จัดการความรู้SML(2)


กลไกปฏิบัติของโหนดนครศรีฯ-ตรัง ทำของเราให้ดีที่สุด
นโยบายSMLแม้จะพูดและนำร่องทดลองในบางพื้นที่มาหลายเดือนแล้ว แต่พอจะขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศก็เกิดอุปสรรค ทั้งเรื่องงบประมาณและเอกสารคู่มือที่อุดมศึกษาซึ่งเป็นPRและติดตามสนับสนุนยังไม่ได้รับ รวมทั้งงบประมาณ ขณะที่หน่วยรับผิดชอบของอำเภอบางส่วนปฏิบัติการล่วงหน้าไปแล้ว
ผมไม่อยากให้โครงการนี้เป็นประโยชน์เฉพาะการกระจายเม็ดเงินไหลเวียนในระบบอย่างเดียว ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมเคยเสนอคราวพิจารณาโครงการวิจัยของดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ ในชุดวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงว่า ลองวิจัยชุดความคิด การปฏิบัติและผลจากการปฏิบัติจากนโยบายของรัฐบาลในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้แว่นส่องทาง 2 อันคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงและเอกสารสรุปแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของสภาพัฒน์ฯ โดยศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น OTOP เกษตรอินทรีย์ กองทุนหมู่บ้าน SME กระจายให้ครอบคลุมกลุ่มอาชีพและพื้นที่เป้าหมาย ดูซิว่า คิดอย่างทำอย่างผลอีกอย่าง เพราะอะไร ทำนองนี้ จะได้รู้กันสักทีว่า เรามีฐานคิดที่แปรเปลี่ยนเป็นนโยบายในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากน้อยแค่ไหน อย่างไร และผ่านระบบ/กลไกปฏิบัติอย่างไร ผลออกมาเป็นอย่างไร เพราะอะไร จะได้เผยแพร่สาธารณะและจัดทำเป็นข้อเสนอรัฐบาลต่อไป
กลับมาเรื่องSML ผมเสนอว่า ใครจะเป็นยังไงก็ช่างเขา เราทำบทบาทของเราให้ดีที่สุดในฐานะกลไกสนับสนุนเพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจ มีส่วนร่วม และดำเนินการได้ครบถ้วนตามกระบวนการที่ตั้งใจไว้ซึ่งผมเห็นว่าถ้าทำได้ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในชุมชน เป็นเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
ผมเสนอให้เอาชุมชนเป็นหลัก น.ศ.ที่แบ่ง 2 คนต่อตำบลนั้นใช้บริหารเรื่องค่าใช้จ่ายรวม แต่ปฏิบัติจริง ควรบริหารจากฐานงาน 7 อำเภอ ให้น.ศ.ลงเวลาว่างที่สามารถลงพื้นที่ได้นับรวมวันให้ได้ตามเวลางาน อาจารย์ที่ปรึกษา 1 อำเภอ/1คนจัดตารางนำน.ศ.ลงพื้นที่โดยประสานกับชุมชนและอำเภอ โหนดนครศรีฯ ตรังจะจัดอบรมจนท.ศูนย์ อ.ที่ปรึกษา และน.ศ.ในวันที่ 6-7ส.ค.นี้โดยทีมหลักจาก กนศ.ได้ร่างกำหนดการคร่าว ๆมาแล้ว ผมเพิ่มเติมในส่วนของแผนปฏิบัติการที่จะหารือกันวันที่ 7 เพียง 1 ชั่วโมง กลัวจะไม่เสร็จ เพราะโหนดต้องรับผิดชอบขั้นตอนสุดท้ายซึ่งไหลเลื่อนมาจากศูนย์จังหวัดที่รับมาจากหน่วยปฏิบัติอีกทีหนึ่ง หากแผนปฏิบัติจากนี้ถึงธ.ค.ไม่ไหลลื่นตามระบบ โหนดจะทำงานไม่เสร็จ ซึ่งทีมกนศ.ที่เป็นอ.ที่ปรึกษาและโหนดรับไปกำหนดแผนกิจกรรมในช่วงเวลา 6 เดือนทำงานอย่างละเอียดเพื่อเป็นตุ๊กตาให้ผู้เข้าร่วมคิดเพิ่มเติมให้รอบคอบยิ่งขึ้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1770เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2005 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท