การปฐมพยาบาลเบื้องต้น…ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม...


ฉุกเฉิน..ตั้งสติก่อนแล้วกด...1669….

             การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญมากในการที่จะทำให้การรักษาคนบาดเจ็บเกิดความปลอดภัยมากขึ้นและลดการพิการที่อาจจะเกิดจากการเคลื่อนย้ายคนเจ็บในกรณีที่มีกระดูกส่วนอื่นๆหักร่วมด้วย ซึ่งเวลาที่มีอุบัติเหตุหรือเหตุด่วนเหตุร้ายเกิดขึ้น หน่วยงานที่จะไปถึงสถานที่เร็วที่สุด บางทีก็เป็นหน่วยทีมฉุกเฉินนเรนทร์ทร รพ.ราชวิถี, ศูนย์กู้ชีพเลิดสิน รพ.เลิดสินหรือทีมฉุกเฉินในเครือ มูลนิธิต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยผู้ป่วยได้ถูกวิธีเพราะได้รับการฝึกมาอย่างดี

                             

            พลเมืองดีหรือผู้ประสบเหตุที่มาถึงก่อนทีมดังกล่าว ซึ่งบางทีความปารถนาดีในการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ดังกล่าว อาจทำให้การช่วยเหลือคนเจ็บไม่ถูกวิธี อาจทำให้อันตรายเป็นอัมพาตได้หรืออาจทำให้ผู้ช่วยเหลือเองได้รับอันตรายจากการเข้าไปช่วย เนื่องจากไม่ได้ประเมินสถานการณ์ก่อน เช่น การที่คุณคริสโตเฟอร์ เข้าไปช่วยคนเกิดอุบัติเหตุบนไหล่ทาง แล้วเป็นช่วงที่มืดทำให้รถอื่นมองไม่เห็น โดนรถชนจนได้รับอุบัติเหตุซ้ำสอง ส่งผลกระทบถึงสุขภาพถึงปัจจุบันและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และเหตุการณ์เมื่อเร็วๆนี้ที่พระเมาอาละวาดคลุ้มคลั่งแทงตัวเอง พลเมืองดีเห็นเหตุการณ์จะเข้าไปช่วย เลยโทรบอกตำรวจให้เอารถพยาบาลมารับ แต่เหตุการณ์ไม่คาดคิดพระก็ลุกขึ้นเอามีดมาแทงคนนั้นจนตายแล้ววิ่งข้ามถนนมาแทงอีกคนหนึ่งสาหัสมาตายที่รพ. เหตุการณ์เหล่านี้พลเมืองดีกลายเป็นผู้ได้รับเคราะห์แทน ดังนั้นการประเมินสถานการณ์ ประเมินสภาพผู้ป่วยสำคัญมาก

                    

          สถาบันมะเร็งแห่งชาติ คำนึงถึงเรื่องนี้ได้จัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแก่บุคลากรที่สนใจในวันที่ 12-13 พ.ค.51 ได้เรียนรู้และพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งได้ประโยชน์อย่างมาก อย่างน้อยเราก็จะได้รู้วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อเราพบเหตุการณ์เกิดขึ้น ก่อนที่เจ้าหน้าที่ที่ชำนาญการไปถึง ซึ่งการอบรมครั้งนี้ต้องขอบคุณทีมศูนย์กู้ชีพเลิดสิน โรงพยาบาลเลิดสิน ที่มาเป็นวิทยากรในการสอนวิธีการต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ผู้เขียนจึงนำสิ่งสิ่งที่คิดว่าเป็นประโยชน์จากการอบรมและข้อมูลที่ได้รับมาเล่าสู่กันฟัง

                               

          การประเมินสถานการณ์

          เป็นสิ่งแรกและสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการประเมินสภาพผู้ป่วย เริ่มตั้งแต่เข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ ต้องพิจารณาดูว่ามีสิ่งใดที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตนเองได้ เพื่อความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้ท่านกลายเป็นคนเจ็บเสียเอง

                            

          ขั้นตอนในการปฏิบัติ ณ. จุดเกิดเหตุ

1.      การป้องกันตนเองจากสิ่งต่างๆ เช่น ถุงมือ ผ้าปิดจมูก เสื้อคลุม แว่นป้องกันดวงตา

2.      ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุเช่น ที่เกิดระเบิด รถชนอาจมีการระเบิดซ้ำจากแก๊สหรือถังน้ำมัน คนร้ายมีอาวุธแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรง สารพิษเช่นบริเวณมีออกซิเจนไม่เพียงพอ การระวังผู้อื่นที่อยู่ในเหตุการณ์ไม่ตกเป็นผู้บาดเจ็บเสียเอง ถ้าสถานการณ์ไม่ปลอดภัยต้องทำให้ปลอดภัยเสียก่อน

·       ความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุ ถ้าอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวต้อง

1.      จอดรถให้ห่างที่เกิดเหตุ 100 ฟุตหรืออยู่เหนือลม

2.      สังเกตและวิเคราะห์เกี่ยวกับเหตุการณ์ได้แก่

-          เหตุฉุกเฉินหรือการบาดเจ็บ

-          จำนวนผู้ป่วย/ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

-          แหล่งช่วยเหลือที่เราต้องการ และสามารถขอความช่วยเหลือได้เร็วหรือไม่

-          ถ้ามีความเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์ที่ได้รับ ต้องหาวิธีลดความเสี่ยง

3.  ในสถานการณ์การทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นทำร้าย ต้อง

·       ไม่ควรเข้าไปในสถานการณ์นั้น จนกว่าตำรวจจะบอกว่า 

ปลอดภัย

·       จัดและเปิดทางสำหรับออกไปได้ตลอดเวลา

·       ยึดมั่นว่าเราเป็นบุคลากรสาธารณสุข ไม่ใช่ตำรวจ

·       บอกกับบุคคลที่สิ้นหวังว่า เรามาช่วยเหลือ

·       อธิบายสิ่งที่เราทำในน้ำเสียงที่สงบ มั่นใจ และจริงใจ

3.      กลไกการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ เช่นโรคทั่วไปหรือการบาดเจ็บ ต้องสอบถามผู้อยู่ในเหตุการณ์ พิจารณาจำนวนผู้ป่วย ขอความช่วยเหลือ คัดแยกผู้ป่วย

4.      ความรุนแรงของอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ คาดการณ์จากเหตุที่เกิด ลักษณะแรงกระแทก สาเหตุ จุดเกิดเหตุ

5.      จำนวนผู้บาดเจ็บ

6.      การร้องขอความช่วยเหลือ

7.      การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น

 

การประเมินผู้ป่วยขั้นต้น

1.      การประเมินผู้ป่วย เป็นขั้นตอนแรกในการให้การช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อค้นหาปัญหาและความพร้อมให้ความช่วยเหลือภาวะคุกคามชีวิต

2.      เป็นแนวทางนำไปสู่ลำดับก่อนหลัง ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยอาศัยประเมินสถานการณ์ และอาการสำคัญของผู้ป่วย

สิ่งที่ต้องทราบในการประเมินผู้ป่วย

1.      ผู้ป่วยกำลังอยู่ในภาวะคุกคามชีวิตหรือไม่

2.      ภาวะที่เกิดขึ้นเป็นความเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

3.      ข้อมูลพื้นฐาน เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ

4.      ถ้าเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ ควรจะทราบกลไกการบาดเจ็บ

5.      ถ้าเกิดจากการเจ็บป่วย ควรทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้น เช่น การหายใจลำบาก อาการเจ็บหน้าอก

 

การประเมินทางเดินหายใจ

1.      ถ้าผู้ป่วยพูดคุยหรือร้องไห้ได้ แสดงว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องทางเดินหายใจ

2.      ถ้าทางเดินหายใจไม่เปิดโล่ง ต้องรีบล้วงเศษอาหาร สิ่งแปลกปลอมและดูดเสมหะทันที

3.      แต่ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว จะต้องทำการเปิดทางเดินหายใจและตรวจสอบการหายใจ

-  ใช้ตา ดูการเคลื่อนไหวของส่วนอก ท้อง

     -  ใช้หู   ฟังเสียงลมหายใจ

     -  ใช้แก้ม สัมผัสรับความรู้สึกว่ามีลมออกมาจากจมูก

 

การประเมินระบบการไหลเวียนเลือด

1.      ประเมินระบบไหวเวียนเลือด คือการตรวจชีพจร ทำได้โดยคลำข้อมือ โดยจะประเมินอัตราการเต้นและความแรงของชีพจร

-  ถ้าผู้ป่วยชีพจรเบาหรือคลำไม่ค่อยได้ให้คลำชีพจรที่คอซึ่งเป็นตำแหน่งทีตรวจได้ง่าย

    2.  ตรวจดูบาดแผลการเสียเลือด ถ้าออกมากต้องห้ามเลือด

    3.  ตรวจดูสีและอุณหภูมิของผิวหนัง

          - สีผิวหนัง ดูที่ เล็บ ริมฝีปากและตา : ซีด เขียวคล้ำ แดงเกินจริง เหลือง

         -  อุณหภูมิ โดยแตะดูที่มือและเท้า : เย็นและชื้น

    4.  ตรวจการไหลเวียนกลับของเลือดเข้าสู่หลอดเลือดฝอย

 

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ

จุดประสงค์    เพื่อช่วยชีวิต ลดความรุนแรง บรรเทาความเจ็บปวด ป้องกันความพิการ ผู้ป่วยหายกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว

หลักการห้ามเลือด

1.      ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง ป้องกันความติดเชื้อ

2.      ใช้ผ้าสะอาดพับหนาๆ กดลงบนบาดแผลหรือผ้าเช็ดหน้า

3.      ใช้ผ้ายึดพันทับบนบาดแผลที่กด

4.      ถ้ายังมีเลือดออกอีกให้พันผ้าหลายๆชั้น

ถ้าเลือดออกมาก ให้ใช้มือกดบนบาดแผลพร้อมทั้งยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าหัวใจ ถ้ามีกระดูกหักร่วมด้วยห้ามยก

 

บาดแผลที่มีวัสดุหักคา 

-          ถ้าพบวัสดุหักคาอยู่ที่ผล ห้ามดึงออก

-          ให้ยึดวัสดุนั้นไว้ให้อยู่นิ่ง รีบนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล

บาดแผลที่มีอวัยวะส่วนปลายถูกตัดขาด

-          กดและยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูง

-          ส่วนที่ขาดใส่ถุงพลาสติกที่แห้งและสะอาด แช่ลงในน้ำแข็งผสมน้ำ

-          ส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลพร้อมอวัยวะส่วนที่ขาด

การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

-          หยุดยั้งความร้อน ดับไฟโดยใช้น้ำราดหรือใช้ผ้าหนาๆคลุมตัว

-          ถอดเสื้อผ้าที่ไหม้หรือถูกน้ำร้อนและถอดเครื่องประดับออกก่อนที่แผลจะบวม

-          แผลไหม้เฉพาะผิวหนัง ระบายความร้อนออกโดยใช้น้ำเย็นหรือแช่ลงในน้ำหรือเปิดน้ำไหลผ่านนาน 10 นาที

-          ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดส่วนที่พองออก (อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้)

-          ปิดด้วยผ้าสะอาด ถ้าแผลไหม้กว้างนำส่งโรงพยาบาล

-          แผลลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง  ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากแผล

-          ห้ามใส่ยาใดๆทั้งสิ้นบนบาดแผล ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น รีบนำส่งโรงพยาบาล

ไฟฟ้าดูด     -  ให้รีบช่วยผู้บาดเจ็บออกจากสายไฟโดยรีบปิดสวิทซ์หรือคัดเอ้าท์ไฟฟ้า

                 -  ถ้าปิดไม่ได้ให้ใช้ผ้าหรือเชือกยาวๆและแห้งคล้องตัวผู้เจ็บป่วย

                 - ดูการหายใจ ถ้าไม่หายใจต้องช่วยหายใจ ถ้าหัวใจหยุดเต้นต้องปั้มหัวใจ

                 -  อันตรายขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าและระยะเวลาที่สัมผัส

ข้อเคล็ด/ข้อแพลง   -  ข้อมีการเคลื่อนไหวมากเกินปกติทำให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ

                               อ่อนที่อยู่รอบๆข้อ                            

หมายเลขบันทึก: 182318เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

                           สาเหตุ    หกล้ม ตกหลุม หรือเล่นกีฬา

                           อาการ     ปวดข้อ กดเจ็บ บวม ช้ำ เคลื่อนไหวข้อได้น้อย

                          การปฐมพยาบาล   ให้ข้อพักนิ่งๆ  ยกมือหรือเท้าที่เคล็ดให้สูง 24

                          ชม.แรกประคบเย็น 24 ต่อไปประคบร้อน พันผ้ายืด ทานยาแก้ปวด               

                          ทายานวด ไม่ดีขึ้น/ปวดมาก พบแพทย์

ข้อเคลื่อน      สาเหตุ    เกิดจากแรงกระแทก ถูกกระชากอย่างแรง

                   อาการ    เคลื่อนไหวข้อไม่ได้ ปวดบวม รูปร่างงข้อผิดไปจากเดิม

                  การปฐมพยาบาล   ห้ามดึงกลับเข้าที่ ประคบด้วยความเย็น เข้าเฝือก

                  ชั่วคราวหรือใช้ผ้าพัน

กระดูกหัก      สาเหตุ  อุบัติเหตุทั่วไป ตกต้นไม้ บันได หกล้ม รถล้ม รถคว่ำ ตกรถ การ

                   เล่นกีฬา

                   อาการ   บวม ปวด กดเจ็บ หรืออาจมีรอยฟกซ้ำ รูปร่างของกระดูกผิดไป

                   จากเดิม เคลื่อนไหวจะเจ็บมากมีเสียงกรอบแกรบ เป็นแผลเปิดมีกระดูก

                    โผล่ออกมา

                    การปฐมพยาบาล 

-          ถ้ามีเลือด ควรห้ามเลือดก่อน

-          ดาม / เข้าเฝือกกับกระดูกส่วนที่หักให้อยู่นิ่ง

-          หักกระดูกโผล่ ห้ามดึงกลับเข้าที่ จะทำให้ติดเชื้อ ควรใช้ผ้าสะอาดปิดและเข้าเฝือกส่งโรงพยาบาล

เป็นลม    หมดสติในระยะสั้น

สาเหตุ          -    จากเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย

-          จากปฏิกิริยาของการปวด กลัว หรือเสียใจ อ่อนเพลีย

-          จากการออกกำลังกายนานๆเลือดๆไปเลี้ยงส่วนล่างของร่างกายมากไปเลี้ยงสมองน้อยลง

อาการ           -   หมดสติไปชั่วขณะ ชีพขจรเต้นช้า หน้าซีด

การปฐมพยาบาล    -  เป้าหมายคือการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดสู่สมอง

-          ให้นอนราบ ยกปลายขาสูงขึ้น เพื่อให้เลือดไปลี้ยงสมองได้ดีขึ้น

-          ให้ได้รับอากาศที่ถ่ายเท โดยการกันคนมุงดู

-          ดมยาดม บีบนวดให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

งูกัด     การปฐมพยาบาล

-          ใช้ยางหรือเศษผ้ารัดเหนือและใต้แผล ลดการเคลื่อนไหว เพื่อลดการที่พิษเข้าสู่หัวใจ

-          ล้างบาดแผลด้วยน้ำและสบู่

-          ถ้ามีน้ำแข็งให้นำมาประคบบริเวณบาดแผล

-          ห้ามกรีดแผล

-          ไม่ให้ผู้ป่วยดื่มเหล้า

-          ถ้าสามารถตีงูให้ตายได้ให้นำมารพ.ด้วย( งูเห่า จงอาง มีอาการง่วงซึม พิษมีผลต่อระบบประสาท ต้องพยายามให้คนป่วยรู้สึกตัวตลอดเวลา , งูทะเล จะมีผลต่อกล้ามเนื้อ , งูเขียวหางไหม้ จะทำลายระบบเลือด

-          ถ้ารอยเขี้ยว 2 รอย แสดงว่าเป็นตะขาบหรืองูมีพิษ

-          ถ้ารอยฟันซี่เล็กๆ เป็นงูไม่มีพิษ

 

การที่รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างน้อยก็ทำให้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ สิ่งสำคัญต้องมีสติไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ประเมินสถานการณ์ในการช่วยเหลือ อย่าละเลย  โทร1669  เบอร์ฉุกเฉิน พร้อมรายงานรายละเอียดที่สามารถประเมินได้ การปลอบผู้ป่วยว่าคนกำลังมาช่วย ทำใจดีๆไว้ เรากำลังนำคนมาช่วย คุณจะปลอดภัย  อย่างน้อยเราควรมีใจช่วยเหลือกันเท่าที่ช่วยได้ อย่าวางเฉย เป็นเพียงไทยมุงแล้วปล่อยไปโดยไม่ทำอะไรเลย. 

อุบัติเหตุบ้านเราถ้ามีการปฐมพยาบาลดีๆๆจะเกิดความเสียหายได้น้อยกว่าไม่มีการปฐมพยาบาลนะครับ ตามมาดูพี่ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

  • ถ้าไทยมุงมีการช่วยเหลือเบื้องต้นด้วย
  • อัตราการรอดและบาดเจ็บคงลดลงเยอะค่ะ
  • คนไทยไม่แล้งน้ำใจ...ช่วยกันนะคะ.
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ.

ถ้าเห็นคนเจ็บก็ควรช่วยกันไมใช่ยืนมุง

สวัสดีค่ะคุณป่าน

  • ดีใจอยากให้มีคนคิดอย่างคุณป่านมากๆค่ะ.
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม
  • และยืนยันในการมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท