R&D ในภาคธุรกิจ : กลุ่ม เบทาโกร


 

          ใน RGJ Congress IX คุณวนัส แต้ไพสิฐพงศ์ มาเล่าเรื่อง R&D ของกลุ่ม เบทาโกร ซึ่งเป็นธุรกิจผลิตอาหาร เนื้อสัตว์ และธุรกิจต่อเนื่อง ๒๗ บริษัท   ขนาดของธุรกิจปีละ $ 1 billion   พนักงาน ๑๘,๕๐๐ คน   จัดเป็นที่ ๒ ของธุรกิจผลิตอาหารเนื้อสัตว์ในประเทศไทย
          มีการทำวิจัยพัฒนา Meat Traceability System ร่วมกับ ม. หอการค้า ตรวจสอบคุณภาพเนื้อสัตว์ของบริษัทที่วางจำหน่ายในตลาด   และนำผลขึ้นเว็บให้ลูกค้าเข้าไปตรวจสอบตาม Lot No.   เท่ากับเป็นการพัฒนาระดับความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
          ปี ๒๕๔๘ จัดตั้ง Betagro Science Center โดยร่วมมือกับ สวทช. ลงทุนกว่า ๑๐๐ ล้าน สร้างอาคารและเครื่องมือที่ Science Park รังสิต   และร่วมมือกับ คปก. ให้ นศ. ทำวิจัยประเด็นของบริษัท  มี อจ. ที่ปรึกษาร่วม  และจัดสรรทรัพยากรสนันสนุน 
          มีวิธีจัดกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม และ tangible benefit   โดยมีเป้าหมาย ๒ อย่างเท่านั้น คือเพิ่มกำไร กับลดต้นทุน    กิจกรรมเพื่อ ๒ เป้าหมายนี้บูรณาการอยู่ในทุก business unit    โดยวิธีการ ๒ อย่าง คือ Non-R&D กับ R&D   ผมชอบวิธีคิดแบบนี้มาก    ทำให้คิดชัด

          ใช้ R&D เป็นเครื่องมือบรรลุ ๕ อย่าง


๑. Cost down
๒. Value added
๓. differentiate จาก competitor
๔. New Product
๕. New Knowledge


          และยินดีร่วมมือทั้งภายใน ปท และ ตปท
www.bsc-lab.com 
          มีคำถามเรื่องการสนับสนุนการวิจัยชนิดค่อนข้าง basic มากๆ    คำตอบคือ นักวิจัยไทยไม่เก่งขนาดนั้น ที่เอกชนจะลงทุนได้

วิจารณ์ พานิช
๕ เม.ย. ๕๑
พัทยา

 

                    
     
    

หมายเลขบันทึก: 176028เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2008 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท