ตอนที่52ทานอาหารจากนมเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์


การผลิตเต้าหู้นมสดนั้นไม่ยากนัก แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษเนื่องจากส่วนผสมโดยเฉพาะนมสด ซึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงจึงง่ายแก่การปนเปื้อนของเชื้อโรคสูง

               ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสร็จ คำนี้เป็นความต้องการของทุกชนชั้น และทุกเพศทุกวัยทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะปัจจุบันประชาชนมีความตระหนักในคุณค่าของสุขภาพที่ แข็งแรงสมบูรณ์ แต่ร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์นั้นต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกันนั่นคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนที่เพียงพอ สุขภาพจิตที่ดี อยู่ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และรับประทานอาหารทีดีมีประโยชน์  จากปัจจัยดังกล่าว ขอกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท คือด้านอาหารที่ดีมีประโยชน์จากผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอาหารพร้อมบริโภคที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ได้พยายามสร้างสรรค์ผลงานที่ดีมีคุณค่าคุ้มค่า คุ้มราคา กับน้ำใจที่ผู้บริโภคได้ให้การสนับสนุน ซึ่งผลิตภัณฑ์หลายชนิดได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เป็นการเน้นย้ำให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารอย่างสบายใจ

                   เต้าหู้นมสด เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่สมาชิกกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้ผลิตขึ้นมา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อไปรับประทานเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะเต้าหู้นมสดมีส่วนประกอบหลายอย่างเช่น น้ำนมสด 80 % เต้าหู้ 5 % ผลไม้รวมเช่น ถั่วแดง มะละกอ     ฟักทอง อื่นๆ 10% และส่วนประกอบอื่น 5%   อีกทั้งเหมาะสำหรับให้เด็กๆ ได้รับประทานเนื่องจากเด็กบางคนไม่ชอบดื่มนมสดนัก จึงควรทดลองให้รับประทานเต้าหู้นมสดเพราะมีลักษณะหวานเย็นถูกใจเด็ก ๆ 

                   นางอรอนงค์  เชียงสิน สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนกระพี้วัย 50 ปี หมู่ 2 ต.เด่นใหญ่ อ.หันคา จ.ชัยนาท กล่าวว่า เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ มีหลายชนิดแต่ที่สร้างรายได้ดีนั้นมี 2 ชนิดคือ เต้าหู้นมสดและเนื้อสวรรค์ ความสามารถของสมาชิกที่ต่างกันและแต่ละกิจกรรมนั้นไม่ต้องใช้คนมากนัก จึงได้แยกกลุ่มตามกิจกรรมเป็นกลุ่มแปรรูปนมสดบ้านดอนกระพี้ มีสมาชิก 15 คน เป็นเครือข่ายของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร การดำเนินงานนั้นจะรับซื้อนมสดที่สมาชิกบางส่วนที่เลี้ยงโคนมนำไปจำหน่ายที่ศูนย์รับชื้อน้ำนมดิบกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมบ้านดอนกกระพี้ซึ่งผ่านฆ่าเชื้อโดยวิธีอุ่นแล้ว(Pasteurization) เป็นการสนับสนุนอุดหนุนเพื่อนสมาชิกอีกทางหนึ่ง นำมาผลิตที่ศาลาอเนกประสงค์ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรเกษตรจังหวัดชัยนาท เป็นเงิน 150,000 บาท ในปี 2546 ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น ใช้ในการ     แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ให้มีลักษณะที่ถูกต้องตามมาตรฐานและถูกหลักอนามัย จึงได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เลขที่ อย.18-2-00147-000

                   การผลิตเต้าหู้นมสดนั้นไม่ยากนัก แต่ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษเนื่องจากส่วนผสมโดยเฉพาะนมสด ซึ่งที่มีคุณค่าทางอาหารสูงจึงง่ายแก่การปนเปื้อนของเชื้อโรคสูง     เริ่มแรกจะต้องกวนเต้าหู้โดยใช้ผงเต้าหู้ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 8 กิโลกรัม ต้มจนเดือด ปิดไฟทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้า เตรียมผลไม้รวมเช่น ถั่วแดง มะละกอสุก ฟักทองหรืออื่นๆ ที่ออกสู่ตลาดตามฤดูกาล หันเป็นชิ้นเล็กสี่เหลี่ยมด้านเท่าพอสวยงามน่ารับประทาน ยกเว้นถั่วแดง ต้มจนสุกทิ้งไว้ให้เย็น นำน้ำนมสดที่ซื้อมาเทใส่ลงต้มในกะละมังแสตนเลตใส่ใบเตยที่ล้างสะอาด เพื่อให้ได้กลิ่นหอมใบเตย ต้มให้เดือดหมั่นคนป้องกันน้ำนมจับตัวเป็นก้อนและติดก้นกะละมังจนสุก เทลงบนผ้าป่านซึ่งปูอยู่ในภาชนะที่มีน้ำแข็งล้อมรอบอยู่ด้านนอกเพื่อให้ภาชนะนั้นเย็น ยกผ้าป่านเพื่อกรองสิ่งเจือปนออกจะได้น้ำนมสดที่ร้อนและผ่านเย็นเป็นเทคนิคการฆ่าเชื้อโรคอีกครั้ง

                   เมื่อได้ส่วนผสมที่ต้องการพร้อมบรรจุแล้ว นำน้ำเต้าหู้ที่เตรียมไว้ตักฝ้าไขมันที่ลอยบนผิวหน้าออก จึงนำถ้วยพลาสติกขนาดบรรจุ 200 กรัม ที่ทำความสะอาดดีแล้วปิดสติกเกอร์ แจ้งชื่อ สถานที่ผลิต และอัตราส่วนเป็นที่เรียบร้อย บรรจงช้อนตักเต้าหู้ชิ้นพองาม พร้อมตักผลไม้รวมหลายๆ ชนิดใส่ไว้บนเต้าหู้ ให้มีปริมาณพอสมควรที่กำหนดไว้ทั้งสองชนิด  ตักไขมันที่ลอยเป็นฝ้าบนผิวน้ำนมสดออกก่อนตักใส่ลงถ้วยพลาสติกที่มีเต้าหู้และผลไม้รวมอยู่พร้อมแล้วจนเกือบเต็ม  ปิดฝาบรรจุนำลงล้างในน้ำที่แช่น้ำแข็งจนเย็นให้สะอาดก่อนที่จะใส่ลงแช่ในถังเย็นพร้อมจำหน่ายต่อไป

               

                   ในส่วนของการตลาดนั้นส่วนใหญ่จะผลิตตามคำสั่งของผู้ซื้อ ส่งตลาดร้านค้าต่างๆ  ร้านค้า CEO เข้าร่วมจำหน่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดตลาดสินค้า ปัจจุบันจัดทำประมาณวันละ 300 400 ถ้วย การจัดส่งถ้าพบการจำหน่ายไม่ได้และสินค้าหมดอายุถึงไม่เน่าเสียจะนำกลับมา หมักทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในแปลงหญ้าและการเกษตรต่อไป ปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเงินทุนหมุนเวียน เพราะค่าถ้วยพลาสติก สติกกเกอร์ และช้อนพลาสติกมีราคาแพงและต้องสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก และบรรจุภัณฑ์ที่ทำอยู่ยังมีรูปลักษณ์ที่ไม่ดีคงต้องใช้งบประมาณในการปรับปรุงอีกมากพอ    สมควร แต่ทางกลุ่มก็ยังจำหน่ายในราคาถูก ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 056-451546 หรือ 09-8597642 ยินดีต้อนรับ

หมายเลขบันทึก: 178940เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2008 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท