ประชุมคณะทำงาน "การจัดการความรู้แก้จนเมืองนครศรีฯ" ตอนที่ ๕


กระบวนการการขับเคลื่อน
 

กระบวนการในการจัดการจัดเก็บข้อมูลนี้ยากมาก การสรรหาผู้นำหมู่บ้านละ ๘ คน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้นำตามธรรมชาติ ร่วมมือกันทั้ง ๘ คน ในการสำรวจข้อมูล จากครัวเรือนเป้าหมายหมู่บ้านละ ๑๐๐ ครัวเรือน กระบวนการนี้ คือ กระบวนการทำงานที่มีคนเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายมหาศาล การที่จะทำให้แนวคิดซึ่งเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างสมบูรณ์มาก คือ การใช้ความรู้จริงว่าในการผลิต ถือครองทรัพยากรเป็นอย่างไรมาใช้การวิเคราะห์และใช้ทุนอันนั้นมาจัดการในการใช้คนเยอะมาก การจัดทีมเพื่อลงไปเสริมหนุนให้ ๘ คน ซึ่งเป็นผู้สำรวจเข้าใจแนวคิดรายจ่ายครบถ้วนแล้วคน ๑๐๐ คนในครัวเรือนเข้าใจแนวคิดและกรอกข้อมูลอย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่ายหลังจากนั้นได้ข้อมูลมาแล้ววิเคราะห์ก้ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกเพราะมันมาก เพราะฉะนั้นก็เลยมาคิดว่าทีมวิชาการนี้เราน่าจะมาช่วยเสริม ๒ เรื่อง คือ

๑)      การจัดกำลังให้สอดคล้องเหมาะสมกับปริมาณงาน ทำความเข้าใจกับแกนนำ กับชาวบ้าน

๒)    เราจะต้องใช้วิชาการเรื่องการจัดการความรู้เข้ามาช่วย

ทีมแกนนำการจัดการความรู้ แกนหมู่บ้านละ ๘ คน ทั้งหมด ๔๐๐ หมู่บ้าน แกน ๓,๒๐๐ คนนั่นคือผู้นำที่ทำการสำรวจหมู่บ้านละ ๘ คน

หมู่บ้านหนึ่งเราพยายามหาให้ได้ ๖๔ ครัวเรือนเพื่อจะมาเข้าร่วมการจัดการความรู้อย่างเข้มข้นโดยประมาณ ถ้าเราใช้เกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งตัวเลขไว้ฉะนั้นภารกิจของเราต้องเกี่ยวข้องกับคนถึง ๒๕,๖๐๐ คน หมู่บ้านละประมาณ ๖๔ คนซึ่งก็ต้องขึ้นลงเพราะบางหมู่บ้านประชากรเยอะบางหมู่บ้านประชากรน้อย แต่ก็ประมาณ ๒๕,๖๐๐ คน จะใช้ผู้นำในชุมชน ๓,๒๐๐ คน คือแกนนำหมู่บ้านละ ๘ คนเป็นองค์ประกอบหลักที่จะเข้าไปทำกิจกรรมอย่างเข้มข้นและควรจะมีคนที่มาช่วยอำนวยการเรียนรู้ได้ ซึ่งเราคาดหวังว่าจะมีทีมงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด กศน. พช. ธกส. เกษตร สาธารณสุขจังหวัด มาร่วมเป็นทีมที่จะไปเสริมหนุนให้กับ ๘ คนนี้ เวลาไปทำงานกับกลุ่มเป้าหมายเราแต่ละหมู่บ้าน คือ กองกำลังที่เป็นนักรบในพื้นที่ ตลอดคณะทำงานที่มาประชุมวันนี้ก็น่าจะเป็นกองกำลังทางวิชาการที่จะมาช่วยวางแนวทางหรือจัดระบบโซนนิ่ง หรือวงเรียนรู้อีกชั้นหนึ่งเพราะเป็นเหมือนกับทีมสมอง เพราะจำนวน ๘ คน จะลงปฏิบัติไม่ไหวอยู่แล้วเราก็เป็นทีมสมองที่มาช่วยคิด หารูปแบบอบรมเพื่อจะขยายผลเป็นการจัดกำลังเพราะว่าแนวคิดส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยนำไปสู่การปฏิบัติอาจจทำให้ผลสุดท้ายไม่ตรงตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ เพราะฉะนั้นการจัดกองกำลังอน่างเป็นระบบเสริมหนุนกันอย่างชัดเจน มีความสำคัญ คิดว่าคณะทำงานวิชาการด้านการจัดการความรู้จะต้องมาช่วยคิดเรื่องนี้ว่าจะเอาอย่างไรให้เป้าหมายเรา ๓,๒๐๐ คนใน ๔๐๐ หมู่บ้านดำเนินการกับครัวเรือนเป้าหมาย ๒๕,๖๐๐ ครัวเรือน ให้เกิดดภาพอย่างน้ายงค์คิดไว้ และให้จัดระบบอย่างไรนี้คือภาพรวมในการเชื่อมดยงของโครงการแผนชีวิตชุมชนกับโครงการจัดการความรู้ ๔๐๐ หมู่บ้านถ้าลงรายละเอียดในการทำงานครั้งนี้ก็มีโมเดลนำเสนอเพื่อหารือนำเสนอเพื่อหารือโมเดลการจัดการความู้แก้จนเมืองนครคล้ายกับต็กตาในการหารือว่าควรจะจัดกองกำลังอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย

คำสำคัญ (Tags): #สรุปการประชุม
หมายเลขบันทึก: 17502เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2006 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท