วิถีวัฒนธรรมใหม่ที่ทรงพลัง (๓)


ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา พร้อมกันไปกับการ สร้างสังคมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ สร้างโรงเรียนโดยใช้สังคมเป็นบริบท สิ่งที่เพลินพัฒนาพยายามทำมาโดยตลอดก็คือ การประมวลความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติ สกัดให้เป็นชุดประสบการณ์ ซึ่งคือการนำสิ่งที่เป็น Best Practice ของโรงเรียนคืนกลับสู่สังคม และแวดวงการศึกษา ด้วยกระบวนท่าของ KM

 

 

ผลงานการประมวลความรู้ปฏิบัติ  สกัดเป็น Best Practice ของโรงเรียนเพลินพัฒนามีดังต่อไปนี้

 

พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒๕๔๕  

 

·        เรียบเรียงเอกสารชุด ระบุปัญหาโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา เพื่อประมวลสรุปข้อคิดและประสบการณ์ที่พบจากการทำงานการศึกษาในโรงเรียนทางเลือกต้นแบบ เพื่อเสนอทางออกใหม่ ให้กับการสร้างโรงเรียนการศึกษาทางเลือกในอนาคต

 

 

พ.ศ. ๒๕๔๕

 

·        ก่อตั้งโรงเรียนเพลินพัฒนา  ด้วยการรวมตัวกันของผู้ร่วมเจตนารมณ์เกิอบ ๗๐ ราย ประกอบด้วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง นักวิชาการ นักการศึกษา ครู องค์กรธุรกิจสสร้างสรรค์ คือ บริษัท รักลูก แฟมิลี่ กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาโรงเรียนที่มีแนวทางด้านการศึกษาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของสังคมไทยในศตวรรษที่ ๒๑

 

พ.ศ. ๒๕๔๖

 

·        ทำห้องเรียนวิจัยในแนวทางของเพลินพัฒนา ให้กับกลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๕ คน ที่โรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย)

 

พ.ศ. ๒๕๔๗

 

·        โรงเรียนเริ่มเปิดปีการศึกษาแรก

 

 

·        นำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวทางของโรงเรียนเพลินพัฒนา ต่อคณะกรรมการดำเนินการจัดทำหนังสือเรียนภาษาไทยและแบบฝึกหัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

·        นำเสนอโครงการวิจัยนำร่องเพื่อการจัดทำหนังสือเรียน และแบบฝึกหัดภาษาไทย ในโครงการ ชุดคำบัญชีพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ ๑ ต่อคณะกรรมการดำเนินการจัดทำหนังสือเรียนภาษาไทยและแบบฝึกหัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

·        เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหนังสือเรียน และแบบฝึกหัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และ ๕

 

·        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์หนังสือเรียนและแบบฝึกหัดภาษาไทยชุด ภาษาเพื่อชีวิต ประกอบด้วย หนังสือเรียน ภาษาพาที วรรณคดีลำนำ วรรณกรรมปฏิสัมพันธ์ และแบบฝึกหัด ทักษะภาษา

 

 

 

พ.ศ. ๒๕๔๘

 

 

  • นำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) กรณีศึกษาโครงงานชื่นใจได้เรียนรู้ (ระดับชั้นประถมต้น มัธยมศึกษาปีที่ ๓) ต่อสภาการศึกษา (สกศ.)

 

 

 

พ.ศ. ๒๕๔๙

 

·        สภาการศึกษา (สกศ.) จัดพิมพ์หนังสือ สุขใจดิน ไม้ ทราย น้ำ สนุกสนานกับการคิดประดิษฐ์ศิลป์ เพื่อถ่ายทอดวิธีการจัดมวลประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเพลินพัฒนา และกลุ่มโรงเรียนพันธมิตรสู่สาธารณะ

 

 

·        นำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามแนวทางของโรงเรียนเพลินพัฒนา ต่อคณะผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติการพิจารณาสื่อคู่มือการสอนภาษาไทยเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

 

·        เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำหนังสือการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ช่วงชั้นที่ ๑ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๓)

 

พ.ศ. ๒๕๕๐

 

 

·        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์หนังสือ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ช่วงชั้นที่ ๑ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ๓)เพื่อใช้เป็นหนังสือคู่มือสำหรับครูภาษาไทยและผู้เกี่ยวข้อง ได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๑

 

 

·        สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) จัดพิมพ์หนังสือ โรงเรียนจัดการความรู้เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของการใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ในการใช้เครื่องมือจัดการความรู้ และเพื่อเป็นการนำเอา ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ในบริบทของโรงเรียนมาแลกเปลี่ยนกัน

 

 

...สคส. สนับสนุนการจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือเล่มนี้ เพราะเห็นว่าโรงเรียนเพลินพัฒนาได้มีประสบการณ์การใช้การจัดการความรู้อย่างชาญฉลาด และเห็นผลในระดับนวัตกรรม

 

คัดจากคำนิยมของ ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 172541เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2008 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีครับคุณวิมลศรี ศุษิลวรณ์
  • แวะมาเยี่ยมและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ครับ อ่านแล้วน่าสนใจมากครับ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกประสบการณ์ที่ดีมากครับ

..แปลกใจกับโรงเรียนเพลินพัฒนามากครับ..

...แนวคิด/วิธีการ/คำโฆษณาใดๆของโรงเรียน..ย่อมผูกพันกับ..ผลที่เกิดกับตัวเด็ก/เวลาที่ผ่านไป/ค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองเสีย/สังคมที่ได้รับรู้..ซึ่งต้องมีผู้เกี่ยวข้อง/รับผิดชอบ..

...เวลาที่ผ่านมา ๔ ปี ย่อมจะพอเห็นอะไรบ้าง...อย่างไรก็ตามขอชมคณะผู้มีความศรัทธาต่อแนวคิดที่กล้าทำตามความเชื่อซึ่งฉีกแนวไปมากกว่าโรงเรียนก้าวหน้าอื่นๆ..ทั้งๆที่มีตัวแบบโรงเรียนดีซึ่งน่าทำตามได้ง่ายอย่าง..วชิราวุธวิทยาลัย ฯลฯ..หวังว่า..นักการศึกษาหัวก้าวหน้า(ซึ่งถือคติ..ก้าวพอดี)..ไม่ก้าวถลำ..ด้วยความห่วงใยประสาคนแก่ๆคนนึง..ครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์อาลัม คุณsasinanda คุณพันคำ และลุงรักชาติราชบุรี ที่นับถือ

ต้องขอบคุณทุกท่านที่แวะมาให้กำลังใจกันอยู่เสมอ และจะระวังให้ก้าวทุกก้าวเป็นก้าวที่พอดี จะได้ไม่กลายเป็นก้าวถลำอย่างที่คุณลุงเป็นห่วงนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

ครูใหม่

เพลินทรรศนา จริงๆ (ดูรูปเจ้าของบล๊อก)

ขอบคุณคุณกวินทรากรมากค่ะ ชอบคำว่า"เพลินทรรศนา"ของคุณจริงๆ

เพิ่งเข้ามาเยี่ยมชม แล้วจะติดตามต่อไปเรื่อยๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท