Talent Management


Talent Group คือกลุ่มคนเก่งที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กรในอนาคต

บันทึกคำบรรยายของ ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมาเป็นเวลา 7 ปี 

Talent Group คือกลุ่มคนเก่งที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดขององค์กรในอนาคต

ท่านได้ชี้ให้เห็นว่า Talent Management หรือการบริหารคนเก่งนั้น มีความหมายอย่างไร มีความจำเป็นอย่างไร มีเป้าหมายอะไร  มีกระบวนการสำคัญอะไรบ้าง จะ identify คนเก่งได้อย่างไรจะรักษาคนเก่งไว้ในองค์กรอย่างไร โดยได้สอดแทรกตัวอย่างของธุรกิจและประสบการณ์ของศิริราช  รวมทั้งชี้ให้เห็นว่า Talent Management นั้นแตกต่างจาก Human Capital Management อย่างไร แตกต่างจาก Succession Plan อย่างไร  Training กับ Development แตกต่างกันอย่างไร 

บทสรุปและข้อพึงระวังในการบริหารคนเก่ง

·        การที่องค์กรจะสามารถดำเนินการบริหารจัดการ คนเก่ง” (Talent Management) ได้ ผู้บริหารระดับสูงต้องเห็นความสำคัญ (Buy in) สนับสนุนและผลักดันอย่างจริงจัง (กล้าที่จะทำ)

·        การบริหารจัดการ คนเก่ง” (Talent Management) เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง (Talent Pipeline) และมีการทบทวนปัจจัยต่างๆ เป็นระยะๆ

·        การออกแบบ Human Resource Management Activities ของ คนเก่งมักต้องพิจารณาออกแบบให้ต่างจากบุคลากรอื่น

·        การออกแบบ ต้นแบบ คนเก่ง” (Talent Block/Template) ต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์/เป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ได้ คนเก่งที่องค์กรต้องการ

·        การระบุและค้นหา คนเก่งต้องมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ คนเก่งที่แท้จริง

·        คุณสมบัติของ คนเก่งต้องมีการทบทวนเป็นระยะๆ เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว คนเก่งจึงต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์ที่เปลี่ยนไป

·        ผู้บริหารต้องสื่อสารให้บุคลากรขององค์กร เข้าใจในหลักการบริหารจัดการ คนเก่ง” (Talent Management) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาระหว่าง คนเก่งและบุคลากรอื่น (Talent & Non-talent)

·        บุคลากรในองค์กรที่ไม่ใช่ คนเก่งต้องมีโอกาสได้รับการพัฒนาเช่นกัน เพื่อให้บุคลากรได้รับรู้ถึงการให้ความสำคัญขององค์กรกับบุคลากร

·        การพัฒนา คนเก่งต้องครอบคลุมมิติด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้เกิด คนเก่งที่เป็นคนดี

·        อัตราค่าตอบแทนของบุคลากร ควรเป็นความลับ เพื่อป้องกันการไม่พอใจ คนเก่ง

download เอกสาร

หมายเลขบันทึก: 172131เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2008 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์อนุวัฒน์

อ่านไป คิดไป คิดถึงองค์กรของเรา ว่าใครเป็นกลุ่ม talent เราจะดูแลเขาอย่างไรได้ประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณที่ทำให้แง่คิดที่ดีค่ะ

ขอบคุณคุณอุบลที่ติดตามครับ เชื่อว่าที่ รพ.มี talent อยู่จำนวนมากทีเดียวครับ ข้อคิดของ อ.ประสิทธิ์ ทำให้เราเข้าใจคนเก่งดีขึ้นอีกมากเลยครับ

เรียน ท่านอาจารย์ หมออนุวัฒน์ เก่ง แล้วดี ชีวีย่อมมีสุข ครับ ขอบพระคุณครับได้เรียนรู้จาก พรพ

เรียน อ.อนุวัฒน์ค่ะ

  • คนไทย....ยังติดกับการไม่กล้าเชียร์คนเก่งค่ะ  และคนเก่งก็มักไม่แสดงตัวเพราะคนไทยมักสอนให้ไม่โอ้อวด...เลยลำบากกับการดึงศักยภาพคนเก่งออกมาให้ประจักษ์ในวงราชการค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกค่ะ

เรียน อ.อนุวัฒน์

ลีนายังเชื่อเรืองคนเก่งกับความรักองค์กร กับการอยู่ร่วมกับองค์กรอย่างมีความสุข แม้บางครั้งเขาจะไม่ถูกจัดการ แต่เขาจะหาทางจัดการบางอย่างเพื่อองค์กร โดยเฉพาะ ระบบราชการบางครั้งทำให้เกิดลักษณะแบบที่คุณกฤษณาเขียนไว้

ขอบคุณค่ะ

ลีนา

กำลังทำเรื่อง Talent managementให้กรมควบคุณโรค อ่านแล้วได้ประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ถ่ายทอดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท