จากบันทึกเรื่องที่แล้ว (เก็บตกมาฝากนักดื่ม) เป็น Website
ของออสเตรเลีย
คราวนี้มาลองเปิดดูเวบไซต์ของไทยดูบ้าง ที่ http://thaihealth.or.th/cms/upload/alcohol/library/m4.jpg
ซึ่งพูดถึงเรื่องดื่มได้แค่ไหนก่อนขับรถ
โดยอ้างถึงข้อมูลของมูลนิธิเมาไม่ขับ
เลยขอนำมาเล่าต่อ
ซึ่งเป็นเรื่องของการจำกัดการดื่มปริมาณเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ
โดยมีผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดกับอุบัติเหตุการจราจรด้วย
ใน 1 ชั่วโมงก่อนขับรถ หากหลีกเลี่ยงการดื่มไม่ได้ ไม่ควรดื่มสุราเกินกว่า 6 แก้ว (ผสมสุราแก้วละ 1 ฝาขวดสุรา) หรือไม่ควรดื่มเบียร์ปกติเกินกว่า 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก ถ้าเป็นเบียร์สดหรือไลต์เบียร์ก็ไม่ควรเกินกว่า 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก สำหรับในชั่วโมงต่อไป ดื่มได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เท่านั้น หากดื่มในปริมาณมากกว่านี้จะมีระดับแอลกอฮอล์มากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด
แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า ถึงปริมาณแอลกอฮอล์จะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่นักดื่มก็ยังยืนยันว่ายังขับรถไปได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ แตเมื่อดูผลการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจราจร พบว่า คนที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุใกล้เคียงกับคนที่ไม่ดื่มสุรา คนที่มีแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และเพิ่มเป็น 3 เท่าเมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ที่ 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถ้าปริมาณแอลกอฮล์ในเลือดเพิ่มเป็น 100 มิลลิกรัมเปร์เซนต์ โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 6 เท่า และเพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า เมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเพิ่มเป็น 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
จะเห็นได้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดอุบัติเหตุการจราจรมาก ถ้าเลือกได้ เราคงไม่อยากนั่งไปในรถที่คนขับมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดถึงแม้จะไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ตาม
ใน 1 ชั่วโมงก่อนขับรถ หากหลีกเลี่ยงการดื่มไม่ได้ ไม่ควรดื่มสุราเกินกว่า 6 แก้ว (ผสมสุราแก้วละ 1 ฝาขวดสุรา) หรือไม่ควรดื่มเบียร์ปกติเกินกว่า 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก ถ้าเป็นเบียร์สดหรือไลต์เบียร์ก็ไม่ควรเกินกว่า 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก สำหรับในชั่วโมงต่อไป ดื่มได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เท่านั้น หากดื่มในปริมาณมากกว่านี้จะมีระดับแอลกอฮอล์มากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด
แต่ก็ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า ถึงปริมาณแอลกอฮอล์จะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่นักดื่มก็ยังยืนยันว่ายังขับรถไปได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ แตเมื่อดูผลการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดกับโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจราจร พบว่า คนที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุใกล้เคียงกับคนที่ไม่ดื่มสุรา คนที่มีแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และเพิ่มเป็น 3 เท่าเมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ที่ 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถ้าปริมาณแอลกอฮล์ในเลือดเพิ่มเป็น 100 มิลลิกรัมเปร์เซนต์ โอกาสเกิดอุบัติเหตุเพิ่มเป็น 6 เท่า และเพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า เมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเพิ่มเป็น 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
จะเห็นได้ว่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมีความสัมพันธ์กับโอกาสเกิดอุบัติเหตุการจราจรมาก ถ้าเลือกได้ เราคงไม่อยากนั่งไปในรถที่คนขับมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดถึงแม้จะไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ตาม
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กลุ่มงานเภสัชกรรม Anonymous ใน กลุ่มงานเภสัชกรรม สถาบันธัญญารักษ์
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก