ว่าด้วยเรื่องสังคมสงเคราะห์ (2)


 

เมื่อพูดถึงคำว่า สังคมสงเคราะห์  มีคำที่เกี่ยวข้องอยู่หลายคำ  ในที่นี้จะยกมา 2 คำ ได้แก่

สังคมสงเคราะห์ (Social Work) และนักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker)  สองคำนี้มีการให้ความหมายไว้หลากหลาย 

 

ความหมายของ สังคมสงเคราะห์   

สมาพันธ์นักสังคมสงเคราะห์ระหว่างประเทศ (International Federation of Social Workers:IFSW) ให้ความหมายของคำ สังคมสงเคราะห์ (Social Work)  ไว้ว่า สังคมสงเคราะห์เป็นวิชาชีพที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม  การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของคน  และกระตุ้นเสริมพลังให้คนสามารถช่วยตนเองได้  โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมของคนและระบบสังคม  สังคมสงเคราะห์ช่วยเชื่อมระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ  สังคมสงเคราะห์มีรากฐานที่สำคัญคือ หลักสิทธิมนุษยชนและหลักความยุติธรรมในสังคม   

  

              ศ.ยุพา  วงศ์ไชย (2534:16) กล่าวว่า  สังคมสงเคราะห์ (Social Work) คือ ศาสตร์และศิลป์ของการจัดหาบริการเพื่อช่วยส่งเสริมความสามารถของบุคคลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตน ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำรงชีพอยู่ได้อย่างเป็นสุข

 

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พูดถึงสังคมสงเคราะห์ไว้ในการวิสัชนาเรื่อง " ความหมายแท้จริงของการสังคมสงเคราะห์"  ไว้ว่า   ตามศัพท์ (สังคมสงเคราะห์)  แปลง่ายๆ ว่า การสงเคราะห์สังคม   แต่ถ้าจะแปลให้ลึกกว่านั้นก็มีความหมายทางธรรม   สงเคราะห์ คำบาลีเป็น สงฺคห (สังคห) แปลว่า ประมวล รวบรวม จับมา รวมเข้าด้วยกัน ยึดเหนื่ยวจิตใจให้รวมกันเป็นหนึ่ง ผูกใจกันไว้   สังคห ที่แปลว่า ยึดเข้าไว้ด้วยกันนั้น หมายถึง ยึดในแง่นามธรรมและยึดในแง่รูปธรรม ทางนามธรรม คือ ยึดเหนี่ยวผูกจิตใจให้รวมกันเป็นหนึ่ง  ทางรูปธรรม คือ ให้คนมารวมกัน ประสานเข้าด้วยกัน

สังคห เป็นภาษาบาลี แต่เมื่อจะเอาเข้ามาในไทย เราเอารูปสันสกฤตซึ่งมีตัว "ร" คือ สังครห เข้ามา แล้วไทยก็แผลงเป็นสังเคราะห์บ้าง สงเคราะห์บ้าง ความจริงนั้น ทั้งสองคำนี้เป็นคำเดียวกัน แต่เราใช้สงเคราะห์ในความหมายหนึ่ง และสังเคราะห์ในอีกความหมายหนึ่ง ถ้าเราจะใช้ "สังคห" ให้ถูกต้องตามความหมายทางธรรม จะต้องก้าวไปให้ถึงขั้นนี้ คือ ทำให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

คำว่า สังคห หรือ สงเคราะห์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยกันเป็นชุดเดียวกับคำอื่นอีกสามคำ เรียงลำดับเป็น  สังคห  อวิวาท  สามัคคี  และเอกีภาพ  คือ ความยึดเหนี่ยวประสานกันไว้ ความไม่ทะเลาะวิวาท ความพร้อมเพรียง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ที่เราใช้ว่า  เอกภาพ  เวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษ ถ้าแปลอย่างเบื้องต้นก็ว่า help หรือ assistance แต่ถ้าจะแปลให้ลึกลงไปในสาระ ก็แปลกันตั้งแต่ sympathy จนถึง solidarity หรือ social integration"

 

                สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย  ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญของคำว่า สังคมสงเคราะห์  ว่าประกอบด้วย

                - เป็นศาสตร์

                - เป็นศิลป์

                - เป็นงานที่เป็นวิชาชีพ โดยนักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้ปฏิบัติงาน

                - เป็นงานที่ต้องใช้ทรัพยากรในชุมชน

                - เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม

                - เป็นงานที่ช่วยให้บุคคล  กลุ่ม  และชุมชนสามารถทำหน้าที่ทางสังคมได้ด้วยดี

 

นักสังคมสงเคราะห์ (Social Worker) 

                นักสังคมสงเคราะห์ คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์  ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

                1.ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในลักษณะวิชาชีพ (Professional) เป็นผู้ที่ผ่านกระบวนการฝึกฝนในด้านความรู้  ทัศนคติ และทักษะทางสังคมสงเคราะห์จากสถาบันทางการศึกษา

                2.ผู้ปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ในลักษณะอาสาสมัคร (Voluntery)

 

การเรียนการสอนสังคมสงเคราะห์

                ปัจจุบันหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต  เปิดสอนอยู่ 2 แห่ง คือ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

 

เรียนสังคมสงเคราะห์  แล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง

                ผู้ที่เรียนจบทางด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  สามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลาย  เช่น 

               1.งานราชการ  ในสังกัดกระทรวงต่างๆ  ในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (รับผู้สำเร็จการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์โดยตรง)   หรือตำแหน่งงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

               2.รัฐวิสาหกิจต่างๆ     ในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (รับผู้สำเร็จการศึกษาทางสังคมสงเคราะห์โดยตรง)   หรือตำแหน่งงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

               3.องค์การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาเอกชน ได้แก่ มูลนิธิ   สมาคมต่างๆ  องค์การระหว่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีองค์การประเภทนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 องค์กร
               4.ภาคธุรกิจเอกชน  ในองค์กรต่างๆให้ความสำคัญถึงคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความต้องการบุคคลากรด้านสวัสดิการสังคมเข้าไปปฏิบัติในด้านงานบริหารบุคคล แรงงานสัมพันธ์และงานฝึกอบรม 

                ผู้ที่ทำงานในอาชีพนักสังคมสงเคราะห์ที่เป็นที่รู้จักเป็นส่วนใหญ่  ได้แก่  นักสังคมสงเคราะห์ ในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เช่น พมจ.  สถานสงเคราะห์ต่างๆ)  นักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล    นักสังคมสงเคราะห์ในเรือนจำ   นักสังคมสงเคราะห์ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  นักสังคมสงเคราะห์ประจำมูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ  เป็นต้น  

 

เอกสารอ้างอิง

สมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. สารานุกรมทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (ENCYCLOPEDIA OF SOCIAL WORK). 2542 (p.349, 350-352)

 

หมายเลขบันทึก: 183087เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2008 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์ Wasawat Deemarn
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย

สวัสดีครับอาจารย์

  •  เพิ่งมาเข้าใจคำว่า สังคมสงเคราะห์ อย่างถ่องแท้ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
  • ขอบคุณครับอาจารย์

สวัสดีครับ อาจารย์ ช่วงนี้ยุ่งกับการสอนหรือครับ

แวะมาชวนไปฟังเพลงครับ @184493

  • ขอบคุณค่ะ ท่าน ผอ.ประจักษ์ ที่แวะมาเยี่ยมเยียนอยู่เสมอ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขทุกๆวันค่ะ
  • สวัสดีค่ะ ครูสุ  ยังมีรายละเอียดอีกค่ะ  แล้วค่อยๆมาเขียนเพิ่มค่ะ  ขอบคุณมากค่ะที่ติดตามอ่าน
  • สวัสดีค่ะ คุณกวิน ช่วงนี้ยังไม่ค่อยยุ่งค่ะ  ขอบคุณค่ะที่มาแนะนำเดี๋ยวตามไปอ่านค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ศิริพร

เข้ามาติดตามข่าวคราว หาความรู้เพิ่มเติม ได้รับความรู้เพิ่มเติมเรื่องสังคมสงเคระห์ซึ่งเป็นอีกสาขาที่น่าสนใจ เรียนแล้วได้กุศลด้วยค่ะ จะได้นำสิ่งดีๆเหล่านี้ไปแนะนำเด็กๆที่โรงเรียนค่ะ คาดว่าเด็กๆที่เรียนม.ปลายที่โรงเรียนคงสนใจกันมาก ขอนำไปขยายผลนะคะ ขอขอบคุณที่ให้ความรู้ที่ดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณกวิน 
และท่านอ.Preeda  สังคมสงเคราะห์เป็นสาขาที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก  ทั้งๆที่มีการเรียนการสอนมานานแล้ว  ขอบพระคุณอาจารย์Preeda มากค่ะที่ช่วยกรุณานำไปเผยแพร่บอกต่อ  ในขณะนี้ร่าง พรบ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ยังอยู่ระหว่างรอการพิจารณาจากสภาฯ  หากมีความคืบหน้าอย่างไรจะนำมาลงในโอกาสต่อไปค่ะ

ตอนนี้บรรดานักสังคมสงเคราะห์กำลังให้นิยามสังคมสงเคราะห์ที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของงานและตัวตนของเราเพราะมีcommentถึงความไม่ชัดเจนจากร่างพรบ.เดิม จึงต้องมีการยกร่างใหม่และต้องให้เสร็จภายใน สิงหาคมศกนี้ ถ้าอ.ปูมีอะไรแจ่มๆอีกก็postด้วยนะ

มีปัญหาขอถามความรู้ทั่วไปทางสังคมสงเคราะห์ และความถนัดเชิงวิชาชีพของนักสังคมส่งเคราะห์

และคำว่าสังคมสงเคราะห์มันมีขอบเขตไหม่ ยิ่งอ่าน(ศึกษา) ก็ยิ่งงง กรุณาตอบก่อนที่จะสอบด้วยน่ะค่ะ

E-mail [email protected] กรุณาตอบด่วนด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณค่า

คือหนูอยากเข้าคณะสังคมศาสตร์มากๆเลยค่ะ

แล้วตอนนี้หนูเพิ่งไปสอบตรงมาที่.ธรรมศาสตร์ค่ะ

หนูยังมีคำถามที่สงสัยว่า

การที่นักสังสงเคราะห์ไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแล้วมีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายหรือเป็นโรคร้ายที่ไม่อาจจะรักษาได้แล้วนักสังคมสงเคราะห์มีวิธีการจัดการกับปัญหานี้อย่างไร

คือหนูตอบว่า ให้ส่งคนป่วยกลับไปดุแลรักษาที่บ้านเพื่อให้ผุ้ป่วยได้อยู่กับญาติอย่างพร้อมหน้าพร้อมตาเป็นครั้งสุด

แต่ที่อยากตอบอีกข้อก็คือการที่เราจะส่งผู้ป่วยให้ไปตายที่บ้านเพื่อลดปัญหาการดูแลศพและลดปัญหาศพไร้ญาติ(อาจจะเป้นคำตอบที่เห็นแก่ตัวแต่มีเหตุผลหรือเปล่า)

ขอบคุณมากค่ะคนที่เข้ามาอ่านแล้วช่วยตอบคำถามนะค่ะ

แก้คณะค่ะ

*

*คณะที่อยากเข้าคือคณะสังคมสงเคราะห๋ค่ะ(พิมพ์ผิดค่ะรีบไปหน่อย)

หนูอยากทราบว่า ปรัชญาพื้นฐานของนักสังคมสงเคราะห์คืออะไร ค่ะ

ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

ขอบคุนมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

ปรัชญาสังคมสงเคราะห์ง่ายๆครับ

เอาแบบคลอบคลุม คือ "ช่วยเขา เพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเอง" เราไม่ได้แก้ใขปัญหาให้เขาโดยตรงแต่เขาจะเป็นคนแก้ไขปัญหาเขาเอง

หวัดดีค่ะพี่ปู แจ้งไปอยู่ที่ไหนค่ะ ก้อยรุ่นสองเพื่อนแจ้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท