กว่าจะเป็นวลัยลักษณ์" (ซึ่งตนเองสนใจที่จะมาฟังเรื่องนี้โดยเฉพาะ...เพราะอยากรู้ อยากเห็น อยากเจอป้าเพลินตาตัวจริง อยากรู้ว่ากว่าจะมาเป็นวลัยลักษณ์นั้นเป็นอย่างไร)

โดย - นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นอดีตผู้บริหารและผู้มีส่วนสำคัญ...กว่าจะมาเป็นวลัยลักษณ์
      - คุณป้าเพลินตา พันธมาศ ผู้มีอุปการะคุณของมหาวิทยาลัยที่เสียสละพื้นที่สร้างมหาวิทยาลัย และเป็นที่ตั้งของอาคารไทยบุรี หรือที่นักศึกษาเรียกพื้นที่บริเวณหน้าอาคารไทยบุรีว่าลานเพลินตา
      - คุณอุทัย แกล้วกล้า เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้มีส่วนสำคัญ...กว่าจะมาเป็นวลัยลักษณ์

...รูสึกดีใจมากที่ได้มาฟัง

  • คุณหมอบัญชา คุณป้าเพลินตาและคุณคุณอุทัย เล่าได้เห็นภาพ ได้รสชาด ...เห็นความพยายาม ...เห็นความตั้งใจ...จริงใจ ...เห็นความทุ่มเท ...สิ่งที่ต้องแลกมา...กว่าจะเป็นวลัยลักษณ์
  • สิ่งที่ต้องแลกมา...กว่าจะมาเป็นวลัยลักษณ์...คุณหมอเล่าว่า เพื่อให้การสอบเขตที่เป็นธรรมในพื้นที่ จำเป็นต้องไถพื้นที่เป็นจุดๆ รวมถึงต้องไถพื้นที่ที่เป็นนาข้าวที่กำลังตั้งท้อง ต้องไถจึงสามารถจะเริ่มงานได้ ...ทำให้รู้ว่าคนที่เกี่ยวข้องให้มีมหาวิทยาลัย มีความตั้งใจที่จะให้มีมหาวิทยาลัยนี้ขึ้นมา ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องใช้ประโยชน์มหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่า ให้ระลึกถึงพี่เพลินตา ครูอาจารย์ คนทำงานในมหาวิทยาลัย
  • สิ่งที่ต้องแลกมา...กว่าจะมาเป็นวลัยลักษณ์...ป้าเพลินตาเล่าว่า บ้านของป้าอยู่ตรงอาคารไทยบุรี มีพื้นที่ 53 ไร่ เดิมพื้นเป็น นา ป่ายาง สวนผลไม้ ซึ่งก่อนที่มหาวิทยาลัยจะมาตั้งที่นี้ ชีวิตก็มีความสุขดี ป้าเพลินตาเล่าว่าได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้ตั้งแต่ พ.ศ.2489 (62 ปี) เดิมเป็นป่าและก็พัฒนามาทำนา ทำเต็มกำลังทั้งหมดที่มี ป้าเพลินตามีลูกหลายคน ทำให้ต้องทำมาหากินเพื่อลูกหลาน ...เมื่อทราบข่าวว่าจะสร้างมหาวิทยาลัยที่นี่ ...ทั้งรู้สึกเสียดายแต่ก็อยากให้สร้างมหาวิทยาลัย...เสียดายก็เสียดาย...มหาวิทยาลัยก็อยากได้ หากมีมหาวิทยาลัยก็จะทำให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรือง ถ้าเราอยู่ก็แค่นี้แหละ ...ทำให้ช่วงนั้นมีทั้งความทุกข์และความสุขปนกันไป ลุง(สามีของป้าเพลินตา) เสียชีวิต 2-3 ปี ก่อนที่จะมีการที่จะมาตั้งมหาวิทยาลัยที่อำเภอท่าศาลาและป้าเพลินตาก็มีลูก 3 คน ทำให้ป้าเพลินตาต้องเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ป้าเพลินตาตัดสินใจเสียสละที่ดินเพื่อสร้างมหาวิทยาลัย วันที่ต้องย้ายสัมภาระ ย้ายบ้านป้าเพลินตาหันหลังไปมองข้างหลังอาคารไทยบุรี ที่ที่เคยมีทั้งความทุกข์ ที่ที่มีความสุข...และป้าเพลินตาก็เล่าด้วยทั้งน้ำตาว่า...ป้ามองพื้นที่ที่จากมาด้วยความภาคภูมิใจ ด้วยความดีใจที่มหาวิทยาลัยได้เกิดขึ้นที่นี่...จึงทำให้นักศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ยิ่งต้องตระหนักถึงความคาดหวังที่ป้าเพลินตาได้เสียสละพื้นที่เพื่อสร้างมหาวิทยาลัย
  • ตอนนี้ป้าเพลินตาอยู่ที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ ซอย 8 กับที่นาว่างเปล่า มีน้ำท่วม และปัจจุบันคุณป้าเพลินตาได้ปลูกชมพู่ ฝรั่ง มะนาว
  • คุณหมอบัญชาได้ให้แง่คิดกับนักศึกษาในการเรียนในมหาวิทยาลัยว่า...ชีวิตในมหาวิทยาลัยมากกว่าการเรียนให้จบ ชีวิตในมหาวิทยาลัยต้อง
    ... 1. เรียนรู้วิชาชีพ เพื่อสามารถประกอบอาชีพในอนาคต
    ... 2. เป็นผู้ที่เรียนรู้วิชาชีวิต อาจารย์หมอใช้คำว่า "ได้ทดลองวิชาชีวิต อย่างที่เป็นคุณ"...ถูกใจมาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นสนามเรียนรู้ชีวิตที่ดีที่สุด จงใช้โอกาสเรียนรู้ชีวิตซึ่งเป็นวิชาที่สำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตให้ประสบผลสำเร็จ
    ... 3. เรียนรู้วิชาสังคม การใช้ชีวิตท่ามกลางหมู่ชนให้คุ้มค่า ไม่เบียดเบียน มีประโยชน์

...ได้รู้จักมหาวิทยาลัย และกว่าจะมาเป็นมหาวิทยาลัยดีขึ้น

  • คนส่วนใหญ่อยากได้มหาวิทยาลัย...แต่เดิมพื้นที่ในมหาวิทยาลัยมีคนอยู่แล้วหลายพันคน
  • ชาวอำเภอท่าศาลา ชาวนครศรีธรรมราช ตั้งความหวังว่ามหาวิทยาลัยคือคำตอบของคนรุ่นหลัง
  • คนมหาวิทยาลัยในช่วงบุกเบิกจึงคิดว่า หากจะตั้งมหาวิทยาลัยที่ อ.ท่าศาลา ก็ตั้งใจจะดูแลชาวบ้าน ลูกหลานที่นี่ให้ดีที่สุด ไม่ทุจริต ช่วยอย่างจริงจัง ...ซึ่งคนรุ่นหลังจำเป็นจดจำให้แม่น
  • ถึงแม้ว่าศาลจะตัดสินให้สร้างมหาวิทยาลัยด้วยความถูกต้องและชอบธรรม
         

- กิจกรรมการสอนน้องร้องเพลงมหาวิทยาลัย เพลง "รักวลัยลักษณ์" วันนี้ได้ฟังเพลงที่พราะและประทับใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นเพลงที่น้องพี่ได้ร่วมร้องพร้อมกัน

- กิจกรรมแนะนำทีมงานองค์การบริหารองค์การนักศึกษาและแนะนำกลุ่มสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีการออกแบบกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ที่จัดนักศึกษาคละสำนักวิชา(คณะ) ในแต่ละกลุ่มสัมพันธ์ในการจัดกิจกรรมต้อนรับนักศึกษาใหม่ เพื่อที่จะ..."รู้รักสัมพันธ์" .... "รู้รักองค์กร" ....และรู้รักชุมชน กลุ่มสัมพันธ์มีทั้งหมด 15 กลุ่มสัมพันธ์ มีนักศึกษากลุ่มละ 70-80 คน ทีรุ่นพี่คอยดูแล take care น้องอย่างใกล้ชิด และร่วมทำกิจกรรมกับน้องตลอด

ท้ายสุดต้องขอขอบคุณ คุณหมอบัญชา พงษ์พานิช , คุณป้าเพลินตา , คุณอุทัย แก้วกล้า ที่ได้มาเล่าประสบการทำให้เราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย "รู้จักและรู้รักองค์กร" มากยิ่งขึ้นและรู้สึกรักและภาคภูมิใจกับการที่ได้มาทำงานที่วลัยลักษณ์

หมายเลขบันทึก: 183537เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2008 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาพ คึกคักดีครับ น่ารักไปอีกแบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท