บทบาทกรรมการเขตพื้นที่...เมื่อทราบผลการสอบระดับชาติ NT


กรรมการเขตพื้นที่การศึกษามีบทบาทสำคัญในการกำกับ ติดตาม และส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ ผลการสอบ NT เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่เป็นทั้งตัววัดผลงานของเขตพื้นที่การศึกษา และตัวเร่งคุณภาพการจัดการศึกษาของเขตที่การศึกษา

 

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551  ผมได้ไปร่วมในการสัมมนา เรื่อง การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหลังจากทราบผลสอบระดับชาติ  NT  หรือ  O-NET”   โดยผมได้ขึ้นเวทีร่วมอภิปรายในหัวข้อ  เราจะนำผลการสอบ NT  ไปใช้ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนได้อย่างไร (ในมุมอมมองของประธานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา)  กิจกรรมครั้งนี้จัดโดย สพฐ. ถือเป็นกิจกรรมที่น่าชื่นชมมาก ที่ สพฐ.ปฏิบัติการ Action แบบทันทีทันใด หลังทราบผลสอบระดับชาติ(ทราบผลการ Check) และที่สำคัญ คือ ท่านเลขาธิการ สพฐ. คุณหญิง กษมา ขึ้นเป็นวิทยากร ให้ข้อคิดเห็นด้วยตนเอง ร่วมกับคณะวิทยากรอื่น ๆ ถือเป็น ปฏิบัติการแบบเร่งด่วนที่คมมากในสายตาของผม  

 

ในวันนั้น ผมได้นำเสนอ สิ่งที่กรรมการเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 ได้ปฏิบัติหลังจากทราบผลสอบ NT คือ

·       ผมในฐานะประธานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาได้ประสานกับท่านผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้นำเรื่องผลการสอบ NT เข้าที่ประชุมกรรมการเขตเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 อันที่จริง สำหรับเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2  แล้ว แม้ผมในฐานะประธานกรรมการ จะไม่ประสานงานไปยังเขตพื้นที่  ผมเชื่อว่า เรื่องนี้ก็อยู่ในความสนใจของท่านผู้อำนวยการเขตพื้นที่อยู่แล้ว  ท่านก็เตรียมการนำเสนอต่อที่ประชุมอยู่แล้วครับ

·       กรรมการเขตพื้นที่ฯ ได้ร่วมกันวิพากษ์ผลการสอบโดยภาพรวมของเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 และเสนอให้เขตพื้นที่ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อวิเคราะห์ผลการสอบในเชิงลึก เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ในปี 2549  (ในปี 2549 เขตพื้นทำการวิเคราะห์ วิจัยผลการประเมิน NT ในเชิงลึกที่น่าสนใจมาก)ทั้งนี้ได้ย้ำให้ Plot Graph จำแนกคุณภาพโรงเรียนในเขต(ดูวิธีการเขียนกราฟที่ 

                     http://gotoknow.org/file/pibool_kurupatana/view/176831)

·       ขอให้เขตพื้นที่ประสานกับโรงเรียนทุกโรงในเขต ให้จัดสัมมนาวิเคราะห์ผลการสอบโรงเรียนตนเอง โดยวิเคราะห์เชิงลึกเป็นรายกลุ่มสาระ  รายห้องเรียน  หรือ ผู้สอนรายคน  ในการวิเคราะห์ของโรงเรียนแต่ละโรง ให้ทำตามแนวทางที่นำเสนอไว้ที่ 

     http://gotoknow.org/blog/sup001/181132

·       ขอให้เขตพื้นที่แจ้งให้โรงเรียนทุกโรง กำหนดเป้าหมายคะแนน NT ปี 2551 (ปีต่อไป)  พร้อมจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพ NT( ให้มีการเซ็นสัญญาคุณภาพ หรือ  MOU ระหว่างโรงเรียนกับเขตพื้นที่  โดยเสนอแนะว่า ในระดับโรงเรียน  หัวหน้ากลุ่มสาระก็ควรเซ็นสัญญาคุณภาพ  MOU กับผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย)

 

นอกจากการนำเสนอแนวปฏิบัติในการนำผลการสอบ NT ไป

ใช้แล้ว  ในการอภิปรายรอบที่ 2 ผมได้นำเสนอแนวทางการพัฒนางานของเขต ในปี 2551  ซึ่งโดยสรุป ได้ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาคุณภาพระดับจังหวัด โดยนำเสนอรายละเอียดไว้แล้วที่

 

       คำถามที่น่าสนในในวันนั้น คือ  1) การใช้ค่าเฉลี่ยประเทศเป็นเกณฑ์ในการจำแนกคุณภาพโรงเรียน มีความเหมาะสมหรือไม่   และ 2) โรงเรียนควรมีแนวในการสัมมนาวิพากษ์ผลการสอบ NT อย่างไร ซึ่งในประเด็นที่ 2 หลังจากที่ผมตอบในที่ประชุมแล้ว ผมได้เขียนไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/sup001/178244   ส่วนในประเด็นที่ 1 นั้น ในวันนั้น ผมได้อธิบายให้ที่ประชุมรับทราบ สำหรับรายละเอียดคำอธิบาย ผมจะเขียนอธิบายในโอกาสต่อไปนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 182327เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีใจที่เห็นผล Action เกิดขึ้น แต่ทึ่งรูปใหม่มากกว่า อิอิๆๆ

  • ขอบคุณมากครับ อ.ขจิต
  • กลัวคนจะไม่รูจัก เลยเปลี่ยนรูปนะครับ  อิ อิ
  • มีเรื่องฝากบอกนะครับ ลูกสาวผมเข้าไปดู Blog สอนภาษาของอาจารย์แล้ว มาถามผมว่า "อาจารย์คนนี้ทำงานอยู่ที่ไหนค่ะพ่อ ดูเก่งมากเลย"(ลูกสาวผมเรียนสายศิลป์ ครับ เปิดเทอมนี้ จะเข้าเรียนที่ TU เอกภาษารัสเซีย คาดว่าคงจะใช้บริการ Blog ของอาจารย์ขจิตแน่ ๆ)

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ด้วยความยินดีครับ แปลกๆๆคืออะไรทราบไหมครับพี่อ้อย (สิริพร กุ่ยกระโทก) เป็นพี่สาวพวกเราใน gotoknow พบกันบ่อยๆๆ ผมตั้งใจว่าจะใช้บันทึกช่วยกันพัฒนาครูสอนภาษาทำเป็นเหมือนคลินิกวิชาการทางภาษาอังกฤษครับ..

  • ดีมาก ๆ เลยครับ ผมจะ ปชส.ให้ครูภาษาอังกฤษเข้ามาเรียนรู้/แลกเปลี่ยนนะครับ  เป็นช่องทางในการพัฒนาครู "แบบสั่งสมความรู้รายวัน" ที่มีประสิทธิภาพ(ได้ผลดี แบบต้นทุนถูก)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท