14/05/51


วันนี้ วันพุธ

วันนี้เป็นวันพิเศษหน่อย หลังจากที่ได้รับมอบหมายจากอมจารย์  ให้ได้รับมอบหมาย ให้ไปช่วยงาน พี่หนอน สุรพงษ์ กองจันทึก ในการอบรม กฏหมายใหม่กับการกำหนดสถานะบุคคล  ที่สภาทนายความ ตอนแรก ไม่เคยรุ้มาก่อนเลยน่ะ ว่าสภาทนายความอยู่ไหน  คิดอยู่นานกันสามคนว่าเราจะไปยังไง กันดี ตอนแรก ก็ถาม พี่กระเป๋าว่าจะต้องไปทางไหน แต่เราไม่รู้เรื่องเลย ฉะนั้นเราสามคนเลยตกลงกันว่าจะไปแท็กซี่  ซึ่งกำหนด การเดินทางของลูกหมูสามตัว คือเวลา ประมาณ 7.30 นเป็นอย่างช้าเผื่อ เวลาการเดินทางเล็กน้อย เนื่องจากเราไม่รู้ทางที่แน่นอน รู้คราวๆ ว่าอยู่ราชดำเนิน แค่นั้นเลย   และแล้วพี่แท็กซี ก็พาเรามา ถึงสถานที่อบรม โดยสวัสดิภาพ   เดินเตร็ดเตร่ สักพัก หอมก็ทักทายพี่หนอน  และเราก็ไปหาอะไรทานกัน กองทัพ ต้องเดินด้วยท้อง จิ คริคริ

สรุปว่า อิ่มล่ะ เดินทางต่อ

เราไปถึงสภาทนายความ

ว้าวๆๆ ชั้นสี่ บันไดไม้ด้วย คลาสิกชะมัดเลย

วันนี้มีคนทั้งมาฟัง การบรรยาย และ มาเป็นวิทยากร มากหน้าหลายตา เลย เป็นการอบรม

ทางกฏหมาย ครั้งแรกได้มั้ง ที่เราได้เข้าร่วม หลังจาก ขึ้นปีห้า

เข้ามหาลัยมา บรรยากาศ แบบนี้ไม่ค่อย

ได้สัมผัส ที่ม.นเรศวร เพราะว่ามีวิทยากร ดังๆ ก็อาจารย์แหวว นี่ไง ดังไหมล่ะ 

ยังมีเอ็นจีโอ ด้วย งานนี้อาจารย์หนอน ให้เราช่วยเสริฟ์งาน บ้าง อะไรบ้าง เป็นธรรมดา

 ของเด็กฝึกงานมั้ง

การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรม เกี่ยวกับ พรบ.สัญชาติ ฉบับใหม่ ที่จะประกาศ ใช้ในอีกไม่กี่วันนี่ละ

ส่วนรายละเอียด ที่จะประกาศ ในมาตรา 23

 

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=415&d_id=414

 

                 

และนี่คือ การจดบันทึกที่ได้จากการประชุมโดย เราเองค่ะ

 

การอบรมกฎหมายใหม่ กับการกำหนดสถานะบุคคล

วันที่   14   พฤษภาคม   2551

เวลา  9.45

สภาทนายความ

 

 

ตอนเช้า

**************

อาจารย์ แหวว

**************

พอจับใจความได้ดังนี้

-          ประการแรก           กล่าวว่า ในประเทศไทยมันต้องมีคนไร้รัฐ    คนไร้สัญชาติ

ถ้ามีคนเข้าเกณฑ์ คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติมันต้อง  ได้ รัฐ ได้สัญชาติ

 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็จะต้องพิจารณาเรื่องจุดเกาะเกี่ยวของแต่ละกรณี กรณีไปด้วย

-           ประการสอง   มีการรับรองสิทธิมนุษยชนใน พ.ร.บ.นี้

เช่น      การรับรอง สิทธิในกฎหมาย  การรับรองการเกิด  การรับรองความเป็นบุคคล  

การรับรองจุดเกาะเกี่ยว   การรับรองสิทธิในสัญชาติ

ซึ่งมี  พ.ร.บ  รับรอง ในเรื่องการรับรองสิทธิ ของทั้ง ชาย และหญิง 

                               

-           ประการสาม    กลไกประสิทธิภาพประชากร

  คณะกรรมการกลั่นกรองสัญชาติ มาตรา 23

ฉบับใหม่   ตามพรบ ฉบับ ใหม่  บรรดา บุคคลที่เคยมีสัญชาติไทย………”

                มีการแนะนำบุคคลตาม มาตรา 23  ให้ไป ยื่น เรื่องตามที่มาตรา 23 ได้บอกไว้ 

 ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับ

 (1) เกิดก่อน 14 ธันวาคม 2515 ถูกถอนสัญชาติไทย

(2) เกิดก่อน ปี 2515 ถูกถอนสัญชาติไทย

(3) เกิดก่อน 2515 ไม่มีสัญชาติไทย

                                -หากอาศัยอยู่จริง

                                -ติดต่อกัน โดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร

                                -มีความประพฤติดี/ทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมไทย หรือประเทศไทย

                ซึ่ง เวลา เราไปยื่นเรื่องที่อำเภอเรา

o    ต้องดูหลักกฎหมาย

o   หลักสิทธิมนุษยชน

o   คณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถ

จบ  อาจารย์แหวว

**************

อาจารย์ อุดมเขต

**************

ในส่วนเรื่อง ของกฎหมายสัญชาติ 

การแก้ไขปัญหาทางด้านบุคคลเป็นเครื่องมือ ในการแก้ปัญหา คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ มีการให้สถานะ บุคคล เป็นการแก้ไขทางนโยบาย

มีสองหลัก

การได้สัญชาติ

 ตามเกิดหลักสายโลหิต  จากบิดา  มารดา

 หลักดินแดน โดย

ได้หลังการเกิด

ได้โดยการสมรส

                                การแปลงสัญชาติ มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง

 การเสียสัญชาติ

                                การสละโดยเอกชน

ส่วนสองเป็นการเพิ่มอำนาจคณะรัฐมนตรี

เช่น ในมาตรา 7 วรรคสาม  เป็นการกฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายบริหาร   ให้มีส่วนให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติ ได้มีโอกาสเพิ่มมากขึ้น ในการได้รับ สัญชาติไทย  แต่ต้องรอ ประกาศ กระทรวงบังคับใช้ และมีผลบังคับ

กับคนที่เกิดก่อน  คือมีผลย้อนหลัง

ส่วนการ แก้ไขเพิ่มเติมของการได้รับสัญชาติโดยการเกิด

เช่น บิดาเป็นคนไทย แต่มารดาเป็นคนต่างชาติ  แต่ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกม ด้วยเท่านั้น   วรรคสองมีการ ได้พิสูจน์ ว่าต้องมีบิดา ตามที่ กม ได้บัญญัติไว้ 

 

ความเสมอภาคระหว่างชาย หญิง 

 

การสละสัญชาติ

 

การแปลงสัญชาติให้คนอื่น

ตามมาตรา 12  ที่ บุคคลต้องยื่นคำร้องให้ตนเอง หรือขอให้ลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ซึ่งเดิมไม่สมารถแปลงสัญชาติ ให้กับคนอื่นได้

แต่ในกฎหมายฉบับใหม่ ให้สิทธิในการขอสัญชาติให้กับคนอื่น

โดย

(1)          ผู้ไร้ความสามารถ/ผู้อนุบาลตามคำสั่งศาล

(2)          สถานสงเคราะห์/ผู้ปกครอง ดูแลมาแล้ว 10 ปี

(3)          ผู้รับบุตรบุญธรรม/ผู้รับบุตรบุญธรรม ศาลสั่งให้เด็กเกิดในราชอาณาจักร + จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมาไม่น้อยกว่า 5 ปี

 

หลังเบรก

 

**************

อาจารย์ วีนัส

การจดทะเบียน มูลินิธิ 

จำเป็น ต้องมีหนังสือรับรองการเกิด มาตรา 20/1 หรือ กรณี มีเหตุจำเป็นอื่นๆๆ

หนังสือรับรองสถานที่ เกิด  /  สูติบัตร 

มาตรา 10   พรบ สัญชาติ

วรรคสี่ ที่ให้อำนาจนายทะเบียน ไปใช้ ป วิ ปกครอง   

ประกอบ มาตรา 39 วิ ปกครอง 

กรณี แจ้งเกิดสามารถแจ้งเกิดต่อ นายทะเบียน ท้องที่ใดก็ได้ 

กลุ่ม สอง ……..

 

…………………………

ที่มาของ พรบ ฉบับ นี้

คำว่า แจ้ง เกิด คำว่า จดทะเบียนการเกิด

ปัจจุบัน การจดทะเบียน การเกิด

 มันต้อง บัง คับ โดยกฎหมาย บางที่มาตรฐานหมอตำแย มันอยู่ในการรับรองการคลอด 

การทำ สเตท รีคอกนิชั่น เป็น หนังสือรับรองการเกิด สูติบัตร เป็นการแจ้งเกิด แต่ไม่ใช่ทะเบียน ราษฎร น่ะ มันต้องแจ้งให้ชัดแจ้ง มันต้องแยกออกมาให้ ชัดแจ้ง

มาตรา 20 มันเข้าไปรองรับ  ทร. 38 เป็นทะเลขเบียน ของคนไร้รัฐ แต่ได้สัญชาติไทยแน่นอน

มีการสัมภาษณ์ เคส ของ

นาย อาลี

พ่อ เข้าบ้านอยู่ถูกต้องตาม กม  น้องไม่มีสูติบัตร ไม่มีอะไร เลย    

พ่อเสีย

แม่เป็นคน อพยพ เข้ามา

เกิดไทย ปี 2533 

มีหนังสือ ที่ไปยื่นคำร้องที่เขต

อาจารย์ วีนัส ตอบ  เกิด  ปี 34

ให้มีการสำรวจเลข 0 มีการให้ใช้มาตรา 23 อันใหม่   มีการให้ ขึ้นทะเบียน แรงงาน เลข 0 ไว้แล้ว

อาจารย์ แหวว บอกทั้ง พยาน เอกสาร และพยานมหาชน 

อาลี เกิดโรงพยาบาล  ให้สภาทนายความ หา พยาน บุคคล เข้ามาสอบ ได้โดย เฉพาะ พยานบุคคล  ขนาดจอบิ ไม่ได้เกิดใน กทม ยัง หาพยานบุคคลได้เรย 

 

นายอาลี เกิด บางพลัด  

 

มีการปรึกษา หารือ กัน มีการทำ work permit  กันหรือเปล่า 

มีการ ถือ พาสปอร์ต เข้ามาป่าว  

พ่อมาจาก  ท้ายๆๆประเทศพม่า

อาจารย์ ใช้ประสบการณ์ห้วยแห้ง

ทร 1/1

พระวันวิวาห์ถาม----

หลัง จาก 90 วันไป แล้วจะเกิด อารายขึ้นกับ คนลาว อพยพ

ตอบ........ในเชิง นโยบาย  มีหลักเกณฑ์ คือไม่สามารถกลับ ประเทศ ต้นทางได้

บุตรเกิด ก่อน 26 ก.พ. 2535  สามารถ ไปยื่นคำร้อง ได้กับนายทะเบียน

ตาม กม ได้สัญชาติ แล้วแต่ต้องทำ การเพิ่มชื่อทางทะเบียน ตาม กม

ตาม ม.23 

กลุ่ม แรก …………

                กลุ่ม สอง   ……

กลุ่มสาม บุตร กลุ่ม หนึ่ง กลุ่มสอง ก้อจะได้ตามมาตรา 23  อาศัยในไทยติดต่อ กันตามหลักเกณฑ์ คือ 28 กพ 2531

และตาม พรบ อันใหม่ ก็ เตรียมยืนได้แร้ว นายทะเบียน ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะเป็นผลตาม กม  แล้วไม่สามารถปฏิเสธได้   ให้ใช้หลักการ เดียวกัน หลักเกณฑ์ ที่เคย ได้สัญชาติมาแล้ว ใช้อำนาจการพิจาณาขั้นสุดท้าย

  สรุปไม่สามารถปฏิเสธ ได้   ส่วนหลักการก็เหมือนคนไทยแจ้งเกิด ทันที  

ส่วน ตามมาตรา  23

คำสำคัญ (Tags): #ฝึกงาน
หมายเลขบันทึก: 182420เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บันทึกถึงหลักสูตรการฝึกอบรมด้วยซิคะ

เพิ่มบันทึกการอบรมแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท