เมื่อ กรอ. จะให้ทุนกู้ยืมการศึกษา เฉพาะสาขาที่ขาดแคลนเท่านั้น ... แล้วสาขาอื่นล่ะทำอย่างไร ?


ถ้าหลักเกณฑ์นี้ผ่าน ครม. ไปล่ะก้อ ... ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยว่า ประเทศไทยจะไม่มีคนยากจนอีกต่อไป เพราะคนยากจนได้ตายแล้วหมดทั้งประเทศ แม้กระทั่งลูกหลานของเขาด้วย

พลิกเว็บ พบข่าว "กรอ.ให้กู้เฉพาะสาขาขาดแคลน ชำระคืนเหมือน กยศ."

ข่าวที่ทำให้คนอยากเรียนในสาขาที่ไม่ขาดแคลน กลายเป็น พลเรือนชั้นสอง ไปในทันที

เพราะไม่มีทุนส่งเสริมการเรียนจากรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา


ลองอ่านข่าวก่อนนะครับ ...


“สุเมธ” เผย กรอ.ใหม่ เปลี่ยนการชำระคืน ใช้หลักเกณฑ์ของ กยศ.และให้เฉพาะสาขาขาดแคลน ความต้องการของประเทศ ระบุ สกอ.กำหนดสาขาภายในสัปดาห์หน้า
      
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า มติคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ได้เสนอกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกขาดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่จะนำมาใช้นั้น ได้ให้นำระบบระเบียบการกู้ยืม กรอ.แบบเดิม มาใช้สำหรับเด็กที่จะกู้ในปีการศึกษา 2550 นี้ โดยมีคณะกรรมการ กรอ.โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ส่วนเงื่อนไขที่แตกต่างจากระบบ กรอ.เดิม นั่นก็คือการชำระเงินคืนให้ใช้แบบเดียวกันกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาทิ มีดอกเบี้ย 1% ชำระเงินคืน 15 ปี เป็นต้น ซึ่งรูปแบบ กรอ.ในครั้งนี้ คาดว่าจะนำมาใช้ชั่วคราวเท่านั้น
      
ส่วน กรอ.ในรูปแบบใหม่นี้ จะให้เฉพาะสาขาวิชาที่ขาดแคลน สาขาที่เป็นที่ต้องการของประเทศ โดย สกอ.จะเป็นผู้กำหนดว่ามีสาขาได้บ้าง ทาง สกอ.จะนำหลักสูตรมาพิจารณา คาดว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป แล้วจะนำข้อสรุปนี้ไปสนอสภาพัฒน์ ในการนำกรอ.กลับมาใช้ในครั้งนี้ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนระบบอะไรมาก ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างไร มั่นใจว่าทันภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 แน่ เพราะทางคณะทำงานเร่งออกระบบ ระเบียบ กฎหมาย หลักของกรอ.ให้ชัดเจน เร็วที่สุด
      
“กรอ.ใหม่ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบระเบียบอะไรมากมาย แค่เปลี่ยนการชำระคืนเท่านั้น เด็กคนไหนที่กู้กรอ.อยู่ในขณะนี้ก็ยังคงกู้กรอ.ต่อไป การกู้ครั้งนี้ จึงเหมือนการเปิดให้มีผู้กู้รายใหม่ แต่มีการจำกัดสาขา” ดร.สุเมธ กล่าวทิ้งท้าย
      
ด้าน นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้นำเรื่องการกู้เงินเพื่อการศึกษาเข้าหารือ ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วได้ข้อสรุปในหลักการว่าปีการศึกษา 2551 จะดำเนินการกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต(กรอ.)และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) คู่ขนานกันไป
      
โดยในส่วนของกรอ. จะให้กู้เฉพาะสาขาที่เป็นความต้องการสูงของตลาดแรงงาน ส่วนคุณสมบัติผู้กู้ ไม่มีการจำกัดรายได้ของครอบครัว สำหรับระเบียบเงื่อนไขการชำระคืนนั้น ให้เป็นแบบกยศ. ส่วนว่าจะกู้ในสาขาใดได้บ้าง จำนวนผู้กู้เท่าไหร่ และจะใช้งบประมาณเท่าใดนั้น จะมีการหารือร่วมกับระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ สศช.และกรอ.ต่อไป ส่วนในอนาคต จะมีการนำข้อดีและข้อเสียของกรอ.และกยศ.มารวมกันเพื่อปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ให้รองรับกับการกู้แบบกรอ.ต่อไป
      
“ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำขอให้มีการแนะแนวให้ความรู้แก่นักศึกษาว่าสาขาใดกู้กรอ.ได้หรือสาขาใดกู้ไม่ได้เพื่อเป็นข้อมูลให้นักศึกษาตัดสินใจเลือกเรียนสาขาต่างๆ ได้ถูก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อขอความเห็นชอบในวันที่ 25 มีนาคมนี้ นพ.ธาดา กล่าว


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2551 09:29 น.
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000034470

 

เมื่อ กองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกขาดกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) แห่งรัฐบาลไทย ... ออกหลักเกณฑ์ใหม่มาฆ่าคนที่ต้องการเรียนในสาขาที่ไม่ขาดแคลน

กรอ.คิดด้านเดียว คือ ขาดแคลน กับ ไม่ขาดแคลน

คำว่า "สาขาขาดแคลน" หมายถึง สาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน

ตลาดแรงงาน คือ การมองเศรษฐกิจในลักษณะของทุนนิยม และยุคอุตสาหกรรมที่ต้องมีแรงงานป้อนเข้าสู่โรงงาน จะได้มีผลผลิตออกมาสู่ท้องตลาด

แล้วขายส่งได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เราทราบกันอยู่แล้วว่า อุตสาหกรรมเป็นสัญลักษณ์ของทุนนิยม หวังผลแต่เรื่องทุน กำไร ขาดทุน โดยไม่สนใจผลที่ตามมา นั่นก็คือ ความยากจน ความล่มสลายของครอบครัว

สังคมต้องประกอบไปด้วยคนหลายสาขาอาชีพ หาใช่ต้องแบ่งเป็น "สาขาขาดแคลน" หรือ "สาขาไม่ขาดแคลน" แต่อย่างใด

รัฐต้องสนับสนุนคนที่อยากเรียนหนังสือทุกคน ... ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญในการปกครองแบบประชาธิปไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ไม่ใช่มีการแบ่งแยกว่า สาขานี้เอาเงินไปเรียน สาขานี้ไม่ต้องให้ แน่จริงก็หาเงินเรียนเองสิ

แบ่งชั้นวรรณะขนาดนี้ ... ยังจะบอกอีกหรือว่า เราคือ สังคมประชาธิปไตยที่คนจนไม่มีสิทธิ์เรียน คนที่เรียนสาขาไม่ขาดแคลนอยากเรียน

ยกตัวอย่าง ...

นักเรียนชาวดอยคนหนึ่ง  อยากเรียนครูมาก เมื่อเขาเรียนจบ เขาอยากกลับเป็นครูเพื่อพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง แต่รัฐบอกว่า ครู คือ สาขาที่ไม่ขาดแคลน ล้นตลาดแรงงานแล้ว เรียนไปก็ตกงาน (ทั้ง ๆ ที่ความจริง ก็คือ ประเทศไทยขาดครูเป็นหมื่น ๆ ตำแหน่ง) ครูไม่ใช่อาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการตามที่รัฐคิด แต่ครูเป็นอาชีพที่เป็นปัญหา เงินเดือนน้อย ความเสี่ยงภัยสูง เป็นภาระให้กับรัฐเสมอมา วิเคราะห์ได้จากนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐเลือกกระทำลงมา และความไม่ใส่ใจต่อความสุขในการทำงานของครู

นักเรียนคนนี้ควรทำอย่างไรกับชีวิตต่อไปของเขาดี พ่อแม่ยากจน ไม่มีเงินส่งเสีย รัฐก็ไม่สนับสนุน ... ฆ่าตัวตาย หรือ ไปใช้แรงงานตามโรงงานตามที่รัฐต้องการดี หรือ กลับไปทำไร่ ทำนา เป็นคนยากจนของประเทศนี้ต่อไป


สังคมที่มีอาชีพที่หลากหลาย จะทำให้สังคมนั้นเข้มแข็ง เพราะคนทุกอาชีพ เป็นเฟืองที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสังคมเดินไปข้างหน้า ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ที่เขาอยู่กันด้วยความสุข ไม่ใช่อยู่ด้วยความร่ำรวยกับคนบางกลุ่ม แต่ประชากรส่วนใหญ่กับยากจน


ไม่อยากเชื่อว่า กรอ.จะมีข้อเสนอนี้ออกมา ... แบ่งชนชั้นกันดีจริง

 

กรอ.คิดแค่ว่า กรอ.จะใช้เงินกู้ยืมพวกนี้ บีบให้นักเรียนเรียนตามที่รัฐต้องการเท่านั้น ทอดทิ้งคนยากจน คนไม่มีเงินเรียน ทำให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

ถ้าหลักเกณฑ์นี้ผ่าน ครม. ไปล่ะก้อ ... ขอให้ตั้งจิตอธิษฐานด้วยว่า ประเทศไทยจะไม่มีคนยากจนอีกต่อไป เพราะคนยากจนได้ตายแล้วหมดทั้งประเทศ แม้กระทั่งลูกหลานของเขาด้วย

คนจน ไม่ใช่ คนไทย ... ใช่ไหม กรอ. และ รัฐบาลไทย


คุณเห็นดีเห็นงามกับ กรอ. ไหมล่ะ ...


บันทึกนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้คนยากจนที่เรียนสาขาไม่ขาดแคลนไม่ได้เรียนหนังสือ เพราะว่า ยากจน

เห็นอย่างไรกันประเด็นนี้ ก็เล่าให้ฟัง คุยให้ได้ยินบ้างนะครับ

บุญรักษา ทุกท่าน :)

หมายเลขบันทึก: 172334เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2008 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ผมคิดว่า การพัฒนาศึกษาคิดบนฐานของทุนนิยม ทำร้ายคนชายขอบครับ เพราะเราขาดโอกาสอยู่แล้ว วิธีคิดของการศึกษาบนฐานคิดทุนนิยมยิ่งซ้ำเติมมากขึ้น

กลุ่มแรก

เด็กที่มีฐานะ สามารถเรียนโรงเรียน ชั้นดี มีอุปกรณ์ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เลิกเรียนมีติววิชา กลุ่ม นักเรียนผู้ได้โอกาสเหล่านี้ ส่วนใหญ่กว่า ร้อยละเก้าสิบเข้าสู่วิชาชีพชั้นสูง

กลุ่มที่สอง

ชาวบ้าน ชายขอบ ตกขอบ โรงเรียนภูธร ที่เรียนไปตามมีตามเกิด กว่าจะรอด ป. ๖ - ม.ปลาย  ออกแนวร่อแร่แต่ต้องจบตามเกณฑ์ คนกลุ่มนี้ (ส่วนใหญ่ของประเทศ) ถูกผลักเข้าสู่ตลาดแรงงานราคาไม่แพง

กลุ่มที่สองเป็นพลเมืองชั้นสอง รองจาก เจ้านายด้านบน

คนจนก็จนซ้ำซาก ส่วนคนรวยก็รวยไม่รู้เรื่อง

สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ยินดีที่คุณเอกมาให้ความคิดเห็นในประเด็นนี้ครับ
  • ผมเดือดเนื้อร้อนใจกับระบบความคิดแบบนี้จริง ๆ
  • การคิดแบบนี้เป็นการสร้างความอยุติธรรมให้กับสังคมการศึกษา และฐานรากของครอบครัวอย่างแรง
  • น่าตกใจที่ผู้ที่นำเสนอข่าวเพื่อจะเข้า ครม. เป็นคนเรียนจบระดับสูง และอีกท่านหนึ่งก็เคยเป็นรองอธิการฯ อยู่มหาวิทยาลัยช้าง และเป็นคุณหมออีกต่างหาก เสียดายมาก ที่เป็นแบบนี้
  • เมื่อไหร่ ฝนการศึกษาจะตกทั่ว ๆ ประเทศไทยสักที ... ฐานการคิดแบบนี้ ฆ่ากันระยะยาว

ขอบคุณ คุณเอกครับ ... ผมจะรอข่าวดีต่อไป :)

ในฐานะที่เป็นคนหนึ่งที่ได้ใช้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

(ปัจจุบันก็ใช้คืนอย่างอดทนและมีวินัยในการใช้หนี้)

อ่านหัวข้อข่าวแล้วใจหายเลยนะคะ เหมือนกับว่า

ต่อไปโอกาสทางการศึกษาระดับ อุดมศึกษาจะเปิดให้เฉพาะ

ผู้ที่มีฐานะดีกับผู้ที่เรียนในสาขาที่ขาดแคลนเท่านั้น

เฮ้อ ... ถอนหายใจ

ตกใจค่ะ  พี่หนิงตกข่าวนะคะเนี่ย...

แล้วเด็กที่ไม่ถนัด หรือไม่ชอบที่จะเรียนในสาขาขาดแคลนหละค่ะ

นี่หรือโอกาสทางการศึกษา 

สวัสดีครับ น้อง ณ เส้นขอบฟ้า  :)

  • ใช่แล้วครับ ... ไม่แน่ใจเลยว่า ทำไม ผู้ที่มีบทบาทจึงได้กำหนดนโยบายแบบนี้ลงมาฆ่าเด็กได้ลงคอ
  • ส่งเสริมแต่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม สังคมไม่สนใจหรือไง
  • ต้องรอ ... ผลจาก ครม. ก่อน

ขอบคุณครับ :)

สวัสดีครับ พี่หนิง  DSS "work with disability" ( หนิง )

  • ไม่เข้าใจเหมือนกันครับว่า คนระดับมันสมองของประเทศ ผู้กุมบังเหียนของประเทศไทย คิดกันอย่างไรครับ
  • โอกาสทางการศึกษาเปลี่ยนไปตามกระแสเศรษฐกิจโลกไงครับ
  • เสือตัวที่ 5 ของเอเชีย ล่ะมั้งครับ พี่หนิง

ขอบคุณครับ :)

ถ้าให้เงินสนับแต่สาขาที่ขาดแคลนแล้วคนที่จะเรียนสาขาที่ไม่ขาดแคลนจะทำยังไง ไม่รู้ว่าเขาใช้สมองส่วนไหนคิดกัน งั้นโอกาสที่จะได้เรียนต่อคงเป็นได้แค่ความฝันต่อไป เราคงต้องอยู่ในโลกแห่งความฝันไปตลอดแน่นอนเลยเราเฮ้อ

ขอบคุณ คุณ m ... (ที่ผ่านทางมา)

สวัสดีค่ะอาจารย์

อ่าแล้วลูกตาสีตาสาอย่างหนูจะได้เรียนหรือค่ะ

ที่ได้เรียนนี้ก็เป็นเงินกู้ยืมเหมือนกัน..ไม่ใช่สาขา

ที่ขาดแคลนซะด้วยสิคะ(แต่ก็ยังชำระนี้ตามระเบียบนะคะ)

ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆเด็กๆชนบท หรือเด็กๆ ที่ขาดโอกาส

จะทำอย่างไรหล่ะคะ คนเรียนไม่เก่งจะได้เรียนไหมนิ

แล้วจะสอดคล้องกับ พรบ.การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2542 และหลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 หรือค่ะ ที่ให้ประชาชนทุกคนมี

สิทธิในการศึกษาเสมอภาคโดยเท่าเทียมกัน

และพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ (แล้วแบบนี้จะเท่าเทียมได้อย่างไร)

หรือว่าจะใช้หลักสูตรใหม่ ???? ที่กำลังจะเริ่มทดลองใช้

เปลี่ยนรัฐบาลทีนโยบายก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ...สงสารเด็กๆตาดำๆ

อย่างเรากันบ้างไหมน้อผู้ใหญ่ ...

ดีมาก ๆ ครับ สำหรับความคิดเห็นแบบนี้นะครับ :)

คงต้องรอการตัดสินใจในนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันครับว่า ท่านจะเห็นความสำคัญแค่ไหน ปฏิบัติอย่างไร

การศึกษาสร้างคน สำคัญน้อยกว่า ปากท้องของประชาชน ครับ ???

ขอบคุณครับ น้องคุณครู เทียนน้อย :)

งั้นผมก็เรียนผิดสาขาที่รัฐต้องการสิคับ

ต้องลาออกไปเรียนสาขาที่ยืมได้ใช่มะคับจึงจะมีเงินเรียนได้ ......

ใช่ครับ คุณ สุรไกร ... ผมจึงลองตั้งประเด็นเอาไว้คิดครับ

ขอบคุณมากครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท