โคลงกระทู้ อีโรติก


โคลงกระทู้ อีโรติก

อี.....โก้เกิดก่อเก้าะ             ด้วยอิฐ
โร....จนาการตฤษณ์           ดับได้
ติ......สรณติกิจ-                 ฉาเกลศ
.......รณาธิปให้                ตื่นรู้ธรรมเสมอ


อภิธานศัพท์

เก้าะ อ่านว่า ก็

อิฐ (Id หรือ libido) หมายถึง กิเลส ตัณหา และความโลภ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง

อีโก้ (Ego) หมายถึง การสนองความต้องการของ อิฐ

ติสรณติกิจฉาเกลศ=ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) หมายถึง ศีลธรรมจรรยา และระเบียบประเพณีของสังคม หรือเป็นมโนธรรมที่อยู่ในจิตของแต่ละบุคคล อันเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมของครอบครัวและสังคม สามารถแยกออกได้ว่าอะไรคือ ความถูกต้องและเป็นสิ่งดีงาม อะไรควรหรือไม่กระทำ จึงทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมทั้งอิฐและอีโก เพื่อให้อีโกประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในทำนองคลองธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ปฏิบัติตามที่จิตเรียกร้องทุกอย่าง

ติสรณ/ไตรสรณะ=ที่พึ่งสามประการ (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)


ติกิจฉา=การเยียวยาแก้ไข

เกลศ=กิเลส

ติสรณติกิจฉาเกลศ=กิเลสเยียวยาได้ด้วยที่พึ่งสามประการ (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)


โรจนาการตฤษณ์ = ความกำหนัดในกามคุณ  ที่มีอาการรุ่งโรจน์


โรจนาการ=โรจน+อาการ(อาการรุ่งโรจน์ )

ตฤษณา=เงี่ยน   [ตฺริดสะหฺนา] (แบบ) น. ความปรารถนา, ความอยาก, ความดิ้นรน. 
 (ส.; ป. ตณฺหา).

เงี่ยน ในปัจจุบันเป็นคำที่ไม่ภาพ มักใช้พูดถึง กามคุณ และยาเสพย์ติด  สุนทรภู่ ใช้คำนี้ ใน นิราศเมืองแกลง ไว้ความว่า


“ป่าแสมแลเห็นอยู่ริ้วริ้ว           ให้หวิวหวิววาบวับฤทัยไหว
จะหลบหลีกเข้าฝั่งก็ยังไกล      คลื่นก็ใหญ่โยนเรือเหลือกำลัง
สงสารแสงแข็งข้อจนขาสั่น      เห็นเรือหันโกรธบ่นเอาคนหลัง
น้ำจะพัดปัดตีไปสีชัง               แล้วคุ้มคลั่ง งี่ยน ยาทำตาแดง”


กรณาธิป=แปลแบบอ้อมๆ หมายถึง ใจ มาจาก กรณ+อธิป

กรณ/กรณี [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้.
(ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).

อธิป, อธิป [อะทิบ, อะทิปะ, อะทิบปะ] น. พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า,
ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนํา
หน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์.
(ป., ส.).

ฉะนั้น กรณาธิป =หัวหน้าแห่งเหตุ ทุกเหตุเกิดที่ใจ ใจจึงได้ฉายาว่า กรณาธิป

อีโรติก/erotic [ADJ]
Meaning: ซึ่งกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
Related: ซึ่งกระตุ้นกำหนัด
Syn: amatory; aphrodisiac; erogenous


ตามตำรา Hesiod จักรวาลเริ่มต้นจากความว่างเปล่า มีเทพชื่อ เคออส ( Chaos ) แปลว่าความว่างเปล่า ก็อย่างชื่อ ว่างเปล่าจริงๆ ทั้งจักรวาลไม่มีอะไรเลยจากนั้น เคออส ก็ให้กำเนิด ไกอา หรือ กายยา หรือจิอา ( Gaia ) ซึ่งแปลว่า ดิน (รากศัพท์ของ Geo) ทอร์ทารัส ( Tartarus ) ซึ่งแปลว่า นรก และ อีรอส ( Eros ) ซึ่งแปลว่า ตัญหา (รากศัพท์ของ Erotic)


เนื้อหาโคลงกระทู้ อีโรติก

อรรถาธิบายไว้โดยใช้หลักทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) ของ ซิกมุนต์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ที่ว่า


 Id  (erotic) <--- Ego <-- Super ego


โคลง กระทู้ อีโรติก แต่งโดยแฝงนัยะกระทบกระเทียบ  กวีนิพนธ์ (Poem) ในปัจจุบัน ว่า ไม่เคร่งในฉันทลักษณ์ (prosody/Super ego)  เปรียบเสมือนผู้(หญิง)ที่นิยม นุ่งน้อยห่มน้อย/อฉันทลักษณาภรณ์  (erotic)

อฉันทลักษณ์ =อ+ฉันทลักษณ์
อฉันทลักษณาภรณ์=อฉันทลักษณ+อาภรณ์

เมื่อสังคม มองว่าพฤติกรรมของ ผู้(หญิง)ที่นิยม นุ่งน้อยห่มน้อย/อฉันทลักษณาภรณ์  เป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นศิลปะ เป็นความงาม (the beautiful) ความดี (the good) ความจริง (the true)


อฉันทลักษณาภรณ์ (erotic) จึงทำให้เกิด ตฤษณาการ ( S.E.A. Write /Id or libido) เมื่อ เกิด ตฤษณาการ   จึงทำให้เกิด วัฒนธรรมการแต่งกายแบบนุ่งน้อยห่มน้อย/กลอนเปล่า (Blank Verse/ego) ฟูเฟื่องขึ้น เพื่อตอบสนองต่อ Id


ทว่าในชีวิตมนุษย์ปุถุชนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ร่วมกับ อิฐ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาอาศัย อีโก้ ในการดำเนินชีวิต

ยกตัวอย่างเช่นเมื่อร่างกายของเราหิว ต้องการอาหาร  (id บังเกิด) สมองของเราก็จะสั่งการให้เราหาอะไรกิน (ego บังเกิด)  แต่การจะได้มาซึ่งอาหารเพื่อประทังความหิวนั้น สมองของเรามักจะตระหนักรู้ว่า ต้องดำเนินไปโดยไม่ผิดศีลธรรม ไม่ลักขโมย ไม่แย่งชิงจากผู้อื่น ไม่โกหกเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหาร (Super ego บังเกิด)  ที่สำคัญก็คือ เราไม่ควรหลงมัวเมาในรูป และรสแห่งอาหาร การกินนั้นต้องเป็นไปเพื่อดำรงอัตภาพ จึงจะถือว่าเป็นการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง สมบูรณ์ 

ในชีวิตมนุษย์ อิฐ (Id) ที่มนุษย์ต้องเผชิญอยู่บ่อยๆ ก็คืออิฐว่าด้วยเรื่อง กิน กาม และเกียรติ   อิฐสามก้อนนี้เราควรบริหารจัดการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง   มิฉะนั้นเราอาจจะโดนอิฐสามก้อนนี้ล้มทับจนได้รับบาดเจ็บก็เป็นได้ 

 **ขออภัยท่านผู้อ่าน ที่ต้องใช้คำ ไม่สุภาพ ** 

หมายเลขบันทึก: 177516เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2008 08:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะ

แหม...ช่างเล่นคำนะคะ :)

แว๊ปมาอ่านนิดหนึ่ง เดี๋ยวเจ้าของบันทึกจะเหงา อิอิ

พี่แจ๋ว..มาเร็วจัง

ขออนุญาตคุณกวิน

ครูมิมจ๋าพี่แจ๋วเพิ่งเห็นข้อความจากมือถือเมื่อครู่นี้เองค่ะ

พี่ไปตอบครูมิมไว้ที่บันทึกของคุณครูอ้อยแล้วนะคะ

ขอบคุณคุณกวินที่ให้พื้นที่ค่ะ :)

มิมเห็นแล้วค่ะพี่แจ๋ว และก็ไปฝากไว้ที่บันทึกของพี่แจ๋วเหมือนกัน

อิอิ เกรงใจคุณกวินจัง

แต่คุณกวินจิตใจดี อยู่แล้ว อิอิ

คุณกวินคะ

  • บันทึกนี้ชื่อชวนให้รีบเข้ามาอ่านมาก
  • เพราะมนุษย์ก็ย่อมจะมี Id แฝงอยู่ลึก ๆ ทุกคน
  • แต่มันถูกจัดการไว้ด้วย Super ego และที่เหนือกว่านั้นคือ
  • ...พระพุทธศาสนาของเรา...ติสรณ..ที่พึ่งสามประการ...สุดยอดเลย..อิ อิ อิ
  • สวัสดีตอนเช้าค่ะ
  • แวะมาเยี่ยม
  • ช่างสร้างสรรค์...จำนรรจา
  • จริงนะ...อิ อิ อิ
  • ธรรมชาติก็เป็นเช่นนี้...(แอบยิ้ม)
  • คุณกวิน
  • เอาข้อมูลน่าสนใจมาฝากค่ะ เผื่อจะใช้เขียนบทกวีหรือบทความ...ดีนะคะ เกี่ยวกับ เขาพระวิหาร

**สวัสดีครับทุกท่านเข้ามาแก้ไขบทความนะครับ เดี๋ญวตอนเย็นมาตอบ

สวัสดีครับผม

    ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ ผมได้เรียนรู้ศัพท์เพียบเลยครับ เป็นกลอนบทเยี่ยมไว้สอนธรรม สะกิดให้เราคิดได้เยอะครับ

มีอิฐ(อิด Id) ตั้งกองไว้บนพื้นมากมาย หากเราไม่มี อีโก้ (อีก่อ) เอาอิฐมาเรียงต่อกันเป็นกำแพงหนา ก็ปั้นเป็นอะไรได้ต่างๆ นาๆ สนอง อิด กันได้อย่างสบายเลยนะครับ

มีอิฐ(อิด) ไม่มี อีก่อ(โก้) อิฐก็ยังเป็นอิฐเฉยๆ ใช่ไหมครับ?

ขอบพระคุณมากครับ

  • ขอบคุณอาจารย์ เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ที่ได้ให้ทรรศนะดีๆ นะครับ
  • วันนี้มีงานเลี้ยง ตอนเย็นแต่คงไม่ได้ไปแน่ๆ ติดธุระ เดี่ยวเข้ามาตอบใหม่นะครับ
  • jaewjingjing พยามแก้ไขบทความไม่ให้ดูน่าเกลียดแล้วครับ แต่เขียนเพิ่มอีกหน่อยดีกว่า
  • ครูมิม หายเหงาเลยครับแฟนคลัมาพร้อมหน้าพร้อมตา
  •  คนไม่มีราก เมื่อคืนก่อนดูรายการช่อง 11 กรองสถาณการณ์ เกี่ยวกับประเด็นนี้แล้วครับ น่าสนใจมากๆ เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนนะครับ
  •  สีตะวัน ใช่ครับเอ ถ้างั้นเราควรปล่อยไปตามธรรมชาติ หรือจะฝืนธรรมชาติดี ล่ะครับ ถามไปงั้น...
  • เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ สวัสดีอาจารย์เม้งอีกทีนะครับ อีก่อ ชอบคำนี้ครับ

สวัสดีค่ะคุณกวิน

ไม่ได้บอกว่าบทความน่าเกลียดนะคะ คำว่าเข้าใจเล่นคำเป็นการชมค่ะ

มาบอกกลัวตีความไม่ตรงกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ..คุณกวินทรากร

เข้ามาสวัสดีย้อนหลังวันสงกรานต์ค่ะ..มีความสุขมาก ๆ นะคะ..

เข้ามาเรียนรู้กับการเฝ้าระวังหิน ๓ ก้อนไม่ให้ล้มทับตัวเองค่ะ..

ระลึกถึงค่ะ..

  • jaewjingjing ครับผม
  • จริงๆ ก็น่าเกลียดล่ะครับ 55 รู้ตัว
  •  แต่บางคำ ไม่ค่อยมีคนเขียนถึง
  • แต่เขียนไปแล้ว..
  • ถือว่าเป็นความรู้ในเชิงวรรณคดี ก็แหล่วกั๊น
  • แนวการเขียนของผมมักจะห่ามๆแบบนี้... ทะลึงวันละนิดจิตแจ่มใส
  •   สวัสดีครับอาจารย์ วัชราภรณ์ 
  • ขอบคุณที่แวะเข้ามาอ่านนะครับ รุ้สึกเป็นเกียรติและดีใจมากๆ
  • จริงๆ อิฐ สามก้อน นี้
  • อิฐ เรื่อง กิน พอจะตระหนักรู้ พยามพิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญา ก็ระงับความหลงได้ครับ
  • อิฐเรื่อง เกียรติ นี่พิจารณา เรื่องโลกธรรม 8 ก็พอระงับความหลงได้
  • ส่วนอิฐ เรื่อง กาม นี่พิจารณา อสุภกรรมฐาน ก็แล้ว พิจารณา ไตรลักษณ์ ก็แล้ว พิจารณา โน่นนี่ก็แล้ว ยังไม่หายหลงจากเรื่องกาม กามในที่นี้หมายถึงความรัก นะครับ ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์

มาเยี่ยม...

เรื่องอีโก้ของตนเอง เห็นตนเองแล้วอีโก้ก็เหมือนปลิงที่มันเกาะอยู่ต้องดึงมันออกไปทิ้งซะ ฮิฮิฮิ

เปลี่ยนเพลงแล้ว ยังเพราะเหมือนเดิม

ทำอย่างไรดีคะ

  • ตอนนี้กำลังโดนอิฐก้อนที่ 1(กิน)ล้มทับอยู่คะ

 

  • สวัสดีครับอาจารย์ umi ดึงปลิงไม่ออกครับ ขอยาสูบหน่อยเอามาสูบแก้เครียด เอ้ย เอามาละลายน้ำแล้วเทใส่ปลิง อิๆ
  • ตอนนี้ แกะได้สองตัวแล้วครับ อีกตัวนึงแกย๊ากยาก เห้อ..
  • สวัสดีครับคุณ คนโรงงาน กลับมาจากไต้หวันรึยังครับ สาวไต้หวันน่ารักมั้ย ถ่ายรูปมาฝากบ้างนะครับ 555
  • คุณ ก้ามปู ถ้างั้นแนะนำให้  พิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท