ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อแก้ความยากจน (ของต่างประเทศ 2547)


บราซิล เป็นประเทศส่งออกอาหาร อันด้บ 5 ของโลก แก้ความยากจนด้วย..

จากแหล่งข่าว ซึ่งได้จากรายการเรื่องเล่าเช้านี้ วันจันทร์ที่ 12 พ.ค.นี้ พิธีกรสาว ในรายการ ได้เล่าว่า ประเทศไทยเรา ส่งข้าวออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งยางออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ส่งมันเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่เมื่อทั่วโลกได้จัดอันดับของครัวโลก ปรากฏว่าไทยเราอยู่อันดับที่ 15 ในขณะที่ประเทศที่ส่งออกเป็นครัวโลกตัวจริง คือ อันดับหนึ่ง สหรัฐอเมริกา สองเป็นฝรั่งเศส สามเป็นเนเธอร์แลนด์ สี่เป็นเยอรมัน ห้าเป็นบราซิล ...

การที่เราจะแก้ปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรให้สามารถอยู่ได้ทัดเทียมกับอาชีพอื่น ๆ นั้น  ประเทศชาติได้ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้ได้อย่างไร? 

หรืออีกนัยยะหนึ่ง เราต้องก้าวเป็นครัวโลก อันดับหนึ่งให้ได้(เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน แบบก้าวหน้าครับ) แล้วเราจะทำได้หรือเปล่า???....อีกกี่ปีครับ(และไม่ใช่ให้ซีพีจัดการครับ) วิสัยทัศน์มีหรือไม่(ภาพฝันว่า 10 ปีข้างหน้าเราจะเป็นครัวโลกให้ได้)

แผนงาน 5 ปี มีมั้ย 10 ปีมีมั้ย หรือ 100 ปีมีมั้ย....เป็นต้น

แนวทางการดำเนินงานหล่ะครับ.........ยกตัวอย่าง ประเทศบราซิล  เมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขายังเป็นประเทศที่ยังต้องแก้ปัญหาความยากจนที่มีช่องว่างอยู่ครับ..

แก้อย่างไร? ไทยเราก็เคยไปเอาความรู้เขามาครับ..

ตัวอย่าง...

ปี 2000 UNDP รายงานว่ามีคนจนอยู่ 15 %  ส่วนเป็นประชากรผิวดำ  และอยู่ในชนบท  ใช้งบประมาณทางสังคมมาก เป็น  2/3 ของทั้งหมด และคิดเป็น 1/5 ของGDP  ซึ่งสูงสุดในลาตินอเมริกา  แต่ผลประโยชน์ยังตกอยู่กับกลุ่มชนชั้นกลาง และคนร่ำรวยของประเทศ  ตัวอย่างเช่น  ด้านการศึกษาคนยากจนที่สุดในประเทศเกือบ 3/5 ไม่ได้รับการศึกษาเบื้องต้นเลย แม้แต่น้อย  90% ของยากจนไม่ได้เรียนมัธยม หรือสูงกว่านั้น  ซึ่งการศึกษาระดับกลางและสูง มีแต่คนร่ำรวยได้เรียนกัน   ...

การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมีคุณภาพต่ำ  และไม่ให้บริการคนจน  จึงเสนอให้ยกเลิกโครงสร้างรายจ่ายทางสังคมแบบเดิมลง....

ปัญหาความยากจน และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในบราซิล คือ

1. เรื่องความมั่นคงทางอาหาร

2.เรื่องพัฒนาการเกษตร

3.การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ปฏิวัตสีน้ำตาล)

4.ความเป็นธรรมและ ความยุติธรรมทางสังคม

5.ความยากจนในกลุ่มผู้หญิง

6.ปัญหาการถูกแยกทางสังคม (S.exclusion)

7.ปัญหาความรุนแรง

แนวยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาฯ คือ

1.ออกกฏหมาย

2.การวาง Nation Agenda

3.โครงการระดับชาติ(เรื่องยกเลิกการสารณสุขเพื่อคนรวย,การสร้างสวัสดิการหลังเกษียณแก่คนจน,สนับสนุนให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหารแก่คนจน ,เป็นต้น)

4.การกระจายอำนาจ

5.การร่วมมือ พหุภาคีและทวิภาคี

ปี 2008 บราซิลพัฒนาตัวเองเป็นประเทศที่มีคนยากจนน้อยลง ...50% ของประชากรทั้งหมด มีความรู้ด้านโภชนาการอาหาร,มีการศึกษาภาคบังคับสูงขึ้น,มีรายได้ ประชาชาติ สูงกว่าเดิม(ปี 2000),และเป็นอันดับ 5 ของครัวโลก (ส่งออกอ้อย, เอธานอล,ไบโอดีเซล อับดับหนึ่งของโลก)

หลายประเทศที่เปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ไทยเรายังไปไม่ถึงไหนเลยครับ....

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 182208เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ ....อาจารย์สมพงศ์..

* การพัฒนาการเกษตรบ้านเราคงไม่เดินหน้าต่อไปในลักษณะโครงสร้างใหญ่แล้ว

* ธุรกิจส่งออก และอุตสาหกรรมการเกษตรจะตกอยู่ในมือของคนไม่กี่กลุ่ม

* กลไกการตลาดไม่เอื้อให้เรา เป็นครัวโลกครับ

* ความมั่นคงทางอาหาร จะเกิดขึ้นได้โดยวิธีเดียว คือ การปลูกกินเอง ปลูกใช้เองครับ

* การจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมจะกลับคืนมาถ้าใช้เกษตรทฤษฏีใหม่ครับ

* วิสาหกิจชุมชน จะเป็นเรื่องราวของคนในชุมชนแท้จริงก็ต่อเมือ อบต.เล่นด้วย

* เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวก็จะน้อยลงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

* สังคมที่น่าอยู่ก็จะกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานมากแล้วครับ

สวัสดีครับ ....คุณ ม.ชีวิต ครับ

ขอบคุณสำหรับคำพยากรณ์การพัฒนา (เหมือนศูนย์พยากรณ์ข้าว) และ คงไม่เป็นศูนย์เตือนภัยข้าว (ไม่รู้จะดีเท่ากับศูนย์เตือนภัยสึนามิหรือเปล่า ขณะจีนทำงานเรื่องแผ่นดินไหวมาก่อน ยังเสียหาย เกือบแสนคนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท