ห้องสมุดดิจิทัล : ทำไม่ยาก แต่ทำอย่างไร ?


เป้าหมายสำหรับสถาบัน สู่ชุมชน และเครือข่าย

เมื่อวันที่ 12-13 พฤษภาคม ที่ผ่านมาผู้เขียนได้เข้าร่วมโครงการสัมมนา เรื่อง " การจัดการห้องสมุดดิจิทัล" ที่จัดขึ้น ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)  ซึ่งผ่านไปหลายวันแล้ว ผู้เขียนมัววุ่นๆกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ แต่ก็ไม่อยากให้ผ่านไป เลยเก็บมาแบ่งปันให้กันฟังค่ะ

        หัวข้อการบรรยาย ประกอบด้วยหลายหัวข้อโดยวิทยากรทั้งจาก AIT และ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ขอยกมาบางส่วนจากการบรรยายเกี่ยวกับ แนวคิดห้องสมุดดิจิทัล ทิศทางและแนวโน้ม ซึ่งท่าน ศาสตราจารย์ ดร. วิลาส วูวงศ์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้เป็นผู้บรรยาย ทำให้ทราบว่า ...

       โดยแนวคิดแล้ว ห้องสมุดดิจิทัล คือห้องสมุดที่ประกอบด้วยเนื้อหา หรือสารสนเทศดิจิทัล ที่อาจเป็นทั้งหนังสือ บทความ วารสาร เพลง ภาพนิ่งและวีดีโอ และอื่นๆ  และการนำเนื้อหาใส่เข้าไปในซอฟต์แวร์ห้องสมุดดิจิทัล

     ห้องสมุดดิจิทัลแตกต่างจากเว็บไซต์  ห้องสมุดทั่วไป และระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างไร ??

    ท่านอจ วิลาส บรรยายว่า .. ห้องสมุดดิจิทัลต่างจากเว็บไซต์ตรงที่

  •      เว็บไซต์ ไม่ได้จัดเก็บและจัดหมวดหมู่เนื้อหาสารสนเทศเป็นระบบเท่า ห้องสมุดดิจิทัล

  •      เว็บไซต์ไม่มีบัตรรายการหรือการทำรายการ ( Catalog) หรือเมทาดาทา  (Metadata)

  •      เว็บไซต์ไม่มีการคำนึงถึงปัญหาการจัดเก็บ (Preservation) และข้อมูลแหล่งกำเนิด  เช่น ใคร เป็นคนสร้าง เปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ ซึ่งเว็บไซต์จะเกิดง่ายและถูกลบได้ตลอดเวลา

       และห้องสมุดดิจิทัล ก็แตกต่างจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ตรงที่ห้องสมุดอัตโนมัติประกอบด้วย function หรือโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ตามลักษณะการทำงานของห้องสมุด ได้แก่ การจัดหา (Acquisiton) จัดทำรายการ (Cataloging ) ทำดัชนี ( Indexing) ให้บริการสืบค้นด้วยระบบ OPAC ผ่านเครือข่าย และให้บริการยืม-คืน ( Circulation) 

      แต่ห้องสมุดดิจิทัลไม่ต้องยืมคืนหนังสือหรือเอกสาร เพราะสามารถใช้ความสามารถของเทคโนโลยีเครือข่ายเรียกใช้เอกสารตามต้องการได้โดยตรง  จึงสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว สนองความต้องการของผู้ใช้ในชุมชนได้ 

      ตัวอย่างการนำไปใช้ที่น่าจะมีประโยชน์ต่อชุมชนวิชาการ ได้แก่ การจัดทำคลังความรู้หรือคลังข้อมูลของสถาบัน (Institutional Repositories)  ซึ่งมีซอฟต์แวร์ฟรีที่สามารถนำมาพัฒนาได้ เช่น Greenstone, Dspace

    สำหรับประเทศไทย จากที่ผู้เขียนศึกษาพบว่า การพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลของบ้านเรา ยังเป็นลักษณะใช้ซอฟต์แวร์จัดเก็บทรัพยากรดิจิทัล เพื่อให้บริการในห้องสมุดแบบผสม (Hybrid Libray) คือยังเป็นห้องสมุดที่ให้บริการทั้งสิ่งพิมพ์ตัวเล่มและให้บริการสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยควบคู่กันไป

   ข้อดีของการนำซอฟต์แวร์ห้องสมุดดิจิทัลไปใช้ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ

   1. เป็นเครื่องมือในการสร้างชุมชนความรู้ในหน่วยงาน สถาบันหรือองค์กร ตัวอย่าง จากโปรแกรม Dspace สามารถสร้างชุมชนและชุมชนย่อยเพื่อเก็บข้อมูล ความรู้และให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาดูได้

  2. เป็นช่องทางในการจัดเก็บและสงวนรักษาทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น เอกสารหายาก ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ให้สามารถคงอยู่และใช้งานได้ในรูปแบบดิจิทัล

  3. นำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ที่แต่ละแห่งมีงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรจำกัด  หรือทรัพยากรที่เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันเช่น วิทยานิพนธ์ งานวิจัย เมื่อนำมาจัดเก็บในรูปดิจิทัล ผู้ใช้บริการสถาบันจะสามารถเข้าใช้บริการได้  แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายในการเผยแพร่ของแต่ละแห่ง และมีการจัดการด้านลิขสิทธิ์ที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

 ตัวอย่าง โปรแกรม Dspace  ที่ผู้เขียนฝึกสร้างจากห้องอบรมฯ ค่ะ

 

 

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างการสร้างห้องสมุดดิจิทัลสำหรับโรงเรียน จากโครงการคิดดี หรือ Kids-D ที่ AIT พัฒนาฯให้กับ สพฐ

 ตัวอย่าง โปรแกรม Greenstone ใช้สร้างฐานข้อมูล E-book จัดเก็บทั้งภาพและText รวมทั้งสื่อรูปแบบอื่นได้

 

 

     ........

     ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องห้องสมุดดิจิทัล ท่านสามารถหาอ่านได้จากแหล่งสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่มากมายเลยค่ะ ในประเทศไทยที่ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ชื่อเดิม TIAC ) ก็มีการจัดอบรมซอฟต์แวร์ห้องสมุดดิจิทัล บ่อยๆ

    เพิ่มเติมความคิดเห็นนิดนึงว่า จากการสัมมนานี้ พบว่าผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มาจากโรงเรียน และสถาบันอุดมศึกษาในภาคอีสาน ซึ่งน่าดีใจว่ามีผู้สนใจเรื่องนี้อยู่พอสมควร คิดว่าความรู้จากการฝึกอบรมจะได้ทำให้ท่านเหล่านี้ไปพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับโรงเรียนที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถนำไปจัดเก็บเอกสารสำคัญภายในหน่วยงานได้อีกด้วย

  ตัวอย่าง  โปรแกรม Dspace ที่ใช้ให้บริการคลังข้อมูลของสถาบัน จากสถาบันวิทยบริการ จุฬาฯ

 

 

Link ที่เกี่ยวข้อง http://www.greenstone.org

http://www.dspace.org 

http://portal.unesco.org  แหล่งข้อมูล free software สำหรับพัฒนาฐานข้อมูลต่างๆ

http://www.kids-d.org  โครงการระบบคิดดี

 

 

หมายเลขบันทึก: 182798เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

  • เรื่องนี้ชอบใจจัง
  • จะลองไปค้นเพิ่มเติมครับ

ป.ล. ลูกช้าง 30 เหมือนกัน

สวัสดีค่ะ

เสียดายจังค่ะที่ไม่มีโอกาสได้ไปร่วมสังเกตุการณ์ อยู่ห่างไม่กี่ช่วงตึกเอง

แต่ขอบคุณที่นำข้อมุลมาเล่าต่อนะคะ

Clear มากขึ้นสำหรับลักษณะขอข้อมูลในห้องสมุดดิจิทัล และเว็บไซต์ค่ะ

สวัสดีครับ

ขอบคุณมาก ที่กรุณา เผื่อแผ่ความรู้ต่อ เนื้อหาละเอียดครบถ้วนดีครับ สำหรับผมแล้วไม่ได้ตามเรื่องนี้มา สามปีแล้ว พออ่านแล้ว ก็เกิดแรงจูงใจให้ ติดตามเรื่องนี้ต่อไปอีก

  • ดีใจจังค่ะที่เจอ คุณ ธวัชชัย ลูกช้างปี 30 เหมือนกัน
  • อ่าน blog ของคุณ Tuk-ka-toon บ่อยๆเหมือนกัน ถ้ามีข่าวสารข้อมูลใด จะมาเล่าแจ้งให้ทราบนะคะ
  • สวัสดีอจ เฉลิมศักดิ์ค่ะ สำนักหอสมุด ม นเรศวรคงได้มีโอกาสร่วมงานกับสำนักวิทยบริการ ม มหาสารคามนะคะ ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท