เวทีการเรียนรู้ “ชุมชนนักปฏิบัติ( Community of Practice)”


ทำ AARกับชีวิตของเราได้มั้ย

26-28 มีนาคม 51 เวทีการเรียนรู้ครั้งที่ 3 เรื่อง “ชุมชนนักปฏิบัติ( Community of Practice)”

ครั้งที่ 1 เราฝึกถอดความรู้ตนเอง (รายละเอียดที่นี่)

ครั้งที่ 2 ฝึกถอดความรู้คนอื่น

ครั้งนี้วันแรก 26 มี.ค51 เริ่มด้วยทบทวนกระบวนการ Head Hand Heart

มีรายละเอียดบันทึกไว้ที่นี่

 ใจ(Heart)ต้องมาก่อน ไม่ใช่ เนื้อหา (Head) มาก่อน

อยากได้นวตกรรมต้องทำแบบนวตกรรม ทำอย่างไรให้ COP เป็นการจัดการความรู้ และหมุนเกลียว ไม่อยากให้ยึดติดกับเครื่องมือ เพราะการยึดติดจะเข้าไม่ถึงแก่น

เครื่องมืออยู่ที่ตัวเรา ศักยภาพของการจัดการความรู้อยู่ที่ตัวเรา

ทำ AARกับชีวิตของเราได้มั้ย

หัวใจของการจัดการความรู้อยู่ที่จะทำให้คนพัฒนาตนเองและงานอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร สร้างเงื่อนไขให้คนแสดงศักยภาพออกมา

ครูที่แท้จริงคือ “Fa.”ซึ่งเปลี่ยนจากการสอนมาตั้งคำถามเพื่อฝึกคิดวิเคราะห์

                    เช่น .......แล้วคุณคิดอย่างไร ..... ถ้าคุณเป็นเขาจะทำอย่างไร

                     เขียนเรียงความเรื่องถ้าฉันเป็น...

วิธีการเรียนรู้คือออกจากร่องความเคยชินเดิม เราจะสัมผัสผลเมื่อทดลองใช้กับตนเอง ครอบครัวก่อนแล้วจึงนำไปใช้กับการทำงาน

 KMเป็นปัญญาปฏิบัติ การคิดเป็นภาพ จะช่วยให้มองภาพรวมออก โดยไม่ลืมช้างทั้งตัวและรายละเอียด

 มนุษย์ยากที่จะเห็นช้างทั้งตัวมักจะหลงอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งโดยปริยาย เรียนเยอะแต่ทำน้อย ขาดทักษะการนำความรู้ไปใช้ การมองให้รอบด้านต้อง outside in และ inside out

2ภาพใหญ่ๆที่อาจารย์เน้นว่าควรจำไว้ในใจเพื่อเป็นหลักในการคิดคือภาพของภูเขาน้ำแข็ง (ระบบคุณค่า,มูลค่า) และภาพทฤษฎีตัวยู(การรับรู้ คิด และตอบสนอง)

สังคมไทยเราเก่งเฉพาะด้าน และชูความเก่งบางอย่าง ซึ่งความจริงแล้วถ้าจัดการศักยภาพจะเห็นคนเก่งที่หลากหลายในด้านต่างๆ

วันที่ 27 มีค.51 ช่วง AARหลังจากที่อาจารย์ให้เราดูหนัง A Beautiful Mind  จะเห็นว่าเรามักขาด Conceptualize(ตกผลึก) ขาดการจัดวางระบบความคิด แต่เรามักจะวิเคราะห์ได้

มีรายละเอียดที่บันทึกไว้ที่นี่

บทสนทนาของตัวละครสะท้อนบุคลิกภาพ

ความรู้ใหม่ที่แท้จริงไม่ได้อยู่ในห้องเรียน

จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

การแก้ปัญหา(โจทย์)มีหลายวิธี

ปัญหาบางอย่างแก้ได้ด้วยใจ(ความรัก)

ปัญหาบางอย่างใช้เวลานานในการแก้ไข

 สำหรับการบ้านครั้งต่อไปเดือนมิ.ย51 โจทย์สำหรับตัวเองคิดว่าจะทำอย่างไรให้กิจกรรม COPชมรมจริยธรรม และCOPส่งเสริมสุขภาพบุคลากรกลุ่มเสี่ยง ซ้ำสด ไม่ซ้ำซาก

หมายเลขบันทึก: 178670เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2008 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เข้ามาเยี่ยมปิ่งก่อนไปเชียงใหม่ค่ะ หวังว่าคงสนุกกับงานนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท