
ที่มาของภาพ
ปกนิตยสาร ธรรมะใกล้ตัว ฉ.039/ 3 เม.ย.51
ขอให้แสงแห่งปัญญาและความสงบจงบังเกิดแด่เราทุกคน
จริงหรือไม่ ? ที่มีผู้รู้กล่าวว่า ศาสตร์และศิลป์ในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ในทุกสถานการณ์
โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เป็นการศึกษาที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่องและไม่มีวันหยุด
มนุษย์ทุกคนย่อมใฝ่หาความสุข
และการเข้าสู่วิถีชีวิตที่มีความสุข
การหาเครื่องมือเพื่อเป็นวิธีการในการเข้าสู่ความสุขจึงเป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้ก่อนเป็นเบื้องต้น
วันนี้คนไม่มีรากจึงลองทบทวนเนื้อหาที่ได้ศึกษามาจากปรมาจารย์ด้านNeo-Humanistในประเทศไทย
รศ.ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล* ซึ่งเป็นผู้นำแนวคิดนี้มาใช้และเผยแพร่ในวงการศึกษาบ้านเราเป็นท่านแรกในประเทศไทย
แนวคิดนีโอฮิวแมนนิส
(Neo-Humanist)
**
เป็นศาตร์หรือแนวคิดของนักปราชญ์ชาวอินเดีย ชื่อ
Prabhat Ranjan Sarkar
หรือ P.R.Sarkar
คิดค้นพบและเผยแพร่เมื่อปี
ค.ศ. 1959
แนวคิดนี้ว่าด้วย
เรื่องของการประพฤติตนในกรอบคุณธรรมและศีลธรรม
รวมทั้งการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ความเชื่อว่าพลังแห่งความรัก(Universal
Love) เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล
ทำให้คนเราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีจิตใจงดงาม
มีคลื่นสมองต่ำลงเห็นอกเห็นใจและอยากช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น
ชาวนีโอฮิวแมนนิสจะร้องเพลงมันตรา Babanam Kevalam
ซึ่งทำให้คลื่นสมองต่ำลงอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นการเพิ่มพลังแห่งความรักตนเองและผู้อื่น
ซึ่งแนวคิดนี้พัฒนาเป็นแนวคิด Prout(Progressive
Utilization
Theory) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า ทฤษฎีอรรถประโยชน์ ซึ่งจะกล่าวถึงในครั้งต่อไป
จุดเด่นของชาวนีโอแมนนิสที่เป็นรูปธรรม
คือ
การมีเป้าหมายและวิธีในการดำเนินชีวิตด้วยวิธีการทางบวก
ไม่คิดลบพูดลบกับตัวเองและผู้อื่น ไม่นินทา ไม่ดูถูก
ไม่ซ้ำเติมใคร
ไม่นิยมอาหารจากเนื้อสัตว์ต่าง
ๆ เลือกบริโภคอาหารที่ให้พลังชีวิตสูง เช่น
ผักสด ผลไม้ โยเกิร์ต ถั่ว และเมล็ดธัญพืชเป็นหลัก มีความสุขกับชีวิตเรียบง่าย
กินอยู่แบบพอดี มีวินัยในการใช้จ่าย ไม่นิยมของฟุ่มเพือย
ชอบแบ่งปันส่วนเกินให้ผู้ที่อ่อนแอกว่า
และที่สำคัญคือ การชอบทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นมากกว่าเพื่อตัวเอง
แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสนี้
อาจถือได้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
(Sustainable
Development)เนื่องจากมีความเชื่อพื้นฐานว่า
มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพในตัวเองที่ต้องค้นพบ การพัฒนาจากภายในตัวเอง
ใช้กระบวนการที่เกิดจากการพิจารณาตนเอง
และผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลง/พัฒนาเกิดขึ้นจากปัจจเจกบุคคลนี้เองที่ส่งผลต่อตนเองและสังคมโลกโดยรวม
ท่านอาจารย์อัญชลี
อุชชิน*** ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์แห่งนพลักษณ์
กล่าวไว้ว่า โลกจะเปลี่ยนได้
เมื่อเราเปลี่ยนโลกภายในตัวเรา
เสียก่อน
เห็นด้วยไหมคะ.
แหล่งอ้างอิง
* อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
**ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://luksoshow.multiply.com/journal/item/72
*** ศึกษาเพิ่มเติม
ได้ที่ http://gotoknow.org/blog/nujjin/176094