นักวิชาการไทยไม่กล้าเขียนบล็อกจริงหรือ?


นักวิชาการไทยไม่กล้าเขียนบล็อกจริงหรือ?

มีหลายท่านในแวดวงมหาวิทยาลัยพูดคุยกับดิฉันว่า นักวิชาการไม่กล้าเขียนบล็อกหรอกนะ เพราะกลัวว่าสิ่งที่เขียนนั้นผิด!

ดิฉันอยากจะชี้แจงตามประสบการณ์ของการอ่านและเขียนบล็อกมาตลอดเกือบ 5-6 ปี และพัฒนาระบบรวบรวมความรู้จากบล็อกของ Gurus หรือ นักวิชาการผู้รู้จากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น PlanetHCI.org หรือ PlanetKM.org ว่า

ส่วนใหญ่แล้วเขาเขียนบล็อกเพื่อเขียนความคิดเห็น เขียนประสบการณ์จากการปฏิบัติในสิ่งที่รักที่ชอบ ดังนั้น จึงไม่มีอะไรจะมาบ่งบอกแน่ชัดของการผิดหรือถูก แต่จะเป็นการแสดงถึงการเติบโตทางด้านความคิดมากกว่า หากมีคนเข้ามา comment สนับสนุนมากๆ โอกาสที่ความคิดที่เขียนก็อาจจะเรียกว่า "ถูก" ได้ แต่ถ้ามีคนเข้ามาแย้งมากๆ โอกาส "ผิด" ก็เป็นไปได้ ถ้าในกรณีนี้ เจ้าของบล็อกก็ต้องแย้งตอบซิคะ เพื่อยืนยันในความคิดของตนเอง จะได้เห็นการหมุนเวียนของน้ำในแก้ว ถ้านักวิชาการไม่คิด แล้วใครจะคิดละคะ

ลองอ่านจากประโยคจากบล็อกของนักวิชาการด้าน KM ท่านนี้ดูนะคะ http://www.gurteen.com/gurteen/gurteen.nsf/id/L002266/

"For a long time - I have been against rewards for knowledge sharing but have reluctantly agreed that recognition was a good thing. I am now less and less sure. Recognition is just another form of reward that can be gamed. The only recognition that true knowledge workers need is the self-recognition that they are doing a good job and working on something they believe in!"

ดิฉันชอบเพราะเห็นการขัดแย้งในสิ่งที่คิดและเชื่อมาตลอด และกล้าเสนอและยอมรับการเปลี่ยนแปลงคะ สงสัยจริงๆ ว่า เราจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแวดวงนักวิชาการผ่านเวทีเสมือนได้จริงหรือ?


ปล. บันทึกนี้ของดิฉัน "ถูก" หรือ "ผิด" คะ?

 

หมายเลขบันทึก: 17941เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2006 02:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

     ผมอยาก ร่วม ลปรร.ด้วยจังประเด็นนี้ hot ครับ! วันที่เสวนา blog ที่ มอ.อาจารย์เอ่ยประเด็นนี้กับผมไว้ด้วย ก่อนอาจารย์จะขึ้นบรรยายในชั่วโมงแรก ในมุมมองที่ผมสรุปคือ "กลัวเสียฟอร์ม" ความรู้สึกนี้ก็เคยเกิดขึ้นกับผมบ้างในครั้งแรก ๆ (เท่านั้น) แต่ "ไม่มีถูกมีผิด" ครับ เพราะเป็นความรู้ซ่อนในตัวตนของเรา จะผิดหรือถูก เราสิตัดสิน หรือเรามีส่วนร่วมตัดสิน (โดยการ ลปรร.กัน) หากให้สังคมตัดสิน มีหลายเรื่องนะครับที่เคยถูก และเชื่อว่าถูกมาตลอดในอดีต ปัจจุบันนี่กลับผิด เช่น...

     เชื่อว่าการรณรงค์ให้คนกลัวเอดส์จะได้ผลหยุดยั้งการระบาดของเอดส์ ผลเป็นไงครับ! ทุกวันนี้ต้องมาทุ่มทรัพยากรให้คนเข้าใจและไม่ปฏิเสธผู้ติดเชื้อฯ เสียหายมาแล้วจนถึงทุกวันนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๆ ที่หากสังคมไม่รังเกียจ ไม่ทอดทิ้งเขา เขาก็จะอยู่ได้อย่างปกติสุข นี่แค่เป็นตัวอย่างหนึ่ง

     ฉะนั้นผมไม่มองว่าเฉพาะนักวิชาการ แต่กลับมองว่า "ใครก็ได้" นำเอาความรู้เชิงนี้มาถ่ายทอดไว้ และร่วม ลปรร.กัน ให้มาก ๆ แม้จะเห็นแย้งกันในตอนแรก สุดท้ายก็จะได้ความรู้ที่ตกผลึก "มีคุณค่า" ครับ ทั้งนี้นอกจาก Blog ก็อาจจะมีอีกหลาย ๆ วิธีการ ที่ทำได้ หากเป็นใน Blog การไม่บันทึกเองแต่คอยต่อยอดความรู้ ผมก็ชื่นชมอยู่มาก เพราะคนเราอาจจะชอบและรักไม่เหมือนกัน แต่ก็มีมีเป้าหมายไม่แตกต่างกัน...ตกลงผมผิดไหมนี่!

การถ่ายโอน...ความรู้

(ยิ้ม)..พอเข้ามาอ่านบันทึกนี้ "นักวิชาการไทยไม่กล้าเขียนบล็อกจริงหรือ?"
ทราบเลยคะ...ท่านผู้บันทึก...ยังอยู่ ณ ราตรีนี้..
และได้ตามเข้าไปอ่านใน http://www.gurteen.com/gurteen/gurteen.nsf/id/L002266/
สะดุด...กับคำว่า..."Knowledge sharing"...แต่..ก็ยังหาข้อชี้ชัดไม่ได้เลยค่ะว่า...
ลปรร. ต้องจบด้วยวิธีการเขียน Blog...?
หาก..เสมือน..บริบทความเป็นไทย...มีคนไทยมากมาย
ที่มี "ภูมิปัญญา"...ที่มีอยู่...ใน"ตัวตน"...และมีการถ่ายโอนความรู้ให้วิ่งวนหลากหลาย...
นับจากรากหญ้า...สู่ผู้มีความเป็นเลิศทางการศึกษา(ที่ผ่านการรับรองด้วยใบ...)
"Learning Environment"....ที่เอื้อต่อการ "ลปรร." ทำได้ทุกอณูของการดำเนินชีวิต
นับตั้งแต่...การ "SmallTalk"...ไปสู่เวทีเสวนา...ได้...

โดนใจและถูกจริต เสียจริงๆ ค่ะ  ใจของดิฉันสั่งให้นิ้วขยับ Key board ทันที เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกออกมาว่า อ.จันทวรรณ เพื่อนรู้ใจของดิฉัน ส่งข้อความแทงทะลุเป้ากลางใจดิฉันทีเดียว โอยย ทำไมแม่นอย่างนี้... 

 

ผมเป็นมือใหม่หัดเขียนครับ ทัศนคติของผมกับเรื่องการเขียนบล็อกดีมากครับ แม้ตอนแรกอาจกังวลว่าจะเขียนอะไรดี แต่พอลองได้เขียนได้อ่านบล็อกของหลายๆท่าน ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่คนไทยทุกคนน่าจะช่วยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นเวทีที่อิสระทางความคิด  จากที่อ.จันทวรรณกล่าวไว้ว่านักวิชาการอาจจะกลัวผิด  ผมอยากบอกว่าอย่ากลัวเลยครับ ถ้าเราใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ เราอาจได้แนวคิดใหม่ๆเพิ่มเติมให้กับงานและองค์ความรู้ที่เรามีก็เป็นได้  อยากชักชวนให้ใครที่แค่อ่านบล็อกอยู่ตอนนี้ให้มาเขียนกันเยอะๆ  ในบางเรื่องคนที่จบ ดร.อาจจะรู้น้อยกว่าเราซะด้วยซ้ำนะครับ....
เห็นด้วยกับทุกคนที่เขียนมาครับ
(อารมณ์ดี)...เช้าสายๆ..กลับมาอ่านพบ คห. คุณตุมปัง..ชอบจังคะช่างบ่งบอกความตัวตน...
ผู้ให้ คห. ดีจัง..และที่สำคัญ...ทำได้ดีทั้งในบทบาท "ผู้บันทึก"..และ.."ผู้ให้ คห."..เพราะโดย
ส่วนใหญ่...เท่าที่ดิฉันติดตามใน gotoknow...ผู้บันทึกจะถนัดบันทึก..แม้บันทึกมีผู้เข้ามา
ให้ คห....หากผู้บันทึก..ก็หาจะ...ลปรร.ไม่..และบางบันทึก..ก็เป็นเพียงบางบันทึก
แต่โดยส่วนตัว...ดิฉันชอบเข้ามา..ให้ คห. ค่ะ..เพราะ...เกิด Cognitive Activate ดีค่ะ
และที่สำคัญ...ก็ได้ใช้ Tacit Knowledge...ที่มีอยู่ ลปรร. กับเจ้าของบันทึกด้วย
หาก...ประเด็นไหน Hot...ก็เลือกใช้ "เครื่องมือ/Tool" อื่น..เพื่อ ลปรร. และโดยปกติจริงๆ
ก็บันทึกนะคะ..เพียงแต่ไม่ได้บันทึกใน gotoknow เท่านั้นเอง...เพราะ ณ เวทีนี้...ยังขาด
ผู้ที่มา คห....ในการ ลปรร...จึงสนุกและมีความสุขในการทำบทบาทผู้ให้ข้อคิดเห็นมากกว่าค่ะ (ยิ้ม)
ตกลงดิฉันผิดไหมนี่....(ขออนุญาตล้อคำคุณชายขอบนะคะ)

ตามมาขอบคุณ

ขอบคุณมากครับ อ.จันทวัน ผม resize ให้เล็กลงเรียบร้อยแล้ว

คร้งนึงผมก็มีความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเขียน blog คือกลัวผิดพลาดครับ แต่ตอนนี้ ผมมีความเห็นว่า การแสดงออกถึงความคิดเห็นไม่ว่าจะสนับสนุนหรือขัดแย้ง เป็นการกระตุ้นให้ใช้ความคิดและนำไปสู่ปัญญาครับ

    ประเด็น "นักวิชาการไทย ไม่กล้าเขียนบล็อกจริงหรือ"  เป็นประเด็นร้อนที่น่าลปรร.รู้ด้วยครับ ผมชอบ คห. ของ Dr.Ka-poom ที่ว่า ใน gotoknow ยังมีการลปรร.กันน้อย (อย่างน้อยก็น้อยกว่า 50% แล้วกัน)

    ในส่วนข้อคิดเห็น บางครั้งผมเปิดประเด็นหนึ่ง แต่เขามาลปรร.กันในประเด็นอื่นๆ

   แต่ในคห.หรือข้อคิดเห็นนี้ ถ้าเราไม่ยึดมั่นว่ามันต้องเป็นคห.อย่างเดียว เป็นการพบปะสนทนากันแบบ B2B หรือเวทีเสมือนในการพบปะพูดคุยกัน ผมให้คะแนนตรงนี้เต็มเลยครับ และยังเป็นการให้กำลังใจคนเขียนบันทึกอย่างยิ่ง...จริงๆ

   ส่วนนักวิชาการไทย ไม่กล้าเขียนบล็อกจริงหรือ ผมว่าคำตอบก็ต้องมี 2 แบบ คือ

  1. จริง เพราะว่ากลัวเสียฟอร์มอย่างที่หลายคนว่า และคนที่เรียนมามากมักจะอยู่ใน ช่อง (ซองม้า,ซองจดหมาย) ของตนเองมากกว่า จะเปิดใจให้กว้าง
  2. ไม่จริง เพราะว่าจิตใจของบางคนก็เปิดกว้างพร้อมที่จะลปรร. อย่างหลายคนที่ผมไปเชิญชวนให้เขียนบันทึกใน gotoknow เขาก็มาเขียนโดยไม่ลังเล (พวกนี้มักจะเป็นคนใจกว้างที่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น..ครับ

ปล. คห.นี้ ถูก..หรือ..ผิด ครับ :)

ขึ้นอยู่กับว่าให้นิยามคำว่า นักวิชาการ อย่างไร ด้วยกระมังคะ

หมายถึงคนที่สนใจเรื่องทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติหรือเปล่า หรือหมายถึงคนที่ทำงานด้านความคิด

ตรงนี้ตัวเองไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่มาแต่ไหนแต่ไรค่ะ เพราะนักวิชาการไทยหลายๆท่านไม่ทำวิจัย ไม่ได้ปฏิบัติจนเกิดความชำนาญสักเรื่อง แต่ใช้ตำราฝรั่งมาอธิบายปรากฏการณ์ที่ประสบ

ถ้าสมมุติคิดว่า คนทุกคนที่อยู่ในวงการการศึกษา โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัย คือนักวิชาการทุกคน อืม

ก็คงถามต่อว่า ทำไมอาจารย์ไม่เขียนบล็อก

คำตอบอาจมีมากกว่าที่จะเป็นเรื่องไม่กล้าหรือกล้า

แต่ถ้าลองคิดว่า ทุกๆคนในโลกคือผู้รู้ เป็น the known อ่า คำตอบก็คงมีมากกว่าเรื่องกล้าหรือไม่กล้าอีกแหล่ะ

สรุปแล้ว ก็ไม่ทราบว่า ตอบคำถาม ปล หรือเปล่านะคะ

 

 

FACT:

กลุ่ม Pilot กลุ่มแรกที่ สคส. ตั้งใจว่าจะให้ทดลองใช้ GotoKnow.org คือ กลุ่มนักศึกษาปริญญาเอก เพื่อใช้เป็นเวทีเสมือนในการจัดการความรู้ หลายๆ ท่านคงจำวันที่ สคส. จัดประชุมเวทีนักวิจัยที่ปรึกษาพบนศ.ปริญญาเอกได้ใช่ไหมคะ

อ่าน คห. "FACT" ของ ดร.จันทวรรณ ....แล้วย้อนขึ้นไป "บันทึก" แล้วเกิด "งง" ค่ะ...อารมณ์นี้ต้องไปคลายเครียดให้หายมึนที่.."เมื่อน้องเดมมี..." ดีกว่านะคะ...(ยิ้ม)

นั่นคือ fact ที่เขียนไว้ใน proposal เวลาเสนอขอทุนคะ แต่เวลาปฏิบัติจริงนั้น กลุ่มคนแรกๆ ที่เข้ามาใช้ GotoKnow.org ไม่ใช่กลุ่มนี้คะ

แต่ ณ ว้นนี้ กลุ่มคนเหล่านี้มาเข้ามาพอสมควรแล้วคะ แต่ก็ยังเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องงาน dissertation ที่ทำ หรือเพื่องานวิจัยหรือการเรียนในระดับ ป.เอก ไม่เยอะคะ

อยากให้มีคนสร้างชุมชน ป.เอก ขึ้นนะคะ :)

ปล. ดิฉันยึดถือว่า นศ.ป.เอก คือ นักวิชาการกลุ่มหนึ่งคะ
ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)

ผมไม่แน่ใจว่าเป็นนักศึกษาปริญญาเอกคนที่เท่าไรที่เขียน blog เข้ามาเพราะจากการอ่านหนังสือ NewSchool ที่คุณหมอประเวศแนะนำ อาจารย์อยากได้งานเขียนเกี่ยวกับการเรียนในระดับปริญญาเอกใช่ไหมครับ แต่ของผมเป็นปริญญาเอกทางภาษาอังกฤษนะครับ ผมอยากสร้างชุมชนปริญญาเอกเหมือนกันครับ ไม่แน่ใจว่าจะมีซักกี่คน อาจารย์ทราบช่วยตอบด้วยครับ

ปล.กำลังชวนเพื่อนสร้าง blog ครับ

ดีมากเลยคะ :)

คุณขจิต สร้างชุมชนไว้ก่อนดีไหมคะ แล้วดิฉันจะช่วยโปรโมทให้ในบล็อก Tutorial.gotoknow.org แล้วคุณขจิตก็ต้องพยายามเขียนชวนเชิญในบล็อกอยู่เรื่อยๆ นะคะ สอดแทรกด้วยชีวิตการเรียนปริญญาเอกก็ได้ แล้วก็แนวคิด ข่าวสาร เรื่องราว ประสบการณ์ จากเรื่องที่กำลังทำ dissertation อยู่นะคะ

เขียนไปเรื่อยๆ เป็นประจำ ก็จะมีคนอ่านจนติด แล้วก็ช่วยกันเติมเต็มในส่วนงานของคุณได้ ดิฉันว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีนะคะ

ส่วนมีใครบ้างนั้น ดิฉันจำไม่ค่อยได้แล้วคะ เพราะบางคนเขียนแล้วก็หยุดๆ กันไป ไว้ดิฉันว่างกว่านี้หน่อยจะหาข้อมูลให้คะ ส่วนตอนนี้ก็ใช้การเขียนบล็อกค้นหาคนป.เอกไปพลางๆก่อนนะคะ :)

สร้างเสร็จแล้วครับ ใครเรียนอยู่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้างนะครับ จะเขียนเรื่องการอบรมครูภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโครงงานที่เป็นหัวข้อปริญญาเอกของผมนะครับ

ปล.ชื่อ ชุมชนนักศึกษาปริญญาเอกครับ

คุณขจิตคะ ช่วยเขียนแนะนำชุมชนดังกล่าวสักบันทึกซิคะในบล็อกของคุณนะคะ ดิฉันจะได้ทำลิงค์โยงไปยังบันทึกนั้นทีหลัง ขอบคุณคะ

ขอบคุณครับ จะรีบทำทันทีเลยครับ
ชื่อหัวข้อ "กว่าจะได้เรียนปริญญาเอก" นะครับอาจารย์ ขอบพระคุณมากที่แนะนำ หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และท่านอื่นๆนะครับ
นักศึกษาปริญญาเอก

เมื่อวิเคราะห์ พบว่า น่าสนใจ "เหมือนจะ(รู้สึก)แปลกแยกทันที ณ เวทีนี้"

เป็นนักศึกษาปริญญาเอกอยู่ค่ะ ตอนนี้สถานภาพคือ PhD candidate

ได้มีโอกาสรู้จักบล็อก gotoknow.org เมื่ออาจารย์หมอชาตรี ไปพูดแนะนำในการประชุมที่เชียงใหม่และอาจารย์ไปสร้างบล็อก cmunursekm.gotoknow.org ให้กับคณะพยาบาล มช

ก็เลยลองทำบล็อกของตัวเองคือ bridgeforhealthy ใน http://gotoknow.org/bridge

กะไว้ว่าจะใช้ยาว ชนิดเรียนจบแล้วก็จะใช้อยู่ และก็ใช้บันทึกไปกับทุกเรื่องที่นำไปสู่สุขภาวะของทุกคนโดยเฉพาะผู้หญิง เพราะมีความเชื่อว่า โลกที่เราอยู่คือ global village และเชื่อในเรื่องของ interdependence คือทุกๆคนมีศักยภาพ ทุกคนเป็นผู้รู้ the known การอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีสุขภาวะที่ดีคือการนำศักยภาพสูงสุดของทุกคนมาใช้ร่วมกันอย่างสร้างสรรค่ะ

ตัวเองไม่ใช่กลุ่มที่ได้รับการอบรมบล็อก และเพิ่งทราบว่ากลุ่มทดลองคือนักศึกษาปริญญาเอกค่ะ

คือตัวเองเป็นคนชอบตั้งคำถามน่ะค่ะ ดังนั้นคำถามของตัวเองว่า ใครคือนักวิชาการ ก็คือคำถามจริงๆที่เกิดขึ้นในใจ ไม่เกี่ยวกับปริญญาบัตรอะไรเลย

แต่ถ้าคำถามจะนำไปสู่การเข้าใจผิด ก็ขออภัยจริงๆค่ะ

 

ยินดีที่รู้จักครับ แวะมาชมที่ ชุมชนนักศึกษาปริญญาเอกบ้างนะครับ

เรียนอาจารย์จันทวรรณ

เข้ามาอ่านเห็นหลากหลายความเห็นไม่ใช่นักเรียนดอกเตอร์ค่ะแต่สนใจและเข้ามาอ่านรู้สึกชื่นชมอาจารย์นะค่ะ  จนรู้สึกอยากมีบล็อกของตัวเองและได้ทำไปแล้ว เพื่อการแลกเปลี่ยนที่จะเชื่อมสู่การพัฒนาอาจจะไม่อยู่ในประเด็นที่กำลังแสดงความคิดเห็นกันนะค่ะแต่ต้องการสร้างเครื่อข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนในกลุ่มวิชาชีพค่ะ ซึ่งดิฉันเองก็ไม่ใช่นักวิชาการด้วยค่ะ  อ่านไปก็ค่อนข้าง งงๆนะค่ะว่าการมี บล๊อกนี้จะต้องมี คุณสมบัติเป็นนักวิชาการเท่านั้นหรือค่ะเพราะตังดิฉันไม่ใช่เลยไม่ใช่นักวิชาการแต่เป็นคนที่อยากแลกเปลี่ยน  เพราะความเชื่อที่ว่าไม่มีใครรู้ไปทั้งหมดค่ะ  นั้นคือรู้สึกดีที่ความคิดในการตัดสินใจเขียนบล็อกครั้งแรกสอดคล้องกับที่ท่านอาจารย์กรุณาเสนอประเด็นค่ะ

เรียนถามอาจารย์ด้วยว่า อีเมลที่เติมลงไปเวลาแสดงความคิดเห็นหนูไม่เห็นมันปรากฎขึ้นค่ะบางที่ก็อยากเรียนถามเรื่องบางเรื่องซึ่งบางทีไม่ได้อยู่ในประเด็นที่ตั้งขึ้นจะรบกวนอาจารย์ได้บางหรือไม่หมายถึงจดหมายถึงอาจารย์ค่ะ  เพราะหนูเป็นมือใหม่มากๆในการที่จะพยายามเขียนบล็อกเพราะความเชื่อข้างต้นค่ะ

ด้วยความเคารพค่ะ

[email protected] 

http://gotoknow.org/archive/2006/03/09/06/28/43/e18058

ธวัชชัย เมื่อ พฤ. 9 มี.ค. 08:45:52 2006 เขียนว่า:

ดร.จันทวรรณ มาตอบไม่ได้เพราะไปอบรม blog ที่ศูนย์คอมฯ ผมจึงขอตอบแทนครับ

ก่อนอื่นต้องขออธิบายเพิ่มเติมเรื่อง pilot users ที่เราเสนอไปยัง สคส. ในช่วงแรกสุดของการพัฒนา GotoKnow.org ครับ

ในช่วงการพัฒนาเดือนแรกๆ นั้น ดร.จันทวรรณ ได้ไปประชุมกับกลุ่มนักศึกษาปริญญาเอก (ด้าน KM) พบอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งพบว่านักวิจัยกลุ่มนี้ต้องการเวทีในการสื่อสารและหลายๆ ท่านจะมุ่งเป้ามาที่ สคส. เป็นหลักเพื่อให้เป็นตัวกลางให้ด้วย ซึ่งเราพบว่าเป็นภาระเพิ่มพิเศษของ สคส. ที่ต้องกลายเป็นที่ปรึกษาเสมือนของนักวิจัยกลุ่มนี้

ในตอนนั้นเนื่องจากระบบเรายังใหม่ไม่ได้ทดสอบให้ครบถ้วน ในตอนเสนอโครงการเราจึงระบุใน proposal ว่าเราต้องการจะเริ่ม pilot users ที่กลุ่มนักวิจัยกลุ่มที่เราได้เจอเป็นหลัก เพื่อแบ่งเบาภาระของ สคส. และเป็นการทดลองระบบของเราด้วยก่อนจะประชาสัมพันธ์ในวงกว้างต่อไป

แต่อย่างไรก็ตามเราพบว่านักวิจัยกลุ่มนั้นที่เราได้เจอในการประชุม (และพบว่าต้องการเวที ลปรร.) ได้เข้ามาใช้ GotoKnow.org จริงค่อนข้างน้อย จึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เราสงสัยว่าทำไมนักศึกษาปริญญาเอก (ซึ่งเพื่อเป็นนักวิจัยด้าน KM นั้น) ไม่เจ้ามา ลปรร. ในเวทีที่เราจัดให้ (แต่เราก็ไม่ได้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงสาเหตุที่แท้จริง เช่น อาจมีเวทีอยู่ที่อื่นแล้ว หรือมา ลปรร. ที่นี่แล้วแต่ไม่ได้แสดงตัว เป็นต้น)

เมื่อ GotoKnow.org เปิดใหม่ๆ และเราประชาสัมพันธ์ไปที่คนเพียงกลุ่มเดียวก็เลยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ GotoKnow.org จะเงียบมากๆ เพราะ pilot users ไม่มา แต่ช่วงนั้นก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่เราได้แก้ไขระบบไปในหลายส่วน ทำให้ระบบสามารถรองรับคนกลุ่มใหญ่ขึ้นได้

จริงๆ แล้วสีสันที่กลับมาหา GotoKnow.org นี่ได้คุณชายขอบมาช่วยเยอะมากครับ คุณชายขอบเป็นผู้ได้รางวัลสุดคะนึงที่เราภาคภูมิใจที่สุดคนหนึ่งครับ

ส่วนตอนนี้ระบบเราพ้นช่วง pilot test มานานแล้วครับ เราเปิดเพื่อให้เป็นเวที ลปรร. สำหรับทุกคน สำหรับทุกเรื่อง สำหรับทุกวัย สำหรับทุกความเหมือนและทุกความแตกต่างครับ

ตอนนี้เตรียมตัวพบกับ GotoKnow 2.0 ดีกว่าครับ เพราะเราจะ "Go Beyond Blog" เป็น KM เต็มรูป และ pilot users สำหรับ 2.0 คือ "คนไทยทุกคน" ครับ :-)

(ส่วน 2.0 จะเสร็จเมื่อไหร่นั้น บอกยากเหลือเกิน อย่างวันนี้ ช่วงเช้าผมต้องไป "รบ" หนึ่งสงคราม และช่วงบ่ายก็ต้อง "รบ" อีกหนึ่งสงคราม กลับมากลางคืนคงหมดแรงไม่ได้ทำอีก พรุ่งนี้เช้าก็มีกำหนดต้องไป "รบ" อีกหนึ่งสงคราม... ขอบ่นหน่อยนะ)

ตามเข้ามาอ่าน blog ของอ.ขจิต แล้ว Link มายัง blog นี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท