คนไม่รู้จักปกครองตนเอง


"คนเราต้องรู้จักพึ่งพาและปกครองตนเอง "

เห็นสภาพบ้านเมืองปั่นป่วน ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองแล้ว ให้รู้สึกหดหู่ใจยิ่งนัก ท่ามกลางวิกฤตปัญหาต่างๆนั้น ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหามีหลายด้าน หากแต่ด้านหนึ่งนั้นเกิดจากการที่คนเราไม่รู้จักตนเอง ปล่อยชีวิตไปตามความผันผวนของสภาพทางสังคม บางคนอาจปล่อยไปตามยถากรรมด้วยซำไป ไม่หนักแน่น ไม่มั่นคง ไม่เข้าใจตนเอง ยินดียินร้ายกับสิ่งยั่วยวนกิเลสทั้งหลาย จึงกลายเป็นทุกข์ ทุกข์เพราะสภาพสังคม ทุกข์เพราะปัญหาเศรษฐกิจ และทุกข์เพราะปัญหาทางการเมือง ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้มาครอบงำจิตใจ ความรู้สึก ทำให้หวั่นไหวไปตามสภาพการณ์ของบ้านเมืองและของโลก ไม่สิ้นสุด

จงกลับมาเป็นตัวของตัวเอง รู้จักปกครองตนเอง เป็นนายก เป็นรัฐมนตรี เป็นผู้ว่าฯ เป็นหัวหน้าส่วนราชการ เป็นหมอ เป็นครู เป็นพระ เป็นชาวไร่ชาวนาชาวสวน อยู่ในตัวของเราเอง รู้หลบรู้หลีกรู้วางเฉย รู้รุกรู้ถอย รู้ปล่อยวาง ดูแลตนเอง อย่าให้เข้าไปคลุกอยู่ในวงในของสถานการณ์ ฉากตัวเองจากวงใน ออกมาอยู่วงนอก ถอยห่างตั้งการ์ดให้สูง รู้เท่าทันและตั้งรับกับมันอย่างมีสติ นั่นแหละจึงจะเรียกว่า "คนที่รู้จักพึ่งพาและปกครองตนเอง" จึงจะพ้นภัยทั้งมวล

กลั่นออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ยามที่บ้านเมืองประสบปัญหา "ข้าวยากหมากแพง" ในท่ามกลางความหายนะของมิตรประเทศที่อยู่รอบตัวเรา อย่างน้อย 2 ประเทศที่พลเมืองประสบปัญหามากกว่าเรา คือพม่าและจีน จึงเห็นเป็นความ สว่างและเข้าใจ เราอาจหลีกพ้นปัญหาต่างๆได้ถ้ารู้จักตนเอง ปกครองตนเองเป็น แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจหลีกพ้น นั่นก็คือ "มรณะภัย" มรณะภัยไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ในทางพระพุทธศาสนา ได้แสดงเหตุของความตายไว้ 4 ประการ ดังนี้

1. การตายเพราะสิ้นอายุขัย (อายุขัยมรณะ) เหมือนกับดวงประทีปดับลงเพราะไส้หมด

2. การตายเพราะสิ้นกรรม (กัมมักขัยมรณะ) คือกรรมที่ส่งผลมาให้เกิดเป็นมนุษย์ และอุปถัมภ์กรรมที่คอยส่งเสริมให้ชีวิตตั้งอยู่ ได้ดับลง เปรียบเหมือนประทีปดับเพราะนำมันหมด

3. การตายเพราะทั้งสิ้นอายุขัยและสิ้นกรรม (อุภยักขัยมรณะ) เปรียบเหมือนกับประทีปดับลงเพราะทั้งไส้และนำมันหมดพร้อมกัน

4. การตายเพราะกรรมที่เป็นบาป อกุศล ที่ได้ทำในอดีตเข้ามาตัดรอน (อุปัจเฉทกมรณะ) ได้แก่การตายเพราะประสบอุบัติเหตุต่างๆ ทำให้ชีวิตจบลงก่อนถึงวัยอันควร เหมือนดวงประทีปดับลงทั้งที่ไส้และนำมันยังคงมีอยู่ แต่ลมพัดทำให้ดับไปเอง ฉันท์นั้น 

คนที่ตายด้วยอุปัจเฉทกกรรม คือ กรรมตัดรอนนั้น เนื่องจากในอดีตชาติเคยสร้างเวรก่อกรรมชั่วไว้มาก ชาตินี้จึงต้องประสบการตายที่เรียกว่า "ตายโหง" คือตายด้วยเหตุอันไม่สมควรตาย คนที่ตายด้วยกรรมตัดรอนนี้ จิตวิญญาณย่อมไม่ได้ไปเกิดทีเดียว ยังต้องเป็น "โอปปาติกะ"  คือสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นมาโตเต็มตัวทันที ไม่สามารถไปผุดไปเกิดได้ เพราะยังไม่สิ้นเวรหมดกรรม เป็นวิญญาณที่เร่ร่อน เที่ยวหลอกหลอนชาวบ้านและญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อให้เขาทำบุญให้ทาน แผ่ส่วนกุศลผลบุญไปให้ ชาวบ้านมักเรียกวิญญาณผีตายโหงว่า เปรต อสุรกาย

มนุษย์ทุกเชื้อชาติ ทุกวรรณะ ทุกเพศ ทุกวัย ต่างจบชีวิตด้วยมรณะภัยทั้งสิ้น ทุกชีวิตถูกตัดสินประหารชีวิตมาแล้วตั้งแต่เกิด โลกนี้ที่แท้เป็นทั้งแดนเกิดและแดนประหารของสัตว์ทั้งหลาย เราต่างดำรงชีวิตอยู่อย่างไร้หลักประกัน ต่างก็ไม่รู้ว่าวันประหารจะมาถึงเมื่อใด และจะถูกประหารด้วยวิธีใด

จงมีสติรู้คิด รู้จักพึ่งตนเอง ปกครองตนเอง อย่าได้ประมาทต่อความตาย เสมือนเป็นการถวายฏีกาชีวิตให้กับตนเอง เผื่อว่าอาจไม่ต้องถูกประหารด้วยวิธีสุดท้าย (อุปัจเฉทกกรรม)คิดว่าทุกคนคงไม่ ปราถนาจะได้ประสบ และเมื่อใดก็ตามหากสัมผัสบรรยากาศแห่งความมืดของมฤตยูอันเป็น ช่วงเวลาวิกฤติของชีวิตแล้ว ย่อมมีเพียงจิตใจที่สงบมั่นคงที่ฝึกฝนมาดีแล้วเท่านั้น จะเป็นสารณะที่พึ่งอันแท้จริง ดังนั้น จงพึ่งพาตนเอง และปกครองตนเองอย่างทรนง   จะพบความสุข สงบที่แท้จริง

ลุงเก

หมายเลขบันทึก: 182417เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีคะ

ขอบคุณมากๆ คะ ที่เขียนบันทึกนี้เตือนใจในการดำรงชีวิต ได้แง่คิดอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นประโยชน์มากคะ

และดิฉันอยากแนะนำเกี่ยวกับการใส่คำสำคัญ ของบันทึกคะ

อยากให้ลองอ่าน บันทึกที่เคยเขียนแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/tag/คำสำคัญ คะ

สวัสดีครับอาจารย์เก

  • เป็นข้อคิดเตือนใจได้ดีทีเดียวครับ
  • ชอบคำว่า  ทุกชีวิตถูกตัดสินประหารชีวิตมาแล้วตั้งแต่เกิด แต่เรายังไม่รู้ว่า จะถูกประหารแบบไหน อย่างไร และเมื่อไหร่ ครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณ คุณมะปรางเปรี้ยวเป็นอย่างสูง จะดำเนินการตามคำแนะนำครับ

อาจารย์เก

สวัสดีครับครูสุ วันนี้ก็เปิดเทอมแล้ว ครูสุคงมีความสุขที่ได้พบกับเด็กๆชาวดอยที่น่าสงสาร ฝากครูสุเรื่อง "ข้าวยากหมากแพง" เราจะสอนเด็กให้รับรู้และเตรียมการกับชีวิตอย่างไร รวมทั้งภัยทางธรรมชาติด้วยนะครับ ครูสุต้องสอนเด็กนะ ต้องติดอาวุธให้เด็กเพื่อความอยู่รอด อาจารย์เก

ยินดีคะ

หากอาจารย์มีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/email/webmaster คะ

อาจารย์มะปรางหวานครับ.....ผมปฏิบัติ และแก้ไขตามที่อาจารย์มะปรางชี้แนะมาให้แล้วครับ ขอบพระคุณอีกครั้ง ได้เรียนรู้ต้นทุนที่เป็นเชิงระบบมากขึ้น ทุกอย่างนำไปสู่การแบ่งปันความรู้ให้แก่คณะครูในสังกัดทั้งสิ้นครับ

ลุงเก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท