ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ - ดนตรี นาฏศิลป์ และมนุษย์


ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ - ดนตรี นาฏศิลป์ และมนุษย์

      พื้นฐานของมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และธรรมชาติของมุนษย์ยังมีความต้องการ ทางด้านร่างกายและทางจิตใจ ควบคู่กันไป มนุษย์ต้องการมองเห็น การได้ยิน และสัมผัสได้ ภาวะการรับรู้โดยรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแรงเสริมทำให้มนุษย์มีสุนทรียภาพในการรับรู้ในสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอันได้แก่

       1. การมองเห็น คือการที่มนุษย์ได้มองเห็นภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติ เช่น ป่าเขา ลำเนาไพร ธารน้ำตก ท้องทะเลที่กว้างใหญ่สุดตา ความงามของดวงอาทิตย์ยามเช้าและตกจนคล่อย ๆลับขอบฟ้า ท้องทุ่งที่มีดอกไม้หลากสีสวยนานาพันธุ์ สีสรรสวยสดงดงาม เช่น ทุ่งทานตะวัน เป็นต้น ความงดงามของธรรมชาติเหล่านี้ ถ้ามนุษย์ช่วยกันดำรงรักษาทำนุบำรุง ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะอันได้แก่ธรรมชาติก็จะคงอยู่คู่กับมนุษย์ตราบเท่านานแสนนาน

       2. การได้ยิน มนุษย์เรามีการรับรู้ โดยได้ยินเสียงต่างๆ จากธรรมชาติ เช่น เสียงไก่ขันในตอนเช้า เสียงนกร้อง เสียงฝนตก เสียงน้ำตกไหลลงสู่ธารน้ำ เสียงคลื่นลมที่พัดกระทบฝั่ง ลักษณะธรรมชาติเหล่านี้เป็นที่มา ของการเล่านิทานพื้นบ้าน และก่อให้เกิดตำนานเรื่องราวตามความเชื่อ ค่านิยมของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ  และเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทำให้เกิดการรับรู้ด้วยการได้ยินเสียงที่มีจังหวะคล้ายเสียงดนตรีก่อให้เกิดความสุขเพลิดเพลินและเป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดจินตนาการสร้างสรรศิลปะมาจนทุกวันนี้
 
       3. ลีลาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติ ได้แก่การแสดงกิริยาอาการต่างๆของมนุษย์และสัตว์ การเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า ลมพัดจน ต้นไม้แกว่งไกว การเคลื่อนตัวของคลื่นในท้องทะเล การเคลื่อนไหวของธรรมชาติ และสิ่งที่กล่าวมา เป็นลีลาที่ทำให้มนุษยสามารถมองเห็นลีลาที่ถ่ายทอดออกมาเป็นความงาม และได้ยินเสียงที่ไพเราะจนสามารถ เกิดความสุข ทั้งนี้ก็เพราะธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์งานด้านศิลปะ และนำ ำศิลปะมาช่วยในการพัฒนาอารมณ์และจิตใจ ของมนุษย์ โดยถ่ายทอดผ่านการรับรู้ ทั้ง3 ด้าน ได้แก่
          1) ศิลปะการมองเห็น ได้แก่ การวาดภาพ การปั้น การแกะสลัก รวมทั้ง สถาปัตยกรรมต่างๆ รวมเรียกว่า "ทัศนศิลป์"

          2) ศิลปะที่แสดงออกทางเสียงได้แก่ "ดนตรี" หรือ "โสดศิลป์" เป็นศิลปะ ดนตรีได้แก่ การบรรเลงที่มนุษย์สามารถชื่นชมความไพเราะได้ด้วยการได้ยินเสียงจากการบรรเลง ดนตรี เป็นต้น

          3) ศิลปะที่แสดงทางลีลาการเคลื่อนไหวหรือที่เรียกว่า "นาฎศิลป์" เป็นศิลปะการแสดงต่างๆ ซึ่งสามารถชื่นชมและมองเห็นด้วยตา ได้แก่ศิลปะการแสดง ระบำ รำ ฟ้อน โขน เป็นต้น

     ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเป็นแม่แบบในการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ แขนงต่างๆ อันได้แก่ ทัศนศิลป์ ดนตรีและนาฎศิลป์ ซึ่งเกิดจากระบวนการจดจำ ทำให้เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดความสัมพันธ์กัน ระหว่างศิลปะ ดนตรี นาฎศิลป์ และมนุษย์ ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะอันประณีต งดงามที่มีแบบแผนได้พบเห็น อยู่จนถึงทุกวันนี้
 

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 171341เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาอ่านครับอาจารย์

ช่องไทย พีบีเอส มีรายการดนตรีกวีศิลป์ วันเสาร์กลางคืนก็คงเกี่ยวๆกับความคิดพื้นฐานเรื่องพวกนี้นะครับ

สวัสดีครับ ท่าน

P กวินทรากร

  • เคยดูเหมือนกันครับ
  • มีความรู้ดี
  • ขอบคุณที่นำมาบอกกันครับ
มิเชล เด็กราชินีบน

ข้อมูลนี้ดีมากค่ะ

เอาไปใช้ทำการบ้านได้ดีมากๆเลยค่ะ

รัก นาย คน เดียว

องค์ประกอบดนตรีและองค์ประกอบศิลปะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ??


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท