การจัดการงานวิจัย : ABC & SRI เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง


 

          วันที่ ๒๗ มี.ค. ๕๑ ผมชื่นใจและชื่นปัญญาที่ได้ฟัง ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง  ผอ. สกว. พูดเรื่อง “ABC และ SRI เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” ในการประชุม “Change Management and Outcome Mapping” ของสกว. ที่สวนสามพราน
          นี่คือรูปแบบของการจัดการงานวิจัยที่ผมใฝ่ฝันอยากเห็นในบ้านเมืองของเรา    คือระบบการจัดการงานวิจัยที่อยู่บนวิธีคิด และวิธีจัดการ ที่ซับซ้อน    ที่ผมเรียกว่า Complex Adaptive Research Management
          เมื่อปี ๒๕๓๖ ตอนที่ผมมาอยู่ สกว. ใหม่ๆ ผมพบว่า ระบบการจัดการงานวิจัยเป็นระบบคิดแบบ Linear & Simple   เราจึงช่วยกันคิดพัฒนาและดำเนินการระบบการจัดการงานวิจัยขึ้นใหม่    จนบางทีมีคนยกย่องผม (แบบเกินไป) ว่าเป็นผู้ปฏิวัติระบบการจัดการงานวิจัยของไทย   แต่สภาพของการจัดการงานวิจัยสมัยผมเป็น ผอ. สกว. เทียบกับที่ อ. ปิยะวัติเสนอนี้   มันเหมือนกับระดับอนุบาลกับอุดมศึกษา 
          ABC ย่อมาจาก Area-Based Collaborative Research   และ SRI ย่อมาจาก Strategic Research Issues

 

ABC
          เป้าหมายของ ABC คือ “เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจสังคมของจังหวัด จากฐานภายใน อย่างยั่งยืน”
         

          หน่วย “พื้นที่” ใน ABC คือจังหวัด

  
โจทย์วิจัย เป็นปัญหาของจังหวัด
o เกิดกลไก ของจังหวัด ร่วมกันกำหนดโจทย์
o เกิดการทำงานบนฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง
Output ของงาน ABC คือ
o การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ จังหวัดสามารถแก้ไขปัญหาของ issues ในปัจจุบันได้
เปลี่ยนแปลงกลไก เกิดกลไก ให้หลายฝ่าย (ในจังหวัด) มีความสามารถจัดการอนาคตของจังหวัดร่วมกันได้

 

SRI
          เป้าหมายของ SRI คือ “เพื่อสร้างเสริมความสามารถของประเทศ ในการจัดการกับเรื่องสำคัญๆ ในระยะ ๓ – ๕ ปีข้างหน้า”


o สร้าง Core Knowledge ในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศ
o นำข้อมูลความรู้เข้าสู่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
o เพื่อปรับเปลี่ยน นโยบาย และการปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

    

    วิธีการดำเนินการจัดการ SRI

 
o เลือกโจทย์วิจัยที่สำคัญ เป็นเรื่องยาว ซึมลึกลงถึงรากฐาน ไม่จบง่ายๆ แต่ต้องรีบจัดการ
o สร้างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมนักวิจัยที่มีความสามารถสูงในเรื่องนั้น เพื่อทำวิจัยเสนอทางเลือก
o หาวิธีเข้าถึงผู้กำหนดนโยบาย ให้ตระหนักถึงความสำคัญและรับข้อเสนอไปปรับเปลี่ยนนโยบาย
o สือสารกับสาธารณชนให้เห็นความสำคัญของเรื่อง

 

     Output ของงาน SRI


o เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชน โดยผ่านการถกเถียงในเวทีสาธารณะ
o เปลี่ยนแปลงนโยบาย โดยผ่านกลไกนโยบาย
o เปลี่ยนแปลงกลไกนโยบาย สำหรับจัดการกับเรื่องอนาคต

 

ABC & SRI เปลี่ยนแปลงระบบวิจัยและระบบพัฒนาของประเทศ โดย

 
o เปลี่ยนแปลงวิธีการให้ทุนวิจัย และการทำงานของแหล่งทุน
o เปลี่ยนแปลงกลไกปฏิบัติในระดับจังหวัด (ภาคีมีส่วนร่วม)
o เปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ (ใช้ข้อมูลมากขึ้น มองหลายมิติมากขึ้น มองยาวขึ้น)
o เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมชุมชน
o เปลี่ยนแปลงนักวิจัยและวิธีการทำวิจัย
o เปลี่ยนแปลงระบบประเมิน และตัวชี้วัดงานวิจัยและงานพัฒนา

          ผมเชื่อว่าการริเริ่ม ABC และ SRI จะเป็นก้าวสำคัญของการจัดการงานวิจัยของประเทศ    จะมีคุณูปการต่อบ้านเมืองของเราอย่างยิ่ง

 

วิจารณ์ พานิช
๓๑ มี.ค. ๕๑


          
                          

หมายเลขบันทึก: 174493เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนอาจารย์ ที่เคารพ

ได้อ่านที่อาจารย์บัน สอนใจ ABC อยากได้รายละเอียดเพิ่มเตืมหรือแหล่งเรียนรู้ เพราะว่าจะได้นำไปใช่กับพื้นที่จริง

เถลิง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท