จัดนิทรรศการหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP
กลุ่มงาน OTOP
สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
จัดนิทรรศการหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
"การพัฒนาศักยภาพของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้าน/ชุมชน (Capacity
Building Program of Village Change Agent)
ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2549
มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทั่วประเทศประมาณ 3,000 คน
และมีผู้สนใจชมนิทรรศการ จดบันทึกข้อมูล ถ่ายภาพ
และสอบถามข้อมูลหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ประมาณ 2,500 คน
สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว จัดประชุมระดมความคิดเห็นมาตรฐานพ่อครัว/แม่ครัว (ระยะที่ 1)
สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ที่ปรึกษาโครงการ)
จัดประชุมระดมความคิดเห็นการพัฒนามาตรฐานอาชีพด้านการท่องเที่ยว
(ระยะที่ 1) ของพ่อครัว/แม่ครัว ผู้ช่วยหัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัว
และหัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัว
ตามโครงการพัฒนามาตรฐานอาชีพด้านการท่องเที่ยว (ระยะที่ 1)
ของพ่อครัว/แม่ครัว ผู้ช่วยหัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัว
และหัวหน้าพ่อครัว/แม่ครัว
เพื่อระดมความคิดเห็นพิจารณาข้อกำหนดของมาตรฐานอาชีพ
แนวทางและวิธีการประเมินและพัฒนาบุคลากรให้ได้มาตรฐาน
และปรับร่างมาตรฐานดังกล่าวให้มีความสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงอย่างมีคุณภาพ
และให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีการค้าบริการ
ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการค้าและบริการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยได้รับความสนใจ จากผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร
ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของภัตตาคารและโรงแรม อย่างมาก
มาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมบริการที่ประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่โดยมีธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจการเดินทางระหว่างประเทศ ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจรองได้แก่ ธุรกิจการจำหน่ายของที่ระลึก ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจการเดินทางในประเทศ เป็นต้น รวมทั้งยังเป็นธุรกิจที่กระตุ้นอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการก่อสร้างและพัฒนาที่ดิน และยังส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนในระดับรากหญ้า
ดังนั้น การท่องเที่ยวจึงเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลหลายประเทศให้ความสำคัญในฐานะที่เป็นยุทธศาสตร์หลักในการสร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างรวดเร็ว โดยได้กำหนดให้การท่องเที่ยวมีความสำคัญในลำดับต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมทั้งเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงาน
กระจายรายได้ และหารายได้จากเงินตราต่างประเทศ
โดยได้ระบุวัตถุประสงค์และแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวไว้ในยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กล่าวคือ
“พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน
เน้นการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
และพัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพใหม่ๆ
ให้สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น ซึ่งรวมถึง วิถีชีวิต
สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน
ตลอดจนการส่งเสริมไทยเที่ยวไทย
และการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อบ้าน”
พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวแห่งเอเชีย
(Tourism Capital of Asia) ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
(Quality Tourism Destination) ภายในปี 2551
แม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเป็นหนึ่งในห้าอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเป็นสินค้าที่มีความเป็นเลิศในตลาดโลก
(World Leader in Niche Markets) ก็ตาม
แต่ก็มีประเด็นท้าทายที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการท่องเที่ยวของไทยคือ
ปัญหาวงจรกับดักราคาต่ำ
ซึ่งเป็นผลจากการที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีการแข่งขันอย่างรุนแรงโดยใช้การลดราคาและลดคุณภาพเป็นเครื่องมือสำคัญ
เนื่องจากการขาดการกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการ
รวมทั้งขาดระบบการติดตามและควบคุมให้ผู้ประกอบการรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการตามที่กำหนดไว้
และไม่มีบทลงโทษที่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะทำให้ผู้ประกอบการเกิดความเกรงกลัว
ดังนั้น
เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
และแก้ไขปัญหาวงจรกับดักราคาต่ำ
รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีการค้าบริการของประเทศ
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการพัฒนามาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว
ได้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย
จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
เพื่อทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทย
กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้มีการนำมาตรฐาน ฯ ไปใช้
และเสนอแนะรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อให้มาตรฐานการท่องเที่ยวบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นต้น
ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทย
และคณะอนุกรรมการมาตรฐานต่างๆ จำนวน 6 คณะ
โดยมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
คณะกรรมการอำนวยการมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทย (Thailand
Tourism Standards Committee)
โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นประธาน
และได้จัดประชุมจำนวน 3 ครั้ง
คณะอนุกรรมการมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว (Thailand Tourism
Standard Sub-Committee on Accommodation)
โดยมีนายกสมาคมโรงแรมไทย (นายชนินทธ์ โทณวนิก) เป็นประธาน
และได้จัดประชุมจำนวน 2 ครั้ง
คณะอนุกรรมการมาตรฐานบริการเพื่อการท่องเที่ยว (Thailand Tourism
Standard Sub-Committee on Services Related)
โดยมีประธานสภาอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธาน
และได้จัดประชุมจำนวน 4 ครั้ง
คณะอนุกรรมการมาตรฐานห้องน้ำสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว (Thailand
Tourism Standard Sub-Committee on Public Restroom) โดยมี
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (นางธนิษฐา มณีโชติ)
เป็นประธาน จัดประชุมจำนวน 4 ครั้ง
คณะอนุกรรมการมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว
(Thailand Tourism Standard Sub-Committee on Destination)
โดยมีที่ปรึกษาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระดับ 11 (นายภราเดช
พยัฆวิเชียร) เป็นประธาน และได้จัดประชุมจำนวน 1 ครั้ง
คณะอนุกรรมการมาตรฐานอาชีพเพื่อการท่องเที่ยว (Thailand Tourism
Standard Sub-Committee on Tourism Professionals)
โดยมีรองประธาน สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฯ (นายกงกฤช หิรัญกิจ)
เป็นประธาน ประชุมครั้งที่ 1/2548 วันที่ 15 กรกฎาคม 2548
คณะอนุกรรมการมาตรฐานกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว (Thailand
Tourism Standard Sub-Committee on Activities)
โดยมีนายกสมาคมไทยธุรกิจ การท่องเที่ยว (ATTA) เป็นประธาน
ประชุมครั้งที่ 1/2548 วันที่ 20 กรกฎาคม 2548
สำหรับผลงานที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรฐานการท่องเที่ยว
สรุปได้ดังนี้
Roadmap
การพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทย
กระบวนการจัดทำมาตรฐาน การท่องเที่ยวของประเทศไทย
ร่างมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศ ได้แก่ มาตรฐานโรงแรม
มาตรฐานบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว
มาตรฐานห้องน้ำสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว มาตรฐานล่องแก่ง
มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม
กระบวนการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทยตราสัญลักษณ์มาตรฐานการท่องเที่ยวของประเทศไทย
สำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สัมมนาเพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลนมัคคุเทศก์
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
ได้จัดสัมมนา
เพื่อพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหาการขาดแคลนมัคคุเทศก์
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ
ห้องบอลลูน 1 ชั้น 2 โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ จังหวัดภูเก็ต
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 152 คน โดยการสัมมนาดังกล่าว
ได้เปิดเวทีให้กับมัคคุเทศก์ ได้แสดงความคิดเห็น เสนอประเด็นปัญหา
อุปสรรค ข้อสังเกต ซึ่งสาระสำคัญของการสัมมนามีดังนี้
- ขอให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนงบประมาณให้แก่มัคคุเทศก์
- ขอให้ฝึกอบรมด้านภาษา ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์
แหล่งท่องเที่ยว
- ค่าธรรมเนียมของการเข้าชมอุทยานแห่งชาติ
- ไกด์เถื่อนชาวต่างชาติ โดยเฉพาะภาษารัสเซีย
- Sitting Guide
- การขาดความสามัคคี ไม่มีการรวมตัว
- มาตรฐานห้องน้ำ
-
ขอให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
ซึ่งสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว จะได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ดังกล่าว
นำไปประเมินและแสวงหาแนวทาง
เพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นางสาว อรพรรณ พรมเต็ม ใน นำหลักการจัดการมาใช้จัดนิทรรศการหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP