การเขียนบทความวิจัย ตอนที่ 9 รูปและตาราง


รูป (แผนภาพ กราฟ และตาราง) มีค่าเท่ากับคำพันคำ

ตอนนี้เราจะพูดถึงเคล็ดลับในการทำรูป แผนภาพ กราฟ และตารางครับ เราใช้รูปและแผนภาพเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ ทำให้เข้าใจสิ่งที่เราอธิบายได้ทันทีหรือทำให้ง่ายขึ้น เพราะรูปหนึ่งรูปมีค่าเท่ากับคำพันคำ (สุภาษิตจีน) ครับ นอกจากนี้ยังช่วยให้เห็นสิ่งของหรือกระบวนการที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ทำให้บทความน่าอ่านมากขึ้น

ส่วนกราฟและตารางใช้เพื่อรายงานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเป็นชุดของตัวเลขจำนวนมาก กราฟและตารางจะช่วยให้เราอธิบายชุดข้อมูลได้ง่ายและเป็นระบบ นอกจากนี้ยังอาจเผยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซับซ้อนด้วย

ที่สำคัญ ผู้อ่านโดยทั่วไปมักเปิดบทความผ่านๆ และหยุดดูที่รูปประกอบบทความเป็นอันดับแรกๆ ครับ

เคล็ดลับของการเสนอรูป แผนภาพ กราฟ และตารางมีดังนี้ครับ

          ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทุกครั้งก่อนลงมือทำรูป แผนภาพ กราฟและตาราง

          ใช้วิธีทางสถิติที่เป็นที่ยอมรับในการวิเคราะห์ข้อมูล

          ตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จะเสนออย่างระมัดระวัง

          ใช้รูป แผนภาพ กราฟและตารางเท่าที่จำเป็น (อาจใส่ข้อมูลดิบในภาคผนวก)

          รูป แผนภาพ กราฟและตารางทุกอันต้องได้รับการอ้างถึงในเนื้อเรื่อง

          นำเสนอรูป แผนภาพ กราฟและตารางที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย โดยไม่เกี่ยงว่าผลที่ได้เป็นบวกหรือลบกับสมมติฐาน

          ข้อมูล รูป แผนภาพ กราฟและตาราง ที่ไม่ได้ทำเองต้องมีการอ้างอิงที่มาเสมอ

          อย่าลืมตั้งชื่อรูป แผนภาพ กราฟและตาราง และให้คำอธิบายสิ่งที่นำเสนอในรูปและตารางเหล่านั้น พร้อมทั้งอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างชัดเจน

          หลีกเลี่ยงคำขึ้นต้นคำอธิบายว่า รูปแสดง” “กราฟแสดง” ฯลฯ

          สร้างกราฟ อย่าลืมชื่อแกนและชื่อชุดข้อมูล พร้อมหน่วยวัดที่ถูกต้อง

          พยายามให้รูป แผนภาพ กราฟและตารางอธิบายตัวเองอย่างสมบูรณ์

          ลำดับรูป แผนภาพ กราฟและตารางต้องตรงกับลำดับที่ปรากฏในเนื้อความ

 

หมายเลขบันทึก: 183089เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์  ครูอ้อย จะนำความรู้นี้ ไปปฏิบัติค่ะ

ขอบคุณ ครูอ้อย เป็นอย่างสูงนะครับ ที่สนใจข้อเขียนของผมครับ หวังว่า ครูอ้อย จะติดตามจนครบทุกตอนนะครับ ผมเสนอว่า ถ้า ครูอ้อย นำข้อเขียนของผมเรื่องการเขียนบทความวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้สอนเด็กๆ หรือลูกศิษย์ หรือนำไปดัดแปลงเป็นแบบฝึกหัดอะไรทำนองนี้ จะดีมากเลยครับ เพราะเด็กสมัยนี้เขียนไม่ค่อยเก่ง และเมื่อเรียนสูงๆ (ป.โท ป.เอก) เขาก็บังคับให้เขียนๆๆๆๆ มากขึ้นครับ ฉะนั้นฝึกเด็กให้เขียนเป็นตั้งแต่อายุยังน้อยก็ไม่เสียหลายนะครับ ด้วยความปราถนาดีครับ

ผมได้นำข้อ เขียนของ อาจารย์ไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาตนเอง และยังมีโอกาศ

นำไปประยุกต์ ใช้ในการฝึกอบรมทีมงานด้วยครับ และเผยแพร่ให้ นศ และ ผู้ สนใจเข้ามาอ่าน

สิ่งที่ อาจารย์ ทำและเผยแพร่ มีประโยชน์ ต่อ งานวิชาการของ บ้านเรามากครับ

เป็นกำลังใจให้ อาจารย์ ครับ

บทความ ที่เขียน จากข้อมูล ที่ได้ค้นพบ จากผลงาน การวิจัย ผมเคยเห็นน้อย เคยเห็น มาก ๆ คือ บทความวิจัย ที่คล้าย ๆ บทคัดย่อ แบบยาว โดยเฉพาะ วิทยานิพนธ์ มันเพี้ยน หรือ เปล่าครับ หรือว่า ผมเข้าใจอะไรผิด ๆ

ผมคิดว่า การเขียน บทความที่ใช้ ข้อมูลจากงานวิจัย ที่งานวิจัย นั้น ๆ อาจมีข้อค้นพบ ประเด็นเดียวหรือ หลายประเด็น ก็จะหยิบประเด็น ที่ผู้เขียนสนใจ หรือมีคุณค่า มาเขียน

ผมมึน ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท