KM : PMQA กับ " ADLI "


ขึ้นรถตู้ก่อน ค่อยไปหาเป้าหมายหรือเปล่า

KM : PMQA กับ   ADLI  

****************************

·        หลายครั้งดิฉันก็ปฏิเสธอาหารรสชาดแปลกๆ เพราะความไม่เคยชิน

·        แต่อีกหลายครั้งดิฉันก็ชอบลองชิมอาหารแปลกๆ เพราะมันให้ความรู้สึกแบบไม่เคยมี

·        มาวันนี้ PMQA กับKM กลับกลายเป็นเรื่องเดียวกัน (7 in 1)  ก็ดูว่า...น่าจะดี       

               ... KM เป็นองค์ประกอบหมวด4 (4.2) ของPMQA … (PMQAมีองค์ประกอบ 7 หมวด) 

·        และหากเรามองบวกในลบ ... ตัดความวุ่นวายในใจ ตัดความไม่คุ้นเคยในเครื่องมือ และตัดความรู้สึกลบๆไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ... ออกไปซะ ... โอ้!!!!  ทุกอย่างล้วนมีดี

·        มาวันนี้จึงมีเรื่องดีๆมาเล่าให้ฟังค่ะ  ว่าด้วย Concept “ ADLI ”

 

PMQA มีรายละเอียดซึ่งท่านผู้สนใจสามารถสืบค้นในการเรียนรู้ได้จากหลายแหล่งนะคะ  แต่สำหรับวันนี้ที่จะมาเล่าให้ฟังเป็นเรื่องราวที่ดิฉันขอหยิบยกบางประเด็นมาเป็นของฝาก ซึ่งมีที่มาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพคณะทำงานPMQAของหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กรุงเทพมหานคร ที่มีอาจารย์ถิระ ถาวรบุตร จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เป็นวิทยากร

 

“ ADLI ” เป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินตนเองตามเกณฑ์ PMQA (PMQA Public Sector management Quality Award)   ซึ่งหากหน่วยงานใดใช้ PMQA เป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์กร ก็คงเป็นที่รู้กันว่าเราควรและจะต้องเรียนรู้จักองค์กรตนเองได้เป็นอย่างดีเสียก่อนจึงจะพัฒนาองค์กรได้อย่างถูกทิศถูกทาง  

และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตนเองมี 2 อย่างค่ะ  คือ 

·        การประเมินกระบวนการใช้ ADLI : A = Approach  D = Deployment   L = Learning   I = Integration  

·        และการประเมินผลลัพธ์ใช้  LetcLi  : Le = Level,  T = Trend,  C = Comparison,  Li = Linkage)

... แต่วันนี้ที่จะขอเล่าให้ฟังเฉพาะ ADLI นะคะ  ... เพราะวิทยากรท่านพูดเน้นเฉพาะ  ADLIค่ะ

การประเมินตนเองตามเกณฑ์PMQA จะมีคำถามที่คุณต้องตอบเพื่อการประเมิน 105 คำถาม และทุกข้อจะต้องตอบให้ครบตาม “ ADLI ”  ด้วยค่ะ

Concept “ ADLI ”  

·        เป็นการถามหาแนวทางการทำงานที่เคยทำมา (ซึ่งอาจารย์ถิระ ย้ำว่า... ให้เล่าอดีตตามความจริง ไม่ใช่แนวคิด เพราะแนวคิดเป็นอนาคตนะครับ)  ซึ่งเกณฑ์ฯ...จะประเมินคุณภาพของระบบ ดูความครอบคลุม    ถามหากระบวนการ    กิจกรรมสำคัญที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

A = Approach  เกณฑ์จะถามว่า หน่วยงานได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานของกระบวนการนั้นๆอย่างเป็นระบบหรือไม่   คงเส้นคงวาหรือไม่  สามารถทำซ้ำได้มั๊ย  (เป็นApproachของงาน  ไม่ใช่ของคน)

D = Deployment   การนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งจะดูความครอบคลุมทั้งแนวลึก /กว้างกับคนทุกระดับ 

L = Learning   เป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุง ดูว่าเมื่อมีการดำเนินการตามแนวทางนั้นแล้วมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนที่ได้ และนำไปปรับปรุงกระบวนงานนั้นหรือไม่

I = Integration   กระบวนงานที่ว่านั้นทั้งแผนงาน การปฏิบัติ การประเมินผลตามตัวชี้วัดมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ และผลการดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าประสงค์ขององค์กรหรือไม่

ตัวอย่างที่อาจารย์หยิบยกให้ฟัง เช่น

·        ขึ้นรถตู้ก่อน ค่อยไปหาเป้าหมายหรือเปล่า

·        คุณรู้จักความต้องการของผู้รับบริการหรือยัง .... หรือ ยิงธนู...ไม่รู้เป้าหมาย

·        องค์กรให้ความสำคัญกับบุคลากรหรือไม่  เพราะ...  บุคลากรไม่ใช่ชุดนอน ไม่ชอบก็เปลี่ยน

·        คาถารุ่งโรจน์ที่อาจารย์บอกว่า ใช้เป็นประจำ คือ คิด ทำ ปรับ

·      การทำงานมีการบูรณาการกันมั๊ย หรือต่างคนต่างกอด KPI  เช่น  ฝ่ายหนึ่งก็จะต้องเร่งให้งานบรรลุวิสัยทัศน์ซึ่งระหว่างวันก็มีการประชุม  ดังนั้นหลัง 4 โมงจึงจะมีเวลามานั่งทำงานประจำ   แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็จะต้องปิดแอร์ เพราะต้องการประหยัดไฟ... จะต้องมองทั้งchain…นะครับ คือ คิดให้ดี   จึงจะกระทำดี

 

สิ่งที่ผมดู   ในฐานะคนประเมิน คือ

·      ถ้าไม่มี Approach อย่าหวังจะมี Deployment  

       (ถ้าไม่มี Approach  แต่มี Deployment  .... ต้องบอกว่า เป็นการทำตามประสบการณ์)

·      Approach ที่ดี ควรมี 5 W 1H  [ Why  What   How    Who    When    Where]

·        ขั้นตอนดูคุณภาพ …จะดูที่ Approach + Integration

·        การทำงาน ... ดูลูกค้าและ ดู vision /  mission

·        เวลาพูดถึง Trend (แนวโน้ม)  ...  จะหมายถึง ดูแนวโน้ม 3 ปีย้อนหลัง

        และจะให้ค่าประเมินว่า ... มีแนวโน้มทางบวก ... เมื่อกราฟแสดงทิศทางสูงขึ้น ...นะครับ

·        การดูคู่เทียบ  ... ต้องเป็นคู่เทียบ(Benchmark)ที่เหมาะสมกันนะครับ

·       เวลาดูเรื่อง ความครบถ้วนของตัวชี้วัดที่จำเป็น... KPIที่ได้ไม่ควรมีเฉพาะตามคำรับรอง

       ควรเป็นKPIที่แสดงศักยภาพที่แท้จริง ... ดูคุณภาพตัวชี้วัดด้วยครับ...

·      การประเมินPMQA ไม่ใช่แค่การ ตอบข้อคำถาม หรือ Fill ข้อมูลลงในTemplate  

       แต่อยากให้วิเคราะห์ เรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กรด้วย

·       และคำว่า BSC : Balance Scorecard  นั้น  ...  Balance หรือ สมดุล  ไม่ได้แปลว่า  equal   นะครับ

·       สมดุล หมายถึง ความครอบคลุมทุกเรื่องกับโอกาส และความท้าทาย

 

เพียงไม่ปฏิเสธ PMQA  ก็ได้เรียนรู้ (ADLI) มากกว่าที่คิด

คำสำคัญ (Tags): #km pmqa
หมายเลขบันทึก: 181089เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ขอบคุณค่ะ ทำให้ได้ซึมลึกอีกครั้ง กับ ADLI ใน PMQA
  • จะได้เข้าใจได้มากขึ้น มากขึ้น และมากขึ้น ดีจริงๆ

ขอบคุณทั้ง 2 ท่านที่มาทักทาย แถมการ์ตูนน่ารักซะด้วย

โอ้โห..เข้าใจได้ดีแบบง่ายๆจริงๆค่ะ เพิ่งมีโอกาสได้เข้ามาเก็บเกี่ยว แต่ว่า..ไม่มีคำว่าช้าสำหรับการเรียนรู้ ..ขอบคุณค่ะ

สั้น กระชับได้ใจความ

  • ประกาศๆๆ
  • หายไปนานมาก
  • สมาชิกคิดถึง
  • ฮ่าๆๆๆๆๆ
  • เอามาฝาก

มาแอบเก็บความรู้ไปใช้ประโยชน์ครับ ขอบคุณ

ขอบคุณสำหรับความรู้ ดีๆ..ในวิธี..ง่ายๆ OK..KKKค่ะ..ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ ทำให้มีกำลังใจขึ้นมากเลยค่ะ

รุ้จัก ADLI มากขึ้น เพราะเพิ่งทำ PMQA ขอบคุณค่ะ

ทำยังไง PMQA จะถึงฝั่งฝัน และค่อยเดินไปสู่ผู้บริหารทุกคนเสียก่อน เท่านั้นเอง ที่ขอในปีนี้ และปีหน้า

เฮ้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท