การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านเด็กและเยาวชน (2)


best practice ที่นำไปใช้ต้องปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละชุมชน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ การแก้ปัญหาต้องแก้ไขด้วยความคิดเป็นระบบ และเชื่อมโยงภาพองค์รวม

การประชุมภาคีเครือข่ายเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัว วันที่ 28 ก.พ 2549 ที่ผ่านมามีความคึกคักและหลากหลาย.......

ผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายภาคส่วน มีการนำเสนอทั้งแนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผ่านทั้งด้านวิชาการและโครงการที่ได้ดำเนินการในชุมชน

ตัวอย่างดีๆ จากโครงการ bookstart ทำให้ท่านนายกอบจ. แพร่ สนใจและจะนำไปลองทำในพื้นที่ อบต. ดอนศิลา จ.เชียงราย ก็นำเสนอ ประสบการณ์การทำงานร่วมกันกับโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร ในการเชื่อมความรู้สู่ชุมชนตามสถานการณ์ในปัจจุบันผ่านประชาคม หรือวงภูมิปัญญาชาวบ้าน "ข่วงพญา"

นอกจากนี้ในทางนโยบาย ยังมีการพูดถึงการขาดกลไกเชิงนโยบายที่จะพัฒนาเด็กในระดับชาติ เพื่อกำหนดนโยบาย ขับเคลื่อนโดยใช้องค์ความรู้ รวบรวม best practice ที่มีกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ คำถามคือว่า จะเริ่มองค์กรใหม่ หรือจะปรับกลไกองค์กรที่มีอยู่แล้ว

ทางภาคีตกลงจะมีการประชุมทุกเดือนเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยน และขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านนี้ การพูดคุยไปเรื่อยๆ โดยมีวงวิชาการรองรับในการสรุปข้อมูล Map องค์กรภาคีและสิ่งที่แต่เครือข่ายได้ดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะปักธง หรือหาจุดร่วมในการขับเคลื่อนร่วมกันต่อไป

สิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้จากวงประชุมในครั้งนี้ก็คือ best practice ที่นำไปใช้ต้องปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละชุมชน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ การแก้ปัญหาต้องแก้ไขด้วยความคิดเป็นระบบ และเชื่อมโยงภาพองค์รวม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17838เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2006 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท