ลักษณะของงานแปลที่ดี


การตัดสินใจที่จะเลือกระหว่าง ความตรงกันของความหมาย หรือจะเลือกความสละสลวยของภาษาที่จะใช้ในฉบับแปล

อ่านไปอ่านมาก็มาเจอนี่ ความจริงน่าสนใจ

ลักษณะของงานแปลที่ดี

 

สิ่งที่มักประสบเวลาที่ต้องถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง (ไทย ß à อังกฤษ) คือ การตัดสินใจที่จะเลือกระหว่าง ความตรงกันของความหมาย หรือจะเลือกความสละสลวยของภาษาที่จะใช้ในฉบับแปล ดังที่อาจารย์ วรนาถ เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า

 

คยมีผู้กล่าวเปรียบเทียบงานแปลกับสตรีว่า งานแปลก็เหมือนกับผู้หญิง ถ้าสวยแล้วมักจะไม่ซื่อ (ผมเน้นอีกครั้งเผื่อพิมพ์ตกหรือพิมพ์ผิดว่า มีคำว่า มัก) แต่ถ้าซื่อแล้วมักจะไม่สวย (ดูว่า พิมพ์คำว่า มัก แล้ว) ที่ทั้งสวยและซื่อด้วยนั้นหายากความซื่อ ในการแปลก็คือความตรงกันในด้านความหมายของฉบับแปลและต้นฉบับ ส่วน ความสวย ก็คือ ความสละสลวยของภาษาที่ใช้ในฉบับแปล หากผู้แปลเน้นเรื่องความสวยคือ ความสละสลวยของภาษาแล้วก็มักจะต้องสละความซื่อ คือความตรงกันในเรื่องของความหมาย ว่าอาจจะไม่ได้ตรงกันนัก ในทางตรงกันข้ามหากผู้แปลมุ่งเรื่องความถูกต้องตรงกันในเรื่องความหมายเป็นสำคัญ ภาษาที่ใช้แปลนั้นก็อาจจะฟังดูไม่สละสลวยเท่าที่ควร ยากที่ผู้แปลจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งสองอย่างพร้อมกันได้ แต่งานแปลที่ดีนั้นก็คือ งานแปลที่มีคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้........

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #งานแปล
หมายเลขบันทึก: 180812เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ครูสอนแปลมักบอกว่าที่ไหนมีการแปลที่นั่นย่อมมีการแปลผิดครับ ฮ่าๆๆ ขอบคุณอาจารย์มากครับ..

ขอบคุณ อ.ขจิต

จริงอย่างที่อาจารย์ว่า ผู้แปลควรศึกษาจุดที่มักผิดบ่อยๆ อาจารย์วรนารถ ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ นั้นด้วย สนใจลองไปอ่านเพิ่มเติมครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

หนังสือวิชาการ คนแปลบางคนอาจจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวิชาการ โดยเฉพาะศัพท์เฉพาะในเรื่องต่างๆ มักจะให้ความหมายที่ไม่ถูกต้อง

ส่วนหนังสือวรรณกรรม นิยายต่างๆ อันนี้พอรับได้ เพราะว่าต้องใช้คำสละสลวย เพื่อให้มีความน่าอ่าน ถึงจะไม่ซื่อก็เหอะ ถ้าซื่อแล้วยอดขายหนังสืออาจจะไม่ดี

แต่ถ้าคนเก่งภาษาอังกฤษ ก็ควรอ่านหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษไปเลย

ขอบคุณ คุณ aonjung

ในความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

  • การแปลนั้นมุ่งที่เพิ่มหนังสือภาษาไทยให้ทั่วถึงในหลากหลายสาขา
  • การแปลจะช่วยอนุรักษ์ภาษา (มิเช่นนั้น ก็เท่าใช้ภาษาอื่นไปเลย)
  • การแปลจะมีส่วนในการวิวัฒนาการ (ไม่รู้ใช้คำนี้ได้ไหม เดี๋ยวรอนักภาษาศาสตร์มาช่วย) ของภาษา อาจจะเกิดการบัญญัติคำใหม่เพื่อให้เพียงพอที่จะอธิบายคำในอีกภาษาหนึ่ง
  • หนังสือวิชาการที่แปล ส่วนมากเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขา แต่อาจเขียนในฐานะที่ได้เรียนรู้ในสิ่งนั้น จากการอ่าน การฟัง การทดลองทำ แล้วพยายามถ่ายทอด อย่างไรก็ตามสำนักพิมพ์ที่เชื่อถือได้ จะรับรองอีกครั้งว่ายินดีจะพิมพ์เผยแพร่ไหม
  • หนังสือวิชาการแปลที่เผยแพร่ออกไป นักวิชาการในสาขาก็จะไปอ่าน แสดงความคิดเห็น หรือบางทีผู้อ่านเอง ทำให้เกิดการปรับปรุงหนังสือ

อ่านแล้วครับ เรื่องคู่มือสอนแปล ของวรนารถ วิมลเฉลา ที่จุฬาฯอิอิๆๆรู้จักกับอาจารย์ครับ โลกกลมๆๆ แต่ตอนนี้อาจารย์น่าจะเกษียณแล้วครับ ขอบคุณครับ

  • เห็นด้วยมากเลยค่ะ บางครั้งหากจะแปลตรงๆ ไปเลย ภาษาจะไม่สละสลวย จึงจะดูว่าตรงไหนที่แปลแบบสละสลวยได้และตรงไหนที่ต้องเคร่งครัดเรื่องความหมายตรงตามตัวอักษร
  • ส่วนใหญ่จะเป็นพวกคำศัพท์เฉพาะและคำที่มีเนื้อหาทางวิชาการมากๆ นะคะที่ควรจะเคร่งครัด ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นแปลผิดและสื่อสารผิด ใช่ไหมคะ
  • เคยอ่านหนังสือแปลเล่มหนึ่งตอนเด็กๆ ชอบมาก พอโตมาสักหน่อยอ่านอีกที รู้สึกไม่เชื่อถือคนแปล เพราะพบว่ามีตั้งหายคำที่แปลผิด
  • หลายปีก่อนหลังจากเรียนจบจากต่างประเทศไปอ่านอีกครั้งกลับรู้สึกว่าผู้แปลช่างเป็นคนที่ใช้ภาษาได้สละสลวยมาก คำที่เคยคิดว่าแปลไม่ตรงนั้น กลับกลายเป็นรู้สึกว่าผู้แปลใช้ภาษาได้เหมาะสม ไพเราะ  เป็นที่สุด
  • ประสบการณ์ เปลี่ยนความคิดคนค่ะ พอพบเห็นอะไรมากขึ้น ที่เคยคิดว่าถูกก็ผิด ที่คิดว่าไม่ดีก็อาจจะกลายเป็นดีนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ขจิต อีกครั้ง สงสัยอาจารย์จะมีหนังสือของอาจารย์วรนาถ เยอะแน่ (เหมือนเอามะพร้าวห้าว มาขายสวน อ.ขจิต เลย ฮา)

 

ขอบคุณ คุณ Nan & Ball ครับ

  • ตรงคำศัพท์ ส่วนใหญ่ผมเห็นจะเลี่ยงไปเขียนคำอ่านของภาษานั้นแทน โดยวงเล็บคำนั้นไว้ (ผมกำลังพูดเรื่องง่ายเป็นเรื่องยากอีกแล้ว----จริง คือ เขียนทับศัพท์)
  • คนที่จะใช้ภาษาไทยในงานแปลได้สละสลวย (ทำนองเดียวกันกับภาษาอื่น) น่าจะมี การสะสม (คงสะสมมาจากการอ่าน) ไว้มาก ใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

แปลผิดเป็นเรื่องธรรมดา อย่างที่ อ.ขจิตว่า แต่อย่าบ่อย ;) เคยอ่านงานแปล คนแปลเป็นผู้มีชื่อเสียง แต่แปลตกหล่นเป็นครึ่งหน้า หรือหน้าหนึ่งก็มี

ผู้แปลควรรู้ดีทั้งสองภาษา และควรจะเขียนได้ดีในภาษาที่จะให้คนอ่าน

คนอ่านส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมด ไม่ได้อ่านตั้งฉบับ มักตัดสินงานจาก ฉบับที่แปลแล้ว บางครั้งงานที่แปลแล้วอ่านได้สละสลวย ภาษางดงาม แต่ความหมายคลาดเคลื่อน ขาดความละเอียดไปมากก็มี

การอ่านเพื่อสะสมความศัพท์และความหมายถึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักแปล จะพบบ่อยๆ ว่า เข้าใจภาษาต้นฉบับ แต่นึกคำเหมาะๆ ที่จะถอดออกมาไม่ได้

นอกจากนี้นักแปลยังต้องมีเครื่องมือ ได้แก่ พจนานุกรม สารานุกรม อภิธานศัพท์ และเอกสารอื่นๆ รวมทั้งการจดบันทึกเพื่อได้ใช้งานด้วย ฯลฯ

เคยอ่านงานแปลชิ้นหนึ่ง ผู้แปลเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ในส่วนบรรยายท่านแปลได้ดีมาก แต่ส่วนที่เป็นบทสนทนา อ่านแล้วตะกุกตะกัก ไม่น่าจะเป็นภาษาพูดจริงๆ

ขอบคุณ อ. ธวัชชัย

อาจารย์สอนดนตรี หรือเปล่าครับ ผมไปเยี่ยมชมเว็บไซต์มา

ขอบคุณสำหรับ ความคิดเห็นจากประสบการณ์ และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ครับ

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์พันคำ
  • แวะมาเติมเต็มความรู้ครับ
  • เป็นการเปรียบเทียบที่ทำให้เห็น"ภาพแจ่มชัดทีเดียวครับ"
  • ผมกำลังฝึกแปลงานเขียนที่สนใจอยู่ครับ จะได้นำข้อสังเกตของอาจารย์และอาจารย์ท่านอื่นๆที่เขียนแนะนำไว้ไปใช้ครับ
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ

 

 

ขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ แว้บขึ้นในห้วงคิดว่า นักแปลนั้นเปรียบเสมือนวิศวกรผู้สร้างสะพานให้คนอีกฝั่งหนึ่งสามารถข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งเพื่อเรียนรู้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือผู้สร้างโอกาสให้คนอีกจำนวนมากสามารถเข้าถึงงานเขียนต่างๆ (โดยเฉพาะคนที่ไม่มีความรู้ด้านภาษาต้นฉบับหนังสือนั้น) ผมว่านักแปลนั้นสร้างคุณูปการที่สำคัญ ทราบมาว่า คนญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่จะฟังพูดอ่านภาษาต่างประเทศได้น้อย แต่พวกเขาสามารถอ่านหนังสือ(ฉบับแปล)ที่นักวิชาการตะวันตกเขียนในภาษาญี่ปุ่นไม่นานนักหลังจากหนังสือนั้นวางตลาด และเท่าที่ทราบชาวอินโดนีเซียก็เป็นเช่นนี้ มันทำให้ชาวญี่ปุ่นรู้เท่าทันวิชาการใหม่ที่ออกมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท