BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

สามคำถามในอภิปรัชญา ๖


สามคำถามในอภิปรัชญา ๖

คำสอนของพระพุทธเจ้า พุทธศาสนิกชนยึดถือว่าเป็น สัจธรรม คือความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ขณะที่ศาสนิกชนอื่นๆ อาจมองเห็นเป็นเพียง ปรัชญา คือแนวคิดบางอย่างเท่านั้น... ส่วนการนำคำสอนของพระุพุทธเจ้ามาอรรถาธิบายขยายความตามคัมภีร์โบราณที่เรียกว่าอรรถกถาหรือฎีกาเป็นต้น ตลอดถึงความคิดเห็นของปราชญ์ทางพุทธศาสนาในปัจจุบันเป็นที่สุด ทั้งหมดรวมเรียกว่า พุทธปรัชญา ...  บันทึกนี้จะเล่าโดยย่อว่าพุทธปรัชญามีคำตอบในสามคำถามนี้อย่างไร....

 

  • ตัวเราเอง โลกและชีวิต หรือทุกสิ่งทุกอย่างมาจากไหน ?

ผู้เขียนยังไม่เีคยเจอคำตอบว่าพระพุทธเจ้าตรัสเฉลยคำถามนี้ แต่ก็มีบางอย่างจะเล่าถึงในประเด็นที่พาดพิงถึงคำถามนี้...

เพราะว่า... พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในวัฒนธรรมแห่งศาสนาพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่าสรรพสิ่งมาจากพระพรหม โดยเฉพาะพวกพราหมณ์ ซึ่งถือกันว่าเป็นวรรณะสูงสุดนั้น เชื่อกันว่าเิกิดมาจากปากของพระพรหม... แต่ใน อัคคัญญสูตร พระพุทธเจ้าได้ทรงหักคำสอนนี้ โดยบอกว่า  พวกพราหมณ์ทั้งหลายเกิดจากช่องกำเนิดของนางพราหมณีทั้งนั้น (ผู้สนใจอ่านประเด็นนี้ใคร่จะอ่าน คลิกที่นี้)

อีกประเด็นหนึ่งที่ใกล้เคียงในเรื่องโลกและชีวิตนี้ก็คือ อัพยากตปัญหา ซึ่งมีผู้นิยมถามเจ้าลัทธิทั้งหลายในสมัยนั้น พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงเฉลย (ผู้สนใจประเด็นนี้ใคร่จะอ่าน คลิกที่นี้)... โดยพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบว่า เหมือนคนถูกศรยิง ต้องรักษาแผลก่อน ไม่จำเป็นต้องไปตรวจสอบที่มาของศร... ประมาณนี้ (ผู้สนใจใคร่จะอ่าน คลิกที่นี้)

อนึ่ง เฉพาะประเด็นนี้ บางท่านก็ให้ความเห็นว่าแนวคิดทางพระพุทธศาสนาถือว่าสรรพสิ่งเกิดจาก อวิชชาตามหลักปฏิจจสมุปบาท... ซึ่งเมื่อผู้เขียนแรกบวชก็เปรียบเทียบว่า พระเป็นเจ้า หรือ God ก็คือ อวิชชาตามคำสอนทางพระพุทธศาสนานี้เอง... ต่อมาผู้เขียนก็เจอในหนังสือพุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ. ปยุตฺโต) ว่ามีผู้เทียบเคียงทำนองนี้มานานแล้ว... (ประเด็นเรื่องอวิชชาในปฏิจจสมุปบาทนี้ หาอ่านในอินเทอร์เน็ตได้หลากหลาย ส่วนในพระไตรปิฏก คลิกที่นี้ เป็นต้น)

...............

  • ตัวเราเอง โลกและชีวิต หรือทุกสิ่งทุกอย่างคืออะไร ?

คำสอนพระพุทธศาสนาตอบไว้ชัดเจนว่า คือ นาม (จิต หรือสิ่งที่มิใช่วัตถุ) รูป (สิ่งที่เป็นวัตถุ) ซึ่งมีคำสอนที่อ้างถึงเรื่องนี้มากมาย ผู้สนใจลอง คลิกที่นี้ เป็นต้น

เมื่อถือเอาตามมตินี้ พุทธปรัชญาจึงจัดเป็น ทวินิยม กล่าวคือ ลดรูปสรรพสิ่งลงเหลือ ๒ อย่าง ได้แก่ จิต (นาม) และ วัตถุ (รูป) เท่านั้น

แต่บางมติถือว่า พุทธปรัชญาจัดเป็น จิตนิยม เพราะถือว่า จิตสำคัญกว่าวัตถุ ซึ่งมักจะอ้างคาถาในธรรมบทว่า...

  • ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จได้ด้วยใจ...

(ผู้สนใจอ่านฉบับสมบูรณ์ คลิกที่นี้ )... แต่ผู้เขียนคิดว่า ท่านที่มีความคิดทำนองนี้ น่าจะมิได้ลดรูปสรรพสิ่งคงเหลือแต่จิตเท่านั้น...

อนึ่ง คำสอนทางพระพุทธศาสนาบางนิกายสมัยหลังพุทธกาล  เช่น  วิชญาณวาท หรือ มาธยมิกวาท เป็นต้น อาจถือว่ามีเพียงจิตเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้อาจเป็นมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไป...

และคำถามสุดท้าย ผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป....

 

หมายเลขบันทึก: 171482เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2008 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นมัสการพระอาจารย์ครับ

นมัสการ ครับ พระอาจารย์

  • สาธุ...
  • ตั้งแต่ผมลาสึกขา มา ไม่ค่อยได้เข้าวัดเท่าไร นานๆถึงได้เข้าวัด
  • เพราะงาน เข้ามามากเหลือเกิน
  • บางทีไม่ค่อยสงบนิ่งเหมือนแต่ก่อน
  • ขออนุโมธนา สาธุ ..ด้วยครับ กับบันทึกดีๆ

P

ครูข้างถนน

 

  • หนฺททานิ มยํ ภณฺเต อาปุจฺฉาม พหุกิจฺจา มยํ พหุกรณียา
  • ยสฺสทานิ ตุมฺเห กาลํ มญฺญถ
  • 5 5 5 5 5....

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท