กลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ สวทช.


ส่วนหนึ่งจากการบรรยายของ ศ. ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 7 พ.ค. 2551

การถ่ายทอดเทคโนโลยีในโลกนี้ ระยะแรก เป็นการทำในมหาวิทยาลัย เพื่อนำเทคโนโลยีออกจากสถาบันการศึกษา ไปสู่การใช้งานในภาคเอกชน พัฒนาการมีมานานหลายยุคสมัย ดังนี้

การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะบรรลุผลได้ จำเป็นต้องมีกระบวนการดำเนินการในสองทิศทางประกอบกันไป คือจากแล็ปสู่ตลาด และจากตลาดสู่แล็ป ปัญหาก็คือคนที่ตลาดกันคนในแล็ปยังพูดกันคนละภาษา จำเป็นต้องมีคนเชื่อมโยง จำเป็นต้องมีล่าม นี่จึงเป็นบทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของ สวทช.

แนวคิดในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก่อนอื่นต้องตั้งหลักตั้งแต่ตอนเริ่มวิจัยว่า สิ่งที่จะทำวิจัยนั้นควรต้อง commercializable คือนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์ได้ การตั้งโจทย์ที่ถูกต้องนี้ต้องทำตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงานวิจัย

ปัจจบันนี้ สวทช. มีกลไกที่จะมองว่า งานวิจัยที่ำทำอยู่นั้นสามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ (commercializable) หรือไม่ กลไกนั้นก็คือ Cluster and Program Management Office (CPMO)

จึงมีการตั้งขึ้นมาเป็นกลุ่มเป้าหมาย เรียกว่าคลัสเตอร์ (clusters) และ้ใช้กลไก CPMO ช่วยพิจารณาดูตั้งแต่วันที่เริ่มทำวิจัยว่า งานนั้น ๆ commercializable หรือไม่

อีกกลไกหนึ่งคือ iTAP ตั้งขึ้นมาแล้ว 15 ปี เป็นกลไกที่มองตรงกันข้าม คือพยายามทำงานกับภาคเอกชนเพื่อดึงตลาดเข้ามาหาห้องแล็ป (จับเถ้าแก่ปีนบันไดเทคโนโลยีทีละขั้น) ช่วงแรก ๆ ยังไม่ค่อยเห็นภาคเอกชนมีงานที่นำมาเป็นโจทย์วิจัยในห้องแล็ป แต่ปัจจุบันนี้ประมาณ 5% มีการนำมาวิจัยในห้องแล็ปแล้ว

สำหรับกลไก CPMO เนื่องจากเริ่มจากห้องแล็ป ทรัพย์ิสินทางปัญญา (intellectual property / IP) ก็เป็นของ สวทช. แต่ถ้าเป็นกลไก iTAP เป็นการจ้างจากลูกค้าภายนอก IP ก็จะเป็นของลูกค้าคือภาคเอกชน

สิ่งที่ สวทช. ต้องการมากที่สุดคือ joint R&D เช่น ลงขันกันคนละครึ่ง เพราะเป็นเครื่องประกันว่า เมื่อทำได้ผลแล้วจะมีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์แน่นอน ไม่ต้องไปเร่ขาย จึงเป็นกลไกที่ครบวงจรมากที่สุด แต่กว่าจะเกิดขึ้นได้นั้นยากเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา
และต้องการ management มหาศาล เช่น ในกรณีการทำงานกับเอกชนรายใหญ่รายหนึ่ง กว่าจะทำสัญญาตกลงกันได้ใช้เวลาเกือบสองปี เป็นต้น

แถมท้ายด้วยเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่ง สวทช. ก็มีกลไกที่หลากหลาย เช่น กลไก TGIST เน้นส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัยกับนักวิจัย (และภาคเอกชน) กลไก SAL ซึ่งเป็นเงินของรัฐบาล ใช้เพื่อการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน และมี สวทช. เข้าไปช่วย manage และนำนักวิจัยของสวทช. เข้าไปร่วมวงด้วย ทั้งสองแบบนี้เดิมเรียกว่า tripartite หรือไตรภาคี ซึ่งมีศัพท์ใหม่เรียกว่า triple helix คือเป็นเกลียวสามสาย ในขณะที่ science camp เป็นการกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เป็น mass) พัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ และการบ่มเพาะเด็กอัจฉริยะ

ยังมีประเด็นน่าสนใจอื่น ๆ อีกมาก แต่วันนี้ขอรายงานจากห้องประชุมแค่นี้ก่อนครับ

หมายเลขบันทึก: 181083เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาอ่านครับ ได้ความรู้ในเชิงวิชาการเต็มๆ ฮา..แต่ปวดหัวจี๊ดๆ

  • ถ่ายทอดสดจากห้องประชุมบ่ายวันนี้ จึงไม่ได้ขัดเกลาใด ๆ ทั้งสิ้น เอาทั้งดิบ ๆ ยังงั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องเฉพาะทางเลยล่ะครับ
  • ขอบคุณท่านจอมยุทธ์ทั้งสองท่านนะครับที่แวะมาทักทาย
  • คุณกวิน ในเมื่อหลวมตัวมาอ่านแล้ว ถ้าปวดหัวก็คงช่วยไม่ได้เสียแล้วล่ะขรั่บ ไปขอยาแก้ปวดหัวจาก "ยัยพิณ" เอาเองก็แล้วกันน่ะขรั่บ หึหึ

เคยฟังเรื่องประมาณนี้จากสวทช. เหมือนกันครับ

แต่รู้สึกว่าเหมือนภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติยังไม่ใช่เรื่องเดียวกันอยู่ครับ

ขออนุญาตเรียนสอบถามค่ะ

หนูไม่แน่ใจว่ากำลังสับสนรึเปล่า เพิ่งจะเริ่มเรียนค่ะ

1.Collaboration มันมีผลกับการบริหารจัดการ กับ R&D ยังไงค่ะ (Technology Transfer กลไกที่ช่วยส่งเสริมการวิจัยมันเป้นอย่างไรค่ะ )

2.ทุนทางปัญญา-ทรัพสินทางปัญญา มันเกี่ยวยังไงกับการพัฒนาวิจัยเหรอค่ะ

ขอความอนุเคราะห์ด้วยค่ะ...พอดีจบอักษรมา แต่มาศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี รบกวนด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณมา ณ ดอกาสนี้ด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท