กลุ่มเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา จัดประชุม ลปรร.ครั้งที่2 ในวันนี้ 28 กรกฎาคม 2548 ที่ห้องจำลอง บ่อเกิด โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ เราได้รับความอนุเคราะห์ อย่างดีมากจากเจ้าของสถานที่ ต้องขอขอบพระคุณรพ.หาดใหญ่เป็นอย่างมากมาณที่นี้ หลังจากที่เราได้เรียนรู้การนำ KM มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากวันนั้นกลุ่มได้นำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในวันนั้นกลับไปพัฒนาในโรงพยาบาลของตนเอง โดยบางโรงพยาบาลก็นำบทเรียนที่ได้ไปขยายผลในการสร้างกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงพยาบาลของตน เกิดผลลัพธ์ใน การพัฒนาในหลายๆจุด ก่อนจากกันวันนั้นเราสัญญากันว่าทุกโรงพยาบาลจะประเมินตนเองโดยใช้แบบประเมินตามมาตรฐานของ พรพ. เป็นจุดเริ่มต้น แล้วส่งผลมาให้ HACC ประมวลผลทำธารปัญญาของแต่ละมาตรฐานส่งข้อมูลย้อนกลับไปให้โรงพยาบาลทราบว่าใครอยู่ในระดับใดในประเด็นสำคัญของแต่ละมาตรฐาน ผลในการทำธารปัญญาจะนำลงใน blog ต่อไปเร็วๆนี้(จะขอเรียนถามวิธีการทำจากผู้ดูแลระบบ ก่อน เพราะเป็น file excel ที่ใหญ่มาก) ในครั้งแรกที่เราเริ่มนำ KM มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลนั้น ช่วงของการแลกเปลี่ยนสมาชิกแต่ละคนจากต่างโรงพยาบาลได้ “ปิ้งแว๊บ” กลับไปพัฒนาต่อ บางโรงพยาบาลได้ทราบว่าแต่ละเรื่องที่ตนสนใจ มีของดีอยู่ที่ไหนก็กลับไปนัดแลกเปลี่ยนกันต่อในหลายโรงพยาบาล แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้จัดไม่ได้รับประเด็นและเรื่องเล่าดีๆมาเผยแพร่ อาจจะเนื่องจากเราวางแผนไม่ดีพอ ไม่ได้ติดตามทวงการจดบันทึกตั้งแต่วันที่ประชุม ไม่ได้บันทึกเทป และข้อสำคัญ NT ของเรายังขาดประสบการณ์ในการจดบันทึก เมื่อติดตามภายหลังจึงไม่ได้ Tacit Knowledge จึงยังคงเป็น Tacit K ที่ออกจากปากสมาชิกคนหนึ่งไปเพิ่มเป็น Explicit Knowledge ของเฉพาะสมาชิกในทีมและกลายเป็น Tacit K ในสมาชิกที่ “ปิ้งแว๊บ”เอาไปพัฒนาต่อ มาครั้งนี้เราเลยวางแผนกันใหม่ในทีมผู้จัด ซึ่งมี ผศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ เป็นหัวหน้าทีม มีคุณฉมาภรณ์ วรกุล ,คุณเกษิณี เพชรศรี และดิฉันช่วยกันเตรียมงาน คราวนี้ผู้จัดอาจเครียดกว่าผู้เข้าร่วมประชุม (กรรมตามสนอง คราวที่แล้วเราสร้างความเครียดให้กับผู้เข้าประชุมในการให้เขาเตรียมตัวล่วงหน้า) เราเปลี่ยนแผนกันหลายรอบ ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยนกันได้มากที่สุด “โดน” มากที่สุด คือได้ทั้งประสบการณ์ HA ได้ทั้ง KS และ KA เราทำความเข้าใจกับธารปัญญาของมาตรฐานทั้ง 5 บทว่าแต่ละรพ. อยู่ตรงไหนในธารปัญญา ดูช่วงที่กว้างของธารปัญญาซึ่งท่านอาจารย์ประพนธ์เคยสอนว่าจะเป็นช่วงที่จะแลกเปลี่ยนกันได้มากที่สุด ร่วมกับชั่งน้ำหนักว่าเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นๆในมาตรฐาน ดึงมามาตรฐานละ 3 ประเด็น เพื่อตีวงประเด็นสำคัญให้แคบและเล่าเจาะลึกในกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ให้การบ้านให้โรงพยาบาลเตรียมเรื่องเล่าความสำเร็จในแต่ละประเด็นนั้นๆมา จากนั้นเรากลับมาคุยกันในทีมว่าถ้าโรงพยาบาลทำเวลาในการเล่าความสำเร็จได้ดี มีเวลาเหลือละจะทำอะไรต่อ ไปไปมามา เราก็เลยเปลี่ยนแผนในก่อนวันสุดท้ายที่จะถึงวันประชุม ว่าให้โรงพยาบาลนำแบบประเมินตนเองระดับโรงพยาบาลที่ทุกโรงพยาบาลได้ทำไว้แล้วมาด้วยเพื่อจะได้เล่ากิจกรรมในประเด็นให้ครอบคุลมทั้งมาตรฐาน และหาวิธีการที่จะให้ GF และ NT ทำงานได้สะดวกที่สุด จดบันทึกได้ง่าย ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนหลายครั้ง หลังสิ้นสุดการประชุมสามารถดึง KA ออกมา และส่งให้ผู้จัดได้เลย โดยทำแบบฟอร์มบันทึกเตรียมไว้ให้ก่อน เพิ่ม NT เป็น 2 คน เพื่อคนหนึ่งจดลงในแบบฟอร์ม อีกคนจดลงบนflip chart ให้ GF สรุปประสบการณ์ที่แลกเปลี่ยนเป็นระยะๆ วันประชุมเรานัด GF และ NT เพื่อทำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่ง แล้วทำความเข้าใจในวัตถุประสงค์ในกลุ่มใหญ่ และเริ่มแบ่งกลุ่ม ลปรร. ในช่วงเช้าบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างราบรื่นสมาชิกทุกคนเก่งขึ้น เล่าเรื่องได้ตรงประเด็นและกระชับกว่าครั้งที่แล้ว GF และ NT ทำหน้าที่ได้ดี สามารถลงลึกได้ในหลายๆกิจกรรม มีการซักถามเพิ่มเติมและมีอะไรดีๆหลายอย่างที่ได้ เรากำหนดให้ทีม ลปรร. ตลอดช่วงเช้า และให้สรุปประเด็นและเรื่องเล่าเพื่อนำเสนอในช่วงบ่ายรอบเดียว และ AAR หลังนำเสนอ จากการเฝ้าดูของทีมงาน เราบอกพวกเรากันเองว่า บรรยากาศในการ ลปรร.ในช่วงเช้าได้ประโยชน์มากมี tacit k มากมายที่พรั่งพรูออกมาให้ช่วยกันตักตวง แต่พอมานำเสนอในกลุ่มใหญ่กลับได้ไม่เท่าที่ควร กลุ่มแรกเล่าได้ไม่ดีนัก แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอในกลุ่มต่อๆมา แต่สิ่งหนึ่งที่ทีมงานคิดว่ายังไม่”โดน” คือพอนำเสนอในกลุ่มใหญ่ ขาดการparticipation แต่ก็มีส่วนดีคือคนอื่นๆในกลุ่มใหญ่ได้รับทราบสิ่งดีๆของโรงพยาบาลอื่นนอกกลุ่ม แต่อาจไม่ได้นำไปใช้ ที่สำคัญคือ เราได้ สิ่งที่เราคิดว่านี่คือ KA ของเรา ซึ่งจะเริ่มทยอยลง คาดว่าจะเริ่มบทแรกได้ในพรุ่งนี้ สำหรับสมาชิกผู้เข้าประชุมเราให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอ AAR ซึ่งทุกกลุ่มมีความเห็นใกล้เคียงกันว่าครั้งนี้เขามีความชัดเจนขึ้นในส่วนของเนื้อหาการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA และคิดว่าจะไปขยายผลต่อได้ง่ายขึ้น แต่ในส่วนที่ยังไม่บรรลุคือ ในเรื่องของธารปัญญา ที่ทำไว้ว่าในแต่ละประเด็นสำคัญว่ามีรพ.พร้อมให้กับรพ.ใฝ่รู้เรายังไม่ชัดเจน คือเราไม่ได้assignให้รพ.พร้อมให้เล่าประสบการณ์แต่เราให้ทุกรพ.เล่าจึงยังทำให้คิดว่ายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์