Social Network น่าเบื่อจัง


ในปัจจุบัน SNS คือการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน แต่ลิงค์เหล่านั้นไม่มีความหมายอะไร มันไม่มีเหตุมีผล และไม่สามารถอธิบายอะไรได้

ก็ยังไม่ได้อ่าน Open Social อย่างจริงจัง และก็ยังไม่มี Programmer ฝีมือฉกาญมาช่วยงาน (ถ้าใครสนใจทำงานใน SciPark ก็บอกได้นะครับ) แต่ที่แน่ๆ คือรู้สึกว่า Social Networking Service (SNS) พักนี้น่าเบื่อจัง และจากการได้อ่านบทความ "The Future of Social Networks on the Internet" ก็ยิ่งตอกย้ำความรู้สึกนี้ยิ่งขึ้น

ปัจจุบันปี 2008 อาจจะเรียกได้ว่าเรากำลังอยู่ในยุคกลางหรือยุคปลายๆ ของ web 2.0 กันแล้ว จึงทำให้มีเว็บไซต์ในลักษณะ SNS ออกมาเยอะเหลือเกิน ไล่ไปตั้งแต่ Hi5, MySpace, Facebook, Bebo, LinkedIn, Multiply, Ning และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทั้งหมดจะมีส่วนที่คล้ายกันคือ "การแอ๊ดเพื่อน" ตามหลักการ Friend-Of-A-Friend (FOAF) ซึ่งที่ทำให้ผมเบื่อก็คือ มันเหมือนกันไปหมดแต่มันแชร์กันไม่ได้ซะด้วย ลองนึกสิครับว่า เรามี profile อยู่บน Hi5 ถ้าอยากมีบน Multiply ก็ต้องสร้างขึ้นใหม่ ทำให้นึกถึงเมื่อก่อนตอนแรกเล่น ICQ แต่เพื่อนบอกว่าไม่มี ICQ มีแต่ MSN ก็ต้องมาสร้าง account MSN คุยกันเยอะขึ้น ภาษาก็เริ่มวิบัติเป็น ภาษาเอ็ม เช่นเดียวกัน เชื่อว่าตอนนี้หลายๆ คนคงมี account อยู่ใน SNS หลายๆ เว็บไซต์ มี profile อยู่เยอะแยะเต็มไปหมด แล้วต่อไปมันจะมีความวิบัติอะไรตามมาจากการใช้งาน SNS เหล่านี้?

โดยปกติแล้วสิ่งที่ SNS ให้บริการพื้นฐานคือ การให้เราสร้าง profile ของเราลงในเว็บ, บางที่อาจอนุญาตให้อัพโหลดไฟล์แบบต่างๆ ไม่ว่าจะภาพ เสียง หรือ คลิปวีดีโอ, จากนั้นก็จะมีเรื่องของการ comment (เม้นต์), มี Personal Messeage (PM) ให้คุยส่วนตัวกับเพื่อนบางคน และที่เราต้องทำก็คือ ไล่อ่าน ไล่เม้นต์ ไปตาม Profile ของคนอื่น เรื่อยๆ แอ๊ดเพื่อนบ้าง บล็อคพวกเกรียนบ้าง ข้อดีของบริการลักษณะนี้คือ การเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน ซึ่งมันคือความสวยงามที่สุดของอินเทอร์เน็ต SNS รายใหญ่อย่าง Hi5 มีสมาชิกอยู่เกือบ 100 ล้าน account ทั่วโลก บางคนมี "เพื่อน" เป็นหลักหมื่นหลักแสนอยู่ในนั้น ฟีเจอร์นี้เองที่ถูกใจถูกโฉลกกับคนไทยมากที่สุด มันเป็นการวัด "ความแหล่ม" ของตนบนไซเบอร์สเปซ


ที่มา: http://jcmc.indiana.edu/vol13/issue1/boyd.ellison.html


ผมชอบที่ SNS ทำให้คนมีตัวตนอยู่ได้บนไซเบอร์สเปซ เพราะเราจะต้องแสดงความเป็นตัวเองออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อทำให้ Profile ของเราน่าสนใจ และมีชีวิตชีวาที่สุด บ้างก็เน้นไปที่การใส่ข้อมูลเนื้อหา blog รูปถ่ายในชีวิตประจำวัน เรื่องราวเพื่อนคนใกล้ตัว บ้างก็เน้นไปที่ลูกเล่นใส่ glitter หรือตัววิ๊งๆ เข้าไป สุดท้ายทำให้เราเชื่อได้ประมาณหนึ่งว่า account นั้นมีตัวตนอยู่จริงบนโลกมนุษย์ ตามรายละเอียดที่เขาใส่เข้าไปในเว็บ ซึ่งถ้าเป็นสมัยแรกๆ ที่ผมใช้อินเทอร์เน็ต ผมไม่มีทางรู้เลยว่าผมคุยหรืออีเมล์อยู่กับใคร จนมีมุขตลกฝรั่งออกมาว่าบางที เราอาจจะคุยอยู่กับหมาหรือหุ่นยนต์ก็ได้ (ใครจะรู้) แต่อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้นครับ SNS พักนี้น่าเบื่อมากด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างคือ 1) มันเสียเวลา 2) เรากำลังตกเป็นเหยื่อ 3) ไม่มีประโยชน์

เนื่องจากมันมีบริการ SNS อยู่เยอะเกินไป หน้ำซ้ำยังเล่นคล้ายๆ กัน เพื่อนคนหนึ่งใช้อยู่สองสามเว็บ จำได้ว่าเพื่อนคนนี้เพิ่งมาขอแอ๊ด Multiply ไปได้ไม่นาน วันนี้มีเมล์มาขอแอ๊ด Facebook อีกแล้ว แล้วเราต้องไปเม้นต์มันถูกเว็บเลยหรือเปล่าเนี่ย ต้องไปดูว่าใครเป็นเพื่อนมันบ้าง มีเพื่อนคนไหนที่เรายังไม่รู้จักบ้าง ไป say hi ทิ้งไว้หน่อยดีไหม งานการไม่ต้องทำครับ เสียเวลาไปกับเรื่องพวกนี้ สุดท้ายไม่รู้จักใครเพิ่มขึ้นเลยสักคน เพราะเป็นความสัมพันธ์เพียงฉาบฉวย เราก็ไม่ได้อยากรู้จักเขาจริง บางทีบางคนมาขอแอ๊ดไว้เฉยๆ เพราะอยากมีจำนวน"เพื่อน"เพิ่มเยอะๆ ไว้โชว์ว่า "แหล่ม" สังคมออนไลน์มันเลยเสื่อมลงครับ

เรื่องที่สอง นักการตลาดยุคใหม่เริ่มเห็นอิทธิพลของเครือข่ายทางสังคมแบบนี้ เริ่มพยายามมองว่าจะเข้าแทรกซึมถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างไร ยุทธวิธีอย่าง viral marketing การสร้าง buzz word เริ่มมีให้ได้ยินเยอะขึ้นเรื่อยๆ บางผลิตภัณฑ์เริ่มทำตัวเนียนแทรกตัวกลมกลืนไปใน SNS ต่างๆ อย่างใน Hi5 ที่มีคนไทยอยู่นับล้าน เราจะได้เห็น "Android" ที่เป็นหุ่นยนต์ของเหล้ายี่ห้อนึง "Gangofgirls" ตัวการ์ตูนสาวฝรั่งของยาสระผม หรือแม้แต่นักการเมืองอย่างคุณ abhisit ที่มีเจ้าหน้าที่ทำให้และเข็นจนมี "เพื่อน" เป็นหลักหมื่น เรียกได้ว่าพลังปากต่อปากของคนบนเน็ตแรงและเร็วเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม... จะทำอะไรก็ทำไปครับ อย่ามาละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้แล้วกัน

เรื่องสุดท้ายที่ฟังเหมือนแรงสุดคือ มันไม่มีประโยชน์ ทำไมต้องทำอะไรเดิมๆ ซ้ำหลายๆ ครั้ง แม้ความสวยงามของ SNS คือการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน แต่ลิงค์เหล่านั้นไม่มีความหมายอะไรอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น มันไม่มีเหตุมีผล และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมคนนี้ถึงเชื่อมต่อกับคนคนนั้น ทำไมไม่เป็นคนอื่นหละ เรากำลังรอเครื่องมืออันทรงพลังในการท่องไปในอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Web 3.0 หรือ Semantic Web นี่อาจจะเป็นคำตอบให้กับปัญหานี้ครับ เพราะ Semantic web มีกระบวนการในการเชื่อมโยงผู้คนและวัตถุต่างๆ เข้าด้วยกันโดยมีการระบุความหมายระหว่างลิงค์นั้นๆ ในอนาคตจากการค้นเข้าไปใน SNS เราอาจจะหาได้ว่า นักศึกษาอเมริกันคนไหนที่พูดภาษาไทยได้และมีความสัมพันธ์เป็นญาติหรือเป็นเพื่อนสนิทกับคนที่เรารู้จัก โดยที่ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยแถบซิลิคอนวัลเลย์ มีงานดิเรก มีความสนใจคล้ายๆ กันกับเรา และที่สำคัญมีเวลาว่างในช่วงที่เราจะบินไปสัมมนาในซานฟรานซิสโก จะได้ส่ง message ไปนัดเจอกันเพื่อคุยแลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับงานวิจัยที่เค้าทำอยู่

 


ที่มา: http://jeffreyroos.wordpress.com/2007/11/02/what-is-a-social-network


โลกกำลังหมุนไปเรื่อย ส่วนการพัฒนาเว็บไซต์ในบ้านเราก็กำลังตามหลังเค้าอยู่ ผมชอบคำพูดประโยคหนึ่งของ Bact' ที่พูดประมาณว่า "อย่าส่งเสริมเพราะว่าเป็นของไทย แต่ให้ส่งเสริมเพราะเป็นของดี" เว็บ 2.0 ที่พัฒนาโดยคนไทย ไม่ได้เกิดสักที ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมันยังมีคุณค่า และมีประโยชน์ไม่เพียงพอ อันนั้นก็คงต้องปรับปรุงกันต่อไปครับ ก็หวังว่าปรากฏการณ์ส่วนหางของ long tail ในประเทศไทยที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 10 ล้านคน จะเพียงพอทำให้วงการอินเทอร์เน็ตในบ้านเราดียิ่งขึ้น ทำให้เรามี SNS ที่ดี มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อสังคมไทย ผมกำลังพัฒนาเว็บและรอช่วงเวลานั้นอยู่ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

หมายเลขบันทึก: 176946เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2008 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)

"เว็บ 2.0 ที่พัฒนาโดยคนไทย ไม่ได้เกิดสักที ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมันยังมีคุณค่า และมีประโยชน์ไม่เพียงพอ"

อ่านมาถึงตรงนี้ผมสะดุดกึกเลยครับ ทำไมต้องบอกว่ามีประโยชน์ไม่เพียงพอล่ะครับ

อยากให้อธิบายตรงนี้ให้ผมฟังหน่อยนะ

ก็เข้าใจได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมเว็บไทย ไม่โต ก็เพราะเราใช้ภาษาของเราไงล่ะครับ

อันนี้ผมตอบได้ง่ายๆ เลย

สวัสดีครับ คุณ bugsek

ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
ถ้าถามถึงเว็บ 2.0 ฝีมือคนไทยนึกถึงอะไรครับ .... (หมดเวลา! ไว้ไปตอบคอมเมนต์ต่อแล้วกันครับ)

อันดับแรกขอ scope เรื่องที่จะคุยก่อนนะครับ
เว็บ 2.0 ที่พัฒนาโดยคนไทย (ในที่นี้) = ผมกำลังพูดถึงเว็บไทยที่ให้บริการคนไทย
ยังไม่ได้คุยเรื่อง Public website ที่มีฐานผู้ใช้เป็นคนทั่วโลก อันนั้นแน่หละครับ ก็ภาษาอังกฤษมัน Official language นิ
แต่... ถ้าจะนึกดูมันก็มีเว็บที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแต่ก็ดังมากๆ เช่น Cyworld.com ของเกาหลี เคยได้ยินไหมครับ?

สิ่งที่เรากำลังสนใจในที่นี้คือ เว็บ 2.0 ที่พัฒนาโดยคนไทย และให้บริการคนไทย ทำไมถึงไม่โต
1) คนเล่นน้อย
2) ไม่ trend ไม่เทศ
3) ไม่มีประโยชน์พอ

ก็อาจจะมีเหตุผลอื่นๆ อีกนะครับ อย่างที่กล่าวไว้ในบทความ impact ของ long tail มันยังไม่แสดงผลออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ผมเชื่อว่าคนที่กำลังอ่าน blog นี้อยู่น่าจะเป็นส่วนหัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย คุณอาจจะเป็น innovator หรือ early adopter ที่เป็นผู้บ่งชี้ทิศทางการใช้งานเว็บไซต์ของประเทศ แต่คุณเพียงคนเดียวไม่อาจจะส่งเสียงที่ดังพอ มันต้องการคนอย่างคุณ (You) อีกหลายๆ คนครับ ยกตัวอย่างนะครับ

Gotoknow เป็นเว็บ 2.0 ที่ดีครับ มีคนใช้ มีคนบอกต่อ มี Traffic อยู่ตลอดเวลา และมี Value เพียงพอให้ user ชอบ
คุณค่าของ Gotoknow อาจจะอยู่ที่ Knowledge Management ก็ได้ (ผมเดานะ)

Exteen ก็เป็นอีกหนึ่งเว็บ 2.0 ที่มีคนใช้เยอะมาก ทั้ง teen และไม่ teen อันนี้ก็มี Value ที่คนยอมรับ
คุณค่าของ Exteen อาจจะอยู่ที่ การใช้งานง่าย สะดวกสบาย ถูกใจวัยทีน

ถึงเขียนไงครับ ว่าเว็บ 2.0 อื่นๆ ที่ยังไม่ดังคงยังไม่สามารถแสดงประโยชน์ออกมาได้โดนมั้งครับ

ถามกลับเล่นๆ นะครับ ถ้ามีเวลา ช่วยวิเคราะห์ให้ผมฟังหน่อยสิครับ
ทำไม Hi5 ถึงเป็นบริการที่ถูกโฉลกคนไทย มีคนไทยสมัครใช้บริการกว่าล้าน account
แล้วทำไม identity network website ที่พัฒนาโดยคนไทย ถึงไม่เคยเห็นมีคนเล่นถึงระดับนั้นเลย?

------------------------------------

อ้อ... สวัสดีวันสงกรานต์ครับ น้องจิ แซ่เฮ

"ถามกลับเล่นๆ นะครับ ถ้ามีเวลา ช่วยวิเคราะห์ให้ผมฟังหน่อยสิครับ

ทำไม Hi5 ถึงเป็นบริการที่ถูกโฉลกคนไทย มีคนไทยสมัครใช้บริการกว่าล้าน account

แล้วทำไม identity network website ที่พัฒนาโดยคนไทย ถึงไม่เคยเห็นมีคนเล่นถึงระดับนั้นเลย?"

ผมได้อ่าน POsitioning เมื่อเดือนมีนาคมก็ถึงบางอ้อครับว่าทำไม Hi5 ถึงมีคนเล่นจำนวนมากขนาดนั้น

และงานสัมมนาที่ Positioning จัดขึ้นโดยการบรรยายของทีมงาน สนุก ก็เห็นด้วยกับความคิดนั้นครับ

1. hi5 ดังเพราะว่า มันดึงอีเมลใน contact list ของเราขึ้นมา แล้วส่งลิงค์ hi5 ไปให้เพื่อนๆ ใน contact list เข้ามาสมัครไปเป็นทอดๆ

อันนี้คนทำมันไอเดียดีมาก

2. hi5 มีรูปเพื่อนของเราแสดงขึ้นมา และให้เราแอดเพื่อนได้เรื่อยๆ มันเลยขยายต่อไปได้เรื่อยๆ จากเพื่อนสู่เพื่อนสู่เพื่อน

3. hi5 มันเล่นง่าย ไม่มีอะไรเลย นอกจาก ดูรูปเเพื่อน และการคอมเมนต์ให้เพื่อน มันมีอยู่แค่นี้ ทำให้คนเล่นไม่ต้องอะไรมาก แค่มาคอมเมนต์ให้เพื่อน และมาดูว่าใครคอมเมนต์ให้บ้าง แค่นี้ก็พอแล้ว

เอาแค่นี้ก่อนครับ

3) ไม่มีประโยชน์พอ (อันนี้ผมไม่เห็นด้วยครับ เพราะ Social network ทุกที่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้นครับ อย่าง gotoknow, oknation, zickr,duocore.tv, seedang, ฯลฯ)

ขอบคุณครับ คุณ bugsek

การทำงานในวงการนี้บางครั้ง The First Mover Take it all ครับ
ทำไมนึกถึง seedang ครับ เพราะเค้าบอกว่าเป็นเว็บ 2.0 แรกของไทยหรือเปล่า?
ทำไม duocore เพราะเป็น Internet TV รายแรกๆ ที่ทำอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้หรือเปล่า?
แต่ทั้งสองเว็บเป็น Content network และ Interest network ครับ คือ มันมีเนื้อหาที่ถูกสร้างโดยผู้ใช้ ไม่ใช่แค่ profile

แล้วนึกถึง Identify network ทำไมต้อง Hi5?
เพราะมันดึง contact list ของเรามาส่งต่อเพื่อนๆ ตอนนั้นเราไม่รู้ ไหวตัวไม่ทัน เลยกลายเป็นเครื่องมือให้ Hi5 เป่าประกาศบริการตนเองออกไป
เพราะมันไม่ต้องคิดมาก แค่ใส่ Profile ตัวเอง แล้วเม้นต์ๆ กันต่อ
ก็คงจะเป็นอย่างนั้นครับ ถ้า Value ของ Hi5 อยู่ที่ "มาก่อน" และ "ใช้งานง่าย" แล้ว identity network อื่นๆ ที่พัฒนาโดยคนไทย ทำไมถึงไม่ดังหละครับ? เคยได้ยิน fri3nd.com ไหมครับ อยากบอกว่ามีอีกเยอะหลายเว็บไซต์ไทยที่คนไทยไม่รู้จักนะครับ

คุณค่าไม่เพียงพอ หรือ โปรโมตไม่แรงพอ หรือ มีเหตุผลอื่น

ถ้าใครมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ช่วยแนะนำด้วยก็ดีครับ ;)

P

TheInk

 

พักหลังนี้ อาตมารู้สึกว่า บันทึกของคุณโยม น่าอ่านที่สุด...

เจริญพร

ขอโปรโมทเว็บหน่อยนะครับ

My Website is: <A HREF="http://www.pikpod.com">www.pikpod.com</A><br/><br/>

ขอเชิญเพื่อนๆ ฟังเพลงสากล ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีเสียง DJ, ไม่มีโฆษณาหรือข่าวคั่น เพลงไหนเล่นจะมี ชื่อศิลปินและชื่อเพลง บอกโดยไม่ต้องรอ DJ บอก และเพลงไหนเล่นจะมีเนื้อเพลงให้ร้องตามด้วย ไปตาม link เลยฮับ <br/><br/>

<A HREF="http://www.pikpod.com">www.pikpod.com</A><br/><br/>

และหาเพื่อนได้เหมือน ฮิห้า อีกด้วย

ขอบคุณมากๆ

โทษที นึกว่าใส่ html ได้

ขอเชิญที่เว็บนะครับ www.pikpod.com thank you

ขอบคุณ หลวงพ่อ P BM.chaiwut

วิจารณ์สามก๊ก : ขงเบ้งกับอุยเอี้ยน ก็น่าอ่านครับ

 

ส่วนคุณ pikpod
คุณค่าของ pikpod.com อยู่ที่ไหนครับ
ทำไมถึงคิดว่าจะมีคนใช้บริการหละครับ? การฟังเพลง 24 ชั่วโมงผ่านเว็บไซต์เป็นสิ่งที่ผู้คนต้องการจริงหรือ?
เคยมีผู้รู้ท่านหนึ่งสอนผม และให้ผมถามตัวเองซ้ำๆ จนกว่าจะได้คำตอบนี้ ลองนึกดูนะครับเพื่อเมืองไทยจะได้มี SNS ที่มีประโยชน์เยอะๆ

 

สวัสดีครับคุณTheInk และคุณbugsek

ผมเข้ามาอ่านบทความนี้จาก duocore.tv ครับแล้วเกิดความรู้สึกอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยนะครับ

อ้างจากที่คุณTheInk กล่้าวนะครับ

" เว็บ 2.0 ที่พัฒนาโดยคนไทย ไม่ได้เกิดสักที ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมันยังมีคุณค่า และมีประโยชน์ไม่เพียงพอ อันนั้นก็คงต้องปรับปรุงกันต่อไปครับ "

ผมเห็นด้วยส่วนหนึ่งครับ ที่ผู้พัฒนาคนไทยยังต้องพัฒนาเว็บเพื่อให้ถูกใจผู้ใช้ ซึ่งเป็นคนไทยด้วยกันเองต่อไป เพื่อคนไทยจะได้หันมาใช้ของไทยกันมากขึ้น ขอเอาใจช่วยนะครับ, และผมคิดว่าเว็บ 2.0 ที่พัฒนาโดยคนไทยก็เกิดแล้วนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้เรามองในประเทศ(ใช้ภาษาไทย)อย่างเดียว หรือรวมต่างประเทศ(ใช้ภาษาอังกฤษ)เข้ามาด้วย

อ้างจากที่คุณbugsek กล่าวนะครับ

" ก็เข้าใจได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมเว็บไทย ไม่โต ก็เพราะเราใช้ภาษาของเราไงล่ะครับ

อันนี้ผมตอบได้ง่ายๆ เลย "

เห็นด้วยครับ ผมมองว่าเว็บพวกนี้ขนาดความโตของมัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของผู้ใช้ภาษานั้น ๆ นะครับ ถ้าเราจะมองว่าเว็บของคนไทยไม่โตอย่างของต่างประเทศ ผมว่าเปรียบกันไม่ได้นะครับ เพราะผู้พัฒนาไทยเราย่อมสร้างเว็บเพื่อรองรับผู้ใช้ชาวไทยอยู่แล้วครับ

ผมมองว่าเรากำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

ผมคิดว่าเราต้องแยกให้ออกให้ก่อนว่า social network แต่ละตัวมีประโยชน์ มีวัตถุประสงค์อย่างไร หากแยกไม่ออกก็ไม่สามารถใช้งานให้เป็นประโยชน์ บางคนคิดว่า linkedin กับ hi5 มันก็เหมือนกัน แต่ผมคิดว่ามีความแตกต่างกันมากครับ linkedin นั้นจะเป็นลักษณะ connection แบบ professional จริงๆ แต่ hi5 ซึ่งจะเน้นแบบสบายๆ เป็นกันเองมากกว่า สนุกๆ เฮฮา ซึ่งผมเองก็ใช้ทั้งคู่แต่คนละวัตถุประสงค์กัน

ตอนแรกกะจะแค่อ่านอย่างเดียว แต่ผมก็เห็นด้วยกับคุณ Bugsek และ คุณ Caramel ตรงที่ว่า เนื่องจาก Internet User ในบ้านเราในไทยยังมีน้อยมาก และ Internet User ที่ใช้งานภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วยังน้่อยอีก

ไม่นับเรื่องระดับการศึกษา ที่เน้นไปด้านกว้างๆ ทำให้ Focus อะไรไม่ค่อยจะได้ ทำให้ปริมาณ Internet User ที่อยู่ในยุค 2.0 ที่แท้จริงมันยิ่งน้อยไปใหญ่ เวลาเราพัฒนา Web2.0 โมเดลไทยๆ มันจึงไม่ค่อยเกิดเพราะ ปริมาณ User ที่ต่ำเลยวัดและวิเคราะห์ทิศทางอะไรไม่ค่อยจะได้ครับ

อยากรู้อะไรมันหน่วงการพัฒนาชาติของเราอยู่ เฮ้อ...

ขอบคุณ คุณ Caramel, คุณ Nuttakorn, คุณ Ripmilla ครับ

ยินดีครับที่มีคนอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
แต่จากเรื่อง SNS ตอนนี้กลายเป็นเราให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาประเทศชาติ (อีกครั้งหนึ่ง)
ที่น่าสนใจคือ อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาเว็บ 2.0 ในบ้านเรา
1) คนใช้อินเทอร์เน็ตน้อย
2) คนใช้อินเทอร์เน็ตที่ใช้ภาษาอังกฤษคล่องยิ่งน้อย (เข้าไปใหญ่)
ก็เลยทำให้คนจำนวนน้อยเหล่านั้นไปใช้เว็บ 2.0 สากลดีกว่า หรือเปล่า?

หรือว่ามองที่ตัว product ของไทยเอง ปัญหาอยู่ที่
1) เว็บยังดีไม่พอ (คุณค่าน้อยไป ไม่ถูกใจ)
2) เว็บดีมันมาช้าไป (ใช้เว็บนอกจนติดกันหมดแล้ว)
3) เว็บดีโปรโมตไม่เป็น ไม่มีคนรู้จัก
แล้วพอมีใครสามารถเสนอวิธีแก้ไขได้บ้างไหมครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ ^_^

 

คำพูดผมอาจจะรุนแรงไปหน่อยนะครับ ก็อย่าถือสากัน ,

SNS ของคนไทยผมยังไม่เจออันไหนดีๆเลยก็ว่าได้ เรื่องภาษาถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอย่างว่าเพื่อนของแต่ละคน อาจจะเป็นชาวต่างชาติก็ได้

อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นกับการพัฒนา Web 2.0 ในบ้านเราแท้จริงแล้ว ผมว่ามันเป็นเรื่องของระบบที่ไม่เป็นสากลมากกว่าครับ Product เกิดมาเพื่อคนไทย

1) คนไทยใช้ Internet น้อยไม่จำเป็นที่จะ Web 2.0 จะไม่เกิดในบ้านเรา

2) คนไทยใช้ภาษาอังกฤษไม่คล่อง แล้วเขาจะไปใช้ web 2.0 ของนอกได้อย่างไร (มันเป็นภาษาอังกฤษ)

มองตัว Product ของไทย มันยังไม่ดีพอจริงๆ ถึงแม้ว่า Business Model หรือ Idea ที่เกิดขึ้นมันจะเจ๋งสักเพียงใด แต่การทำงาน เงินทุนมัน ยังน้อยมากๆ ไม่มีใครกล้าเสี่ยง ในเรื่องนี้ง่ายๆไม่เหมือนเมืองนอก

1) เว็บยังดีไม่พอ (อันนี้มีอยู่เยอะมาก)

2) เว็บดีแต่มาช้าไป (ถ้ามันดีกว่าจริงๆ ก็ไม่แน่ที่จะเปลี่ยนเช่น Lexitron กับ Longdo)

3) เว็บดีโปรโมตไม่เป็น <-- อันนี้ผมเห็นด้วยอย่างมาก

ตอนนี้การแก้ปัญหาผมว่าไม่มีทางออกตายตัว แต่ผมว่าการ Team up จะช่วยแก้ปัญหาได้เยอะ เพราะชาว Developer ชาวไทย บางทีไม่ยอม Team up ช่วยกันทำงาน ส่วนเรื่องภาษาช่วยกันคนละไม้ละมือเดียวมันก็ Inter ได้แต่ ยังไม่มี web ไหนทำตัวเองเป็นสื่อกลาง การช่วยแปล ;)

เว็บ SNS ของคนไทย มีแล้วครับ ที่เห็นตอนๆนี้เพิ่งเปิดตัวไปไม่นาน ชื่อว่า บ้านเล็ก หรือ http://www.banlek.com ครับ ซึ่งรวมฟีเจอร์เจ๋งๆไว้หลายตัวทีเดียวครับ

พวก Microblog อย่าง twisster หรือ miniroom อย่าง cyworld และฐานข้อมูลโรงเรียนสถาบันทั่วประเทศ อย่าง Facebook และที่เห็นเพิ่งเปิดตัวไปมเื่ออาทิตย์ที่แล้ว ก็คือ Family tree Sns แบบครอบครัวครับ ผมว่าน่าสนใจ และมีแววรุ่งมากทีเดียว แถมใช้งานง่ายด้วยครับ

ยังไงลองเอาตัวอย่างที่เล่น มาให้ดูครับ แอดกันได้นะครับ ฝาก เก็บแต้มด้วยเลยละกัน อิอิ

http://www.banlek.com/pod

ลืมบอกไปว่า เว็บ banlek.com นั้นมี 3 ภาษาด้วยครับ ไทย อังกฤษ เกาหลี

ความเห็นส่วนตัวล้วน ๆ

ผมไม่ค่อยชอบเล่น hi5 สักเท่าไหร่น่ะคับ ไม่ได้เพิ่งไม่ชอบ แต่ไม่ชอบมานานมากแล้ว ไม่รู้เพราะอะไรเหมือนกัน แต่ลอง ๆ มาคิดดูผลว่ามันคงไม่ใช่ Social ที่ผมต้องการ คือมันกลายเป็นเว็บที่เสนอลู่ทางไปในทางอื่นที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้เล่นสักเท่าไหร่ เช่น ทางชู้สาว หากิ๊ก หาดารา อะไรประมาณนี้ คือมันกลายเป็นเว็บเห็นเพื่อนเล่นแล้วเจอคนโน้นคนนี้ก็เลยเล่นตามไป

ผมถึงกับเคยเขียนชื่อใน msn ว่าไม่เล่น hi5 เพราะงั้นกรุณาอย่า add แต่ว่าในเมื่อเพื่อน ๆ เล่น เมื่อเดือนก่อนผมก็เลยต้องเริ่มกลับมาเล่นมันไม่ให้แต่ก็ไม่กี่ครั้งเท่านั้นเอง

Social Network ที่ผมจะเล่นคือมันต้องมีประโยชน์จริงไม่ใช่ดูดเวลาเราไปผลาญเล่นซะอย่างนั้น อย่างพวก Facebook , Ning แบบนี้น่าเล่น

ความเห็นทั่วไป

แต่สำหรับคำถามว่าทำไม Social Nwetwork ของเราไม๋โต สาเหตุหลักก็คงไม่หนีเรื่องภาษาหรอกครับ เพราะเราไม่ได้เป็นภาษาสากลที่พอคนเข้าใจก็อ่ายเข้าใจได้ อีกอย่างในทางการตลาดของโลก มันมี value น้อยถ้าเทียบกะของเค้า  ดูอย่างเว็บไซต์ต่างประเทศเวลาเปิดตัวที่ก็มีมูลค่าหลายสิบล้าน แต่สำหรับไม่มีใครมาทุ่มเงินตรงนี้นี่นา  ที่เห็น ๆ อยู่ก็ทำเพราะใจรักกันทั้งนั้น การตลาดของไทยคงยังมองไม่ออกเวลาจะเอาเงินที่เสียไปกลับคืนมาได้ยังไงให้คุ้มทุน ทั้งที่ไอเดียของเราก็ไม่ได้ด้วยกว่าคนอื่น

SN มีมากราย มากเข้าผู้เล่นเองก็สับสนว่าควรจะเล่นที่ไหนดี  ผมเองอยากสมัครบางทีก็คิดว่าควรดีหรือไม่ที่จะเอา password ตัวเองไปโปรยเล่น

ผมเองก็พยายามทำ SN ในรูปแบบ Question-Answer คือพยายามทำให้คนที่ยอมเสียเวลาเข้ามาเล่นได้ประโยชน์กลับไป ไม่เน้นจำนวนคนแต่เน้นที่คนสนใจจริง ๆ (ตอนนี้ยังไ่ม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่ เหอๆๆ)

ถผมอยากให้ทุกคนที่ทำ SN ของไทย หรือคนที่เล่น SN ช่วยผลักดันให้ SN ที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างปลูกจิตใจสำนึกที่ดีในการเล่นอินเตอร์เน็ตดีกว่า ขืนเป็นอย่างนี้ต่อไป มันจะมีแต่แง่ลบมากขึ้น ผู้ปกครองที่เห็นลูกเล่นก็เห็นแต่ภาพลบ พลอยให้อะไรดูแย่ลงไปอีก

ลองพยายามหาอะไรที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มาสร้างสังคมออนไลน์ของเรากันดีกว่านะคับ

ขอโทษทีคับ พิมพ์ผิดเยอะแยะเลยอะ

ที่พอคนเข้าใจก็อ่ายเข้าใจได้

ที่พอคนเข้าใจก็อ่านเข้าใจได้

การตลาดของไทยคงยังมองไม่ออกเวลาจะเอาเงินที่เสียไป

การตลาดของไทยคงยังมองไม่ออกว่าจะเอาเงินที่เสียไป

ทั้งที่ไอเดียของเราก็ไม่ได้ด้วยกว่าคนอื่น

ทั้งที่ไอเดียของเราก็ไม่ได้ด้อยกว่าคนอื่น

โอ้ อ่านแล้วได้อะไรใหม่มาเพียบเลย โลกบล็อกเกอร์ ขบคุณครับ

คุณ DominixZ ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
ผมว่าไม่แรงนะ แต่อาจจะหลงประเด็นไปหน่อย
จากที่ขอ scope ไว้ใน comment ที่ 3. ว่าเรากำลังคุยกันถึงเว็บไทยที่ให้บริการคนไทย
ดังนั้น
อุปสรรค
1) คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตน้อย สถิติจาก NECTEC
ประมาณการว่ามีถึง 13 ล้านคนในปี 2007 แต่ที่ผมสงสัยคือเป็น Net Gen ที่ใช้อินเทอร์เน็ตจริงๆ จังๆ อยู่สักกี่คน มันไม่สามารถผลักดันอะไรกันได้เลยหรือ
2) ตรงนี้กำลังอาจจะมอง long tail phenomenon ครับ คนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ เค้าก็ใช้เว็บสากลกันหมด และแนะนำให้คนอื่น (ในส่วน tail) ใช้ตามๆ กันมา ถึงบอกว่า First Mover Take it all ไงครับ

ส่วน Product ผมมองตรงข้ามคือ สำหรับการพัฒนาเว็บในบ้านเรายังไม่เห็น Web ที่มี Business Model ดีๆ เลย ส่วนเรื่องไอเดียคนไทยไม่แพ้ใครหรอกครับ

ยิ่งถ้ามองการเจริญเติบโตของญี่ปุ่นหรือเกาหลี เค้าเริ่มจาก Copy ก่อน ถึงค่อยมา Research & Develop มันก็ไม่แปลกถ้าคนไทยเราจะทำบ้าง (ในปริมาณที่เหมาะสม ที่เรียกว่า "แรงบันดาลใจ")

แต่สุดท้ายที่ comment เรื่อง team up อันนี้เห็นด้วยอย่างแรง ผมเคยคุยกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านทิ้งท้ายไว้เป็นสัจธรรมมากคือ "คนไทยไม่สามารถทำโปรเจคใดๆ ที่ใหญ่ไปกว่าความสามารถของคนๆ เดียว" มันคุยกันดีๆ ไม่ค่อยจะเป็นครับ ศักดิ์ศรีมันเยอะ ego แรงๆ กันทั้งนั้น ผมหละหน่าย 555

------------------------------------

คุณ Pod เป็นอะไรกับคุณ pikpod ที่ comment 7. 8. หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นนักพัฒนาหรือเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ banlek.com ฝากตอบคำถามนี้ด้วยสิครับว่า "คุณค่าของ banlek.com อยู่ที่ไหนครับ"
ผมว่าถ้าตอบได้ จะทำให้เว็บนี้โต และมีทิศทางในการทำ R&D ใหม่ๆ ได้อีกเยอะเลยนะครับ

อ้อ... ใจจริงจะบอกว่า SNS ของไทยมีเยอะครับ ไงฝากไปเพิ่มเว็บไซต์ที่ tag.in.th ด้วยก็ดีนะครับ

------------------------------------

สวัสดีครับ bill ifevernet.com

พี่ก็ไม่ชอบ Hi5 ครับ และก็ไม่เคยเห็น Hi5 เป็นอะไรมากกว่าเครื่องมือทางการตลาดดีๆ สำหรับเข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นไทย
แตกต่างจาก LinkedIn ที่เห็นว่า "น่าสนใจ" มันเป็นของเล่นสำหรับผู้ใหญ่ที่น่าจะมีประโยชน์ทีเดียว
เห็นไหมครับ แต่ละเว็บมีคุณค่าของตัวเอง
อะไรเป็น First choice ของเราหละเมื่อนึกถึงเว็บของไทย?

------------------------------------

สุดท้าย ขอบคุณคุณ songchai ครับ
Blog นี้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีคนเข้ามามีส่วนร่วมแชร์ความคิดเห็นกันครับ
ก็ขออนุญาตทิ้งท้ายไว้ว่าแต่ละความคิดเห็นไม่มีถูกผิดหรอกนะครับ เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ดีตัวหนึ่ง  ยังไงในขณะที่เวลากำลังทำหน้าที่ของมัน เราก็มีหน้าที่ทำในสิ่งที่เราทำอยู่ให้เต็มความสามารถเช่นกันครับ

ขอบคุณทุกความคิดเห็น ผู้อ่านทุกท่านอีกครั้งครับ

ตอบคุณ TheInk ครับ

ตอบเรื่องแรก คือผมเป็นคนละคนกับ อีกคนหนึ่งนะครับ pikpod

สำหรับเรื่องที่เป็นคนเกี่ยวข้องก็คงไม่เชิงครับ ทำนองรู้จักกันมากกว่าครับ...เอาไว้ผมจะลองให้ทางคนที่เกี่ยวข้องลองมาตอบคำถามดูนะครับ

ว่าเค้ามองว่าอย่างไร ผมต้องไปข้างนอกก่อนล่ะครับ แล้วคุยกันไป

อ่ออีกอย่าง คุณ TheInk เข้าไปเล่นที่ banlek.com แล้วแอดผมด้วยนะครับ ^^

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} @font-face {font-family:Tahoma; panose-1:2 11 6 4 3 5 4 4 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:1627421319 -2147483648 8 0 66047 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} p {mso-margin-top-alt:auto; margin-right:0cm; mso-margin-bottom-alt:auto; margin-left:0cm; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; font-family:Tahoma; mso-fareast-font-family:"Times New Roman";} @page Section1 {size:595.3pt 841.9pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:35.4pt; mso-footer-margin:35.4pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

จากมุมมองที่เป็นส่วนตัวมากๆ

ผมเข้าใจเอาเองว่า มันไม่ใช่แค่ Web 2.0 หรือ SNS ที่มันไม่โตและมีพัฒนาการในระดับที่ไม่เพียงพอ แต่มันเป็นทั้งภาพรวมของ Cyberspace ในบ้านเราเลย ยกตัวอย่างเช่น ผมไม่มั่นใจว่ามันยังเหลืออีกกี่ประเทศในโลกที่เว็บอันดับหนึ่งอันดับสองยัง เป็น Web Directory หรืออารมณ์ประมาณ Web Portal อยู่ แต่เชื่อว่าคงไม่เยอะแล้ว

เท่านั้นไม่พอ ยังตั้งข้อสังเกตเอาเองด้วยว่า มันไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าปริมาณประชากรใน Cyberspace ของบ้านเรามีน้อย หรือความแตกต่างด้านภาษา ผมมองว่าไม่เกี่ยวเท่าไหร่ โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังจับประเด็นมาที่การใช้งานเว็บไทยโดยคนไทย เราไม่ได้กำลังพูดว่าทำไมฝรั่งไม่มาใช้บริการของเว็บไทยด้วยหนิ ถูกมั้ย?

ลองนึกว่าเว็บของไทยที่มีคนใช้งาน หรือ Active User อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านคนนี่เยอะมั้ย? คำตอบคือเยอะมาก ซึ่งนั่นนับเป็นเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรใน Cyberspace ของเรา เพราะฉะนั้นจำนวนประชากรหรือคนใช้งานไม่ใช่ปัญหา แต่ประเด็นมันก็คือว่า มันไม่ค่อยจะเกิดปรากฏการณ์อย่างงั้นในเว็บใดๆ ของเราเลย อย่าเพิ่งตั้งคำถามว่าเมื่อไหร่เราจะมีจำนวน Active User 100 ล้านคนเท่าเค้า ในเมื่อ 1 ล้านแรกก็ยังไม่มี 1 แสนนี่ยังต้องลุ้นๆ เอา (เว็บระดับ pantip.com ตอนนี้เลขสมาชิกล่าสุดน่าจะรันอยู่แถวๆ แสนกว่าๆ? แต่เชื่อว่า Active จริงยังไงก็คงไม่ถึง)

ผมมองว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบให้สั้นได้เท่ากับคำถามที่ว่า ทำไม แต่ถ้าไม่ขี้เกียจที่จะต้องอ่านผมพิมพ์ยาวๆ ผมคิดว่ามันประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ 1. เราไม่มีกระแสการใช้งานเป็นของตัวเอง และ 2. เราไม่มีสาระ(ถ้าเขียนอีกทีจะเรียกว่า ไร้สาระ)ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อสองอาจถือเป็น Comparative ของข้อแรก

ความไม่มีกระแสการใช้งานเป็นของตัวเองหมายถึง เรายังไม่ใช่ผู้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ที่ดีทั้งยังห่างไกลจากความเป็นผู้ริเริ่มผู้สร้าง เรารอให้มันเกิดกระแสอะไรสักอย่างก่อนจาก Inter Web ถ้ามันดังหรือเป็นกระแสขึ้นมา เราถึงจะกระโดดเข้าไปเล่นด้วยกับเค้า(และส่วนใหญ่เป็นการเล่นอย่างฉาบฉวย) ซึ่งปรากฏการณ์ลักษณะนี้แน่นอนว่ากระแสการใช้งานใดๆ ก็ตามมันมักจะมาพร้อมกับแบรนด์ที่ยึดพื้นที่การให้บริการนั้นไปแล้ว มันเป็นความยากที่จะเข้าไปในตลาดที่มีเจ้าของอยู่แล้วเช่น คงง่ายกว่าที่คุณจะตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในวันที่ประเทศไทยยังไม่มี มาม่า แต่ก็ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าคุณสามารถทำได้ดีกว่า โอกาสก็ยังมี แต่คำถามคือ ณ วันนี้เราทำได้ดีกว่าแล้วหรือยัง? ตรงนึ้คงจะตอบยากเพราะมันแล้วแต่ว่าเราจะใช้มาตรฐานไหนมาชี้วัด แต่สำหรับผม คิดว่า ยัง ยิ่งถ้าดูลงไปในเรื่องเทคนิคที่เป็นรายละเอียดต่างๆ แล้ว ยิ่งห่างไกลพอสมควร

ในประเด็นถัดมา ความไม่มีสาระในการใช้งาน ถึงแม้จะมีรายงานออกมาว่าเรามีจำนวนประชากรออนไลน์ 10 ล้านคน แต่ถ้าลงลึกเข้าไปในรายละเอียดรูปแบบการใช้งาน ผมเดาว่าเราจะได้คำตอบที่ไม่ค่อยน่าพอใจเท่าไหร่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่า Internet คือ นิตยสารบันเทิงเล่มใหญ่ที่อ่านได้ฟรี(เป็นเหตุผลว่าทำไมเว็บตระกูล ?a?ook.com ถึงไปได้ดีในบ้านเรา), เป็นอะไรลับๆ ที่มักจะมีอะไรหลุดๆ มาให้ดู, เป็นอะไรโป๊ๆ, เป็นอะไรเถื่อนๆ, เป็นที่ที่พูดหยาบคายได้โดยไม่ต้องอายใคร(อันนี้ก็ไม่ทุกที่ แต่ก็เจอได้เยอะ), เป็นที่ที่ก้าวร้าวโชว์เหนือ(ซึ่งไม่รู้ว่าเหนือกว่าจริงหรือปล่าว)โดยที่ไม่ได้ต้องเกรงใจใคร ซึ่งผมเข้าใจว่า วัฒนธรรมการใช้งานแบบนี้มันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาให้เจริญและดีขึ้น เพราะในเมื่อความต้องการใช้งานมันไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านี้ Internet บ้านเราจึงไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่า มีข่าวดาราให้อ่านบ้าง, มีอะไรโป๊ๆ หลุดๆ ให้ดูบ้าง, มีพื้นที่ให้ปลดปล่อยอารมณ์ ปล่อย ego บ้าง, มีอะไรให้ดาวน์โหลดเถื่อนๆ ฟรีๆ บ้าง เท่านี้ก็พอแล้ว

ในบางครั้งผมก็คิดไปถึงเรื่อง ปริมาณและคุณภาพของ content ในบ้านเราด้วยเหมือนกัน คือยังไงดี เปรียบเทียบว่า วงการสิ่งพิมพ์ของต่างประเทศได้รับผลกระทบจาก Internet ค่อนข้างเยอะ จนถึงขั้นมีหลายรายต้องปิดตัว ปิดหัว ไปก็มี เพราะปริมาณ Content ของ Internet ที่มีเยอะกว่า(แถมแทบทั้งหมดฟรี) และคุณภาพในระดับใกล้เคียง หรือสูงกว่าที่พิมพ์ขายอยู่ แต่ในบ้านเราปริมาณ Content ที่เป็นภาษาไทยและมีสาระ เทียบสัดส่วนยังจัดว่าน้อย และหลายครั้งที่พบว่าคุณภาพของตัว Content ถ้าไม่อยู่ในเว็บก็คงไปอยู่ที่อื่นไม่ได้

สรุปรวมความทั้งหมด ผมคิดว่ามันเป็นที่พฤติกรรมการบริโภคของเรา จริงๆ แล้วยังไม่เรียกร้องหรือผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ชัดเจนกว่านี้ เข้าหลักการที่ว่า Demand มักเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของ Supply มีบ้างที่เป็นในทิศทางตรงกันข้าม แต่นั่นต้องหมายความว่า Supply มีอำนาจในการโน้มน้าวและเปลี่ยนทิศทางของกระแสจริงๆ ทั้งหมดนี้ผมไม่ได้บอกหรือกระทั่งคิดว่าที่เป็นอยู่นี้ดีหรือไม่ดี บอกได้เพียงว่า ณ ปัจจุบันผู้บริโภคเราต้องการเพียงเท่านี้ ซึ่งมันโทษว่ากันไม่ได้ และไม่ใช่ความผิดของใคร เพราะอย่างงั้นถ้าจะถามว่าเมื่อไหร่ที่วงการเว็บของเราไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหนก็ตามจะไปได้ไกลกว่านี้สักที คำตอบก็คือ เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน แต่ห้ามถามต่อว่า เวลาชัดๆ น่ะเมื่อไหร่ เพราะผมก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ถ้าคุณสามารถสังเกตเห็นได้ว่าวงการละครบ้านเรา มีดาวพระศุกร์, สวรรค์เบี่ยง, จำเลยรัก, ฯลฯ ได้หลากหลายเวอร์ชั่น และยังจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ คุณจะเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร

เบื่อเว็บ Social Network มั้ย?

ตอนนี้ยังไม่คิดว่าจะเบื่อมัน เพราะยังไม่เจอเว็บที่ถูกใจ ตอนนี้เว็บ SNS ที่คนไทยใช้ส่วนใหญ่คือ Hi5 ซึ่งผมไม่เคยชอบมันเลย รู้สึกว่า ไร้สาระ ซึ่งก็ตรงกับคุณ BLeAm ที่บอกเรายังเล่นเน็ตแบบไม่มีสาระนั้นแหละ เข้ากับรสนิยมคนไทยนักแล

ทำไมเว็บคนไทยไม่โต ไม่พัฒนา สู้เว็บต่างชาติไม่ได้?

ผมก็แปลกใจ ว่าทำไมคนไทยถึงชอบเล่น Hi5 กันนัก ทั้งๆ ที่จะว่าไป ระบบ Hi5 ช่วงแรกๆ ที่เพิ่งดัง ก็ช่างไม่เสถียร อัพยาก ช้า แฮ้งค์ เพื่อนหาย ใช้งานก็ยาก ภาษาอังกฤษทั้งนั้น (เดี๋ยวนี้มีภาษาไทยแล้ว) แต่เมื่อคนไทยตั้งใจทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก ฮา... ผมเห็นเพื่อนผมหลายคนที่เล่นคอมไม่เก่ง แต่งรูปไม่เป็น แต่มีความพยายามสูงในการเล่น Hi5 จนเก่ง เออนะ ถ้าเอาเวลาเรียนรู้ Hi5 มาหัดใช้คอมให้เก่งๆ จะดีกว่ามั้ย

แต่พอมีเว็บที่พัฒนาโดยคนไทย มีรูปแบบใหม่ ใช้งานง่ายๆ มีภาษาไทย คนไทยที่ผมพบเจอคือ ไม่เอา ขี้เกียจใช้ เหมือนจะใช้ยากเลย ตินั้น ตินี่ตลอดเวลา มีคำถามมากมาย เช่นทำไมต้องใช้อะ? พอถามกลับไปว่าทำไมใช้ Hi5 อะ ก็ตอบว่าไม่รู้ เห็นเขาใช้ ก็ลองใช้ เออนะ แล้วพี่ก่อนจะถามว่าทำไมต้องใช้เว็บผม ลองเล่นก่อนได้มั้ยครับ เพ่

ยิ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีในเว็บอื่นมาก่อน ยิ่งไม่อยากใช้ บอกไม่เข้าไจ ไม่เห็นเหมือนของเว็บนอกเลย ทำไมไม่ทำเหมือนเว็บนอกละ ซะงั้น มีข้อแม้เงือนไขมากมาย นั่นคือความภูมิใจในคำว่าของคนไทยมัน ติดลบ ต่างกับเกาหลี ญี่ปุ่นที่ถ้าบอกว่าเป็นของคนในชาติ เขาไม่มีข้อแม้ที่จะลองใช้ ถ้าดีก็สนับสนุน ไม่ดีก็ว่ากันตามเนื้อผ้า

นักการตลาดไม่สามารถทำงานกับโปรแกรมเมอร์ได้ แม้แต่เว็บดีไซน์เนอร์ ก็ไม่สามารถทำงานกับนักการตลาดและโปรแกรมเมอร์ได้ นี่เป็นเรื่องจริงที่ผมเจอมากับตัว คือทำด้วยกันได้ แต่เป็นไปด้วยความยากลำบากมากมาย จนงานแทบไม่ได้ตามเป้า ทำเว็บไทยดีๆ ส่วนใหญ่ เป็นแบบสุดโต่ง คือหากเป็นเว็บที่เขียนโปรแแกรมสุดยอด หน้าตาการใช้งานก็ไม่ได้เรื่อง เพราะเว็บนั้นโปรแกรมเมอร์ใหญ่สุด หากเป็นเว็บที่สวยโครตๆ โปรแกรมก็ห่วย ระบบการใช้งานก็ยาก เพราะเว็บดีไซน์ใหญ่ ประมาณนั้น หรือที่เลวร้ายสุดก็เว็บลูกผีลูกคน เอาดีไม่ได้สักอย่าง เพราะทั้ง 3 ฝ่ายตกลงกันไม่ได้

เรื่อง Interface design เป็นเรื่องที่โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่ไม่สนใจ ยิ่งในยุค Web2.0 ที่ Web กลายเป็น Application เมื่อส่วนเชื่อมต่อผู้ใช้งานไม่ได้รับความสนใจ ก็สร้างความงงสุดยอดใ้ห้กับผู้ใช้เหมือนกัน

อีกเรื่องคือ คนไทยยังเล่นเพื่อความบันเิทิงไปวันๆ 80% ของเว็บติดอับดับใน Truehit เป็นเว็บบันเทิงเริงรมณ์ คลิปหลุด ผ้าหลุด โหลดบิท และ 80% ของ blog ยอดฮิตที่ถูกจัดอันดับใน Truehits เป็น Blog เอาไว้ดูหนัง ฟังเพลง นั้นหมายถึงคนไทย ชอบ เสพ มากกว่าสร้างสรรค์ แล้ว Web2.0 ส่วนใหญ่หลักของมันคือการ Share ซึ่งวัฒนธรรมของไทย กับต่างชาติมันค่อนข้างต่างกัน ฝรั่งชอบแชร์ ชอบแสดงความคิดเห็น ชอบความแตกต่าง ชอบจัดของใส่กล่องแล้วแปะป้ายชื่อเรียบร้อย (Tag) คนไทยชอบดู ไม่ชอบออกความคิดเห็น ชอบเก็บของแต่ไม่จัดหมวด ฟีเจอร์หลายๆ อย่างที่อยู่ใน Web2.0 เช่น Blog, Tag นั่นมันเกิดมาจากวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งเอาจริงๆ คนไทยจะเขียน Blog กันสักกี่คน? Tag เคยใช้จริงๆ หรือเปล่า คงต้องให้เวลาให้คนไทยซึมซับวัฒนธรรมแบบนั้นในวงกว้าง หรือ อาจต้องศึกษาพฤติกรรมคนไทยใหม่ แล้วคิดฟีเจอร์ Web2.0 แบบไทยๆ แล้ว Web2.0 แบบไทยๆ อาจจะเกิดก็ได้

อีกเรื่อง คือเราไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นคนคิดภาษาโปรแกรมเป็นของตัวเอง เรายังต้องรอใ้ห้ฝรั่งคิดภาษาใหม่ๆ ระบบใหม่ๆ เช่น Ajax, Ruby ฯลฯ ดังนั้นฝรั่งก็มีสิทธิใช้ก่อน เป็นก่อน พัฒนาก่อน ....

สวัสดีครับทุกท่าน

คุณBLeAm ครับ

ผมชอบใจสรุปรวมความของคุณมากครับ โดยเฉพาะคำตอบในช่วงสรุป ฮา

คุณปาริน ครับ

ผมเห็นด้วยว่าพฤติกรรมการใช้ Internet ของคนไทย กับชาวต่างชาติไม่เหมือนกันครับ ผมว่ามันเป็นอุปสรรคและเป็นการยากนะครับ ถ้าเราต้องการจะสร้างสรรค์นวัตกรรมของเราเอง โดยอิงกับความสำเร็จเหมือนเว็บต่างชาติ

คิดเล่น ๆ นะครับ สมมุติว่าเราสร้างได้และทำให้คนไทยนิยมได้จริง โดยอิงกับพฤติกรรมการใช้ Internet ของคนไทย(ที่ต่างกับชาวต่างชาติ)เป็นหลัก สิ่งที่ออกมาจะเป็นในรูปแบบไหน? เราจะัรับได้ไหมถ้ามันแตกต่างแต่ประสบผลสำเร็จ และรูปแบบของมันจะเป็นที่สนใจของชาวต่างชาติ เหมือนที่เราคนไทยไปสนใจของชาวต่างชาติไหม?

เราควรสร้างสรรค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือควรเปลี่ยนแปลงก่อน แล้วสร้างสรรค์

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

คุณ Pod สมัครแล้ว add แล้วครับ แต่ไม่รู้จะเล่นอะไร 555

สำหรับคุณ BLeAm, คุณปาริน ความคิดเห็นโดนใจ เข้าท่าดีครับ ขอสรุปในแบบของผมนะครับ คือ
1. พฤติกรรมการบริโภคอินเทอร์เน็ตบ้านเรายังไม่เข้าที่เข้าทาง เราใช้เน็ตเพื่อความบันเทิงซะเป็นส่วนใหญ่ และก็ไม่ชอบสร้าง ชอบแชร์ในสิ่งที่ถูกที่ควร มีการปิดบังตัวตนที่แท้จริง คอยแอบอยู่ตามบอร์ด ตามกระทู้ต่างๆ เพราะไม่ต้องแสดงตัวตน เรากล้าที่จะด่าคนอื่น ใช้คำพูดหยาบคาย เอาอินเทอร์เน็ตมาเป็นสถานที่ไว้แสดงด้านมืดของตนออกมา การพัฒนาเว็บในทางที่ดีที่ถูกที่ควรจึงไม่ค่อยได้เห็นผลเด่นชัด
ผมเชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านอยู่นี้ก็เห็นเช่นเดียวกัน แต่ไม่มีใครคิดว่าเป็นปัญหาบ้างหรือครับ ถ้าใช่เราจะจัดการได้อย่างไร หรือในฐานะคนไทยเราจะช่วยกันสร้างกระแส สร้างพฤติกรรมใหม่ๆ ได้อย่างไร จะได้ไม่ต้องมาดูหนังเรื่องเก่าทำใหม่กันอีก

2. พฤติกรรมการให้โอกาสของคนไทยต่ำ ไม่ต้องรณรงค์ให้คนไทยต้องใช้ของไทยหรอก ใช่ไหมครับคุณปาริน ในฐานะนักพัฒนา(Developer)แค่อยากให้คนไทยให้โอกาสเว็บไทยบ้างเหมือนอย่างที่คนเกาหลี ญี่ปุ่นเค้าทำกัน
สำหรับผมพอลองมองไปญี่ปุ่นทีไร ก็นึกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมทุกที ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มี choice ให้เลือกเยอะมาก มีคนกล้าที่จะทำอะไรบ้าๆ บอๆ อยู่ตลอดเวลา มีความแตกต่างและการยอมรับซึ่งกันและกัน เราสามารถเห็นได้ตั้งแต่เด็กบ้าแต่งตัวประหลาด ไปจนกระทั่งผู้อาวุโสใส่ชุดประจำชาติเดินอยู่ร่วมกันตามท้องถนน ลองคนไทยใส่เสื้อฉีก แหวกนิดๆ หน่อยๆ เดี๋ยวโดนจิ๊กโก๋หน้าปากซอยสอยไป...แน่นอน หรือถ้าคุณใส่ชุดไทยเดินแถวสยาม ก็ต้องมีคนคิดว่า ถ้าไม่บ้า ป้าคนนี้คงไปประกวดเวทีไหนสักเวทีหนึ่งแน่ๆ สรุปก็คือ... คนไทยต้องทำตามกันไป ห้ามเดินแตกแถวนะ

คุณ Caramel ผมชอบสรุป comment ที่ 25. เหมือนกันครับ สุดท้ายคือเรากำลังรอว่า "ไก่จะเกิดก่อนไข่" หรือ "ไข่จะเกิดก่อนไก่" ดี เรื่องนี้สนุกครับ เปิดประเด็นทีไรคุยกันไม่จบซะที แล้วผู้อ่านคนอื่นๆ ที่กำลังเข้าโหมด ROM (Read Only Member) อยู่หละครับ คุณสามารถส่งความคิดเห็นเข้ามาร่วมสนุกได้เลยนะครับ
ส่วนคำถามที่ตั้งทิ้งไว้ ผมก็อยากเห็นเหมือนกันครับ เว็บคนไทยที่โตเมืองไทยตามลักษณะการใช้งานของคนไทย แล้วไปประสบความสำเร็จระดับโลก รูปแบบมันจะเป็นอย่างไรน้า...

 

ความเห็นหลากหลายดีครับ

สวัสดีครับ

ตอนแรกก็ยังไม่มีความคิดเห็นอะไรหรอกครับ แค่ต้องการคำอธิบายว่า ทำไม Social Network จึงน่าเบื่อ และจริงๆแล้วก็กะจะเข้าโหมด ROM (Read Only Member)นั่นแหละ ด้วยเหตุที่ผมเองไม่ค่อยสันทัดนักในเรื่องนี้ พูดง่ายๆคือรู้ไม่จริงจึงแค่อยากฟังความคิดเห็นหลายๆท่าน

แต่จากที่ได้อ่านมาทั้งหมดแล้ว มีหลายอย่างที่ตรงกับความคิดมาก และเป็นเหตุให้เปลี่ยนโหมด ครับ นั่นคือ

- เห็นด้วยที่SNSออกมาเยอะเกิน มากมาย ซึ่งคล้ายกัน มันเหมือนกันไปหมดแต่มันแชร์กันไม่ได้

- ใช่หลายครั้งรู้สึกไม่แน่ใจในความปลอดภัยเมื่ออยู่ในโลก SNS ทำให้ไม่กล้าเปิดเผยตัวตน 100% ดูว่าเป็นการฉาบฉวย แต่ผมมองว่าเป็นการป้องกันตนเอง

- เห็นด้วยที่บางสังคมเน็ตเวิร์กกิ้ง บางครั้งไร้สาระน่าเบื่อจริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บางครั้งบางเวลาเราก็ใช้เป็นการบันเทิง เมื่อเห็นว่าไร้สาระก็วางตัวอีกแบบในสังคมนั้น เพราะต่างคนต่างความคิดมัน ซึ่งมันเป็นความจริงที่มีคนหลายๆประเภทที่ยังมีชีวิตอยู่ในที่นี้ จะห้ามก็ไม่ได้ คนที่ชอบเขาก็ว่าดี ที่นี้ก็ต้องขึ้นกับตัวเราเองจะว่าอย่างไร แต่ไม่ชอบอย่างยิ่งกรณีคนที่ใช้เป็นเวทีแสดงตัวตนด้านมืด ทั้งที่พยายามเข้าใจแล้วนะ

- ชอบมากที่คุณ BLeAm ให้ข้อคิดเห็นไว้ ผมเองอธิบายไม่เก่งแต่พอได้อ่านที่คุณเขียนแล้วต้องบอกว่านั่นแหละครับที่อยากพูด ผมหมายถึง พฤติกรรมการบริโภค ที่มองผ่านทางละครทีวี ถ้าว่าไปมันก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆหากจะแก้ เพราะมันเกี่ยวพันกันไปหมด ที่กล่าวเช่นนี้ใช่ว่าผมพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ ณ วันนี้ และก็ไม่ใช่ไม่อยากพัฒนานะครับ เพียงแต่พยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็นอยู่ และที่สำคัญไม่อยากอยู่ในกลุ่ม Read Only Member ครับ กลัวเจ้าของบันทึกเขาว่าเอาปรียบ จะหาว่าอ่านฟรีไม่จ่ายค่าอะไรเลย ตกลงผมจ่ายให้แล้วนะครับ คุณ TheInk

สวัสดีค่ะ

ลงชื่อเข้ามาอ่านค่ะ

ลงชื่อด้วยคนครับ ;)

จริงใจไม่แสดงตัว ไม่ออกความเห็น ผมก็ไม่ว่าอยู่แล้วครับ

เพราะคนที่ได้รับมากกว่าคือคนที่ให้ครับ

ยังไงก็ขอขอบคุณ คุณ กวงหมิง คุณ กะทกรกบ้าน และ คุณ jaewjingjing ครับ

บทความมีประโยชน์มากเลยค่ะ ชอบมาก

ขอแสดงความคิดเห็นนิดนึงค่ะว่า

เห็นด้วยกับ TheInk ในตอนแรกว่า "น่าเบื่อ" แต่ในความคิด ของ MeOmee ในความน่าเบื่อนี้ เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ในการของการตลาดหรือโปรโมทอะไรซักอย่าง ที่ฟรี และทำได้ง่าย

ซึ่งก็กำลังเก็บเล็กผสมน้อยอยู่ ขอบคุณมาก ๆ นะคะ ข้อมูลดี ๆ เยอะเลย ^__^

ขอบคุณ คุณ meomee สำหรับ comment ครับ

ส่วน link ข้างล่างนี้อยากแชร์ครับ เข้าไปอ่านเจอแล้วคิดว่าน่าสนใจและสัมพันธ์กับสิ่งที่บันทึกนี้อภิปรายกัน เลยหยิบมาให้อ่านกันครับ

Social Networking แบบ Clone ในเมืองไทย กำลังเติบโตเหมือนเห็ดรา

ประกาศ : ขอถอนคำพูดเรื่อง qoolive

แต่ส่วนตัวผมมองว่า Social Network นี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีอีกอันนึง ที่สามารถช่วยให้เราได้มามีปฏิสัมพันธ์กันนะครับ ซึ่งวัตถูประสงค์ที่แท้จริงของคำว่า Social Network นี้จริงๆ แล้วก็คือ Participation หรือว่าการที่เราๆ ท่านๆ มามีส่วนร่วมด้วยกันได้ทุกๆ คน (ซึ่งพวกเราก็ได้แต่หวังว่า พวกเค้าเหล่านั้นจะมีแต่ความปรารถนาดี สิ่งที่ดีๆ มอบให้แก่กันและกัน แต่อย่างว่าแหละครับ เหรียญมันก็มีอยู่ 2 ด้านเสมอ)

ผมว่าในฐานะที่เราเป็นนักการตลาดบนโลกไซเบอร์แห่งนี้ เราก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่า Social Media Marketing นี้ก็คือ Trend หรือว่ากระแสที่กำลังมาแรง (มากหรือป่าวไม่รู้) แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ทุกวันนี้เราหันไปทางไหนก็จะเจอแต่ป้ายโฆษณา Banner Ads ทั้งหลายแหล่ ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็น Traditional Style หรือว่าเป็นแนวคิดแบบเดิมๆ ไปซะแล้ว ในทางกลับกันถ้าเราได้ใช้ให้คนเหล่านั้น มาเป็นสื่อให้กับสินค้าของเรา แบรนด์หรือว่าบริการของเราแล้วละก็ มันก็จะดูมีความน่าเชื่อถือ มากกว่าการแค่เราทำการโฆษณากันแบบเดิมๆ ถูกมั๊ยครับ?

ผมก็มี<a href="http://www.pccompete.com/blog/"บทความที่เกี่ยวกับ Social Media Marketing</a> ไว้สองสามเรื่องนะครับ ถ้าเพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากลองอ่านดู ก็อ่านได้จากบล็อกของผมเลยนะครับผม :)

Attawee J.

http://www.pccompete.com/blog/

ขอโทษทีนะครับ พอดีเพิ่งมา comment ครั้งแรกนะครับ ก็เลยไม่รู้ว่าจะใช้งาน Anchor text link ได้ยังไง :(

ยังไงก็ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ สำหรับบทความที่เกี่ยวกับ Social Media Marketing

Attawee J.
http://www.pccompete.com/blog/

เขียนละเอียด อ่านสนุกดีครับ ชอบ ๆ :>

hi5 บางทีแฟนชอบมาดูว่ามีสาว ๆ มาเม้นท์เยอะไหม 555 สงสัยจะเป็นข้อเสีย (ส่วนตัว) ของ SNS ของผมครับ

ทำไมต้องมาคิดอะไรกับเว็บsns2.0ทั้งที่มีอะไรที่เจ็งก่วา .จุดเล็กๆที่เปลี่ยนโลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท