เมื่อผมประเมิน-ปรับทักษะการทำงาน


บันทึกโอกาสทีดีของประสบการณ์บริการวิชาการในสำนักกฎหมายสากลแห่งหนึ่ง...ด้านการแก้ไขและป้องกันภาวะการทำงานที่ไม่ถูกต้องด้วยหลักกิจกรรมบำบัด

รู้สึกตื้นเต้นเมื่อมีสำนักกฎหมายสากลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีบริษัทแม่อยู่ที่ออสเตรเลียและมีเครือข่ายกระจายทั่วโลก รวมทั้งกรุงเทพฯ ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือเรื่อง Work Assessments and Training Workshop สำหรับบุคลากรที่ทำงานในสำนักงานประจำกรุงเทพฯ โดยเน้นขอความช่วยเหลือด้านวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญกิจกรรมบำบัด

ผมจึงเตรียมตัวทบทวนความรู้ด้านกิจกรรมบำบัดกับการประเมินและปรับเปลี่ยนทักษะการทำงาน ในกรณีมีผู้ที่เกิดความบกพร่องในการทำงาน เช่น ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ล้ากล้ามเนื้อหรือความคิด เครียดทางจิตใจหรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน

นับว่าความรู้ที่ได้เตรียมตัวได้ถ่ายทอดแก่เจ้าหน้าที่ 2 ท่าน ที่ทางสำนักงานเตรียมไว้เพื่อตั้ง Work Performance Screening Unit และสามารถส่งต่อทางคลินิกกิจกรรมบำบัดของคณะฯ ผมต่อไปในเรื่อง Job Demand Analysis and Transferable Skills Analysis เพื่อประสานงานกับทีมอาจารย์กายภาพบำบัดด้าน Ergonomics Analysis and Interventions ต่อไป โดยเป้าหมายคือ 

"Capacity for work, person/environment fit"  

ดังนั้นผมจึงเน้นให้ความรู้ 2 ส่วน ได้แก่ Functional Capacity Screening และ Work Site Analysis

ในส่วนแรกคือ Medical diagnosis and symptoms, Medications, Time off work, Date of injury, Movement characteristic, Coordination and balance, Pain/fatigue/stress (0-10), and Other negative perception of change

ในส่วนที่สองคือ Lifting, Carrying, Pushing/pulling, Sitting, Standing, Walking, Driving, Work pace, Reaching, Twisting, Bending, Static & dynamic balancing, Keyboarding, Multi-tasking, and Interaction with public


 

จากนั้นได้ประเมินทนายความทั้งไทยและเทศรวม 4 ท่าน ค่อนข้างท้าทายเพราะผมต้องใช้เวลาไม่เกิน 10 นาทีที่จะต้องประเมินให้เห็นชัดและมีเหตุผลทางคลินิก

ผู้ถูกประเมินมีความบกพร่องของทักษะการทำงานจากสาเหตุใดและควรจะทำอย่างไรในสภาพห้องทำงานและพฤติกรรมการทำงานขณะนั้น เช่น การปรับเปลี่ยนท่าทาง การเคลื่อนไหว สภาพขั้นตอนและรูปแบบการทำงาน สภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน สภาพจิตสังคมที่คาดหวังในการปรับเปลี่ยนทักษะการทำงาน และเทคนิคการจัดการความบกพร่องในการทำงานอย่างง่ายเพื่อติดตามผลในหนึ่งสัปดาห์

เท่าที่ตรวจประเมินและแนะนำ พบปัญหา Computor use sysdrome มีการทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสมอย่างซ้ำๆ จนเกิดอาการปวดหลัง คอ ศอก ข้อมือ สาเหตุที่พบคือ การทำงานหลายขั้นตอนจนไม่มีการพักกล้ามเนื้อและข้อต่อ พยายามเปลี่ยนเก้าอี้แต่ไม่ปรับพฤติกรรมการทำงาน ระยะห่างของจอไกลเกินไปทำให้ก้มคอมากและจ้องมากไป ทุกคนใช้ Notebook แต่วางในระดับคล้าย Laptop ซึ่งวาง Keyboard และ Mouse ที่ต่ำเกินไป บางท่านมีการวางเอกสารเพื่อทำงานด้วย Computor พร้อมๆกัน ทำให้ท่าทางมีการเคลื่อนไหวฝืนธรรมชาติ มีการ twist บิดตัวและนั่งนานจนบางคนมีอาการโรคกระเพาะด้วย ดังนั้นจึงแนะนำให้จัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานทีละอย่าง มีระยะการวางจอ Computor และอุปกรณ์เสริมเพื่อประคองบริเวณที่มีอาการปวด แนะนำการหยุดพักไม่เกิน 5 นาทีในการเปลี่ยนท่าทางและยืดกล้ามเนื้อ ตลอดจนพักสายตาและเคลื่อนไหวมองไม่ให้ล้าจนปวดกล้ามเนื้ออื่นๆ ตามมา ที่สำคัญต้องแบ่งเวลาจัดการตนเองโดยย้ายตัวไปที่ที่ว่างของห้อง หันหลังให้งานบนโต๊ะเพื่อยืดเส้นยืดสายก่อนร่างกายจะทรุดโทรมมากไปกว่านี้

และผมได้ใช้เวลา 3 ชม. ในการช่วยเหลือบุคลากรของสำนักกฎหมายสากลนี้ได้อย่างมีความสุขครับ

 

หมายเลขบันทึก: 172562เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2008 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท