มะเร็งกับการบวช


การบวช มะเร็ง

               เหตุปัจจัยที่ทำให้ข้าพเจ้าบวชในครั้งนี้มี 7 ประการหลัก ๆ คือ
               1. นางสาวจันทรา สุภานนทเดชากุล น้องสาวซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ปอด ซึ่งมีลักษณะของการแพร่กระจาย โดยหาต้นตอหรือที่เกิดไม่ได้  หมอบอกว่ามีกำหนดอยู่ได้ 6 เดือน บวกลบไม่เกิน 3 เดือน ได้ขอร้องให้บวชอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ซึ่งข้าพเจ้าได้รับปากไว้จะบวชให้ 10
วัน
       
2. บวชอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในพ.ศ.2550 โดยกำหนดจะบวชในวันที่ 1 ธันวาคม 2550 แต่มีปัญหาในเรื่องของตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1
ได้ประกาศให้ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้ากลุ่มนิเทศ ฯ แต่คู่กรณีดีร้องขอเป็นธรรมในกรณีดังกล่าว และข้าพเจ้าได้ขอสละสิทธิไม่สมัครเข้ารับการคัดเลือกในรอบนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการและต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มไปพลางก่อนจึงไม่สามารถทำการอุปสมบทตามกำหนดไ
               
3. เนื่องจากสมเด็จพระพี่นางพระกัลยาณิวัฒนา ได้ถึงแก่สวรรคาลัยเมื่อต้นปี 2551
จึงได้กำหนดอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระพี่นางด้วย
               
4.  ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ดูแลแม่มากนักหรือแทบจะไม่ได้ดูแลเลย มีน้อง ๆ ช่วยกันดูแล ก็เลยตั้งใจบวชแผ่เมตตาบารมีให้คุณแม่และน้อง ๆ ที่ช่วยกันดูแลแม่มตลอด

    5. สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ประกาศให้ข้าพเจ้าได้รับการเลื่อนวิทยะฐานะจากวิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ โดยประกาศทางหนังสือพิมพ์มติชน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 และขณะนี้ได้มีคำสั่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว
                6
. วันที่ 16 เมษายน 2551 เป็นวันคล้ายวันเกิด ครบรอบปีที่ 55 
                7. และที่สำคัญในรอบหลายปีที่ผ่านมาได้ทุ่มให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการและช่วยเหลือเพื่อนศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และเพื่อนครูในการพัฒนาผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะทำให้ละเลยการปฏิบัติธรรมไป จึงได้ถือเอาเดือนเกิดโดยกำหนดในวันที่ 1 เมษายน 2551 เวลา 17.00 น. ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทสีมาวัดไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี มีผู้ร่วมบวชด้วยอีก  1 รายชื่อนายปฐม อยู่แถว วัดนางสาว อ้อมน้อย สมุทรสาคร มีเพื่อนผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ เพื่อนครูทั้งจากนครปฐม จากโรงเรียนนนทบุรีพิทยาคมและคนในหมู่บ้าน มาร่วมงานประมาณ 100 คนเศษนิด ๆ ได้จัดหอยทอดไว้คอยต้อนรับ การบวชครั้งนี้มีพระมงคลนนทเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูโอสกิจจานุยต พระพี่ชาย และพระสมุห์สมบุญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ บวชสำเร็จเป็นพระภิกษุ เมื่อเวลา 17.55 น. ได้ฉายา "วิโรจโน"

ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทเล้วได้ไปปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักปฏิบัติธรรมโพธิปักขิยธรรมสถาน ที่มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ปฏิบัติแบบยุบหนอ พองหนอ ได้อยู่กับตัวเอง มีสมาธิดี  ลงทำวัตรทุกวัน และได้พบบทสวดที่น่าสนใจ 2 บทคือ

 

 

 

 

 

อภิณหปัจจเวกขณะ ๕

(หันทะ มยัง อภิณหปัจจเวกขณะปาฐัง ภาณะมะ เส)
(เชิญเถิด ทั้งหลาย, มาสวดอภิณหปัจจเวกขณะปาฐะกันเถิด)

ชะราธัมโมมหิ  ชะรัง  อะนะตีโต 
                เรามีความแก่เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
พยาธิธัมโมมหิ  พยาธิง  อะนะตีโต
                เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
มะระณะธัมโมมหิ  มะระณัง  อะนะตีโต
                เรามีความตายเป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
สัพเพปิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโว
              เราจะละเว้นเป็นต่าง ๆ คือว่าจะพลัดพรากจากของรัก ของเจิรญใจทั้งหลายทั้งปวง
กัมมัสสะโกมหิ                                   เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน
กัมมะทายาโท                                      เราเป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ                                             เรามีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ                                           เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระโณ                           เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสามิ                           เราจักทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา                    ดีหรือชั่วก็ตาม
ตัสสะ  ทายาโท  ภะวิสสามิ              เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๆ
เอวัง  อัมเหหิ  อะภิณหัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง                เราทั้งหลายพึงพิจารณาอย่างนี้ทุก ๆ วันเทอญ.

** ในการสวดบทนี้เฉพาะสตรีให้เปลี่ยนบางบทดังนี้ : บทว่า “ธัมโมมหิ” ให้เปลี่ยนเป็น “ธัมมามหิ” ทุกแห่ง
บทว่า “อะนะตีโต” เปลี่ยนเป็น อะนะตีตา” ทุกแห่ง “กัมมะทายาโท” เปลี่ยนเป็น “กัมมะทายาทา”  และ
“กัมมะปฏิสะระโณ” เปลี่ยนเน “กัมมะปะฏิสะระณา”

 

ภารสุตตคาถา

(หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย  ภะณามะ เส)

 

ภารา หะเว ปัญจักขันธา                                    ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ
ภาระหาโร จะ ปุคคะโล                                    บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป
ภาราทานัง ทุกขัง โลเก                                      การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก
ภาระนิกเขปะนัง  สุขัง                                      การสลัดของหนัก ทิ้งลงเสีย เป็นความสุข
นิกขิปิตวา  คะรุงภารัง                                       พระอริยะเจ้า สลัดทิ้งของหนัก ลงเสียแล้ว
อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ                                     ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สะมูลัง  ตัณหัง  อัพพุยหะ                               ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้  กระทั่งราก
นิจฉาโต  ปะรินิพพุโต                                       เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา  ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ          

         ทั้งสองบทให้ความหมายดี ที่ทุกคนควรได้คิดคำนึงถึง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

         ส่วนน้องที่เป็นมเร็งได้แนะนำให้สวดมนต์ สวดพระชินบัญชรคาถาของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี วันละหลาย ๆ จบ สวดไม่ได้ก็ให้อ่าน อย่างน้อยวันละ 9 จบ และเมื่อข้าพเจ้าสวดมนต์ก็จะอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรของน้องและขอให้อโหสิกรรมต่อกัน เมื่อบวชแล้วก็ได้บอกกล่าวให้รับรู้ และได้อุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการบวชและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้  ผลปรากฏว่าน้องมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น และเมื่อน้องได้ไปตรวจร่างกาย จากการอ่านสำเนาเอกสารการตรวจร่างกายก็พบว่าค่าเลือดส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานท่กำหนด มีค่าเลือดบางรายการต่ำกว่ามาตรฐานเล็กน้อย เชื่อว่ามีผลในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะมีสาเหตุอะไรท่ทำให้น้องมีอาการดีขึ้น ก็ขอให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนสู่สภาวะปกติก็แล้วกัน ก็จะเป็นกุศล สาธุ สาธุ สาธุ

 

หมายเลขบันทึก: 178895เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2008 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทสวดเป็นภาษาบาลีไม่ค่อยถนัดแต่ก็น่าจะได้ถ้าพยายาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท