PMQA เครื่องมือตรวจสุขภาพองค์กร ตอน 2


อดีต(เรื่องเล่า)เป็นฐาน ปัจจุบัน(ของจริง) และว่าด้วยอนาคตที่จะทำ

           เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551  มีโอกาสได้นำเรื่อง PMQA อ่านตอน 1  เข้าวาระการประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการในปี 2551 ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดเป็น 1 ใน 8 ส่วนราชการหลักของจังหวัด ที่เป็นจิกซอร์มาต่อเป็นภาพของจังหวัดนครศรีธรรมราช  ต้องประเมินตนเองก่อนให้ครอบคลุมถึงระดับอำเภอด้วย  หลังจากนั้นค่อยบูรณาการเป็นภาพรวมของระดับจังหวัดต่อไป  ส่วนราชการทั้ง 8 ที่ว่านี้เป็นส่วนราชการที่มีส่วนราชการย่อยถึงระดับอำเภอ   มี  สำนักงานจังหวัด  ปกครองจังหวัด  เกษตรจังหวัด  ปศุสัตว์จังหวัด  ประมงจังหวัด  พัฒนาชุมชนจังหวัด  สาธารณสุขจังหวัด  และ ที่ดินจังหวัด

          มีหลายคนถามว่าทำไมที่ ก.พ.ร. กำหนด 8 ส่วนราชการนี้  ก็เนื่องจากว่าเป็นส่วนราชการที่ใกล้ชิดผู้รับบริการจากภาครัฐนั้นคือประชาชนซึ่งนับเป็นเป้าหมายใหญ่ในการให้บริการในด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการ   และส่วนราชการทั้ง 8 นั้น มีบุคลากรอยู่ในพื้นที่ทำงานลงลึกถึงระดับตำบลหมู่บ้านด้วย  

          ก็ไม่เป็นเรื่องง่ายนักที่นำเรื่องใหม่ชี้แจงในระยะเวลาอันสั้น  ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบก็หาวิธีการให้ย่อที่สุดแต่ให้พอเข้าใจได้  ก็ต้องอาศัยเรื่องมือโสต ฯ เข้าช่วยนั้นคือนำเสนอด้วยขั้นตอนที่สร้างด้วยโปรแกรม Power point   ก่อนเข้าประชุมก็สังเกตุเห็นว่าเกษตรอำเภอหลายท่านพูดคุยถึง PMQA อยู่ก่อนแล้วและอ่านเอกสารแนบที่ผมสรุปแนบไว้ในวาระให้   ดูจะเป็นกระแสการทำงานอย่างหนึ่งที่พูดถึงกันอยู่ในช่วงนี้ทั้งระดับจังหวัดและอำเภอ  และทุกคนก็พยายามจะเรียนรู้อยู่ด้วย

          เอาความรู้สึกของตัวเองในการจะชี้แจง  คือมีความรู้สึกว่าตัวผมเองถ้าไม่รู้ที่ไปที่มาแล้วมันจะไม่โล่งโปร่งใสในความรู้สึกที่จะเรียนรู้ไม่ว่าเรื่องอะไร  ก็เลยเอาความรู้สึกนี้มาเป็นกระบวนการ   เลยคิดว่าเรื่องเล่าน่าจะมาก่อนว่ากันก่อนที่จะชี้แจงเพื่อให้มองเห็นเหมือน PMQA  เป็นใครซักคนที่กำลังเดินทางมาหาพวกเรา  มาจากไหน  มาทำอะไร  มาช่วยอะไรเรา  และเราจะทำความรู้จักเขาคนนั้นอย่างไรดี  จะให้เขาทำงานให้นั้นต้องเข้าใจเขาก่อน  ใช้เขาเป็นว่างั้นครับ 

          เมื่อผมเล่าเรื่องตั้งแต่ ดำเนินการ PMQA  เมื่อ ปี 2550  ของจังหวัดนครศรีธรรมราชจบลง  และชี้แจงว่าจะเดินเรื่องนี้ในปี 2551  ในเวลาประมาณ 10 นาที เศษ ๆ  สังเกตุทุกท่านนั่งเงียบมาก ตาจ้องที่จอฉาย  และเมื่อจบจึงเริ่มคุยและพูดว่า  ชัด

          ผมได้เรียนรู้เพิ่มอีกว่าบางครั้งการวางแผน  และทำการบ้านที่ดีทุกขั้นตอนให้สั้นแต่ให้กระชับใช้เครื่องมือให้เหมาะสม    และครอบคลุมเรื่องทั้งหมดก็สามารถทำให้เขามองเห็นภาพและเข้าใจได้  และที่สำคัญ  อดีต(เรื่องเล่า)เป็นฐาน   ปัจจุบัน(ของจริง)   และว่าด้วยอนาคตที่จะทำ  ผมไม่ได้ลงรายละเอียดเพราะรู้ว่าเขาจะมึนแน่ ๆ  ก็เอาเพียงน้ำจิ้มที่ให้หลายท่านเข้าใจและรู้จักก่อนก็พอ  เมื่อถึงอีกวันหนึ่งข้างหน้าค่อยว่ากันอีก

         

คำสำคัญ (Tags): #pmqa
หมายเลขบันทึก: 180414เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ..พี่วิทย์
  • เป็นแนวทางที่ดีมาก ผมจะบอกคนทีรับผิดชอบลองใช้ดูบ้าง
  • ขออนุญาตพี่ด้วย
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีครับ น้องตุก

ก็เป็นแนวทางที่ลองทำดูก็เห็นว่าได้ผลดีนะครับ เรื่องเล่ามีพลังมาก เพราะคงจะทำให้คนฟังมีความรู้สึกเหมือนฟังเรื่องราว มากว่าฟังวิชาการมั่งครับ ดีใจครับที่แนวทางนี้ได้รับความสนใจจาก จ.ยะลา

ดูแลตัวเองด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท