โครงการ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้


ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

โครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

 

ดร.สิริกร มณีรินทร์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ความเป็นมา

จากความพยายามของทุกฝ่ายที่จะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ทั้งด้านโครงสร้าง ด้านระบบบริหารจัดการและการปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพและได้รับโอกาสอย่างทั่วถึง แต่ในความเป็นจริงที่โรงเรียนมีมากกว่า ๔๐,๐๐๐ โรงเรียน ซึ่งมีความพร้อมทรัพยากรและศักยภาพแตกต่างกัน ทั้งๆ ศักยภาพของโรงเรียน ชุมชนและผู้เรียนที่หลากหลาย อีกทั้งประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันในเวทีโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จึงเล็งเห็นว่ารัฐบาลต้องดูแลผู้เรียนทุกกลุ่ม ไม่ทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้พิการ แต่ต้องสนับสนุน ส่งเสริมผู้ที่พร้อมกว่า เช่น เด็กปัญญาเลิศให้ก้าวไปข้างหน้าเต็มตามศักยภาพอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ เปรียบเสมือนว่ากระทรวงศึกษาธิการต้องเตรียมเส้นทาง ๒ เส้น คู่ขนานกัน คือเส้นถนนธรรมดาที่รองรับผู้เรียนทั่วไป และทางด่วน(Fast Track) สำหรับผู้ที่พร้อมจะขับเคลื่อนด้วยความเร่งด่วนพิเศษ

ดังนั้นเมื่อการประชุมเรื่องการปฏิรูปอุดมศึกษา ๑๐ มกราคม ๒๕๔๖ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร จึงได้มอบนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเรื่อง “Mini Ministry” คือ ให้มีองค์กรเล็กที่คล่องตัว เพื่อสร้างระบบการทำงานแก่โรงเรียนและนักเรียนของในกลุ่ม ๒ นี้ รวมทั้งจะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นอิสระทางความคิด หลุดจากระเบียบที่รัดรึงเป็นอุปสรรคด้านต่างๆ และขยายผลอย่างเต็มรูปในโอกาสต่อไป บุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ ให้ก้าวทันโลกที่เทคโนโลยีเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้โดยไม่ละเลยผู้เรียนโรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศ

วันนี้นโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีกำลังได้รับการสานต่ออย่างเป็นรูปธรรมด้วยโครงการ “สำนักพัฒนานวัตกรรม” ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยในเบื้องต้นจะพัฒนาโรงเรียนรูปแบบใหม่ ๕ ลักษณะ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ ทั้งนี้โรงเรียนทั้ง ๕ รูปแบบใหม่จะยังมีจำนวนไม่มากนัก เพื่อให้มั่นคงก่อนจะขยายผลตามแผนงานในระบบต่อไป ท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(นางมัณฑนา ศังขะกฤษณ์) เป็นประธาน โดยมีทีมงาน สนผ. อาทิ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า และดร.บังอร เสรีรัตน์ เป็นผู้ประสานงานกลาง โรงเรียนรูปแบบใหม่ทั้ง ๕ ได้แก่

รูปแบบที่ ๑ รูปแบบที่ ๑ โรงเรียนในกำกับของรัฐ
ดร.สมเกียรติ ชอบผล ร่วมกับ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการ

รูปแบบที่ ๒ โรงเรียนวิถีพุทธ
school_bud.htmดร.กมล รอดคล้าย ดร.ไพรัช สู่แสนสุข ดร.บรรเจอดพร รัตนพันธุ์ เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการและได้รับความเมตตาจากสมเด็จพุฒาจารย์ วัดสระเกศ สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) และรองศาสตาจารย์ บุญนำ ทานสัมฤทธิ์ รูปแบบที่ ๓

แผนและยุทธศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
นายมังกร กุลวานิช ผอ.ธงชัย ชิวปรีชา คุณงามมาศ เกษมเศรษฐ และ ดร.รุ่งเรือง สุขาภิรมย์ เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการ

รูปแบบที่ ๔ โรงเรียนสองภาษา
ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม และนายนิวัตร นาคะเวช เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนรูปแบบที่ ๕

โรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
school_ICT.htmดร.อธิปัตย์ คลี่สุนทร เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย ๕ แห่ง

โรงเรียนรูปแบบใหม่ทั้ง ๕ นี้ คือ รูปแบบของความแตกต่างหลากหลายที่กำลังเริ่มต้นและจะเบ่งบานขยายออกไปเต็มแผ่นดิน สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติในด้านต่าง ๆ โดยจุดเน้นของนวัตกรรมการศึกษาจะต่างกัน ได้แก่

โรงเรียนในกำกับของรัฐ มีจุดเน้นที่การบริหารจัดการแบบเอกชนที่คล่องตัว

โรงเรียนวิถีพุทธ มีจุดเน้นที่จิตวิญญาณ เป็นการเรียนรู้รากเหง้าของภูมิปัญญาไทย คือ หลักธรรมพระพุทธศาสนาอันทรงคุณค่า ให้ผสมผสานกับการปฏิรูปการเรียนรู้

โรงเรียนสองภาษา มีจุดเน้นที่การใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินโครงการ

๑. ผู้นำดำเนินการอย่างจริงจังจนเห็นผลทั้งระดับประเทศ กระทรวง สถานศึกษาโดยกำกับดูแล ติดตาม และช่วยเอื้ออำนวยให้โครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

๒. การสื่อสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่ชัดเจน

๓. ความพร้อมของสถานศึกษา

๔. การประเมินผลมุ่งผลสำเร็จเป็นสำคัญและให้เป็นไปตามระบบเชิงวิจัยและพัฒนา

๕. มีองค์กรที่รับผิดชอบโครงการที่มีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระ และโปร่งใส

๖. ทุกองค์ประกอบต้องสอดรับกันทั้งระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ

เป้าหมาย

พัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อ

๑. เด็กและเยาวชนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยเฉพาะผู้ที่มีความพร้อม

๒. ส่งเสริมให้สถานศึกษาที่มีความพร้อม สามารถพัฒนาการศึกษาได้อย่างก้าวกระโดด (Fast Trak)

๓. เป็นแรงผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการศึกษาอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน

๑. จัดให้มีทีมงานที่เข็มแข็งในการสร้างสรรค์วัตกรรมการศึกษา และจัดให้มีระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และวิชาการ

๒. ศึกษา รวบรวมข้อความรู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาการศึกษา

๓. เน้นการทำงานในลักษณะเครือข่าย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทั้งภาครัฐเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

๔. จัดระบบการติดต่อสื่อสาร และประชาสัมพันธ์อย่างมี่ประสิทธิภาพ

๕. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน แล่งเป็น ๓ ระยะ

ระยะที่ ๑ : ทดลองนำร่องในโรงเรียนที่สมัครใจและมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถวัดผลประเมินผลได้ตามเกณฑ์กำหนดไว้

ระยะที่ ๒ : พัฒนารูปแบบและสร้างองค์ความรู้เชิงวิจัย และพัฒนาจากการทดลองนำร่องให้สารมารถนำสู่การปฏิบัติจริงในโรงเรียนที่จะขยายผลต่อไป

ระยะที่ ๓ : ทยอยขยายผลสู่โรงเรียน

กิจกรรมสำคัญ

๑. จัดตั้งสำนักพัฒนาวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการประสานงานการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

๒. จัดให้มีแหล่งรวบรวมนวัตกรรมการศึกษาทั้งระดับชาติและเขตพื้นที่การศึกษาและจัดให้มี Website นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

๓. ริเริ่มพัฒนานวัตกรรมที่จำเป็น

๔. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

๕. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมการศึกษาระดับชาติและเขตพื้นที่

๖. มีระบบยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและใช้นวัตกรรมตลอดจนมีระบบเสริมแรงจูงใจแก่ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ ที่มีสถานศึกษา

๗. ระทรัพยากรจากหน่วยงาน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

๘. ปรับปรุงกฏระเบียบและแนวปฏิบัติให้เอื้อต่อการดำเนินงานนวัตกรรมการศึกษา

๙. มีระบบการตรวจสอบประเมินโดยองค์กรภายนอก

๑๐. ในการดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใช้กิจกรรมสำคัญดังนี้

(๑) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อสะท้อนความคิด แนวปฏิบัติที่ผ่านมาเพื่อการพัฒนาโรงเรียนก่อนเริ่มโครงการ

(๒) จัดทำระบบการติดต่อสื่อสาร และดำเนินการสื่อสารให้ข้อมูลทุกด้านของโครงการสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง และต่อเนื่องเพื่อปลุกเร้าคุณประโยชน์ที่จะได้รับทั้งผู้บริหารและผู้รับโดยใช้สื่อทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดผลกระทบ

(๓) คัดเลือกโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมโครงการ

(๔) ดำเนินการทดลองนำร่อง ๕ รูปแบบ

(๕) สร้างความรู้ ความเข้าใจในรูปแบบการจัดการศึกษารูปแบบต่าง ๆ เพื่อปรับกระบวนทัศน์ ( Paradigm ) แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ

(๖) ติดตามประเมินผลและปรับปรุงจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

(๗) สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาการดำเนินการ

ในเบื้องต้นระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๔๖ – ๒๕๔๙

การติดตามประเมินผล

ติดตามประเมินผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีการพัฒนาในลักษณะก้าวกระโดดเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในมิติที่เป็นความต้องการของประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ การบริหารจัดการแนวใหม่ การพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษอังกฤษซึ่งเป็นภาษสากลควบคู่กับการพัฒนาด้านจิตใจ ทั้งนี้ในช่วงปีแรกมีนักเรียนที่ได้รับประโยชน์ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และมีโรงเรียนในโครงการประมาณ ๒๗๒ โรง

คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา

 

สรุปโครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

หลักการและเหตุผล

เป็นโครงการที่ใช้ ICT พัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข สำหรับเป็นต้นแบบแก่โรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อนำ ICT พัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

เป้าหมาย

โรงเรียนระดับประถมศึกษา ๕ แห่ง และระดับมัธยมศึกษา ๕ แห่ง

การดำเนินการ (รายละเอียดตามร่างแผนดำเนินงาน โครงการโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT) (รายละเอียดตามร่างแผนดำเนินงาน โครงการโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT)

๑. มหาวิทยาลัย ๕ แห่งประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร(ทับแก้ว) รับเป็นเจ้าภาพดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับดูแลโรงเรียนระดับประถมศึกษา ๑ แห่งและระดับมัธยม-ศึกษา ๑ แห่ง

๒. คัดเลือกโรงเรียนจำนวน ๑๐ แห่ง เข้าร่วมโครงการโดยมีคูณลักษณะดังนี้

๒.๑ เป็นโรเรียนที่ผู้บริหาร ผู้สอน เข้าร่วมโครงการโดยมีคุณลักษณะดังนี้

๒.๒ เป็นโรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา

๒.๓ เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล (อยู่ในระหว่างการคัดเลือก)

๓. มหาวิทยาลัยเสนอแผนดำเนินการเพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาบูรณาการเป็นแผนรวมของกระทรวง เพื่อขออนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการต่อไป

๔. ดำเนินการประชุมสัมมนา อบรมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบใช้ ICT ตามรูปแบบของมหาวิทยาลัยได้นำเสนอในแผนดำเนินงานซึ่งมี ๒ รูปแบ

๔.๑ รูปแบบที่ ๑ เน้นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้ ICT ด้วยทฤษฎี Constructionism

๔.๒ รูปแบบที่ ๒ เน้นการใช้ ICT พัฒนากระบวนการเรียนการสอน

๕. โรเรียนการดำเนินการเรียนการสอนตามรูปแบบ โรงเรียนต้นแบบใช้ ICT เปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นต้นไป

๖. ติดตาม ประเมินผลและรายงานการดำเนินการให้กระทรวงพิจารณาทุกเดือน

ร่างแผนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการใช้ ICT

ระยะเวลา
(สัปดาห์ที่)/เดือน

กิจกรรม

หมายเหตุ

(๔) /ก.พ. ๔๖

ประชุมผู้แทนมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถานศึกษา กำหนดแนวทางการดำเนินงาน

๒๖ - ๒๗ ก.พ. ๔๖

(๑) /มี.ค. ๔๖

ประชุมผู้แทนมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อกำหนดคุณสมบัติโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ

๔ มี.ค. ๔๖

(๒) /มี.ค. ๔๖

ทำหนังสือขอรับความร่วมมือมหาวิทยาลัยและแจ้งกรมส่งรายชื่อโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอย่างเป็นทางการ

 

(๔) /มี.ค. ๔๖

มหาวิทยาลัยเสนอแผนการดำเนินการ ศธ. พิจารณาและบูรณาการแผนมหาวิทยาลัย รวมถึงเสนอของบประมาณสนับสนุนพร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการ

 

(๑) /เม.ย. ๔๖

มหาวิทยาลัยประชุมแนวทางการดำเนินงานร่วมกับโรงเรียน

 

(๒) /เม.ย. ๔๖

แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วยผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้แทนสถานศึกษา และผู้แทนกรมเพื่อดำเนินงานและกำกับติดงานโครงการ

 

(๒) /เม.ย. ๔๖

สำรวจและเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องรวมถึง ครู อาจารย์ และบุคลากร ที่สามารถนำ ICT มาใช้พัฒนาการเรียนการสอน

 

(๓-๔) /เม.ย. ๔๖

มหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบจัดอบรม บุคลากรให้มีความรู้ด้าน ICT มาพัฒนาการเรียนการสอน และกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสารวิชา

 

(๑) /พ.ค. ๔๖

สถานศึกษาบูรณาการ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาหลักสูตรสื่อการเรียนการสอนและกำกับติดตามให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด (เฉพาะช่วงชั้น เฉพาะสาขาวิชา )

 

(๒) /พ.ค. ๔๖

ดำเนินการเรียนการสอนตามรูปแบบของโรงเรียนต้นแบบ ICT

๑๗ พ.ค. ๔๖

(๓) /พ.ค. ๔๖

จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและผู้บริหารโรงเรียน/ผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการเพื่อระดมความคิดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของโครงการ

 

(๔) /พ.ค.-(๔) ส.ค. ๔๖

ประชุมคณะกรรมการ ฯ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานเสนอให้ ศธ. พิจารณา เดือนละ 1 ครั้ง

รายงานผลครั้งที่ ๑

(๑) /ก.ย. ๔๖

สรุปผลการดำเนินงานภาคเรียนที่ ๑ /๒๕๔๖

 

(๑) /ต.ค. ๔๖

ประชุมสัมมนาปรับโครงการสำหรับดำเนินการในภาคเรียนที่ ๒ /๒๕๔๖ ต่อไป

 

กรอบแนวคิด

เป็นโรงเรียนที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษาทั้งในด้านพัฒนาองค์ความรู้ กระบวนการจัดการศึกษาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมจริยธรรม ในการใช้ ICT เป็นเครื่องมือเสริมแสวงหาความรู้และพัฒนาองค์ความรู้ การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีทั้งในเวลาและนอกเวลาการเรียนการสอน ทำให้ระบบการเรียนรู้มีความสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยผู้เรียนที่มีความแตกต่างทางด้านฐานะและความพร้อมมากขึ้น รวมทั้งมีศักยภาพต่างกันได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา และสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคมได้

ลักษณะของโรงเรียน

เป็นโรงเรียนสายสามัญ ซึ่งจะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน (ระยะต่อไปจะขยายผลไปสู่สายอาชีพและการศึกษาเอกชน )

องค์ประกอบ ได้แก่ได้แก่

๑. ความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน

๒. สื่อและซอฟต์แวร์

๓. เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์

๔. หลักสูตรและวิธีการหรือขบวนการเรียนการสอน

ทั้ง ๔ องค์ประกอบนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมาย

ภารกิจและหน้าที่

๑. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การดำรงชีวิตและการทำงาน ซึ่งใช้ ICT โดยมีผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถดูและอย่างใกล้ชิด

๒. ฝึกฝนพัฒนาผู้เรียน ให้มีความสมบูรณ์ในทางปัญญาและความเป็นมนุษย์

รูปแบบของโรงเรียนในการโครงการการทดลอง

๑. เป้าหมาย ๑๐ แห่งเป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมระดับหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ห่างจากมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ( มหาวิทยาลัยละ ๒ โรงเรียน คือระดับประถมศึกษา ๑ โรงเรียน และระดับมัธยมศึกษา ๑ โรงเรียน )

๒. บุคลากร ผู้บริหาร/ ครู – อาจารย์ / เจ้าหน้าที่ที่มีความกระตือรือล้น มีความสามารถในการใช้ ICT พอสมควร มีน้ำใจรักการสอนและการให้บริการ

๓. อาคารสถานที่ / อุปกรณ์ มีห้องเรียน ICT และจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์พอเพียงในระดับเบื้องต้นรวมทั้งเชื่อมโยงระบบ Internet ได้

๔. การจัดการเรียนการสอน

กำหนดกิจกรรมและหลักสูตรที่จะใช้ ICT ในการจัดการเรียนการสอน

จัดหาสื่อและผลิตสื่อ หรือแหล่งความรู้ให้พอเพียง

เตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน

จัดให้มีการประเมินผลเปรียบเทียบกับในเรื่องที่จัดการเรียนการสอนปกติ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑. ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและวางแผน กำหนดกอบและทิศทางดำเนินงานและยกร่างโครงการ

๒. ขออนุมัติโครงงานและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

๓. เลือกสถานศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เพื่อเข้าร่วมโครงการโดยคัดเลือกโรงเรียนในจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียนเป้าหมายให้นำเอา ICT มาใช้ในกระบวนการการเรียนการสอน

๔. มหาวิทยาลัยรับผิดชอบจัดอบรมครู – อาจารย์ผู้สอนในด้านต่อไปนี้

พัฒนาแผนการเรียนการสอน

กระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา

ศึกษาหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ทางเครือข่าย Internet

๕. ให้สถานศึกษาบูรณาการ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระโดยมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบเป็นผู้ดูแล เป็นพี่เลี้ยงช่วยพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน แลละนิเทศติดตาม ให้ความช่วยเหลือด้านการสร้างเครือต่อเชื่อม เทคนิควิธีการ อย่างใกล้ชิดตามความต้องการของสถานศึกษา และมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง

๖. ประชุมสัมนาครู – อาจารย์ผู้สอนโรงเรียนต้นแบบเพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะจากผู้ปฏิบัติ

๗. รายงานผลโครงการเพื่อให้กระทรวงทราบถึงผลการดำเนินงาน สภาพปัญหา

๘. นิเทศและติดตามงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินการ

กุมภาพันธ์ – พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ( โดยจะเริ่มดำเนินการทดลองได้ในเทอมแรกของปีการศึกษา ๒๕๔๖ )

ความคืบหน้าของโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

สืบเนื่องจากการประชุมปฏิบัติการการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ในระหว่างวันที่ ๒๖-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ ณ โรงแรมแกรมเดอร์วิลล์ วังบูรพา กทม. ศูนย์สารสนเทศ สป. ได้เชิญผู้แทนมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ( สศ., สปช, สช., สสวท., สกศ., กศน, และ NECTEC)เข้าร่วมประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน ในวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๖ ณ กระทรวงศึกษาธิการ

หลังจากการประชุมครั้งที่ ๑ มหาวิทยาลัย และกรมได้ทำการสำรวจและเสนอชื่อโรงเรียนที่จะเข้าร่วมโรงเรียนรูปแบบใหม่ โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรทับแก้ว เสนอ โรงเรียนท่าม่วงราษฎร์บำรุง (สศ.) และโรงเรียนอนุบาลลูกแกประชาชนูทิศ (สปช.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเนือ เสนอ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม (สศ.) และโรงเรียนกลาโหมอุทิศ (สปช.)

หลังจากการประสานงานระดับมหาวิทยาลัย และกรมเสนอรายชื่อโรงเรียนที่ ผู้บริหารมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ ก็ได้มีการประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยที่ต้องการพบปะโรงเรียนเพื่อการตัดสินใจทำงานร่วมกันได้รับทราบความคาดหวังของโรงเรียน ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ณ กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ได้รายชื่อโรงเรียนที่จะเข้าร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะดำเนินการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้

ระหว่างนี้ได้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ จัดประชุมปฏิบัติการ “การเรียนรู้ในแนวคิดใหม่ ทำใหม่” ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๑, ๑๙-๒๐ เมษายน ๒๕๔๖ โดยมีอาจารย์จากโรงเรียนราชวินิตร่วมเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมด้วย และในวันที่ ๒๘-๓๐ เมษายน นี้ได้มีการประชุมปฏิบัติการเป็นรอบที่สอง เรื่อง “เครื่องมือ ICT เพื่อการเรียนรู้”

สำหรับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ อยู่ในระหว่างดำเนินการตกลง ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างโรงเรียนและสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และระหว่างนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยศิลปากรทับแก้ว ได้ร่างแผนปฏิบัติงานไว้แล้ว

ขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานอีก ๕ คณะ (มหาวิทยาลัย โรงเรียน และผู้ประสานงาน ) เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ศูนย์สารสนเทศ สป. ได้เชิญคณะทำงานโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานทั้ง ๕ คณะ มาร่วมประชุมรายงานความคืบหน้า และแนวทางในการดำเนินงานในภาคเรียนที่ ๑

ในระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๖ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยินดีที่จะรับโรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสนอีกหนึ่งโรงเรียน ซึ่งมหาวิทยาลัยเกตรศาสตร์แจ้งว่าจะต้องมีการประชุมร่วมกันระหว่างโรงเรียนทั้งหมด เพื่อวางแผนงานร่วมกัน และร่วมมือกันดำเนินการให้การนำเอา ICT มาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นรูปธรรมต่อไป

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แจ้งให้ทราบว่าในระหว่างวันที่ ๙-๑๓ มิถุนายน จะได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้กับครู-อาจารย์จากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม และโรงเรียนกลาโหมอุทิศ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ขอความร่วมมือจากโรงเรียนผไทอุดมศึกษา ใช้สถานที่ในการอบรมวันอาทิตย์ที่ ๑๕ และวันอาทิตย์ที่ ๒๒ เดือนมิถุนายน ๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ ในการนี้ขอเชิญอาจารย์จากแต่ละโรงเรียนในโครงการ ๔ โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดโสมนัส โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ โรงเรียนผไทอุดมศึกษา และโรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน เข้ารับการอบรม โรงเรียนละ ๒๕ คน รวม ๑๐๐ คน

ภาพตัวอย่างการจัดกิจกรรมวันที่ ๑๐ - ๑๑ เมษายน ๒๕๔๖ ณ ห้องอบรม ศูนย์บริการมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ยืน ภู่วรรณ และ ดร.บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ดำเนินการอมรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร Internet เพื่อการเรียนการสอน เมื่อรุ่นที่หนึ่งเมื่อวันที่ ๗ และ ๑๔ มิถุนายน และรุ่นที่สองเมื่อวันที่ ๒๑ และ ๒๘ มิถุนายน มีอาจารย์จากโรงเรียนวัดเขาภิรตารามและกลาโหมอุทิศ เข้าร่วมอบรมรุ่นแรก ๓๑ ท่าน และรุ่นที่สองประมาณ ๓๐ ท่าน การดำเนินการของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้รับความสนับสนุนจากผู้บริหารของสถาบันและกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างดี โดยท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรกับครูในโครงการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการไปเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูโรงเรียนไผทอุดมศึกษา วัดโสมนัส อนุราชประสิทธิ์และประถมฐานบินกำแพงแสนอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเดือนละสองครั้ง โดยในวันที่ ๘ มิถุนายน ได้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตโดยท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด และท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.อธิปัตย์ คลี่สุนทร) ก็ได้มาร่วมให้กำลังครูอาจารย์และคณะทำงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เกียรติมาเยี่ยมเยียนคณะครูอาจารย์ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงเรียนไผทอุดมศึกษา และในเดือนเดียวกันวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖ ก็มีการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่องกับครั้งที่ผ่านมา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูโรงเรียนไผทอุดมศึกษา วัดโสมนัส อนุราชประสิทธิ์ และประถมฐานบินกำแพงแสน เกี่ยวกับการสร้าง Webpage โดยใช้ภาษา html และการนำเสนอ LMS ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้สนับสนุนให้ใช้ Account ของ nontri.com การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ได้ดำเนินการในวันที่ ๖ กรกฎาคม ที่โรงเรียนไผทอุดมศึกษา และในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากรทับแก้ว ได้ดำเนินการ สัมมนาให้กับครูอาจารย์โรงเรียนท่าม่วงราษฏร์บำรุงและโรงเรียนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ ในวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ผ่านมา โดยมีคณาจารย์จากภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน พร้อมทั้ง ดร.ปานใจ ธารทัศนวงศ์ มาร่วมให้ความรู้กับครูอาจารย์จากทั้งสองโรงเรียน ครั้งนี้เป็นการสัมมนาในหัวข้อ กระบวนการวิเคราะห์ลักสูตร การเลือกเนื้อหาและเขียนแผนการสอนแบบ ICT และครูอาจารย์จากทั้งสองโรงเรียนก็ร่วมกันวิเคราะห์และวางแผนการสอนตามความเหมาะสม

ภาพตัวอย่างการจัดกิจกรรมอบรม ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รุ่นที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๗ และ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ รุ่นที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๒๑ และ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๖ โดย ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ และ รศ.ดร.ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรกับครูในโครงการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนทั้ง ๑๒ แห่งที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้ร่วมมือกับโครงการ ITEd ซึ่งเป็นโครงการที่ JICA ให้ความร่วมมือกับกระทรวงฯ ในการเสริมสร้างสมรรถภาพของครูผู้สอนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกิจกรรมการเรียนการสอน โดยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ตัวแทนครูจากโรงเรียนสมาชิกทั้ง ๑๒ แห่ง รวมทั้งโรงเรียนราชวินิต (ประถม) ร่วมกันระดมพลังความคิดในการที่จะจัดทำเนื้อหาที่นำมาเป็น WBT (Web Based Training) ในระหว่างวันที่ ๑๑, ๒๐ และ ๒๑ สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้ตัวอย่างเนื้อหาที่จะนำมาพัฒนาเป็น WBT ต่อไป คือ ภาษาอังกฤษ เรื่อง Tense, ดนตรีไทย, การแกะสลัก และภาษาไทยเรื่อง ภาษาถิ่น ในการนี้คณะทำงานของ ITEd จะได้นำเอาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และเนื้อหาที่ได้ไปดำเนินการพัฒนาให้เป็น WBT เพื่อจะได้เป็นรูปแบบตัวอย่างต่อไป และเผยแพร่ให้โรงเรียนอื่นๆ ในประเทสไทยอีกด้วย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการประชุมร่วมกันกับโรงเร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 18302เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2006 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงการบางโครงการดีแต่ผู้ที่เป็นเป้าหมายไม่ได้ทำตามสิ่งที่เราหวัง แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท