ผมเป็นผู้ประสานงานหน่วยฯ มีผู้ช่วยอยู่ 2 คน ภารกิจของหน่วยคือ ประสานสนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เอื้อให้เกิดความเข้มแข็งขึ้นในชุมชน และช่วยบรรเทาปัญหาความยากจน โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย สกว.และศตจ.กิจกรรมมี 2 เรื่องคือ 1)สนับสนุนโครงการพัฒนาและวิจัย(จัดการความร้)โดยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนใน 6 พื้นที่เป้าหมาย ใช้ขอบเขตตำบลในประเด็นกองทุนหมู่บ้านและสัจจะวันละ 1 บาทในขอบเขตจังหวัดเป็นentry pointเชิงยุทธศาสตร์ 2)ประสานเชื่อมโยงการเรียนรู้ในพื้นที่เป้าหมายกับเครือข่ายองค์กรการเงินชุมชน หน่วยงานสนับสนุนและระดับนโยบาย เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนในบทบาทที่เกี่ยวข้องอย่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อความ เข้มแข็งของชุมชน สังคมและประเทศ
หน้าตาผู้ช่วยผมครับ
หทัย เหมทานนท์(แหม่ม) และ จิรา กาญจนภักดิ์(แป้น)
ผมทำงานเกี่ยวข้องกับองค์กรการเงินชุมชนมา 7 ปี จึงมีประสบการณ์และเครือข่ายการทำงาน ที่สามารถเชื่อมโยงได้ทั่วประเทศ ผมใช้ICTช่วยในการประสานงาน เริ่มจากE-mailต่อมาได้เปิดwebsiteของหน่วยชื่อkm4fc.wu.ac.thโดยลอกแบบจากสกว.สสส. พอช. สคส.และอื่น ๆโดยหวังว่าจะเป็นชุมทางสำหรับผู้สนใจเรื่ององค์กรการเงินชุมชนเข้ามาสืบค้น แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน แต่ก็มีคนแวะเวียนเข้ามาไม่มากนัก แม้แต่เครือข่าย 6 พื้นที่ก็ไม่ค่อยเข้ามา
ผมตามดูเห็นสคส.เปลี่ยนรูปแบบwebsiteจึงเลียนแบบบ้างคือใช้websiteเป็นช่องทางเสนอฐานคิด ความรู้ชัดแจ้ง กฏหมายระเบียบต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเงินชุมชน และประชาสัมพันธ์เรื่องราวในแวดวงที่เกี่ยวข้อง โดยใช้Blogเป็นช่องทางในการสื่อสารความรู้จากประสบการณ์TK ผมได้เชิญชวนให้ 6 พื้นที่เป้าหมายเปิดBlogเล่าประสบการณ์การจัดการความรู้ของตน รวมทั้งทีมผู้ช่วย 2 คนที่น่ารักและขยันขันแข็ง ในงานที่ตนเองรับผิดชอบด้วย gotoknow.org/kmm-p ผมพบว่าBlogจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของBlogมากว่าคนอื่น ๆ เพราะเป็นการบันทึกที่จะช่วยเก็บข้อมูลและจัดระบบความคิดของเรา ซึ่งผมได้จัดระบบการนำเสนอแยกเป็นกลุ่มเรื่องเพื่อให้ง่ายต่อการติดตามหลังจากเขียนเล่าไปเรื่อย ๆมาพักหนึ่ง ตอนนี้ ผมจัดเป็น 3 กลุ่มเรื่องคือ 1)หน่วยจัดการความรู้ 2)เครือข่าย 6 พื้นที่ 3)เครือข่ายกลุ่มการเงิน 3 ตำบลในจ.นครศรีธรรมราช ในแต่ละกลุ่มเรื่องจะมีวงเรียนรู้ย่อยลงไปอีก นอกนั้นก็เป็นเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงกับประเด็นการจัดการความรู้