ศูนย์วิชาการกับการผลักดันเชิงนโยบาย


ได้มีโอกาสไปประชุมร่วมกับศูนย์วิชาการที่นครราชสีมาเมื่อวันที่ 17 ก.พ 49  ก็เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มที่สนใจจะทำในเรื่องของนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ในวันนี้มีตัวแทนเข้าร่วมประชุมจากหลายศูนย์ ทั้งจากศูนย์วิศวกรรม จิตเวช ศูนย์อนามัย วิทยาลัยพยาบาล เป็นต้น ก็เป็นโอกาสดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แม้จะทำงานในพื้นที่เดียวกันมา แต่ไม่มีโอกาสได้มานั่งคุยกัน ก็เป็นจุดเริ่มของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดี และเป็นการผลักดันให้เจ้าหน้าที่รู้สึกมีส่วนร่วม มีความภูมิใจ เพราะเมื่อก่อนเคยแต่ทำงานเก็บข้อมูลวิเคราะห์และนำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ถือเป็นการจบหน้าที่ ทั้งๆ ที่สิ่งที่ค้นพบเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนส่วนรวม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจพบน้ำดื่มที่ไม่ได้มาตรฐาน ส้มตำที่ประกอบด้วยสารปนเปื้อนมากมายทั้งจาก กุ้งแห้ง ปลาร้า เป็นการต้อนรับนโยบาย ส้มตำไทยสู่ครัวโรค ไม่ใช่ ส้มตำไทยสู่ครัวโลก อย่างที่ประกาศไว้ แนวคิดสำคัญที่ได้มีการนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจถึงความสำคัญของการใช้การจัดการความรู้ และต้องเป็นองค์ความรู้บนฐานของวัฒนธรรมไทย บริบทของสังคมด้วย จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างหรือเขยื้อนภูเขาได้ ในช่วงบ่ายยังมีการแบ่งกลุ่มเพื่อพูดคุยในแต่ละประเด็นให้ชัดเจน ทั้งเรื่องของ Food Safety เด็กปฐมวัย ผู้สูงอายุ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากในปัจจุบันมีการให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับ อปท. มากขึ้น

นับเป็นความพยายามบูรณาการ และใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะบนพื้นฐานของความรู้มาทำงานร่วมกับศูนย์วิชาการแห่งนี้ เพราะเท่าที่ได้ฟัง ผู้เข้าร่วมประชุม พูดคุยกัน แต่ละคนจะไม่ถนัดในการคิดถึงสิ่งที่ตนเองมีความรู้และประสบการณ์อยู่ และสามารถทำอะไรได้มากกว่า การพยายามทำตามนโยบายที่มาแต่ละระลอก หมดสมัยหนึ่งก็ต้องวิ่งตามนโยบายใหม่ๆ ที่มีมา และพยายามที่จะทำให้ได้ตามนโยบายนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 17956เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท