ยากันยุงปนยาหวัดมหันตภัยเสพติด


            หลายวันก่อน ดิฉันเข้าไปค้นข้อมูลในเว็บของ อย. พบข่าว ๆ หนึ่ง คิดว่าคงจะเกี่ยวกับพวกเราบ้างไม่มากก็น้อย เพราะถึงแม้ว่าข่าวนี้จะเกิดขึ้นมาได้ซักระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องที่เราควรจะต้องใส่ใจและนำมาพูดถึงกันเพื่อเข้าใจในรายละเอียดและเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเอง
             มียาเสพติดชนิดใหม่ที่พ่อค้าหัวใสคิดค้นขึ้นมา โดยยาเสพติดชนิดนี้เกิดจจากการใช้สารต่าง ๆ มาผสมกันเพื่อมอมเมาแทน “โคเดอีน” หลังจากทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีมาตรการคุมเข้มยาแก้ไอที่มี “โคเดอีน” เป็นสูตรผสม โดยยาสูตรดังกล่าว ประกอบด้วยยากันยุงขดผสมกับน้ำยาแก้หวัดที่มีคลอเฟนิรามีน ยากล่อมประสาทประมาณ 5-10 เม็ด น้ำอัดลมขนาด 1 ลิตร เครื่องดื่มชูกำลัง มาผสมเข้าด้วยกันแล้วทำให้มึนเมามากกว่ายาแก้ไอโคเดอีน รายละเอียดของตัวยาต่าง ๆ เป็นดังนี้

โคเดอีน (Codeine)
          มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคือ ออกฤทธิ์ระงับอาการไอโดยกดศูนย์การไอ ออกฤทธิ์ระงับปวดในขนาดต่ำถึงปานกลางได้ดี แต่ถ้าใช้ในขนาดสูงจะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (Euphoria)    ถ้าเสพติดต่อกันสักระยะจะทำให้เสพติด และถ้าเสพในขนาดที่สูงมาก ๆ อาจทำให้กดศูนย์หายใจทำให้ตายได้เช่นกัน จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3

คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
          เป็นยาในกลุ่ม antihistamine ที่ใช้เป็นยาแก้หวัด เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้เกิดอาการง่วงนอน หรือมึนงงได้ จัดเป็นยาอันตราย

ยากล่อมประสาท

           ส่วนมากมักใช้เป็นกลุ่ม Benzodiazepine จัดเป็นวัตถุออกฤทธ์ต่อจิตและประสาท ใช้ในขนาดที่สูง ๆ อาจทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข ง่วงซึม มึนเมา หรืออาจทำให้เห็นภาพหลอนได้

คาเฟอีน
           ถ้าใช้ในขนาดที่สูงขนาดหนึ่งจะทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข และในบางคนพบว่าทำให้การรับรู้เปลี่ยนแปลงไป หรือเห็นภาพหลอนด้วย นอกจากนี้อาจทำให้นอนไม่หลับ ปวดศีรษะมาก ใจสั่น ถ้าได้รับยาอย่างอื่นร่วมด้วยอาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล หรือในบางคนอาจเกิดอาการคลุ้มคลั่ง (Panic attack)


           นอกจากส่วนผสมที่กล่าวมาแล้ว ยังได้มีการใช้ยากันยุงขนิดขดซึ่งมีส่วนผสมของไพเรทิน ซึ่งมีฤทธิ์เบื้องต้นทำให้เกิดอาการมึนเมาผสมด้วย ซึ่งไพเรทินนี้ไม่ใช่ยาแต่จัดเป็นวัตถุมีพิษ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17507เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอแก้หน่อยนึงครับ อาการpanic น่าจะใช้ว่าวิตกกังวล หรือ ตกใจ อยางมาก มากกว่าใช้คำว่าคลุ้มคลั่ง คลุ้มคลั่งเหมาะกับผู้ที่มีอาการวิกลจริต ผู้ป่วยที่มีอาการแพนิก จะไม่ได้วิกลจริตแต่จะมีอาการ เด่น คือ หายใจหอบเร็ว hyperventilate กลัวว่าจะตาย บางรายอาจกลัวว่าตนจะบ้า (แค่กลัวนะครับ ไม่ได้บ้าจริงๆ) ดังนั้น คาแฟอีน หรือ กาแฟ ไม่ได้ทำให้เกิดอาการ คลุ้มคลั่งนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท