การคุ้มครองพยานเด็ก:กฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ระบบกลไกลที่สำคัญประการหนึ่งของการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรม

 

 

กระบวนการพิสูจน์ความจริงเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมนั้น พยานหลักฐานในคดีอาญาโดยเฉพาะพยานบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากพยานมีความหวาดกลัวต่อภัยและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเองหรือครอบครัว  อันเนื่องมาจากการถูกข่มขู่ การคุมคามการถูกทำร้ายจากผู้เกี่ยวข้องในคดี ย่อมทำให้ไม่มีพยานกล้ามาให้ปากคำหรือให้ข้อมูลเพื่อพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นพนักงานสอบสวนและจำเลยในชั้นการพิจารณาคดีของศาล  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพยานที่เป็นเด็ก มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพยานที่เป็นผู้ใหญ่  อีกทั้งพยานที่เป็นเด็กยังมีความเยาว์วัย ย่อมมีความเกรงกลัวต่ออันตรายหรือการข่มขู่จากผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ หรือญาติของผู้กระทำผิด  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคุ้มครองพยานเด็กในคดีอาญา

การคุ้มครองพยานถือเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จะต้องรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้บุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญามีสิทธิได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ  เมื่อพยานได้รับการคุ้มครองให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขและปลอดภัย ย่อมเป็นการสร้างระบบกลไกลที่สำคัญประการหนึ่งของการขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมให้สามารถค้นหาความจริง สร้างความยุติธรรม สร้างความมั่นคงและความมั่นใจให้แก่พยาน เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความจริงหรือเบิกความขยายผลไปสู่การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

 

1) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยานเด็ก

1. พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546

2. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542

3. ระเบียบกระทรวงยุติธรรม  ว่าด้วยค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน  สามี  ภริยา  ผู้บุพการี  ผู้สืบสันดานของพยานหรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยานในคดีอาญา พ.ศ.2547

4. ระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) ..2548

5. ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ว่าด้วย กำหนดแนวปฏิบัติการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ..2548 

6. ระเบียบกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน        ว่าด้วยการแจ้ง  วิธีการที่เจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่พยานและการสิ้นสุดซึ่งการคุ้มครองพยาน พ.ศ.2549

 

2) แนวปฏิบัติการคุ้มครองพยานเด็กตามที่กฎหมายบัญญัติ

                พยานเด็กแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ พยานเด็กทั่วไป  และพยานเด็กที่เป็นผู้กระทำผิด

                พยานที่เป็นเด็กทั่วไป ได้แก่ เด็กที่เป็นผู้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา  พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา  พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาลในการดำเนินคดีอาญา  ซึ่งเด็กที่เป็นพยานนั้นอาจเป็นผู้ได้รู้เห็นเหตุการณ์การกระทำผิด  ซึ่งเด็กนั้นยังใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวตามปกติ

                พยานที่เป็นเด็กกระทำผิด ได้แก่ เด็กที่ต้องหาว่ากระทำผิดหรือถูกศาลพิพากษาว่ากระทำผิดและถูกควบคุมตัวอยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน  ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน  ซึ่งพยานเด็กนี้เป็นผู้ที่ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา  พนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา  พนักงานผู้มีอำนาจฟ้องคดีอาญา หรือศาลในการดำเนินคดีอาญา

 

                ซึ่งพยานเด็กทั้งสองกลุ่มจะได้รับการปฏิบัติด้านการคุ้มครองพยานเช่นเดียวกัน  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ากฎหมายหลักที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติในการคุ้มครองพยานเด็กคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 ซึ่งมีบทบัญญัติในการคุ้มครองพยานโดยไม่ยกเว้นว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่  ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงโดยย่อ ดังนี้

 

พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546

สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติรับรองสิทธิของพยานไว้ในมาตรา 244 ความว่าบุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญามีสิทธิได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นและสมควรจากรัฐ..จากบทบัญญัติดังกล่าวจึงมีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 ขึ้น       โดยมีหลักการและเหตุผลอันเนื่องจากในปัจจุบันพยานยังไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร ทั้งที่พยานมีความสำคัญยิ่งต่อการพิสูจน์ความจริงในทางอรรถคดี เป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงต้องเพิ่มความคุ้มครองพยานให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2546 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2546 เป็นต้นมา

 

นอกจากนี้สำหรับพยานที่เป็นเด็กกระทำผิด ยังมีระเบียบปฏิบัติเพิ่มขึ้นมาอีกต่างหากคือ ระเบียบกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนว่าด้วยการแจ้ง  วิธีการที่เจ้าหน้าที่ให้ความคุ้มครองแก่พยานและการสิ้นสุดซึ่งการคุ้มครองพยาน พ.ศ.2549

 

 

บทสะท้อนบางส่วนเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองพยาน

จากผู้จัดการออนไลน์ 17 ธันวาคม 2549 17:06 น.

“18 เครือข่ายเยาวชน เรียกร้องรัฐคุ้มครองพยานเด็กใต้ แฉ 60% ถูกขู่ฆ่ารายวัน

ที่สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคม และ 18 เครือข่ายเยาวชน กว่า 800 คนจากทั่วประเทศ จัดงาน มหกรรม 60 ปี 60 ล้านความดี เริ่มที่เยาวชนจัดการเสวนาเรื่อง เก็บกู้ระเบิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มต้นที่ใครโดยมีเยาวชนจากเครือข่าย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกว่า 100 คน

น.ส.วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็ก และเยาวชนยุติความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ขณะนี้มีเยาวชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งต้องเป็นพยานในคดีด้วย โดยใน 100 คดี มี 60 คดี ที่เด็กต้องเป็นพยาน เพราะสูญเสียพ่อแม่ และตนเองก็อยู่ในเหตุการณ์ เยาวชนเหล่านี้ถูกข่มขู่บ่อยครั้ง ตั้งแต่การขับรถเฉี่ยวชน การโทรศัพท์ขู่เอาชีวิต บางคนถูกข่มขู่อย่างต่อเนื่องทุกวัน จนต้องย้ายที่อยู่อาศัย ต้องหลบซ่อนตัว ส่งผลให้เยาวชนกลุ่มนี้ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า เก็บตัว ไม่กล้าพูด เก็บกด ไม่กล้าไปโรงเรียน  จึงขอเรียกร้องรัฐคุ้มครองพยานเด็กใต้

 

****************************



ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ....

เข้ามาอ่าน...ก้อไม่ผิดหวังค่ะ  ได้ความรู้ใน

ด้านทื่เรายังไม่รู้ดีขึ้น.....

....... ขอบคุณนะคะสำหรับบทความที่มี

ประโยชน์  จะได้นำไปเล่าให้นักเรียนฟังต่อ

ค่ะ ......

สวัสดีครับ อ.ศิริพร เกื้อกูลนุรักษ์

  • มาทักทายอีกครั้งหนึ่ง
  • มาขออนุญาตนำบล็อก
  • นักสังคมสงเคราะห์
  • สถิติประชากรและสังคม
  • ปัญหาสังคม
  • เก็บไว้ในแพล็นเนต เรียนรู้กับนักสังคมสงเคราะห์
  • ขอบคุณครับ ;-)
  • สวัสดีค่ะคุณ  UbbIbb ( อุ๊บอิ๊บ) เดี๋ยวนี้เด็กต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นในหลายฐานะทั้งเป็น ผู้ต้องหา  จำเลย  ผู้เสียหาย  พยาน มากขึ้นค่ะ

 

  • ขอบคุณค่ะคุณ ครูข้างถนน ที่นำเข้าแพล็นเนต  จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันค่ะ

ผมsearchเข้ามาในgoogleเรื่องเกี่ยวกับคุ้มครองพยาน เลยได้อ่านบทความของท่านอาจารย์ ขอบอกว่า สิ่งที่ท่านเขียนนั้นสะท้อนความเป็นจริงในกระบวนการยุติธรรม รู้สึกชื่นชม และขอเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์ครับ ...จากอัยการคมกริช

ขอบพระคุณครับอาจารย์ ที่ได้ให้ความรู้ เข้ามาอ่านแล้วได้สาระความรู้ที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดครับ

สวัสดี ค่ะฝากลิงค์ "การประชุม Case จริยธรรม ครั้งที่ 3 (Ethical Conference 3) ณ ห้องประชุม เยียน โพธิสุวรรณ โดย ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ สถาบันสมทบ มหาวิทยาลัยมหิดล" http://gotoknow.org/blog/manywad/324525 ค่ะ

สิทธิของเด็กและเยาวชนในการกระทำผิดทางอาญา,

 

1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948/2491,

2. สิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก 1989/2532,

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550,

4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554),

5. คำแถลงนโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เมื่อ 30 ธันวาคม 2551,

6. พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546,

7. พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553,

8. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา,

9. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499

 

Phachern Thammasarangkoon. "สิทธิของเด็กและเยาวชนในการกระทำผิดทางอาญา." 29 มกราคม 2554. [Online]., available URL :  http://www.gotoknow.org/blog/phachern/449433

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท