ของเก่าที่ยังใช้ได้ดี


แม้เราจะต้านกระแสของการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เราก็คงหันหน้ามาช่วยกันเดินตามและรักษาวิถีชีวิต สิ่งที่ดีงาม หรือภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราไว้ แต่ก็รับบางสิ่งที่เหมาะสมมาปรับใช้ใช่ว่าจะปฏิเสธไปเสียทุกอย่าง

          จากบันทึกที่ผ่านมามีกิจกรรม ส่งต่อ...สงกรานต์  ในครอบครัว และสังคมรอบข้าง ที่ได้บันทึกมาแลกเปลี่ยนไปแล่วนั้น  บันทึกนี้ เป็นการกิจกรรมที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันต่อมา  ถึงวิถีชีวิตที่ได้ปฏิบัติส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน  ที่เอาวาระแห่งประเพณีสงกรานต์เป็นแรงจูงใจ

           ก็อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า   ในอดีตบรรพบุรุษของเราได้ดำรงวิถีชีวิต  ตามแนวทางแห่งการพึ่งพาตนเอง   อยู่กันอย่างธรรมชาติ - อยู่อย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ  แต่มาปัจจุบันวิถีชีวิตเหล่านั้นถูกกระแสที่เรียกว่าการพัฒนา-ความทันสมัยเข้ามาเบียดแทรก   ประกอบกับการไม่ยึดมั่นในวิถีของบรรพบุรุษหรือว่าไม่รู้เท่าทันของกระแสของการพัฒนา   ที่ไม่ส่งเสริมการพึ่งพาอาศัยกันแต่กลับวัดกันที่เงินตรา  ใช้เงินเป็นตัวตั้งในการพัฒนา  ทำให้ทิศทางหรือผลของการพัฒนาก็ออกมาอย่างที่เราๆ ท่านๆ  ได้เห็นกันทุกวันนี้

           เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งกระแสของการเปลี่ยนแปลง  ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในสังคมไปจากเดิมไปมากหากเราย้อนกลับไปนึดถึงภาพของอดีต กับภาพในปัจจุบัน เราก็จะเห็นความแตกต่างของวิถีชีวิตจะเห็นมาก-น้อย แตกต่างกันไปอยู่ที่มุมมอง และประสบการณ์ชีวิตที่ยืนยาวต่างๆ กัน

          ที่ร่ายมายืดยาวนี้   ก็เพียงแต่เกริ่นให้เข้ากับสิ่งที่จะบันทึกต่อไปนี้     เพราะช่วงนี้มีวันหยุดยาวหลายวัน  ได้มีโอกาสทบทวนตนเอง และนำสิ่งดีๆ  มาใช้ในชีวิตประจำวัน  ลองมาดูส่วนหนึ่งที่ผมจะนำมาแลกเปลี่ยนผ่านบันทึกนี้ดูนะครับ ว่าผมได้นำอะะไรกลับมาใช้แล้วบ้าง

  • ใช้เสียงสะล้อซอซึงมาเพิ่มบรรยากาศ

         เป็นการนำเสียงเพลงบรรเลงมาเปิดเท่าที่โอกาสจะอำนวยนะครับ (ไม่ได้เป็นการนำเครื่องดนตรีพื้นเมืองมาเล่นเอง)  เสียงดนตรีพื้นบ้านนั้นสามารถช่วยสร้างบรรยากาศได้เป็นอย่างดี  ใครจะลองนำมาเปิดบ้างในบางเวลาและบางโอกาสก็จะพบว่าวิเศษมากเลยครับ

  • สร้างกระท่อมไม้ไผ่เพื่อเป็นเพิงพักผ่อนในตอนกลางวัน

        คงเป็นเหมือนกันในทุกภูมิภาคนะครับ  อากาศจะร้อนมากในช่วงกลางวัน  ในบ้านหากเป็นบ้านชั้นเดียวอากาศจะร้อนมา  คนโบราณเขามักจะสร้างเพิงพักไว้ข้างๆ บ้าน ใต้ร่มไม้  เพื่อใช้เป็นที่อยู่ที่พักในช่วงตอนกลางวัน  ผมก็ลองสร้างบ้าง  อย่างกระท่อมที่เห็นในภาพนี้ ใช้เงินประมาณ 1,000 บาท เท่านั้นเอง เพราะวัสดุบางส่วนไม่ต้องซื้อ

 

  • ใช้หม้อแกงดิน

        ไม่ต้องเกรงกลัวเรื่องสารตะกั่ว  หรือสารตกค้างใดๆ ผมนำหม้อแกงดินมาใช้ได้หลายปีแล้ว  ปีนี้ขึ้นไปเชียงใหม่  เลยได้นำติดมาด้วย  ใช้ได้ดีมากและหากใช้กับเตาถ่านก็จะยิ่งดี 


หม้อแกงดินที่ซื้อมาใหม่แบบมีหูจับ

50042504
หม้อแกงดินถ่ายไว้เมื่อปีที่แล้วกับช้อนไม้ไผ่

  • ใช้หม้อน้ำ

        ปีนี้เริ่มหันมาใช้หม้อน้ำดินเผาครับ  หลังจากเคยใช้เมื่อตอนอยู่ที่บ้านตอนสมัยเป็นเด็กๆ  แต่ก็มาสูญหายไปหมด เมื่อมีการนำตู้เย็นมาใช้   สมัยนี้หาดูได้ยากมาก  แต่เมื่อลองนำมาใช้ดูแล้ว พบว่าใช้การได้ดีมากเลยครับ  ผมตั้งไว้บนบ้าน  ข้างบ้าน และหน้าบ้าน  เราก็สามารถใช้กระบวยตักน้ำดื่มได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเปิดตู้เย็นทุกครั้งเมื่อจะดื่มน้ำ


หม้อน้ำบนบ้าน

 


จุดที่จะตั้งหม้อน้ำที่กระท่อมข้างบ้าน ใช้ไม้ไผ่สานเป็นที่วาง(ฝีมือการสานของพ่อตา)


บริเวณหน้าบ้าน ทำฮ้านน้ำหม้อแบบง่ายๆ ครับ

  • ใช้ขันโตก

        ขันโตกนอกจากจะใช้เป็นที่วางอาหารแล้ว ยังสามารถใช้วางสิ่งของต่างๆ หรือจะใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งก็ได้


ขันโตกไม้สารพัดประโยชน์

 

           เป็นส่วนหนึ่งของการนำภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนมาปรับใช้ครับ   ใครจะว่าผมหัวโบราณก็ช่างเถอะ  เพราะการนำสิ่งเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ก็เพราะว่ามันยังใช้ได้ดี  เป็นของที่มีคุณค่า  เมื่อก่อนไม่ทันได้คิดก็ไปตามกระแสของการเปลี่ยนแปลง  แต่เมื่อเวลาผ่านไปบางสิ่งที่เข้ามาใหม่ก็ใช่ว่าจะดีกว่าของเดิมเสมอไป   สิ่งไหนดีเราก็ควรจะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

          ถึงแม้เราจะต้านกระแสของการเปลี่ยนแปลงไม่ได้  แต่เราก็คงหันหน้ามาช่วยกันเดินตามและรักษาวิถีชีวิต  สิ่งที่ดีงาม หรือภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเราไว้  แต่ก็รับบางสิ่งที่เหมาะสมมาปรับใช้ใช่ว่าจะปฏิเสธไปเสียทุกอย่าง  เพราะโลกทุกวันนี้เป็นโลกที่เราจะต้องรู้เท่าทันและมีความสามารถในการปรับตัวให้ได้อย่างเหมาะสม  โดยยึดวิถีดั้งเดิมของเราเป็นหลัก

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

หมายเลขบันทึก: 177400เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2008 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

-สวัสดีคับอ้ายสิงห์

-คงบ่อว่าหยังท่าจะบอกว่า..สวัสดีปี๋ใหม่เมืองคับ...

-มีโอกาสเข้ามาแล้วคับทั่น

-อย่าลืมติดต๋ามเน้อ...อรหันต์ ซัมเมอร์ ภาค 2

-และจะมี "ลองของ 2" และ "ดรีมทีม" ต่อไปครับ...............

  • มาเรียนรู้ของเก่าค่ะ
  • ล้วนแล้วแต่ มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ดั้งเดิม แท้ ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

น่าใช้ทั้งนั้นครับ เป็นธรรมชาติดี ปลอดภัยด้วย

รู้สึกว่าเราพวกเดียวกันค่ะ ของใช้เหล่านี้นอกจากจะสวยงาม หาง่าย และกลมกลืนกับชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติแล้ว ยังเป็นการช่วยอุดหนุนผู้ทำงานหัตถกรรมและช่างพื้นบ้านให้ยังคงรักษาอาชีพเขาไว้ได้ ที่อยุธยามีชุมชนที่ปั้นหม้อดินขนาดต่างๆ ทำกันมาหลายรุ่น ที่บ้านก็ชอบใช้ของจากดินเผา และไม้ไผ่ค่ะ

บังตาห้องน้ำชั้นบนที่บ้านเป็นไม้ไผ่สานโดยลุงโชติ ใช้มาหลายปี เพิ่งจะผุ ป้านวลเลยเป็นผู้ซ่อม โดยเลาะซี่ไม้ไผ่ของเก่าออก ตัดไม้ไผ่ของบ้านเราเอง เหลาซี่ไม้ แล้วนำมาขัดเป็นบังตา ไม่ได้ใช้ตะปูซักตัว เห็นลุงโชติ และป้านวลทำอะไร โดยใช้ของในธรรมชาติที่มีอยู่และใช้ฝีมือของตน ทำให้ซึ้งถึงคำว่า พอเพียง และพึ่งตนเองได้ อย่างแท้จริงค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ขยันนำเรื่องราวเช่นนี้มาแบ่งปัน

จากสูงสุดกลับคืนสู่ธรรมชาติ

- จากสิ่งของธรรมชาติรอบตัวสามารถนำมาประดิษฐ์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ น่าทึ่งค่ะ

- เราก้าวพร้อมไปกับการเปลี่ยนแปลงของโลกไกลเพียงใด..สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับคืนสู่สามัญ

- ขอบคุณมากมายสำหรับคำแนะนำในการเขียน blog ค่ะ

  • ขอบคุณนะคะที่นำมา ลปรร. กัน...
  • ได้เห็นภูมิปัญญานี้แล้ว...ภูมิใจค่ะ...ภูมิใจที่คนไทยเรามีภูมิปัญญา...อยู่อย่างพึ่งพากับธรรมชาติ...เรียบง่าย...ไม่วินิสมาหรา..ฟู้ฟ้า..อลังการ...
  • ชอบจังค่ะ ทั้งปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม...

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ

ชอบหม้อดินจังเลยค่ะ ตอนเด็กๆที่ข้างบ้านเขาตีหม้อขาย ชอบไปนั่งดูและขอลองทำด้วย แต่ตอนนี้เขาเลิกทำไปแล้ว ลูกๆเขาก็ไม่มีใครสานต่อ ... ส่วนที่บ้านพี่ก็ไม่ได้ใช้ อ่านบันทึกคุณสิงห์แล้วทำให้อยากใช้หม้อดินบ้าง...

เฮฮาศาสตร์ 4 ที่ภูเก็ต คุณสิงห์ป่าสักกับครอบครัวไปรึปล่าวค่ะ...?

  • หม้อดิน ของดีที่่กำลังหายไป แค่ไม่สะดวกใช้
  • หม้อหุงข้าวไฟฟ้า สะดวก แต่ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเงินทองมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นราคาหม้อหุงข้าว ก็จะแพงกว่าหม้อดิน ระหว่างใช้ก็ต้องเสียค่าไฟฟ้า เหมาะกับชีวิติเร่งรีบ เช่น คนเมือง
  • หม้อดิน ราคาถูกกว่า ใช้งานด้วยฟืนไม้ ถ่านไม้ ซึ่งหาได้ในร่องสวน หรือเผาเองได้ เหมาะกับความพอเพียง
  • สวัสดีครับอ.สิงหืป่าสัก
  • ตั้งใจ๋มาแวะแอ่ว
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับที่การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยที่เร็วมากและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง อีกทั้งวิธีคิดของคนในสังคม ที่ละเลย วัฒนธรรม ประเพณี ความดีงาม ที่บรรพบุรุษได้สร้างมาตลอดจนการรักษาสืบทอดวิถีชีวิตของคนในชุมชน
  • ดีแล้วครับ ที่นำแนวคิดและพยายามอนุรักษ์ ความดีหรือสิ่งที่ดีในอดีตมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณครับ

P

 

  • สวัสดีครับน้องเพชรน้ำหนึ่ง
  • ติดตามไปอ่านเรียบร้อยแล้ว
  • เยี่ยมมาก...น้องแก้ว
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน

P

 

  • สวัสดีครับ อ.บัวปริ่มน้ำ
  • ของดีที่เป็นของเรายังมีอีกมากนะครับ
  • หากร่วมด้วยช่วยกันอนุรักษ์ และไม่ละทิ้ง ของดีๆ เหล่านั้นก็จะยังคงอยู่คู่กับสังคมเราไปอีกนาน
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยน

P

 

  • สวัสดีครับ อ. วรชัย หลักคำ
  • ยินดีที่ได้ ลปรร.ผ่านบล็อกครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและแลกเปลี่ยน

P

 

  • สวัสดีครับ อ.คุณนายดอกเตอร์
  • อิอิ...เราเป็นพวกเดียวกันแน่ๆ เลยครับ
  • ของดีที่เป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน  ที่สอดคล้องกับวิถีและธรรมชาติ นั้นมีอยู่มากมายนะครับ
  • ก็คงจะต้องเป็นพวกเรา และคนรุ่นเราที่จะต้องทำหน้าที่รักษา ฝื้นฟู นำสิ่งดีๆ เหล่านี้มาผลิตซ้ำเพื่อส่งต่อแก่คนรุ่นต่อๆ ไป
  • ผมคิดว่าโดยทั่วไป แท้จริงแล้วทุกคนอยากอยู่กับธรรมชาติ  อยู่อย่างง่ายๆ  นะครับ
  •  สวัสดีครับน้องกุ๊กไก่-ปากคาด
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน
  • ขยันเขียนบันทึกต่อไปนะครับ
  • ยินดีให้คำแนะนำและ ลปรร.(เท่าที่พอจะรู้) อยากเรียนรู้ก็ติดต่อ ลปรร.ได้นะครับ
  • ยิ่งเขียน-ยิ่งอ่าน เราก็จะซึมซับและพัฒนาตนเองไปเรื่อยๆ
  • งานส่งเสริมการเกษตร เป็นงานที่สำคัญและสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมไทยได้มาก  แต่เราต้องหลุดออกมาจากกรอบที่กักขังเราไว้ให้ได้
  • กรอบอะไรนั้น เมื่อได้ ลปรร. และทำงานไปนานๆ ก็จะเข้าใจ

P

 

  • สวัสดีครับ * ~Wardah~*
  • ของดีของเราก็มีอยู่  ดังนั้นเราคงต้องไม่ละเลย ละทิ้งนะครับ
  • ดีใจที่คนรุ่นใหม่ สนใจและเข้าใจ
  • หากได้นำไปสู่การปฏิบัติในเรื่องใด หรือมีเรื่องดีๆ ก็นำมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.แป๋ว
  • อยู่ในเมือง ของใช้บางอย่างก็เหมาะมากเลยนะครับ
  • เช่น หม้อน้ำ เครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เป็นต้น เป็นได้ทั้งของใช้และเป็นของประดับไปในตัว
  • ครอบครัวผมไปภูเก็ตแน่นอนครับ
  • เดินทาง 24 ถึง 25 เม.ษ.ครับ

 

  • สวัสดีครับ อ. Ayalawittur Tikapus
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • ผักของอาจารย์ก้าวหน้าไปถึงไหนแล้วครับ
  • ส่วนผมก็พยายามหาพืชผักพื้นบ้านยืนต้นเข้ามาปลูก คาดว่าหน้าฝนนี้คงได้อีกหลายชนิด

P

 

  • สวัสดีครับ อ.เขียวมรกต
  • อาจารย์ก็ได้รักษาสิ่งดีๆ เหล่านี้ไว้เยอะเหมือนกันนะครับ
  • ขอให้อาจารย์โชคดีตลอดปี๋ใหม่เมืองนี้ และมีพลังที่จะก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคงนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท