เสร็จสิ้นไปแล้วสำหรับการประชุมพิจารณาสนับสนุนทุนวิทยานิพนธ์ สำหรับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งหมดมี ๒๕ โครงร่างวิทยานิพนธ์
ทุนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ (1)
ซึ่งในวันที่ ๒๗ ก.พ ที่ผ่านมานี้ได้พิจารณาเพิ่มอีก ๘ โครงร่าง
๑. การศึกษาเชิงเปรียบเทียบอำนาจการต่อรองและคุณภาพชีวิตในการทำงานของกรรมกรก่อสร้างในชุมชนกีบหมูกับกรรมกรแบกขนข้าวสารในชุมชนท่าเรือ๒. ผลกระทบและรูปแบบของการเลี้ยงปลาต่อคุณภาพน้ำและพันธุพิษ
๓. การกำหนดนโยบายสาธารณะท้องถิ่น กรณีศึกษาน้ำตาลมะพร้าวปลอดภัยจังหวัดสมุทรสงคราม
๔. การพัฒนารูปแบบการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น
๕. การพัฒนากลุ่มเยาวชนด้วยกระบวนการเรียนรู้จากฐานทรัพยากรท้องถิ่น
๖. วัยรุ่นต้นแบบเพื่อพัฒนาสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ในชุมชนเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
๗. ป่าครอบครัว : แนวทางใหม่ในการจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน
๘. กระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิตของเกษตรกรไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน
แต่ละโครงร่างก็มีความน่าสนใจในประเด็นเชิงนโยบายและความพยายามที่จะทำการศึกษาวิจัยและให้มีกระบวนการนโยบายสาธารณะร่วมอยู่ในนั้นด้วย
เช่น ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิตของเกษตรกรไปสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีการศึกษาอยู่มาก รัฐบาลก็มีนโยบายต่อเนื่อง ทำไมวันนี้ถึงยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่น่าสนใจคือปัจจัยอุปสรรคหรือเงื่อนไขที่ทำให้ไม่เกิดการเปลี่ยนของเกษตรกร มากกว่าที่จะทำงานวิจัยแบบที่มีอยู่แล้วแต่เปลี่ยนพื้นที่ ทางด้านนักศึกษาและอาจารย์ก็ชี้แจงเรื่องความน่าสนใจของพื้นที่ โดยเฉพาะที่จะทำการศึกษาเป็นพื้นที่ภาคกลาง การทำการวิจัยนี้จะทำไปพร้อมกับกระบวนการเรียนรู้ ชวนคิดชวนคุย ตั้งคำถาม อีกทั้งผู้วิจัยมีการทำงานในพื้นที่มาก่อนการที่นักศึกษา อาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิได้มาคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้เวลาประเมิน ถ้าอ่านแต่ในตัวโครงร่าง ผลการประเมินก็จะเป็นอีกแบบ แต่พอได้พูดคุยซักถามกัน ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย อำพรรณ ไชยบุญชู ใน story telling and learning from HPP program
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก